พรบ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546

และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2562)


กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกกระทรวง ทบวง กรม โดยให้จัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้

1. ระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง

2. ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา

3. ระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล (แต่ไม่รวมถึงการจัดการศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่น)

การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ โดยคำนึงถึง

1. คุณวุฒิ

2. ประสบการณ์

3. มาตรฐานวิชาชีพ

4. ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ

5. คุณภาพของผลงาน

โดย 5 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


หมวด 1

การจัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง

----------------------------------------------


1. จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ดังนี้

1.1 สำนักงานปลัดกระทรวง

1.2 ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


2. การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ

ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยมีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการดังนี้

2.1 สำนักงานรัฐมนตรี

2.2 สำนักงานปลัดกระทรวง

2.3 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

2.4 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2.5 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


3. กระทรวงศึกษาธิการ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบาย เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงานในกระทรวงศึกษาธิการ


4. สภาการศึกษามีหน้าที่ ดังนี้

4.1 พิจารณา เสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ

4.2 พิจารณา เสนอนโยบาย แผนและมาตรฐานการศึกษา

4.3 พิจารณา เสนอนโยบายและแผนการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา

4.4 ดำเนินการประเมินผลการจัดศึกษา ตามแผนการศึกษาแห่งชาติ

4.5 ให้ความเห็นหรือคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายและกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับการศึกษา


5. คณะกรรมการสภาการศึกษา มีจำนวน 41 คน ประกอบด้วย

5.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน

5.2 กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.3 ผู้แทนองค์กรเอกชน

5.4 ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5.5 ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ

5.6 พระภิกษุ

5.7 ผู้แทนกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

5.8 ผู้แทนองค์กรศาสนาอื่นๆ

5.9 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่ากรรมการประเภทอื่นรวมกัน)

5.10 เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ


6. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณา เสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรแกนกลาง คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนไม่เกิน 27 คน ประกอบด้วย

6.1 กรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

6.2 ผู้แทนองค์กรเอกชน

6.3 ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

6.4 ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ

6.5 ผู้ทรงคุณวุฒิ (ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่ากรรมการประเภทอื่นรวมกัน)

6.6 เลขาธิการสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการและเลขานุการ


7. คณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีหน้าที่ พิจารณา เสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรอาชีวศึกษาทุกระดับ คณะกรรมการการอาชีวศึกษามีจำนวนไม่เกิน 32 คน ประกอบด้วย

7.1 คณะกรรมการโดยตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

7.2 ผู้แทนองค์กรเอกชน

7.3 ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

7.4 ผู้แทนองค์กรวิชาชีพ

7.5 ผู้ทรงคุณวุฒิ (ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่ากรรมการประเภทอื่นรวมกัน)

7.6 เลขาธิการสำนักงานการศึกษาการอาชีวศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ


8. กระทรวงศึกษาธิการมีผู้ตรวจราชการกระทรวง ซึ่งทำหน้าที่ ดังนี้

8.1 ตรวจราชการ

8.3 ศึกษา

8.3 วิเคราะห์

8.4 วิจัย

8.5 ติดตาม

8.6 ประเมินผลระดับนโยบาย


ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษา ไม่อาจบริการและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานบางประเภทได้ ให้สำนักงานปลัดกระทรวงและสำนักงานต่างๆ อาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญา ดังต่อไปนี้

1. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้

2. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย

3. การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ

4. การจัดการศึกษาทางไกล

5. การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา (แต่ไม่รวมถึงสถาบันวิทยาลัยชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันวิทยาลัยชุมชน)


กระทรวงศึกษาธิการ มีปลัดกระทรวงคนหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

1. ควบคุมราชการประจำในกระทรวง

2. เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของส่วนราชการในสำนักงานปลัดกระทรวง


9. สำนักงานปลัดกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

9.1 ดำเนินการเกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง

9.2 ประสานงานต่างๆในกระทรวง

9.3 จัดทำงบประมาณและแผนปฏิบัติราชการ

9.4 ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

9.5 ดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกระทรวง

ให้เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงาน และอาจแบ่งส่วนราชการ ดังนี้

1. สำนักอำนวยการ

2. สำนักบริหารงานหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าสำนัก สำนัก

บริหารงาน


10. สำนักอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของสำนกงาน โดยมีผู้อำนวยการของสำนักอำนวยการ เป็นผู้บังคับบัญชา


11. เลขาธิการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

11.1 ควบคุมราชการประจำในสำนักงาน

11.2 เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงาน (รองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)


12. คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาพิเศษ ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่เป็นองค์การส่งเสริมและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการศึกษาสำหรับบุคคล ซึ่งมีความบกพร่องหรือไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้


หมวด 2

การจัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา

----------------------------------------------


1. การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง

1.1 ปริมาณสถานศึกษา

1.2 จำนวนประชากร

1.3 วัฒนธรรม

1.4 ความเหมาะสมด้าน ๆ อื่นด้วย (เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา)


2. จัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา ดังนี้

1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

2. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน


3. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา มีหน้าที่

3.1 กำกับ จัดตั้ง ยุบ รวมหรือยกเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

3.2 ประสาน ส่งเสริมหรือสนับสนุนสถานศึกษาเอกชน

3.3 ประสานและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา

3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของบุคคลและสถาบันสังคมอื่นปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง


4. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย

4.1 ผู้แทนองค์กรชุมชน

4.2 ผู้แทนองค์กรเอกชน

4.3 ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

4.4 ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู

4.5 ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา

4.6 ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู

4.7 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม

4.8 ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ


5. คณะกรรมการสถานศึกษา ทำหน้าที่ กำกับและส่งเสริม สนับสนุนกิจการของสถานศึกษา ประกอบด้วย

5.1 ผู้แทนผู้ปกครอง

5.2 ผู้แทนครู

5.3 ผู้แทนองค์กรชุมชน

5.4 ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

5.5 ผู้แทนศิษย์เก่า

5.6 ผู้แทนพระภิกษุหรือผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น

5.7 ผู้ทรงคุณวุฒิ

5.8 ผู้บริหารสถานศึกษา (เป็นกรรมการและเลขานุการ)


หมวด 4

การปฏิบัติราชการแทน

----------------------------------------------


1. การปฏิบัติราชการแทน

1.1 ปลัดกระทรวง

1.2 เลขาธิการสภาการศึกษา

1.3 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

1.4 เลขาธิการคณะกรรมการอาชีวศึกษา

กระจายอำนาจและการจัดการศึกษา

· ด้านวิชาการ

· งบประมาณ

· การบริหารงานบุคคล

· การบริหารงานทั่วไป

ให้คณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจ

· การสั่งการ

· การอนุญาต

· การอนุมัติ

· การปฏิบัติราชการ

· การดำเนินการอื่น


ผู้ที่ดำรงตำแหน่งใดใน พรบ. นี้ พึงปฏิบัติหรือดำเนินตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนด เรื่องการมอบอำนาจไว้เนอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น อาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรง ตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ โดยคำนึงความเป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษา


2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อาจมอบอำนาจให้

2.1 รัฐมนตรีช่วย

2.2 ปลัดกระทรวง

2.3 เลขาธิการ

2.4 หัวหน้าส่วนราชการ


3. ปลัดกระทรวง อาจมอบอำนาจให้

3.1 รองปลัดกระทรวง

3.2 ผู้ช่วยปลัดกระทรวง

3.3 เลขาธิการ

3.4 หัวหน้าส่วนราชการ

3.5 ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

3.6 ผู้อำนวยการสถานศึกษา

3.7 ผู้ว่าราชการจังหวัด


4. เลขาธิการ อาจมอบอำนาจให้

4.1 รองเลขาธิการ

4.2 ผู้ช่วยเลขาธิการ

4.3 หัวหน้าส่วนราชการ

4.4ผู้อำนวยการสำนัก

4.5 ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานหรือเทียบเท่า

4.6 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

4.7 ผู้อำนวยการสถานศึกษา

4.8 ผู้ว่าราชการจังหวัด


5. ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานหรือเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้

5.1 ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

5.2 ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือเทียบเท่า


6. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้

6.1 ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

6.2 ผู้อำนวยการสถานศึกษา

6.3 หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นในเขตพื้นที่การศึกษา


7. ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ดำรงตำแหน่งเทียบเท่า อาจมอบอำนาจให้

7.1 ข้าราชการในสถานศึกษาหรือหน่วยงาน


การมอบอำนาจ

· รัฐมนตรี ศธ.

· ปลัดกระทรวง

· เลขาธิการ

· ผู้อำนวยการสำนัก

· ผอ. สำนักเขตพื้นที่การศึกษา

· ผู้อำนวยการสถานศึกษา

อาจมอบอำนาจให้แก่ผู้อื่นได้ตามระเบียบโดยให้ทำหนังสือ

หมวด 5

การรักษาการในตำแหน่ง

----------------------------------------------


1. ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ð ให้ ð รัฐมนตรีช่วย ถ้ามีรัฐมนตรีช่วยหลาย

คนให้ครม. มอบหมาย ให้รัฐมนตรีช่วยคนใดคนหนึ่ง ð และถ้าไม่มีรัฐมนตรีช่วย ครม. มอบหมายให้

ð รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งรักษาราชการแทน


2. ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง

ไม่มีปลัดกระทรวง ð ให้ ð รองปลัดกระทรวงถ้ามีรองปลัดกระทรวงหลายคน ให้

รัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้รองปลัดกระทรวงคนใดคนหนึ่ง ð และถ้าไม่มีรองปลัดกระทรวง รัฐมนตร

แต่งตั้งให้ ð ข้าราชการไม่ต่ำกว่าเลขานุการรักษาราชการแทน


3. ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ

ไม่มีเลขาธิการ ð ให้ ðรองเลขาธิการ ถ้ามีรองเลขาธิการลายคน ให้ รัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้รองเลขาธิการคนใดคนหนึ่ง ð และถ้าไม่มีรองเลขาธิการ รัฐมนตรี แต่งตั้งให้ ð ข้าราชการไม่ต่ำกว่าเลขาธิการรักษาราชการแทน


4. ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนัก

ไม่มีผู้อำนวยการสำนัก ð ให้ ð รองผู้อำนวยการสำนักถ้ามีรองผู้อำนวยการสำนักหลายคน ให้ ปลัดกระทรวงหรือเลขาธิการแต่งตั้ง ให้รองผู้อำนวยการสำนักคนใดคนหนึ่ง ð และถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสำนัก ปลัดกระทรวงหรือเลขาธิการ แต่งตั้งให้ ð ข้าราชการในสำนักบริหารงานรักษาราชการแทน


5. ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา

ไม่มีผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ð ให้ ð รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาถ้ามีรองผู้อำนวยการหลายคน ให้ เลขาธิการแต่งตั้ง ให้รองผู้อำนวยการคนใดคนหนึ่ง ð และถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เลขาธิการแต่งตั้งให้ ð ข้าราชการเทียบเท่ารองผอ. เขตหรือ ผอ. สถานศึกษารักษาราชการแทน


6. ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา

ไม่มีผู้อำนวยการสถานศึกษา ð ให้ ð รองผู้อำนวยการสถานศึกษาถ้ามีรองผู้อำนวยการหลายคน ให้ ผอ. เขตพื้นที่แต่งตั้ง ให้รองผู้อำนวยการคนใดคนหนึ่ง ð และถ้าไม่มีรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผอ. เขตพื้นที่แต่งตั้งให้ ð ข้าราชการในสถานศึกษารักษาการในตำแหน่ง