การวางแผนและการคำนวณค่าไฟฟ้าในครัวเรือน

เรื่องที่ 3 การวางแผนและการคำนวณค่าไฟฟ้าในครัวเรือน

แม้ว่าทุกคนจะช่วยกันประหยัดไฟฟ้า แต่ในบางครัวเรือนยังไม่สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้เนื่องจากไม่ทราบว่าค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนมาจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใด และองค์ประกอบค่าไฟฟ้ามีอะไรบ้าง ดังนั้นหากสามารถคำนวณค่าไฟฟ้าในครัวเรือนและวางแผนการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้ ก็จะสามารถช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าลงได้ โดยในเรื่องนี้ประกอบด้วย 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 การคำนวณค่าไฟฟ้าในครัวเรือน

ตอนที่ 2 การวางแผนการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

ตอนที่ 1 การคำนวณค่าไฟฟ้าในครัวเรือน

ค่าไฟฟ้าที่เราชำระอยู่ทุกวันนี้ ไม่เหมือนกับค่าสินค้าทั่ว ๆ ไป เช่น ซื้อน้ำที่บรรจุขวดราคาขวดละ 5 บาท จ านวน 2 ขวด แม่ค้าคิดราคา 10 บาท แต่ถ้าซื้อ 12 ขวด แทนที่จะคิดที่ราคา60 บาท อาจจะลดให้เหลือ 55 บาท นั่นหมายถึงว่า ยิ่งซื้อจำนวนมาก ราคามีแนวโน้มจะถูกลงเข้าตำราเหมาโหลถูกกว่า แต่ค่าไฟฟ้ากลับใช้หลักคิดตรงกันข้าม กล่าวคือ ราคาไฟฟ้าถ้ายิ่งใช้มากค่าไฟฟ้าจะยิ่งสูงขึ้น เราเรียกอัตราชนิดนี้ว่า “อัตราก้าวหน้า” สาเหตุที่ใช้อัตราก้าวหน้านี้เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้ามีจำกัดและต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติ จึงต้องการให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นและใช้อย่างประหยัด จึงตั้งราคาค่าไฟฟ้าให้เป็นอัตราก้าวหน้า

1) องค์ประกอบค่าไฟฟ้า

หากเรามาดูค่าไฟฟ้าที่จ่ายกันอยู่ในปัจจุบัน จะพบว่า มีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกันได้แก่ค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) และภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1) ค่าไฟฟ้าฐาน

ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงใช้คำว่า ค่าพลังงานไฟฟ้า เป็นค่าไฟฟ้าที่สะท้อนต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจ าหน่าย และค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้าภายใต้สมมติฐานความต้องการไฟฟ้า ค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐณ วันที่ก าหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้า โดยคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะพิจารณาปรับค่าไฟฟ้าฐานคราวละ 3 - 5 ปี ดังนั้นในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว ค่าใช้จ่ายที่อยู่เหนือการควบคุม คือ ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงทั้งเพิ่มขึ้นหรือลดลง คณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (กกพ.) จึงใช้กลไกตามสูตรอัตโนมัติมาปรับค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)

(2) ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)

ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือที่นิยมเรียกกันว่าค่าเอฟที(Ft) หมายถึง ค่าไฟฟ้าที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือการควบคุม ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนไปจากค่าไฟฟ้าฐาน โดยคณะกรรมการก ากับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะพิจารณาปรับค่าทุก 4 เดือน

(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตามหลักการภาษีแล้ว ผู้ใช้สินค้าหรือผู้ขอรับบริการ จะเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งค่าไฟฟ้าก็เช่นเดียวกัน ผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคิดจากค่าไฟฟ้าฐานรวมกับค่าไฟฟ้าผันแปร ในอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 โดยภาษีในส่วนนี้จะถูกน าส่งให้กับกรมสรรพากร


2) อัตราค่าไฟฟ้า

อัตราค่าไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่

(1) ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัยสำหรับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมทั้งวัด ส านักสงฆ์และสถานประกอบศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

