พลังงานทดแทนในชุมชน

วิกฤตการณ์ด้านพลังงานได้ก่อตัว และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากการ ขาดแคลนแหล่งพลังงาน และผลกระทบของการใช้พลังงาน ที่มีต่อสภาวะสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ทุกภาคส่วนจึงต้องตระหนักถึงวิกฤตการณ์เหล่านี้ และพยายามคิดค้นเพื่อหาทางออก หนทางหนึ่ง ในการแก้ไขวิกฤตการณ์ดังกล่าว คือ การใช้พลังงานทดแทน เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีโครงสร้างพื้นฐาน สภาพแวดล้อมและวัตถุดิบที่จะนำมาแปลง สภาพเป็นพลังงานเพื่อใช้งานในท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นแต่ละท้องถิ่น หรืออาจจะ เริ่มต้นที่ครัวเรือน จะต้องพิจารณาว่ามีอะไรบ้างที่มีศักยภาพ เพียงพอที่จะนำมาผลิตเป็นพลังงาน เพื่อใช้ในครัวเรือน หรือท้องถิ่นของตนเองได้บ้าง อาทิเช่น เชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) ซึ่งเป็นวัสดุ หรือสารอินทรีย์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานได้ ชีวมวลนับรวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตร เศษไม้ ปลายไม้จากอุตสาหกรรมไม้ มูลสัตว์ ของเสียจากโรงงานแปรรูปทางการเกษตร และของเสียจากชุมชน หรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เศษไม้ กากปาล์ม กากมันส าปะหลัง ซังข้าวโพด กาบและกะลามะพร้าว และส่าเหล้า เป็นต้น เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เชื้อเพลิงที่ได้จากชีวมวล (Biomass) เป็นพลังงานที่ได้จาก พืชและสัตว์โดยมีพื้นฐานจากการสังเคราะห์แสงแล้วเก็บรวบรวมพลังงานจากดวงอาทิตย์เอาไว้ ในรูปของพลังงานเคมี หรือองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ต่าง ๆ รวมทั้งการผลิต จากการเกษตรและป่าไม้ เช่น ไม้ฟืน แกลบ กากอ้อย วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่น ๆ พลังงาน แสงอาทิตย์ พลังงานน้ำตลอดจนพลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ เป็นต้น เมื่อครัวเรือน หรือท้องถิ่นทราบศักยภาพว่าตนเองมีความพร้อมที่จะผลิตพลังงาน จากแหล่งใดมากที่สุดแล้ว ก็สามารถพิจารณาด าเนินการได้ โดยอาจเริ่มจากการไปศึกษาดูงาน หรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จากครัวเรือน หรือท้องถิ่นที่ประสบความสำเร็จ ในการผลิตพลังงานขึ้นใช้เอง หรือจากหน่วยงานราชการ รวมถึงสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งจะ ทำให้ได้แนวทางในการพัฒนาพลังงานท้องถิ่นขึ้นใช้เองอย่างเหมาะสมและมีโอกาสประสบ ความสำเร็จสูง ชุมชนแต่ละชุมชนจะมีศักยภาพของแต่ละชุมชนแตกต่างกันไปตามศักยภาพของแต่ละ พื้นที่ เช่น พื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์จำนวนมากก็จะมีศักยภาพในการน ามูลสัตว์มาทำไบโอก๊าซ หรือพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกอ้อย หรือมันส าปะหลัง ก็จะมีศักยภาพในการนำมาทำชีวมวล เป็นต้น ตัวอย่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตพลังงานทดแทนใช้ อย่างเป็นรูปธรรม

1. พลังงานทดแทนจากกระแสลม องค์กรปกครองรูปแบบพิเศษอย่าง "เมืองพัทยา" อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ก็มี ความตื่นตัวในการคิดหาพลังงานทดแทน คือ กังหันลมมาใช้ เพื่อลดการพึ่งพาน้ ามันเช่นกัน โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากบนเกาะล้านมีประชากรอาศัยอยู่ 489 ครัวเรือน หรือ ประมาณ 3,000 คน ไม่รวมประชากรแฝงอีกกว่า 2,000 คน และยังมีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและ ต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาพักผ่อนอยู่บนเกาะอีกประมาณ 60,000 คนต่อเดือน การผลิตไฟฟ้าบน เกาะยังต้องพึ่งพาเครื่องปั่นไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ที่ต้องใช้น้ำมันดีเซลเป็นต้นทุน หลักที่มีราคาสูงขึ้นทุกวันนอกจากจะมีต้นทุนการผลิตไฟสูงขึ้นเรื่อย ๆ เครื่องปั่นไฟแบบเดิมยังเกิด การชำรุดอยู่บ่อยครั้งทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้านและสถานประกอบการบนเกาะได้รับความ เสียหายจากเหตุกระแสไฟฟ้าตก และบางวันกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ด้วย เมืองพัทยา จึงมีแนวคิดหาพลังงานรูปแบบใหม่มาทดแทนน้ ามัน โดยคำนึงถึงปัญหา สิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทั้งยังน้อมน าแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านการ ใช้พลังงานทดแทน และการพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืนมาใช้โดยการคัดเลือกพื้นที่เกาะล้านที่มีความ เหมาะสมทางสภาพภูมิประเทศ ทั้งกระแสลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถผลิต กระแสไฟฟ้าได้ทั้งปี และยังเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และเป็นแหล่งเรียนรู้พลังงาน ทดแทนอีกทางหนึ่งด้วย บริเวณหาดแสมห่างจากจุดเนินนมสาวประมาณ 20 เมตร คือ ทำเลที่ถูกเลือกให้เป็น สถานที่ติดตั้งกังหันลม โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ระยะละ 15 ต้น รวมทั้งสิ้นมี กังหันลม 45 ต้น จากการตรวจวัดความเร็วลมที่เกาะล้านพบว่ามีความเร็วลมเฉลี่ยที ประมาณ 4 - 5 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งจะท าให้ระบบกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าได้ที่ 25 - 30 กิโลวัตต์ และ หากมีลมเฉลี่ยต่อเนื่องประมาณ 10 ชั่วโมง จะทำให้ระบบสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ วันละ 200 หน่วย และลดการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึงวันละประมาณ 200 ลิตร หรือประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม อยู่ที่หน่วยละ 6 บาท ซึ่งถูกกว่าการใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงถึง 3 บาท การติดตั้งกังหันลม พร้อมทั้งระบบควบคุม จนเริ่มต้นเดินเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า สำเร็จตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2550 โดยพลังงานที่ได้จากการหมุนของกังหันลม จะถูกเก็บ รวบรวมที่ห้องสำรองพลังงาน ซึ่งทำหน้าที่คล้ายแบตเตอรี่ก้อนใหญ่ที่ควบคุมการสั่งการได้ทั้ง 57 2 ระบบ คือ ระบบสั่งการโดยมนุษย์ และระบบคอมพิวเตอร์ ในระยะแรกกระแสไฟฟ้า ที่ผลิตได้ ถูกจ่ายเพื่อใช้งานโดยตรงบริเวณท่าหน้าบ้าน บริเวณหาดแสม และกระแสไฟฟ้า สาธารณะต่าง ๆ บนเกาะ แต่ในปัจจุบันกระแสไฟฟ้าถูกจ่ายรวมเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ก่อนที่จะกระจายตามสายส่งเพื่อใช้งานในชุมชนต่อไป

2. พลังงานทดแทนจากพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ชุมชนบ้านคลองเรือ หมู่ 9 ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัด ชุมพร เป็นแหล่งต้นน้ำอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลังสวนตอนบนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้นบนภูเขาสลับซับซ้อน มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มั่งคั่งด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ คลองเรือเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีประชากรอาศัยอยู่ 81 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 183 คน ภายในหมู่บ้านไม่มีกระแสไฟฟ้าในปี พ.ศ. 2537 หน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้จัดท าโครงการ “คนอยู่ - ป่ายัง” ตามแนวพระราชด าริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างความ มั่นคงด้านเศรษฐกิจแก่ชุมชนภายใต้กรอบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดการการใช้ประโยชน์ และปกป้องรักษาทรัพยากร ผสมผสานภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม ส่งเสริม ความรู้ให้ชุมชนเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชุมชนพัฒนาทางความคิด และกลไกในการดูแลตนเองมากขึ้นสามารถบริหารจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ให้ด ารงชีวิตอยู่ ร่วมกับป่าไม้อย่างสมดุล อย่างไรก็ตามชุมชนบ้านคลองเรือ เป็นหมู่บ้านที่ไม่มีไฟฟ้าใช้และเป็น ความฝันอันสูงสุดของชุมชนที่ต้องการให้ลูกหลานในหมู่บ้านได้เห็นข่าวสารภายนอก ซึ่งถือเป็น “แสงสว่างแห่งปัญญา” และชาวบ้านคลองเรือ ยังคงแสวงหาแหล่งความรู้และภูมิปัญญาจากการ เดินทางไปดูงานในที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

ต่อมาในปีพ.ศ. 2551 ได้มีโครงการการจัดการความรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการจากคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มหาวิทยาลัยชีวิตเมืองนครศรีธรรมราช ภายใต้การสนับสนุนจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งได้ร่วมท างานกับชุมชน บ้านคลองเรือ โดยใช้กระบวนการท างานแบบมีส่วนร่วมเริ่มต้นจากการศึกษาศักยภาพของชุมชน ในด้านสังคม และทรัพยากรธรรมชาติ พร้อม ๆ กับการเปิดโลกทัศน์ นำผู้นำชุมชนศึกษาดูงานด้าน การผลิตไฟฟ้า จากแหล่งพลังงานต่าง ๆ ทั้งจากเชื้อเพลิง ถ่านหิน น้ำตก และชีวมวลในพื้นที่ ภาคเหนือและพบว่าชุมชนบ้านคลองเรือ มีความพร้อมในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะศักยภาพทาง ทรัพยากร (น้ำ) และความเข้มแข็งของชุมชน ดังนั้นทีมงานด้านวิศวกรรมศาสตร์จึงเริ่มศึกษา รายละเอียดด้านเทคนิค ศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ บริเวณน้ำตกเหวตา 58 จันทร์หลังจากการส ารวจ เก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ ชุมชนจึงได้เลือกโรงไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิต 100 กิโลวัตต์ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวิถีการดำรงชีวิตของ ชุมชนที่มีมาแต่เดิม ในระหว่างการด าเนินโครงการชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนมีการเตรียมช่าง ชุมชนเข้าอบรมเพิ่มพูนความรู้ เรื่องการเดินระบบผลิตไฟฟ้า การดูแลรักษาเครื่องจักรอุปกรณ์ ตลอดจนร่วมกันวางแผนการก่อสร้าง การระดมทุน การประสานความร่วมมือกับภาคีต่าง ๆ จนเกิดองค์กร / กลไกใหม่ขึ้นมา ทั้งในระดับจังหวัดและในระดับชุมชน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพทางทรัพยากรโดยการนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน จึงจัดส่งเจ้าหน้าที่ศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ของการพัฒนาโรงไฟฟ้าชุมชนบ้านคลองเรือ และให้การสนับสนุน ดังนี้

1) เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์ประกอบ ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากทุนการวิจัยของ กฟผ.

