การจัดการคุณภาพการศึกษา

การจัดการคุณภาพการศึกษา

ความหมาย

การจัดการคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ คำว่าการจัดการ และคำว่า คุณภาพการศึกษา

การจัดการ หมายถึง การให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือสั่งการ และการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปณิธานและภารกิจของการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและ ภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน (สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์, 2554)

ดังนั้น การจัดการคุณภาพการศึกษา จึงหมายถึง กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้อง ทำให้ได้มาซึ่งคุณลักษณะของผู้เรียนและวิธีการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นที่เชื่อมั่นหรือเป็นที่พึงพอใดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย หลักการพื้นฐานและระบบการจัดการคุณภาพการศึกษา


ความสำคัญของการจัดการคุณภาพการศึกษา

การจัดการคุณภาพการศึกษามีความสำคัญคือ ช่วยให้การดำเนินการทางด้านการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เป็นที่พอใจของผู้รับบริการ

หลักการจัดการคุณภาพการศึกษา

1. คุณภาพการศึกษาที่พิจารณาจากตัวผู้เรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความสามารถในการอ่าน เขียน คิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา ทักษะกระบวนการทำงาน อัตราการตกซ้ำชั้นและภาวะทางโภชนาการ

2. คุณภาพการศึกษาที่พิจารณาจากวิธีการจัดการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครู การบริหารจัดการ และปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ การศึกษามีพื้นฐานมาจากหลักการควบคุม (Controlling) ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญประการหนึ่งในทางการบริหารจัดการองค์การและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการคุณภาพการศึกษาเชิงระบบดังนี้ด้านผลผลิต (Output) ด้านทรัพยากรที่จำเป็น (Input) ได้แก่ คุณลักษณะของผู้เรียนการบรรลุวัตถุประสงค์ความพึงพอใจความเจริญเติบโตด้านข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ได้แก่ ผู้บริหารครูผู้สอนนักเรียนวัสดุอุปกรณ์สถานที่ด้านกระบวนการจัดการศึกษา (Process) ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การวัดและประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มาตรฐานและแผนการทำงาน วัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน แก้ไข ปรับปรุง

แนวคิดการบริหารระบบคุณภาพการศึกษา

การจัดการศึกษา ไม่ว่าในระบบใหญ่ของประเทศ (ระดับมหภาค) หรือในระบบย่อยลงมา (ระดับจุลภาค) คุณภาพการศึกษาจะเกิดขึ้นหรือไม่ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่ดี เพื่อนำไปสู่ผลผลิตหรือผลงานที่ตรงตามข้อกำหนด ตามความต้องการของ ความมั่นใจของผู้รับบริการทางการศึกษา เช่น การจัดการศึกษาระดับโรงเรียนย่อมมีจุดหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณลักษณะต่าง ๆ ครบถ้วน ตามความคาดหวังของหลักสูตรแต่ละระดับการศึกษา สอดคล้องกับความต้องการและความพึงพอใจของผู้เรียน ผู้ปกครอง และสังคม

การบริหารระบบคุณภาพขององค์กรทางการศึกษาได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัเสมอมา โดยอาศัยแนวคิดและหลักการของการพัฒนาองค์กร (Organization Development หรือ OD) โดยทั่วไปมักใช้แนวคิดที่สำคัญ ๆ ดังนี้


1. แนวคิดการบริหารคุณภาพวงจรเดมมิ่ง (The Deming Cycle) เป็นแนวคิดการบริหารที่เน้นขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนหลัก ได้แก่

ขั้นที่ 1 การวางแผน (Plan – P)

ขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผน (Do - D)

ขั้นที่ 3 การตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน (Check - C)

ขั้นที่ 4 การแก้ไขปัญหา (Action - A)

ซึ่งทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ ต้องปฏิบัติต่อเนื่องไปไม่สิ้นสุดเหมือนวงจรที่มีลักษณะ ดังนี้



ภาพ การบริหารคุณภาพวงจรเดมมิ่ง (The Deming Cycle)

ที่มา : https://logisticbasic.blogspot.com/2014/07/deming-cycle.html

การประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา เช่น จัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย กล่าวคือการจัดการคุณภาพการศึกษา ต้องยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน บิดา มารดา ผู้ปกครองชุมชน หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ให้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย วางแผน(P -Plan หมายถึงการวางแผน) ติดตามประเมินผล (C -Check หมายถึงตรวจสอบ) พัฒนาปรับปรุง(A -Action หมายถึงการแก้ไขข้อบกพร่องจากการตรวจสอบ และนำผลจากการแก้ไขไปถือปฏิบัติ) ช่วยกันคิดช่วยกันทำ (D -Do หมายถึงการปฏิบัติ ตามแผนที่ได้วางไว้) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

1.1 หลักการสำคัญของการของระบบการบริหารเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพทั้งองค์การ

หลัก 14 ประการของ Deming สำหรับการปรับปรุงคุณภาพ

1.1.1 การสร้างเป้าหมายที่สอดคล้องกัน

1.1.2 นำไปสู่การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง

1.1.3 สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ หยุดการควบคุมคุณภาพโดยอาศัยการตรวจสอบเพื่อให้พบปัญหา

1.1.4 เสริมสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวบนพื้นฐานทางด้านศักยภาพ แทนการให้รางวัลจากการใช้ราคา

1.1.5 ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ คุณภาพ และระบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง

