กลยุทธ์การประหยัดพลังงานไฟฟ้า 3 อ.

เรื่องที่ 1 กลยุทธ์การประหยัดพลังงานไฟฟ้า 3 อ.

การประหยัดพลังงาน คือ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้คุณค่าการประหยัดพลังงานนอกจากช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนและประเทศชาติแล้ว ยังช่วยลดปัญหาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้ด้วย กลยุทธ์หนึ่งของประเทศไทย ที่ประสบความส าเร็จด้านการประหยัดการใช้ไฟฟ้าและพลังงานของชาติคือ การเลือกแนวทางที่เหมาะสมสอดคล้องกับชีวิตและอุปนิสัยของคนไทย ด้วยการใช้“กลยุทธ์การประหยัดพลังงาน 3 อ.” ได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า อาคารประหยัดไฟฟ้า และอุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า ซึ่งฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ด าเนินการโดย กฟผ. เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลยุทธ์ประหยัดพลังงานที่ประสบความส าเร็จ ตามกลยุทธ์ 3 อ. โดยแบ่งรายละเอียดเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 กลยุทธ์ อ. 1 อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า

ตอนที่ 2 กลยุทธ์ อ. 2 อาคารประหยัดไฟฟ้า

ตอนที่ 3 กลยุทธ์ อ. 3 อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

1. กลยุทธ์ อ. 1 อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้ากลยุทธ์ อ. 1 อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า เป็นการส่งเสริมให้ทุกครัวเรือนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟ กฟผ. จึงได้ด าเนินโครงการ “ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หรือ ฉลากเบอร์ 5” มุ่งส่งเสริมให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพการประหยัดพลังงาน โดยมีการรับรองภายใต้สัญลักษณ์“ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 995” โดยในปัจจุบัน กฝผ. ได้ให้การรับรองอุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้kฉลากเบอร์ 5 รวม 24รายการ ดังนี้

• ปี 2536 โครงการประชาร่วมใจ ใช้หลอดผอม

• ปี 2537 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้เย็น

• ปี 2538 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องปรับอากาศ

• ปี 2539 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดตะเกียบ

• ปี 2541 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์นิรภัย

• ปี 2542 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ข้าวกล้องหอมมะลิ

• ปี 2544 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมไฟฟ้า

• ปี 2547 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

• ปี 2547 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โคมไฟประสิทธิภาพสูง

• ปี 2550 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5

• ปี 2551 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมส่ายรอบตัว

• ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอดผอมเบอร์ 5

• ปี 2553 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 Standby Power 1 Watt (เครื่องรับ

โทรทัศน์/จอคอมพิวเตอร์)

• ปี 2554 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตารีดไฟฟ้า

• ปี 2554 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 Retrofeit

• ปี 2555 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลมระบายอากาศ

• ปี 2555 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องท าน้ าอุ่นไฟฟ้า

• ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องซักผ้าชนิดฝาบนถังเดี่ยว

• ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 LED (Light Emitting Diode)

• ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตาไมโครเวฟ

• ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตาแม่เหล็กไฟฟ้า

• ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กาต้มน้ าไฟฟ้า

• ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องรับโทรทัศน์

• ปี 2558 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้แช่แสดงสินค้า

ปัจจุบันฉลากเบอร์ 5 มีผู้ลอกเลียนแบบจ านวนมากเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อ โดยมีการ ติดฉลากเลียนแบบ หรือติดเพียงครึ่งเดียว ซึ่งหาก กฟผ. ตรวจพบจะแจ้งด าเนินคดีตามกฎหมาย ทั้งนี้ กฟผ. ได้จดทะเบียนเครื่องหมายรับรองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า หากบุคคลใด ลอกเลียนแบบถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น ในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่า ได้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้จริง ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อต้องสังเกตและ ตรวจสอบให้มั่นใจว่าเป็นฉลากเบอร์ที่ได้รับการรับรองจริงจาก กฟผ. โดยสามารถสังเกตลักษณะ ของฉลากเบอร์ 5 ได้ ดังภาพ

2. กลยุทธ์ อ. 2 อาคารประหยัดไฟฟ้า

กลยุทธ์ อ. 2 อาคารประหยัดไฟฟ้า เป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เห็นความสำคัญและพร้อมใจกันใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกับกลุ่มภาคที่อยู่อาศัยพร้อมไปกับการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการประหยัดไฟฟ้า ซึ่ง 102 ได้แก่ การบริหารการใช้ไฟฟ้า การปรับปรุงระบบป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร การใช้ระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูง การปรับปรุงระบบแสงสว่าง และการจัดการอบรมให้ความรู้ด้านการใช้พลังงานอย่างถูกต้อง ลดต้นทุนการผลิตสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในอาคารสามารถด าเนินการได้ดังนี้