2) งบประมาณสำหรับการจัดหาระบบส่งไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าไปยังหมู่บ้าน จำนวน9,000,000 บาท (เก้าล้านบาท)

3) สนับสนุนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญเครื่องจักรอุปกรณ์และให้คำแนะน าร่วมกับชุมชนระหว่างการก่อสร้างทุกขั้นตอน

การสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนบ้านคลองเรือแห่งนี้ นอกจากจะทำให้ชุมชนมีไฟฟ้าใช้ แล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้คนในชุมชนและจากชุมชนอื่น ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่า ของการรักษาป่าเพื่อส่วนรวม ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยพิทักษ์ป่าและเขตป้องกันรักษาสัตว์ป่า ในพื้นที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้บทเรียน โรงไฟฟ้าพลังน้ าชุมชนใน 59 ฐานะที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แบบบูรณาการ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างศูนย์รวมพลังชุมชนต่าง ๆ ที่มีศักยภาพคล้าย ๆ กัน รวมตัวกันเป็นเครือข่ายจัดการ ดิน ป่า น้ำ ไฟฟ้า อย่างยั่งยืนและเข้มแข็งต่อไป ปัญหาเรื่องพลังงาน จึงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เกี่ยวข้องทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม ซึ่งการแก้ไขปัญหาไม่ใช่แค่การกำหนดนโยบายจากส่วนบน เท่านั้น แต่ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ซึ่งต้องคำนึงถึงทรัพยากร แหล่งพลังงานในท้องถิ่น การกำหนด มาตรการในการอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน การจัดการพลังงาน ระดับท้องถิ่นจึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เนื่องจากเป็นเวที การเรียนรู้ที่ทำให้ชุมชนได้เห็นสถานภาพพลังงานของชุมชนเอง และได้ตระหนักในศักยภาพ ของชุมชนด้านการจัดการทรัพยากรภายใน ตลอดจนได้รู้แนวทางในการแก้ไขปัญหาและ มีเป้าหมายร่วมกันในการจัดการพลังงานของชุมชน โดยเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับชุมชนนั้น ๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และยกระดับขีดความสามารถของประชาคม ท้องถิ่น ในระดับองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ จังหวัด โดยชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเป็น รูปธรรมในการแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของชุมชนเอง อันเป็นกระบวนการแห่งประชาธิปไตยที่ ช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดพลังของภาคประชาชน ทั้งยังช่วยให้เกิดการสร้างงาน ในท้องถิ่น นำไปสู่การพัฒนาชนบทและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 4 ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อหน่วยจากเชื้อเพลิงแต่ละประเภทการพิจารณาต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าของพลังงานทดแทนประกอบไปด้วย

1. มูลค่าในการวิจัยและพัฒนาระบบของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน (Researchand Development Cost) เป็นค่าใช้จ่ายจมหรือค่าใช้จ่ายในอดีต (Sunk Cost) มักไม่นำมาพิจารณาผลประโยชน์หรือต้นทุน เพราะไม่มีผลต่อการจะลงทุนหรือไม่ลงทุนในการติดตั้งระบบ

2. มูลค่าการลงทุนหรือการจัดหาการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทน(Investment Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อทำให้เกิดความพร้อมที่จะดำเนินการระบบ ได้แก่

2.1 มูลค่าที่ดิน ขนาดพื้นที่ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนแต่ละประเภท ซึ่งพื้นที่แต่ละแห่งจะมีราคาประเมินที่แตกต่างกัน60

2.2 มูลค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า เช่น มูลค่ากังหันลมที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานลม หรือมูลค่าแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้ในโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ เป็นต้น

2.3 มูลค่าการติดตั้งระบบ คือ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งซึ่งประกอบไปด้วย ค่าปรับพื้นที่เช่น การทำถนนเพื่อความสะดวกในการขนส่งวัตถุดิบ ค่าระบบเสริม เช่น หม้อแปลงไฟฟ้าค่าเชื่อมโยงระบบ เป็นต้น

3. มูลค่าการปฏิบัติงานและการบำรุงรักษาซึ่งมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายจำแนกได้ดังนี้