1.1.6 ทำการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ

1.1.7 เน้นภาวะผู้นำให้เกิดขึ้น

1.1.8 กำจัดข้อวิตกกังวล หรือความหวาดกลัวให้หมดไป

1.1.9 กำจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคของการร่วมมือระหว่างหน่วยงานในองค์การ

1.1.10 หยุดการกระตุ้นโดยใช้คำขวัญสำหรับพนักงาน

1.1.11 สนับสนุน ช่วยเหลือ และปรับปรุง

1.1.12 กำจัดอุปสรรคที่ขัดขวางความภาคภูมิใจในการทำงานของพนักงาน

1.1.13 จัดตั้งแผนการศึกษาและการฝึกอบรม เพื่อให้เกิดการปรับปรุงตนเอง

1.1.14 ทำให้ทุกคนในองค์การลงมือปฏิบัติ เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง


2. แนวคิดการบริหารทั่วองค์กร (Total, Quality Management หรือ TQM)

การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total quality management : TQM) หมายถึง แนวทางในการบริหารขององค์กรที่มุ่งเน้นคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมและมุ่งหมายผลกำไรในระยะยาวด้วยการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้ารวมทั้งการสร้างผลประโยชน์ตอบแทนแก่หมู่สมาชิก TQM มี หลักการที่สำคัญ ด้วยการปฏิบัติงานประจำวันให้ดีที่สุด สามารถทำงานข้ามสายงานได้เป็นอย่างดี ทำการกระจายนโยบายให้เป็นผลต่อองค์กร 3 ประการ

1. การมุ่งเน้นที่คุณภาพ

2. การปรับปรุงกระบวนการ

3.ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์ของ TQM คือ การพัฒนาบุคลากรให้สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมใน การปรับปรุงคุณภาพของสินค้าหรือบริการ อันจะทำให้คุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคนดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง

2.1 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success factor : KSF ของระบบ TQM )

2.1.1 ความยึดมั่นผูกพันอย่างจริงจังจากผู้บริหารทุกระดับ

2.1.2 การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้พนักงานทุกคนได้เรียนรู้

2.1.3 โครงสร้างขององค์กรที่สนับสนุนวิธีคิดและวิธีทำงานอย่างเป็นกระบวนการ

2.1.4 การติดต่อสื่อสารจะต้องทั่วถึงทั้งแนวดิ่งตามสายงาน และแนวราบของการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ

2.1.5 การให้รางวัลและการยอมรับทีมงาน สมควรได้รับจากผลงานที่ปรากฎการณ์ส่งเสริม

2.1.6 การวัดผลงานอย่างเหมาะสม

2.1.7 การทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 การนำแนวคิดแนวคิดการจัดการคุณภาพการศึกษามาใช้ในการบริหารสถานศึกษา

2.2.1 ศึกษาหลักการบริหารแบบคุณภาพ

2.2.2 กำหนดนโยบายด้านบริหารคุณภาพให้ชัดเจน

2.2.3 จัดตั้งองค์กรหรือคณะบุคลดำเนินการตามนโยบายคุณภาพ

2.2.4 วางแผนและออกแบระบบงานมาตรฐานและวิธีทำงาน และการจัดการทรัพยากร

2.2.5 จัดทำคู่มือระบบคุณภาพโดยอธิบายวิธีปฏิบัติงานแต่ละด้าน

2.2.6 สร้างทีมงาน ละจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินงานแต่ละด้าน

2.2.7 จัดฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรทุกระดับ

2.2.8 จัดระบบประเมินผลงานอย่างโปร่งใส และทุกฝ่ายยอมรับการนำสู่การปฏิบัติ

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการคุณภาพการศึกษา

บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาทุกฝ่าย กล่าวคือการจัดการคุณภาพการศึกษา ต้องยึดหลักการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของครูผู้สอน บิดา มารดา ผู้ปกครองชุมชน หรือหน่วยงานที่กำกับดูแล ให้เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบาย วางแผน ติดตามประเมินผล พัฒนาปรับปรุง ช่วยกันคิดช่วยกันทำให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

บทบาทของผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดการคุณภาพ

- ผู้บริหารสถานศึกษา มีหน้าที่วางแผนพัฒนาสถานศึกษาส่งเสริมให้ครูทุกคนได้มีส่วนร่วมในการวางแผนด้านวิชาการและติดตามผลการดำเนินงานสถานศึกษา

- ครู ผู้บริหารส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมีการนำองค์ความรู้ เรื่องการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนสำคัญที่สุดไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน

- นักเรียนได้เรียนตามความถนัดและความเข้าใจในด้านการเรียนการสอนมีความเห็นว่า ครูต้องมีการประเมินผลนักเรียนทั้งราย บุคคลและกลุ่ม ด้วยวิธีการที่หลากหลายและเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วน

ร่วมในการจัดการเรียนการสอน

- ผู้ปกครอง/ชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เช่นภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอนมีความพึ่งพอใจต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน นักเรียนมีความประพฤติ ตามกฆระเบียบและได้นำความรู้จากการเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การเรียนการสอน

- คณะกรรมการถานศึกษา มีส่วนร่วมจัดทำหลักสูตรให้คำแนะนำชี้แนะต้องการใช้สถานศึกษาเป็นเช่นไร มีความเห็นว่านักเรียนชอบโรงเรียนหรือไม่ มีความประพฤติ มีกฎระเบียบและสามารถนำความรู้ จากการเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน