สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศอาเซียน

สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nation : ASEAN) เป็นองค์กรที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นให้อาเซียนเป็นตลาดเดียวกันและเป็นฐานการผลิตร่วมที่มี ศักยภาพในการแข่งขันทางการค้ากับภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ แบ่งออกเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย ประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และ เวียดนาม อาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ทำให้ความ ต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ พลังงานไฟฟ้าที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของ ประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน เพื่อจะได้เลือกใช้ทรัพยากรพลังงานได้อย่างเหมาะสมและสามารถ สำรองพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในอนาคต

อาเซียน เป็นภูมิภาคที่มีทรัพยากรพลังงานมากและมีความหลากหลาย โดยกระจายอยู่ ในประเทศต่าง ๆ ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ พลังน้ำ และถ่านหิน โดยทางตอนเหนือของภูมิภาค ได้แก่ ประเทศเมียนมาร์ ลาว และเวียดนาม มีแหล่งน้ำมากที่มีศักยภาพในการนำน้ำมาใช้ผลิต ไฟฟ้า ส่วนตอนกลางและตอนใต้ ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย ไทย กัมพูชา บรูไน และอินโดนีเซีย มี แหล่งก๊าซธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีแหล่งถ่านหินในประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ด้วย

สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ของประเทศในกลุ่มอาเซียน

จากความหลากหลายของทรัพยากรพลังงานที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศในกลุ่ม ประเทศอาเซียน จึงทำให้แต่ละประเทศมีนโยบายและเป้าหมายทางด้านพลังงานไฟฟ้าที่แตกต่าง กัน โดยสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าของประเทศในกลุ่มอาเซียนจะแตกต่างกันขึ้นกับ ทรัพยากรพลังงานของประเทศนั้น ๆ โดยประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีการผลิตไฟฟ้าจาก ก๊าซธรรมชาติมากที่สุด รองลงมา คือ ถ่านหิน พลังน้ำ น้ำมัน และพลังงานทดแทน ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน ปี พ.ศ. 2557 ดังภาพ

1) เมียนมาร์ (สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์) เมียนมาร์ เป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ที่สำคัญ คือ ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำที่มีศักยภาพในการนำน้ำมาใช้ผลิตไฟฟ้าอีกด้วย ดังนั้นสัดส่วน เชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของเมียนมาร์จึงมาจากพลังน้ำและก๊าซธรรมชาติ โดย ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 8,910 ล้านหน่วย ส่วนใหญ่มาจากพลังน้ า ร้อยละ 71.2 รองลงมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 22.3 ถ่านหิน ร้อยละ 6.3 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.2

2)กัมพูชา (ราชอาณาจักรกัมพูชา) กัมพูชา มีแหล่งเชื้อเพลิงที่สำคัญ คือ พลังงานชีวมวล แต่เนื่องจากพลังงานดังกล่าว ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้า ทั้งสิ้น 1,220 ล้านหน่วย ส่วนใหญ่ผลิตจากน้ำมัน ร้อยละ 48.4 และพลังน้ำ ร้อยละ 34.4 รองลงมา คือ พลังงานความร้อนใต้พิภพ ร้อยละ 13.1 ถ่านหิน ร้อยละ 2.5 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.6

3) เวียดนาม (สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม) เวียดนาม มีแหล่งพลังงานที่สำคัญ คือ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน นอกจากนี้ ยังมีแหล่งน้ำที่มีศักยภาพในการน าน้ำมาใช้ผลิตไฟฟ้าด้วย ดังนั้นสัดส่วนเชื้อเพลิงหลักในการผลิต ที่มา : The World Bank-World Development Indicators 16 ไฟฟ้าของเวียดนามจึงมาจากพลังน้ำ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน โดยในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิต ไฟฟ้าทั้งสิ้น 140,670 ล้านหน่วย ส่วนใหญ่ผลิตจากพลังน้ำ ร้อยละ 38.5 และก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 35.4 รองลงมา คือ ถ่านหิน ร้อยละ 20.9 น้ำมัน ร้อยละ 5.1 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1 เวียดนามเป็นประเทศที่จ าเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าในปริมาณมาก เพื่อรองรับการเติบโต ทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพิ่มกำลังการผลิตจากถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์ ทั้งนี้เวียดนามมี แผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแห่งแรกในอาเซียน พร้อมทั้งมีแผนจะพัฒนาทุ่งกังหันลม (Wind farm) นอกชายฝั่งแห่งแรกในเอเชียด้วย