3.1 ค่าการปฏิบัติงานเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เช่น ค่าน้ำ - ค่าไฟ ค่าแรงค่าโทรศัพท์ ค่าขนส่ง ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ ค่าประกันต่าง ๆ ค่าฝึกอบรม ค่าอะไหล่ค่าที่ปรึกษา เป็นต้น เป็นค่าใช้จ่ายที่จ านวนเงินไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิต ไม่ว่าจะทำการผลิตในปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม

3.2 ค่าบำรุงรักษา เป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรและสิ่งก่อสร้างเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้ตลอดอายุของระบบ

เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ ยังมีต้นทุน การผลิตราคาสูงเมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ดังนั้นการ จัดการมาตรการส่งเสริมเพื่อสร้างสิ่งจูงใจให้กับนักลงทุนเกิดขึ้น เรียกว่า มาตรการส่วนเพิ่มราคา รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ระบบ Adder (Adder Cost) เป็นการให้เงินสนับสนุนการผลิต ต่อหน่วยการผลิต เป็นการก าหนดราคารับซื้อในอัตราพิเศษหรือเฉพาะส าหรับไฟฟ้าที่มาจาก พลังงานหมุนเวียน ภายในระยะเวลารับซื้อไฟฟ้าที่ชัดเจนและแน่นอน

ช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการสนับสนุนให้มีการลงทุนด้านพลังงานทดแทนมากขึ้น โดยใช้มาตรการส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ระบบ Adder การมีส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อชดเชยต้นทุนการลงทุน (Capital Cost) ที่มีราคาสูงกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง ปกติ ค่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้านี้เปลี่ยนแปลงตามประเภทของแต่ละพลังงานทดแทน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับเงินส่วนเพิ่มนี้มากที่สุด ค่าส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า ได้ใช้เงินจากกองทุนส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานเพิ่มเติมจากค่าไฟฟ้าปกติ (ราคาที่ผู้ขายไฟฟ้าจะได้รับ คือ ค่ารับซื้อไฟฟ้าปกติรวมกับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า) ทำให้มีผลกระทบต่ออัตราค่าไฟฟ้าที่ ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องแบกรับ หากมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากเกินไป

จากมาตรการส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ระบบ Adder มีข้อเสีย คือ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจะมีกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากราคาค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) รับซื้อ เนื่องจากค่าไฟฟ้าฐานมีแนวโน้มสูงขึ้นทุก 5 ปี ขณะที่ผู้ผลิตมีการลงทุนครั้งเดียวเฉพาะตอน 62 เริ่มต้นโครงการเท่านั้น ทำให้ผู้ผลิตมีกำไรมากเกินไป และไม่เป็นธรรมกับประเทศ ที่ต้องนำเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปอุดหนุน

คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติจากการประชุมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553 ให้คณะอนุกรรมการ ฯ พิจารณาปรับ มาตรการส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าจาก พลังงานหมุนเวียนเป็นระบบ Feed-in Tariff (FiT) ซึ่งถือเป็นมาตรการจูงใจที่ประเทศที่พัฒนา แล้วหลายประเทศใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนผลิตพลังงานสะอาด ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบ Adder ที่การให้เงินสนับสนุนในลักษณะเดิมจะกระทบกับอัตราค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจะต้องแบกรับ ในอนาคต ส่วนระบบ Feed-in Tariff นั้น เป็นอัตราค่าไฟฟ้ารวมต่อหน่วยที่สอดคล้องกับต้นทุน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแต่ละเทคโนโลยี และราคาขายไฟที่ผู้ลงทุนได้รับภายใต้ มาตรการนี้จะคงที่ตลอดอายุโครงการ ไม่เปลี่ยนแปลงตามค่าไฟฐาน และค่า Ft เหมือนระบบ Adder เดิมท าให้เกิดความเป็นธรรมทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยเบื้องต้นสำหรับ พลังงานแสงอาทิตย์รัฐบาลตั้งไว้ที่ 5.94 บาท/หน่วยและยังมีแนวโน้มการยืดระยะเวลา การทำสัญญาจากเดิม 10 ปี ไปเป็น 20 ปีด้วย