โรงไฟฟ้ากับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

การก่อสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและอาจก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติการป้องกันแก้ไขและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างความ สมดุลระหว่างโรงไฟฟ้ากับสิ่งแวดล้อมและชุมชนให้ดีที่สุด เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการ ของภาคเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างยั่งยืน โดยเน้นให้มีการด าเนินการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุดแบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ เช่น ผลกระทบทางอากาศเกิดจากก๊าซพิษ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ผลกระทบทางเสียงเกิด จากเสียงของการเดินเครื่องจักร ผลกระทบทางน้ าเกิดจากอุณหภูมิและสารเคมี เป็นต้น ดังนั้น โรงไฟฟ้าจึงต้องมีระบบการจัดการเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือเป็นไปตามมาตรฐานที่ กฎหมายกำหนด และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

1. ด้านอากาศ ผลกระทบด้านอากาศ ถือเป็นผลกระทบที่ส าคัญที่สุดที่โรงไฟฟ้าต้องค านึงถึง โดย ระดับของผลกระทบขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงานไฟฟ้า ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ าหรือ พลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าที่มี การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง จะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ส าคัญ ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ก๊าซโอโซนในระดับพื้นดิน คาร์บอนมอนอกไซด์คาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่น ละออง

การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ เป็นการจัดการด้านคุณภาพอากาศของโรงไฟฟ้า เพื่อลดก๊าซที่เป็นพิษต่อสุขภาพอนามัยและชุมชน โดยมีวิธีการดังนี้ 1) การลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทำโดยติดตั้งเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ได ออกไซด์ (Flue Gas Desulfurization : FGD) ซึ่งวิธีการนี้จะสามารถลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ได้ร้อยละ 80 – 90 2) การลดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์กระบวนการที่ใช้กันแพร่หลายและ มี ประสิทธิภาพสูงคือ Selective Catalytic Reduction (SCR) และเลือกใช้เตาเผาที่สามารถลดการเกิดไนโตรเจนออกไซด์ (Low Nitrogen Oxide Burner) 3) การลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ท าได้โดยการเช็คอุปกรณ์เครื่องเผาไหม้เป็น ประจำ และควบคุมการเผาไหม้ให้มีปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ 4) การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยการ รวบรวม และ กักเก็บก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ดินหรือน้ำ เช่น ในแหล่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติที่สูบออกมาหมดแล้ว หรืออาจนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรม 5) การลดฝุ่นละอองโดยการใช้อุปกรณ์กำจัดฝุ่นละออง ได้แก่ เครื่องดักฝุ่นด้วยไฟฟ้า สถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นการกำจัดฝุ่นละอองโดยใช้หลักการไฟฟ้าสถิต ซึ่งระบบนี้ ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงมากในการดักจับฝุ่นเครื่องแยกฝุ่นแบบลมหมุน (Cyclone Separator) เป็นการกำจัดฝุ่นละอองโดยใช้หลักของแรงเหวี่ยง และเครื่องกรองฝุ่นแบบถุงกรอง (Bag Filter) เป็นอุปกรณ์ที่มีถุงกรองเป็นตัวกรองแยกฝุ่นละอองออกจากก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน

นอกจากนี้ในด้านคุณภาพอากาศ โรงไฟฟ้าควรมีระบบตรวจวัดปริมาณสารเจือปน จากปล่องโรงไฟฟ้าแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emission Monitoring Systems: CEMs) เพื่อตรวจติดตามและเฝ้าระวังสิ่งผิดปกติต่าง ๆ เช่น ปริมาณของมลพิษเกินมาตรฐานจะได้ 69 หาสาเหตุและหาทางแก้ไข เพื่อให้ค่าต่าง ๆ กลับมาปกติเหมือนเดิม ควรมีการจัดเก็บข้อมูลทุกวัน และติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปแบบต่อเนื่อง (Ambient Air Quality Monitoring Systems: AAQMs) เพื่อวัดคุณภาพอากาศในบริเวณพื้นที่ชุมชนรอบโรงไฟฟ้าโดยทำการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องโรงไฟฟ้าให้อยู่ ในเกณฑ์มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

2. ด้านน้ำ ผลกระทบด้านน้ำ น้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะมีการเติมสารเคมีบางอย่าง เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำให้เหมาะสมสำหรับนำมาใช้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ในโรงไฟฟ้ารวมไปถึง น้ำหล่อเย็นที่ใช้สำหรับระบายความร้อนให้กับระบบต่าง ๆ ภายในโรงไฟฟ้าก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น กว่าแหล่งน้ำในธรรมชาติ ซึ่งหากน้ำเหล่านี้ถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำลำคลอง เป็นต้น โดยไม่ผ่านกระบวนการจัดการบำบัดฟื้นฟูน้ำที่ดีอาจส่งผลกระทบต่อพืช และสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ได

การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ โรงไฟฟ้าต้องมีมาตรการจัดการน้ำเสียที่มาจาก กระบวนการผลิตไฟฟ้า และจากอาคารส านักงานตามลักษณะหรือประเภทของน้ าเสีย โดยคุณภาพ น้ าทิ้งต้องมีการควบคุมให้ครอบคลุมทั้งเรื่องของเสียและอุณหภูมิ ดังนี้ 1) การควบคุมอุณหภูมิของน้ าก่อนที่จะปล่อยสู่แหล่งน้ าสาธารณะ โดยน้ าจาก ท่อหล่อเย็น เมื่อน้ าทิ้งมีความขุ่นในระดับหนึ่งจะถูกระบายออกไปสู่บ่อพักน้ าที่ 1 เพื่อให้ตกตะกอน และลดอุณหภูมิลงเหลือประมาณ 28 - 30 องศาเซลเซียสทิ้งไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จากนั้นจึงระบายออกสู่บ่อพักที่ 2 เพื่อปรับสภาพน้ าให้มีอุณหภูมิใกล้เคียงกับธรรมชาติ ซึ่งกรม ชลประทานได้ก าหนดมาตรฐานไว้ที่ระดับ 33 องศาเซลเซียส ก่อนปล่อยออกสู่คลองระบายน้ า ธรรมชาติ 2) การจัดการสารเคมีต่าง ๆ ที่อยู่ภายในน้ าก่อนปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ท าโดยการกักน้ า ไว้ในบ่อปรับสภาพน้ าเพื่อบ าบัดให้มีสภาพเป็นกลางและมีการตกตะกอน หรือเติมคลอรีนเพื่อฆ่า เชื้อโรค นอกจากนี้ในโรงไฟฟ้าควรมีระบบเฝ้าระวังคุณภาพน้ า ได้แก่ การตรวจวัดคุณภาพน้ า ที่ระบายออกจากโรงไฟฟ้าอย่างสม่ าเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพน้ าที่จะปล่อยออกสู่ธรรมชาตินั้น มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3. ด้านเสียง ผลกระทบด้านเสียง เกิดจากกิจกรรมของโรงไฟฟ้าที่ส าคัญจะมาจากหม้อไอน้ า เครื่องก าเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซ และพาหนะที่เข้ามาในพื้นที่โรงไฟฟ้า การจัดการสิ่งแวดล้อมเสียง เกิดจากกิจกรรมของโรงไฟฟ้าที่ส าคัญจะมาจากหม้อไอ น้ า เครื่องก าเนิดไฟฟ้ากังหันก๊าซ และพาหนะที่เข้ามาในพื้นที่โรงไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้โรงไฟฟ้าควร ก าหนดมาตรการควบคุมระดับเสียงไว้ดังนี้ 1) กิจกรรมที่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนชุมชนในเวลากลางคืน ต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 85 เดซิเบล ในระยะ 1 เมตรจากจุดก าเนิดเสียง ตามมาตรฐานข้อก าหนดความดังของเสียงจากโรงงาน อุตสาหกรรมเพื่อไม่ให้เป็นที่รบกวนต่อผู้อยู่อาศัยโดยรอบโรงไฟฟ้า 2) ติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมเสียงภายในโรงไฟฟ้าช่วงเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าและติดตั้ง อุปกรณ์ดูดซับเสียงแบบเคลื่อนที่ขณะท าความสะอาดท่อที่เครื่องกังหันไอน้ า เพื่อควบคุมความดัง ของเสียงให้อยู่ในมาตรฐานไม่เกิน 85 เดซิเบล นอกจากนี้ในโรงไฟฟ้าควรท าการตรวจวัดเสียงอย่างสม่ าเสมอ โดยก าหนดจุดตรวจวัด เสียงทั้งภายในโรงไฟฟ้า และชุมชนรอบโรงไฟฟ้าไว้ 3 จุด โดยตรวจวัดตามแผนที่ก าหนดไว้ เช่น ตรวจครั้งละ 3 วัน ติดต่อกันทุก 3 เดือน และท าการก่อสร้างแนวป้องกันเสียง (Noise Barrier) โดยการปลูกต้นไม้รอบพื้นที่โรงไฟฟ้า

ตอนที่ 2 ข้อก าหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าด้านสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ก าหนดให้ จัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส าหรับโครงการ หรือกิจการแต่ละประเภทและ แต่ละขนาดขึ้น ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ก าหนดโดยส านักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ที่มีขนาดตั้งแต่ 10 เมกะวัตต์ขึ้นไป จะต้องจัดท ารายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ (EHIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก าหนดประเภทและขนาด ของโครงการหรือกิจการ โดยต้องจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม

1. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) EIA (Environmental Impact Assessment) เป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เพื่อจ าแนก และคาดคะเนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการหรือกิจกรรม ตลอดจนเสนอแนะมาตรการ ในการแก้ไขผลกระทบ (Mitigation Measure) และแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Monitoring) ทั้งในระหว่างการก่อสร้างและด าเนินโครงการในการจัดท ารายงานส าหรับโครงการ หรือกิจการทุกประเภทที่ต้องจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จะต้องเสนอ รายละเอียดของข้อมูลเฉพาะที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ผลกระทบจากแต่ละประเภท โครงการด้วย

