SCRATCH เบื้องต้น

โปรแกรม Scratch (อ่านว่า สะ – แครช) เป็นโปรแกรมภาษา ที่ผู้เรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างง่าย เช่น นิทานที่สามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ ภาพเคลื่อนไหว เกมดนตรี และศิลปะ และเมื่อสร้างเป็นชิ้นงานเสร็จแล้ว สามารถนำชิ้นงานที่สร้างสรรค์นี้ แสดง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่นบนเว็บไซต์ได้ ทำให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้หลักการทางคณิตศาสตร์ และแนวคิดการโปรแกรมไปพร้อมๆ กับการคิดอย่างสรรค์สรรค์ มีเหตุผล เป็น ระบบ และเกิดการทำงานร่วมกัน

สไลด์การสอน

หน้าต่างการทำงานของโปรแกรม Scratch

ส่วนประกอบของโปรแกรม

  1. แถบเครื่องมือ

ปุ่มเปลี่ยนภาษา

ปุ่มจัดการไฟล์ สร้างงาน/บันทึก/อัปโหลด

ปุ่มแก้ไขย้อนกลับ/โหมดเทอร์โบ(เร่งความเร็วการทำงานสคริปต์)

ปุ่มบทเรียน ตัวอย่างการสร้างชิ้นงานต่างๆ

ชื่อโปรเจค/ชิ้นงาน

2. แถบเครื่องมือสคริปต์

Sound ทำงานเกี่ยวกับการแสดงเสียงต่างๆ ซึ่งอาจเป็นเสียงจากไฟล์ที่มีอยู่ หรือไฟล์เสียงที่บันทึกโดยเครื่องบันทึกเสียง (Sound Recorder) ซึ่งอยู่ในโปรแกรม Scratch ไฟล์เสียงจะมีส่วนขยายเป็น .wav หรือ .mp3 นอกจากนี้ ยังมีบล็อกที่สามารถกำหนดเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ได้

Costumes เป็นภาพของตัวละคร ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลง ภาพเดิม หรือเพิ่มภาพใหม่และอาจเขียนสคริปต์เพิ่มให้กับตัวละครเปลี่ยนชุด หรือให้มองเห็นเป็นการ เคลื่อนไหวใน รูปแบบต่างๆ ตามต้องการ

Code สคริปต์คือชุดคำสั่งสำหรับตัวละครหรือเวที เพื่อสั่งให้ตัวละครหรือเวทีทำงานตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยการเลือกสคริปต์จากกลุ่มบล็อก ซึ่งแบ่งเป็น 8 กลุ่มดังนี้

กลุ่มบล็อก การทำงาน

  1. Motion กลุ่มบล็อกการเคลื่อนไหว เช่น เคลื่อนที่ไปข้างหน้า หมุนไปทางซ้ายหรือขวา

  2. Looks เกี่ยวกับรูปร่างของตัวละคร เช่นสี ขนาด การแสดงคำพูด และความคิด รวมถึงเอฟเฟคต่างๆ

  3. Sound ใช้สำหรับเปิดเสียงดนตรีชนิดต่างๆ ผู้ใช้อาจอัดเสียงพูดด้วยตัวเองแล้วนำมาใส่ในตัวละคร เหมือนกับการพากย์เสียง

  4. Events มีบล็อกคำสั่งที่ใช้จัดการเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะที่สคริปต์กำลังทำงานรวมถึงการเริ่มทำ และการหยุดทำงานของสคริปต์ด้วย

  5. Control ใช้ในการบังคับทิศทางการทำงานของสคริปต์เช่น การทำงานซํ้า การตัดสินใจ การติดต่อสื่อสารกับตัวละครอื่นๆ และที่สำคัญใช้กำหนดเริ่มต้นและหยุดการทำงานของสคริปต์

  6. Sensing ใช้รับสัญญานต่างๆ ที่มีต่อตัวละครหรือผู้ใช้งาน เช่น การชนกันของตัวละคร การกดคีย์ของผู้ใช้งาน

  7. Operators เกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตรรกะ และการจัดการตัวอักษร และข้อความ หมวดตัวแปร

  8. Variables ใช้ในการสร้างตัวแปรเพื่อเก็บข้อมูลเอาไว้ใช้ภายหลัง ตัวแปรที่สร้างสามารถใช้ส่วนตัวของแต่ละตัวละคร หรือใช้ร่วมกันกับตัวละครทั้งหมดรวมทั้งเวทีด้วย

  9. Myblocks เป็นบล็อกคำสั่งที่ใช้สร้างบล็อกเพิ่มเติมในรูปของฟังก์ชัน หรือเพิ่มบอร์ดขยายความสามารถในการตรวจสอบการรับรู้ บล็อกในกลุ่มบล็อก

3. พื้นที่การเขียนโปรแกรม

ลากบล็อกต่างๆ มาที่พื้นที่การเขียนโปรแกรม โดยสังเกตที่มุมขวาจะมีรูปภาพแสดงถึง คำสั่งที่เขียนนั้นเป็นของตัวละครใด

4. ตัวละคร

รายการตัวละคร และเวทีที่ใช้ในโปรเจคปัจจุบัน (Sprites Pane)ในโปรแกรม Scratch สามารถกำหนดให้มีตัวละครได้หลายตัวละคร แต่ละตัวจะมีข้อมูลส่วนตัวที่แตกต่างกัน เช่น ชื่อ ชุดตัวละคร ทิศทางการเคลื่อนที่ พิกัดของตำแหน่งโดยชุดตัสละครจะหมายถึง เครื่องแต่งกายและท่าทาง

5. เวที

เวทีมีขนาดกว้าง 480 หน่วย สูง 360 หน่วย ในแต่ละโปรเจกต์มีเวทีเดียว จึงมีชื่อเดียวและ ไม่สามารถเปลี่ยนชื่อได้ เวทีใช้แสดงผลการทำงานของสคริปต์ (script) เสียง (sound) หรือฉาก (background) ได้ และฉากที่จะแสดงบนเวทีจะต้องมีขนาดไม่เกินขนาดของเวที (480 X 360) ถ้าพื้นหลังที่ใช้มีขนาดใหญ่กว่า โปรแกรม Scratch จะลดขนาดพื้นหลังนั้นอัตโนมัติเพื่อให้พอดีกับขนาดของเวที

6. เริ่มต้น / หยุดการทำงาน

คลิกธงเขียวเพื่อเริ่มการทำงาน / คลิกปุ่มแดงเพื่อหยุดทั้งหมดของสคริปต์

7. การแสดงผลเวที

หน้าจอขนาดเล็ก / หน้าจอขนาดกลาง / เต็มจอ