1) การออกแบบวางต าแหน่งอาคาร ให้หันอาคารไปยังทิศที่หลบแดดทิศตะวันตก

2) ถ้าพื้นที่ดินไม่เอื้ออำนวยให้วางอาคารหลบแดดทิศตะวันตก ให้ใช้ไม้ยืนต้นให้ร่มเงาแก่อาคาร พร้อมทิ้งชายคาหลังคาหรือจัดท าแผงบังแดดช่วยเสริมการบังแดด

3) ผนัง หลังคา และฝ้าเพดานอาคาร ให้ใช้วัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนความร้อนสะท้อน หรือป้องกันความร้อน

4) ใช้วัสดุนวัตกรรมช่วยระบายความร้อน เช่น ลูกระบายอากาศอลูมิเนียมที่ท างานโดยไม่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า

5) ระบบปรับอากาศ ให้ใช้ชนิดประหยัดไฟ และแยกสวิตช์เปิด – ปิดเฉพาะเครื่องเพื่อให้ควบคุมการเปิด - ปิดตามความประสงค์การใช้งานในแต่ละบริเวณ

6) ลดจำนวนพัดลมดูดอากาศ เพื่อป้องกันการสูญเสียอากาศเย็นมิให้ออกไปจากห้องปรับอากาศมากเกินไป

7) ระบบไฟฟ้าแสงสว่างให้พยายามใช้ประโยชน์จากแสงธรรมชาติในเวลากลางวันเช่น ใช้กระเบื้องโปร่งแสง หน้าต่างใช้กระจกใส เป็นต้น

8) หลอดไฟให้ใช้ชนิดเกิดความร้อนที่ดวงโคมน้อย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์เพื่อเครื่องปรับอากาศไม่ต้องใช้พลังงานมาลดความร้อนจากหลอดไฟแสงสว่างโดยไม่จำเป็น

9) หลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ใช้อุปกรณ์นวัตกรรม คือ บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟ และประหยัดค่าไฟฟ้า ใช้ครอบโลหะสะท้อนแสงช่วยเพิ่มความสว่างแก่หลอดไฟเป็น 2 – 3 เท่า โดยใช้จ านวนหลอดไฟเท่าเดิม

10) ออกแบบภูมิทัศน์รอบอาคารเพื่อลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร เช่น ปลูกหญ้ารอบอาคาร ขุดสระน้ำ ติดตั้งน้ำพุดักลมก่อนพัดเข้าสู่อาคาร และปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงา เป็นต้นกลยุทธ์

3. กลยุทธ์ อ. 3 อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า

กลยุทธ์ อ. 3 คือ อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า เป็นการปลูกจิตส านึกและอุปนิสัยให้คนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย กฟผ. ได้มีการน าร่องจัดท า โครงการห้องเรียนสีเขียวขึ้นในโรงเรียนระดับต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 420 โรงเรียน ได้จัดเป็น ฐานการเรียนรู้ มีการติดตั้งอุปกรณ์การเรียนรู้ให้เป็นฐานกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฐานการเรียนรู้ไฟฟ้า มีประโยชน์มากมาย แหล่งก าเนิดไฟฟ้า เปรียบเทียบประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น และสอดแทรกแบบฝึกหัดเกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเข้าไปในบทเรียน เพื่อเสริมสร้างทัศนคติให้กับเยาวชน และผลการด าเนินโครงการประสบผลส าเร็จสามารถขยายผล ไปยังชุมชน จึงนับว่าเป็นโครงการที่เสริมสร้างทัศนคติในการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

การสร้างหรือพัฒนาอุปนิสัยประหยัดพลังงานอาจไม่ใช่เรื่องง่าย จ าเป็นต้องได้รับ ความร่วมมือ ร่วมใจจากสมาชิกในครัวเรือน องค์การหรือส านักงาน ซึ่งจ าเป็นต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของแนวทางปฏิบัติที่น าไปสู่อุปนิสัยการประหยัดพลังงาน และผลที่จะได้รับ ทั้งในส่วนของตนเอง คือ สามารถประหยัดค่าใช้พลังงานไฟฟ้า และการช่วยประเทศชาติให้ลดการ ใช้พลังงานไฟฟ้าในภาพรวม ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างและสนับสนุนความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้า ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 กระทรวงพลังงานได้จัดโครงการ “รวมพลังคนไทย ลดพีคไฟฟ้า” เพื่อขอความร่วมมือให้คนไทยร่วมกันประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงหน้าร้อนที่มีโอกาส จะเกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด เรียกว่า “ปฏิบัติการ 4 ป. ได้แก่ ปิด – ปรับ – ปลด – เปลี่ยน”

  • ปิด คือ ปิดไฟดวงที่ไม่จ าเป็น
  • ปรับ คือ ปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 26 องศาเซลเซียส
  • ปลด คือ ปลดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ใช้งาน
  • เปลี่ยน คือ เปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน

นอกจากนี้การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ควรศึกษา ท าความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการทำงาน การติดตั้งและการใช้ การดูแลรักษาให้ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยให้ปลอดภัย สามารถประหยัดค่าไฟฟ้า สามารถยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานอีกด้วย