องค์ประกอบของ EIA การจัดท า EIA ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน คือ 1) ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ เช่น ดิน น้ า อากาศ เสียง เป็นต้น ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร 2) ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาความเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ า ปะการัง เป็นต้น 3) คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรทั้งทางกายภาพ และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น 4) คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งจะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึง ทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม

หลักการและวิธีการ EIA 1) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ก่อนตัดสินใจพัฒนาโครงการ 2) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเฉพาะกรณี เพื่อใช้ส าหรับ การตัดสินใจพัฒนาโครงการใดโครงการหนึ่ง 3) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ของโครงการพัฒนา 4) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาปัญหาหลาย ๆ แง่มุม เพื่อ วิเคราะห์ หาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 5) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องอาศัยหลักการป้องกันสิ่งแวดล้อม 2 ประการ คือ การวางแผนการใช้ที่ดิน และการควบคุมมลพิษ

ดังนั้น ในกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม นอกจากจะแสดงให้เห็น ผลกระทบอันเกิดจากการด าเนินโครงการแล้ว ยังเน้นให้มีการป้องกันด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปทุก ขั้นตอนของการวางแผนและออกแบบโครงการ ด้วยหลักการก็คือ ให้มีการป้องกันไว้ก่อน นั่นคือ ให้มีการพิจารณาทางเลือกของโครงการเพื่อที่จะสามารถเปรียบเทียบ พิจารณาทางเลือกที่มี ผลกระทบทางลบน้อยที่สุด และให้ประโยชน์หรือผลกระทบในทางบวกมากที่สุด

2. การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ (Environmental Health Impact Assessment: EHIA) ปี พ.ศ. 2553 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกประกาศและ ข้อก าหนดที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ในเรื่องประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติส าหรับโครงการหรือกิจการที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ธรรมชาติ และสุขภาพ เพื่อให้การเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และโดยเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และตามมาตรา 46 และมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ก าหนดให้การด าเนินงานโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ล าดับที่ 11 ตาม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ก าหนดประเภท ขนาด และวิธีปฏิบัติ ส าหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนจะต้องจัดท า 73 รายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ (EHIA : Environmental Health Impact Assessment) โดยมีรายละเอียดโครงการ ฯ ที่ต้องจัดท ารายงาน ดังน

องค์ประกอบของ EHIAการจัดท า EHIA ประกอบด้วย การศึกษาครอบคลุมระบบสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน

เช่นเดียวกับการจัดท ารายงาน EIA แต่มีข้อแตกต่างกัน คือ

1) เน้นเรื่องการประเมินผลกระทบสุขภาพให้ครอบคลุมปัจจัยต่าง ๆ ให้ชัดเจน

2) เน้นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทุกขั้นตอนในการก าหนดขอบเขตการศึกษา ควรพิจารณาโอกาสที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยพิจารณาจากปัจจัย ดังนี้

1) สิ่งคุกคามสุขภาพ

2) ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ

3) ปัจจัยต่อการรับสัมผัส

4) ลักษณะผลกระทบต่อสุขภาพ

5) ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ

6) ผลกระทบต่อสังคมและชีวิตความเป็นอยู

ปัจจุบัน ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยมีความเสื่อมโทรม และมีจ านวนลดลง อย่างต่อเนื่อง จึงจ าเป็นต้องมีมาตรการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีจ านวน ลดลง ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าต่อการลงทุน และเหมาะสมกับปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ ในปัจจุบัน และที่จะลดลงในอนาคต ในด้านกฎหมาย และสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ก าหนดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสงวนบ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากการส่งเสริม 76 บ ารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุม และการจัดการภาวะมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิต ของประชาชนเป็นหลัก ในการพัฒนาโครงการต่าง ๆ

ในกรณีที่ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าที่มีก าลังการผลิตตั้งแต่ 5 เมกะวัตต์ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 เมกะวัตต์แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ต้องจัดท ารายงาน EIA และ EHIA แต่ตามกฎหมายบังคับให้ต้อง ท ารายงานการศึกษาและมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความ ปลอดภัย (Environmental Safety Assessment : ESA) ส าหรับผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวล (ประเภทเชื้อเพลิงแข็ง) ที่มี ก าลังการผลิตติดตั้งต่ ากว่า 10 เมกะวัตต์ จะต้องด าเนินการตามประมวลหลักการปฏิบัติงาน (Code of Practice: COP) โดยเสนอรายงานการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Checklist) การจัดท ารายงานวิเคราะห์ทางด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อให้การประกอบกิจการผลิต ไฟฟ้าส าหรับประเภทและโครงการแต่ละประเภท มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและ เป็นเครื่องมือส าคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่โรงไฟฟ้า