4)ลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ลาวมีสภาพภูมิประเทศที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน จึงทำให้ลาวอุดมไปด้วยพลังงาน จากน้ำ ดังนั้นสัดส่วนเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศลาวจึงมาจากพลังน้ำ โดยในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 10,130 ล้านหน่วย โดยการผลิตเกือบทั้งหมดมาจากพลังน้ าถึง ร้อยละ 90.7 รองลงมา คือ ถ่านหิน ร้อยละ 6.2 และน้ ามัน ร้อยละ 3.1

5) มาเลเซีย (สหพันธรัฐมาเลเซีย) มาเลเซีย มีแหล่งพลังงานที่สำคัญ คือ ก๊าซธรรมชาติ โดยในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิต ไฟฟ้าทั้งสิ้น 122,460 ล้านหน่วย ถือเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็นอันดับ 3 ของกลุ่ม ประเทศอาเซียน โดยเป็นการผลิตจากก๊าซธรรมชาติมากที่สุด ร้อยละ 43.2 รองลงมา คือ ถ่านหิน ร้อยละ 39.2 น้ ามัน ร้อยละ 9.0 พลังน้ำ ร้อยละ 6.8 และอื่น ๆ ร้อยละ 1.9 อย่างไรก็ตาม มาเลเซียก าลังเผชิญกับภาวะปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติค่อย ๆ ลดลง จึงมีแผนลดสัดส่วนการ ผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติลง โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหิน ซึ่งต้องมีการน าเข้าถ่านหินและ พยายามกระจายแหล่งนำเข้าถ่านหินจากหลาย ๆ ประเทศ นอกจากนี้ยังมีแผนกระจายแหล่ง เชื้อเพลิงให้หลากหลายมากขึ้น ทั้งมีการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน และมีแผนพัฒนาโรงไฟฟ้า พลังงานนิวเคลียร์

6)อินโดนีเซีย (สาธารณรัฐอินโดนีเซีย) อินโดนีเซีย เป็นประเทศที่มีแหล่งเชื้อเพลิงจำนวนมาก ทั้งก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน และ ถ่านหิน เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะและมีภูเขาไฟ จึงทำให้มีทรัพยากรดังกล่าว มากกว่าประเทศอื่นในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิต ไฟฟ้าทั้งสิ้น 194,160 ล้านหน่วย ถือเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็นอันดับ 1 ของกลุ่ม 17 ประเทศอาเซียน โดยเป็นการผลิตจากถ่านหินมากที่สุด ร้อยละ 49.2 รองลงมา คือ น้ ามัน ร้อยละ 22.5 ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 19.8 พลังน้ำ ร้อยละ 7.0 พลังงานความร้อนใต้พิภพ ร้อยละ1.4 และ อื่น ๆ ร้อยละ 0.1 อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าตามความต้องการที่มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีแผนการกระจายเชื้อเพลิงและลดการใช้น้ำมัน การที่เป็น ประเทศที่มีแหล่งเชื้อเพลิงมาก จึงมุ่งเน้นการใช้เชื้อเพลิงในประเทศก่อน แต่เนื่องจากปริมาณ ก๊าซธรรมชาติก็เริ่มลดลง จึงมีแผนที่จะลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติลง โดยเพิ่มสัดส่วนพลังงาน หมุนเวียน ซึ่งเน้นพลังน้ าและพลังงานความร้อนใต้พิภพ เนื่องจากมีศักยภาพมากพอ

7) ฟิลิปปินส์(สาธารณรัฐฟิลิปปินส์) ฟิลิปปินส์ มีแหล่งพลังงานที่สำคัญ คือ ก๊าซธรรมชาติ สำหรับการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 62,480 ล้านหน่วย โดยส่วนใหญ่ผลิตจากถ่านหิน ร้อยละ 48.3 เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ากว่า รองลงมา คือ ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 28.9 พลังน้ า ร้อยละ 13.8 น้ ามัน ร้อยละ 8.6 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.4 ฟิลิปปินส์มีแผนเพิ่มกำาลังการผลิตไฟฟ้า โดยมุ่ง สำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในประเทศมาใช้เพิ่มเติม แต่ขณะเดียวกันก็มีแผน กระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิง โดยการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะเน้น พลังน้ าและพลังงานความร้อนใต้พิภพ

8) บรูไน (เนการาบรูไนดารุสซาลาม) บรูไน มีแหล่งพลังงานหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน สำหรับการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 3,490 ล้านหน่วย โดยการผลิตเกือบทั้งหมดมาจาก ก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 99.1 และน้ำมัน ร้อยละ 0.9

9)สิงคโปร์ (สาธารณรัฐสิงคโปร์) สิงคโปร์ เป็นประเทศที่เป็นตลาดการซื้อขายน้ำมันแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งในอาเซียน จึง มีการใช้พลังงานหลักจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ สำหรับการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการ ผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 47,210 ล้านหน่วย โดยส่วนใหญ่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 48.3 รองลงมา คือ น้ ามัน ร้อยละ 22.1 และอื่น ๆ ร้อยละ 2.5 ในอดีตสิงคโปร์ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยส่งผ่านทาง ท่อส่งก๊าซเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 สิงคโปร์ได้สร้างสถานี รับ - จ่าย ก๊าซธรรมชาติเหลว 18 (Liquid Natural Gas : LNG) แล้วเสร็จ ท าให้สามารถกระจายแหล่งน าเข้าก๊าซธรรมชาติจาก หลายประเทศมากขึ้น ในอนาคตสิงคโปร์มีแผนจะรับซื้อไฟฟ้าจากหลายประเทศ โดยใช้โครงข่าย ระบบส่งที่จะเชื่อมต่อกันในภูมิภาค (ASEAN Power Grid) นอกจากนี้รัฐบาลสิงคโปร์ยังลงทุนเพื่อ พัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และการวิจัยเพื่อหาความเป็นไปได้ในการใช้พลังงาน นิวเคลียร์ จะเห็นได้ว่า สิงคโปร์พยายามรักษาความมั่นคงทางพลังงาน โดยการกระจายแหล่ง นำเข้าเชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้าจากหลายประเทศ

10) ไทย (ราชอาณาจักรไทย) ไทย มีแหล่งพลังงานหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน สำหรับการผลิตไฟฟ้า ในปี พ.ศ. 2557 มีการผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 174,960 ล้านหน่วย ถือเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น อันดับ 2 ของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยส่วนใหญ่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 70.4 รองลงมา คือ ถ่านหิน ร้อยละ 21.4 พลังน้ า ร้อยละ 3.2 น้ำมัน ร้อยละ 2.3 และอื่น ๆ ร้อยละ 2.7 จะเห็นได้ว่า ทุกประเทศในกลุ่มอาเซียน ต้องรับมือกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น และ เชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่ทุกประเทศต้องพึ่งพาอยู่ แต่ขณะเดียวกันทุก ประเทศก็มีแผนในการจัดการกับความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้า โดยเน้นการกระจายแหล่งเชื้อเพลิง ให้หลากหลาย แสวงหาแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ ทั้งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานนิวเคลียร์ รวมถึงแผนซื้อไฟฟ้าจากประเทศในภูมิภาคด้วย นอกจากนี้เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน กลุ่มประเทศ สมาชิกจึงได้ดำเนินโครงการผลิตและการใช้พลังงานร่วมกัน เช่น โครงการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบ ไฟฟ้าของอาเซียน (ASEAN Power Grid) เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ ในการส่งเสริมความมั่นคง ของการจ่ายไฟฟ้าของภูมิภาค และส่งเสริมให้มีการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศ เพื่อลด ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ซึ่งมีการดำเนินงานเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายทั้งสิ้น 16 โครงการ เป็นต้น