สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย

ปัจจุบันการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเชื้อเพลิงหลักที่นำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล เริ่มลดลงเรื่อย ๆดังนั้นหากผู้ใช้พลังงานไฟฟ้ายังไม่ตระหนักถึงสาเหตุดังกล่าว จนอาจส่งผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้ จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงสถานการณ์พลังงานไฟฟ้า และแนวโน้มการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ในเรื่องที่ 2 ประกอบด้วย 3 ตอน คือ

ตอนที่ 1 สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย

ตอนที่ 2 สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศในกลุ่มอาเซียน

ตอนที่ 3 สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของโลก

ตอนที่1 สถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย พลังงานไฟฟ้าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำเนินชีวิตและการพัฒนาประเทศ ที่ผ่านมาความ ต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณร้อยละ 4 - 5 ต่อปีซึ่งสอดคล้อง กับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันพลังงานไฟฟ้าได้เข้ามามี บทบาทต่อการดำรงชีวิตประจ าวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าเป็นอันดับที่ 24 ของโลก ซึ่งเป็นที่น่ากังวลว่าพลังงานไฟฟ้าจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตหรือไม่ ดังนั้นความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าจึงมีประเด็นสำคัญที่ประชาชนทุกคนควรรู้ ดังนี้

1. สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ของประเทศไทย การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมีการใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย ซึ่งได้มาจากแหล่ง เชื้อเพลิงทั้งภายในและภายนอกประเทศ จากข้อมูลปี พ.ศ. 2558 พบว่า ประเทศไทยมีการผลิต ไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 69.19 ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด รองลงมา คือ ถ่านหินน าเข้าและถ่านหินในประเทศ (ลิกไนต์) ร้อยละ 18.96 พลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 11.02 น้ ามันเตาและน้ ามันดีเซล ร้อยละ 0.75 และมีการน าเข้าไฟฟ้าจากมาเลเซีย ร้อยละ 0.07

2. การใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลาในหนึ่งวันของประเทศไทย การเลือกใช้เชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้า นอกจากการพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าว มาแล้วนั้น อีกปัจจัยส าคัญที่ต้องน ามาพิจารณาด้วย คือ ประเภทของโรงไฟฟ้าที่ต้องการในระบบ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา เพื่อความมีประสิทธิภาพของระบบและ ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เหมาะสม เพราะโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทมีความเหมาะสมในการผลิตไฟฟ้าใน แต่ละช่วงเวลาที่ต่างกัน และโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทก็มีการใช้เชื้อเพลิงที่แตกต่างกันด้วย ดังภาพ

3. สภาพปัจจุบันและแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้า กำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2558 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 38,774เมกะวัตต์ แบ่งเป็นกำลังการผลิตภายในประเทศ 35,387 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 91.26 และก าลังผลิตที่มี สัญญาซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศอีก 3,387 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 8.74 โดยมีความต้องการ ไฟฟ้าสูงสุดที่ 27,346 เมกะวัตต์ ซึ่งความต้องการไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีตามสภาพภูมิอากาศ จำนวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

4. แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan : PDP)

แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า คือ แผนแม่บทในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วย การจัดหาพลังงานไฟฟ้า ในระยะยาว 15 – 20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคงและความเพียงพอต่อความ ต้องการใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ ประเทศ ปัจจุบันใช้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2558 - 2579 (PDP 2015) ซึ่งเป็นแผนฉบับล่าสุด และเป็นแผนที่สอดคล้องกับแผนอนุรักษ์พลังงาน ที่มีเป้าหมายเพื่อประหยัด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ซึ่ง การจัดท าแผน PDP ต้องจัดท าค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศ เพื่อน าค่าพยากรณ์ ความต้องการไฟฟ้าจัดทำแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้เพียงพอในอนาคตต่อไป การจัดท าค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าของประเทศนั้น ใช้ค่าประมาณการแนวโน้ม การขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว อัตราการเพิ่มของประชากร และมีการประยุกต์ใช้แผนการ อนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งพิจารณากรอบของแผนพัฒนาและพลังงานทางเลือกด้วย สำหรับกรอบใน การจัดท าแผนพัฒนาก าลังการผลิตไฟฟ้าประเทศไทย มีดังนี้ 1)ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Security) ต้องจัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความ ต้องการใช้ไฟฟ้าและใช้เชื้อเพลิงหลากหลาย รวมทั้งมีความเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงจากการ พึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินไป 2)ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสมและ ค านึงถึงการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ 3)ด้านสิ่งแวดล้อม (Ecology) ต้องลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน โดยเฉพาะเป้าหมายในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการผลิตไฟฟ้า