โครงการโภชนาการสุขใจ สมวัย แข็งแรง

โครงการ โภชนาการสุขใจ สมวัย แข็งแรง

ปีงบประมาณ 2564

หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุไทยเป็นวัยที่มีสภาพร่างกายเสื่อมลงอย่างช้า ๆ นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคต่าง ๆ ที่นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง วิธีการป้องกันมิให้เกิดภาวะทุพโภชนาการและโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ วิธีหนึ่งคือการรับประทานอาหาร โดยธรรมชาติแล้วเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุความต้องการอาหารจะลดน้อยลง แต่มีความต้องการสารอาหารทุกชนิดอยู่

การดูแลด้านโภชนาการของผู้สูงวัย ควรคำนึงถึงสภาพการณ์ต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระร่างกายที่มีผลต่อการรับประทานอาหาร อาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุในแต่ละสภาวะ และทรัพยากรธรรมชาติที่เรามีอยู่ ซึ่งสามารถดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมต้องพิจารณาถึงคุณภาพและเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นหลัก พร้อมกันนั้นต้องยอมรับด้วยว่า อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนสูงอายุคนหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับอีกคนหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน้าที่ทางกายภาพ สภาพของระบบอวัยวะของแต่ละคน ผู้สูงอายุที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสมจะนำไปสู่โภชนาการที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ อันเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย ดังนั้นหากต้องการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ห่างไกลโรค จำเป็นต้องใส่ใจเรื่องอาหาร ตั้งแต่การเลือกอาหารที่เหมาะสม ครบ 5 หมู่ การเลือกทานผลไม้มากกว่าขนมหวาน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรลดอาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เบเกอรี่ และควรหันไปเลือกไขมันเชิงเดี่ยวที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว รวมทั้งการดูแลน้ำหนักให้สอดคล้องกับอายุและสภาพร่างกายด้วย ขณะที่คนที่เป็นโรคความดันและโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเค็มหรือมีโซเดียมสูง นอกจากนี้การจัดเตรียมอาหารให้มีสีสัน กลิ่น รส น่ารับประทาน และการรับประทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตาครอบครัว เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมภาวะโภชนาการให้ผู้สูงอายุได้

โรงพยาบาลกำแพงเพชร โดยกลุ่มงานโภชนศาสตร์ได้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลในเมือง ควรมีความรู้ ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมตามสภาวะ การปรุงอาหารที่สะอาดปลอดภัย และถูกหลักโภชนาการ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพโภชนาการที่ดีขึ้นต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้น

2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีทักษะการทำอาหารเพื่อสุขภาพ


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีขึ้น

2. ผู้สูงอายุมีทักษะการทำอาหารเพื่อสุขภาพ




กิจกรรม

ให้ความรู้เรื่องอาหารผู้สูงอายุ

สาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ

กิจกรรมที่ 1 อาหารบำบัดโรค

กิจกรรมที่ 2 เลือกอาหารโดนใจสไตล์วัยเก๋า




กิจกรรมที่ 3 อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ

กิจกรรมที่ 4 สุขใจที่ได้กลืน









กิจกรรมที่ 5 กินอย่างไรกระตุ้นสมองผู้สูงอายุ

กิจกรรมที่ 6 กินเพลิน เจริญตา พาจำดี มีพลัง