(2) ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็กสำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ ธุรกิจรวมกับบ้านอยู่อาศัย อุตสาหกรรมหน่วยราชการ ส านักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจสถานฑูต สถานที่ท าการของหน่วยงานราชการต่างประเทศ และสถานที่ท าการขององค์การระหว่างประเทศ หรืออื่น ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน15 นาทีที่สูงสุด ต่ ากว่า 30 กิโลวัตต์โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

(3) ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลางสำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ ส านักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถานฑูต สถานที่ท าการของหน่วยงานราชการต่างประเทศ และสถานที่ท าการขององค์การระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์แต่ไม่ถึง 1,000กิโลวัตต์ และมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนหน้าไม่เกิน 250,000 หน่วยต่อเดือนโดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

(4) ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ ส านักงานหรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถานฑูต สถานที่ท าการของหน่วยงานราชการต่างประเทศ และสถานที่ท าการขององค์การระหว่างประเทศ หรืออื่น ๆตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 1,000กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนหน้าเกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

(5) ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่างสำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบกิจการโรงแรม และ กิจการให้เช่าพักอาศัยตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ตั้งแต่ 30กิโลวัตต์ขึ้นไป โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

(6) ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรสำหรับการใช้ไฟฟ้าขององค์กรที่ไม่ใช่ส่วนราชการ แต่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการโดย ไม่คิดค่าตอบแทน โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

(7) ประเภทที่ 7 สูบน้ำเพื่อการเกษตรสำหรับการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยราชการ สหกรณ์เพื่อการเกษตร กลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่หน่วยราชการรับรอง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

(8) ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราวสำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่องานก่อสร้าง งานที่จัดขึ้นเป็นพิเศษชั่วคราว สถานที่ที่ไม่มีทะเบียนบ้านของสำนักงานทะเบียนส่วนท้องถิ่น และการใช้ไฟฟ้าที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียวสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง (www.mea.or.th) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (www.pea.co.th)

หมายเหตุ

1) ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าไม่เกิน 5 แอมป์220 โวลต์1 เฟส 2 สาย จะจัดเข้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ประเภท ก. แต่หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ประเภท ข. และเมื่อใดที่การใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทที่ 1บ้านอยู่อาศัย ประเภท ก.

2) ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าเกิน 5 แอมป์220 โวลต์1 เฟส 2 สาย จะจัดเข้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ประเภท ข.

3) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย ประเภท ก. ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนทุกราย ยังคงได้รับสิทธิค่าไฟฟ้าฟรีตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 โดยผู้ที่จะได้รับสิทธิ์จะต้องไม่เป็นนิติบุคคลและมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับถึงเดือนปัจจุบัน

4) ประเภทที่ 2 กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ าของหม้อแปลงซึ่งเป็นสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้ค านวณหน่วยคิดเงินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้วัดรวมไว้ด้วย

5) ประเภทที่ 2 เป็นอัตราเลือก ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องช าระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวงก าหนด และหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนกลับไปใช้อัตราประเภทที่ 1 ได้

3) การคำนวณค่าไฟฟ้า

ค่าพลังงานไฟฟ้าคิดได้จากปริมาณพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในแต่ละเดือน พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดจะได้จากค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด ค่าพลังงานไฟฟ้าอ่านได้จากเครื่องวัดที่เรียกว่า มาตรกิโลวัตต์– ชั่วโมงหรือที่รู้จักกันว่า “มิเตอร์หรือมาตรวัดไฟฟ้า”เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามตัวเลขที่กำกับบนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ระบุทั้งความต่างศักย์ (V) และก าลังไฟฟ้า (W) รวมไปถึงความถี่ (Hz) ของไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นก าลังไฟฟ้า หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้งานในเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็นจูลต่อวินาที หรือ “วัตต์” (W)สามารถคำนวณหาก าลังไฟฟ้าได้จากความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานไฟฟ้าที่ถูกใช้ไปในเวลา 1 วินาที ดังนี้

เรื่องน่ารู้ :

การวัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านนิยมใช้หน่วยใหญ่กว่าจูล โดยใช้เป็น กิโลวัตต์ – ชั่วโมงหรือ เรียกว่า หน่วย (Unit : ยูนิต)

พลังงานไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ – ชั่วโมง หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไป 1,000 วัตต์ในเวลา 1 ชั่วโมง หรือ พลังงานไฟฟ้า (หน่วย) = ก าลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์) x เวลา (ชั่วโมง)

ตอนที่ 2 การวางแผนการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

การวางแผนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ในครัวเรือน ช่วยให้สามารถควบคุมค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนได้ การเริ่มวางแผนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน สามารถท าได้ดังนี้

1) ส ารวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ก าลังไฟฟ้า และจ านวนเวลาการใช้งานว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดบ้าง มีขนาดก าลังไฟฟ้าเท่าใด และใช้งานเป็นเวลานานเท่าใด

2) น าข้อมูลที่ส ารวจมาค านวณค่าไฟฟ้า และวางแผนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทให้เกิดความประหยัดมากขึ้นต่อไปนอกจากนี้การวางแผนการใช้ไฟฟ้า ยังช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถสังเกตได้ถึงความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ค่าไฟฟ้าอาจมีค่ามากกว่าที่ประมาณการไว้ ก็เป็นจุดสังเกตให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทบทวนการใช้งาน และตรวจสอบว่ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทใดผิดปกติหรือไม่ อาจเกิดไฟฟ้ารั่วหรือเสื่อมสภาพ หมดอายุการใช้งาน เป็นต้น

ตัวอย่าง

ถ้าบ้านของนาย ก. ต้องการจ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนประมาณ 500 บาท จะต้องวางแผนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างไร

1) สำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน กำลังไฟฟ้า และจำนวนเวลาการใช้งาน (สามารถหาค่ากำลังไฟฟ้าได้จากฉลากบอกค่าทางไฟฟ้าที่ติดมากับอุปกรณ์นั้น ๆ)

* ค่ากำลังไฟฟ้าที่ใช้ในตัวอย่างเป็นค่าประมาณ อาจมากหรือน้อยกว่าที่แสดงไว้ตามขนาดของเครื่องใช้ไฟฟ้า

* ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่น ามาคำนวณ คือ 3.5 บาท

2) วิเคราะห์ค่าไฟฟ้าที่เกิดขึ้นว่ามาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดมากที่สุด สามารถลดการใช้งานได้อย่างไรบ้าง โดยสามารถดูค าแนะน าการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดได้ในหัวข้อแนวปฏิบัติการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในครัวเรือน ที่ได้เรียนรู้มาแล้วจากตารางการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าด้านบน แสดงให้เห็นว่าบ้านของนาย ก. มีค่าไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศมากที่สุด เมื่อนาย ก. ทราบดังนั้นจึงปรับลดการใช้เครื่องปรับอากาศ โดยการเปิดใช้งานน้อยลงจาก 100 ชั่วโมง / เดือน เหลือ 50 ชั่วโมง เมื่อรีดผ้าก็รีดครั้งละมาก ๆ คือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จากที่เมื่อก่อนรีดผ้าทุกวัน ส่วนโทรทัศน์ก็ปิดทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน จากที่เมื่อก่อนเปิดทิ้งไว้จนหลับ ก็สามารถช่วยลดการใช้ไฟฟ้าได้ ส่วนตู้เย็นนั้น เนื่องจากต้องเสียบปลั๊กใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมง คงไม่สามารถลดการใช้งานเพื่อลดค่าไฟฟ้าได้มากนัก แต่การใช้อย่างถูกวิธีก็เป็นการยืดอายุการใช้งานและใช้ไฟฟ้าลดลงเล็กน้อย โดยหลังจากนาย ก. ปรับการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าดังกล่าว ทำให้บ้านของนาย ก. ลดค่าไฟฟ้ารายเดือนให้อยู่ในงบประมาณ 500 บาท ได้ ดังตาราง