พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา

พระราชบัญญัติ สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546

สรุปพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา


1. คำนิยาม

“ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบการบรรจุและแต่งตั้ง ตามพระราชบัญญัติให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผน่ ดิน งบบุคลากรที่จ่ายในลักษณะเงินเดือนในกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬากระทรวงวัฒนธรรม หรือกระทรวงอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

“ข้าราชการครู” หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของรัฐ

“คณาจารย์” หมายความวา่ บุคลากรซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจิยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ

“บุคลากรทางการศึกษา” หมายความว่า บริหารสถานศึกษาผบู้ริหารการศึกษารวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกบัการจดักระบวนการเรียนการสอน การนิเทศการบริหารการศึกษาและปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานการศึกษา

“หน่วยงานการศึกษา” หมายความว่า

(1) สถานศึกษา

(2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(3) สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน

(4) แหล่งการเรียนรู้ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

(5) หน่วยงานตามกฎหมายวา่ ด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการหรือตามประกาศกระทรวง หรือหน่วยงานที่คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนด

“สถานศึกษา” หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบัน หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่า ด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง


2. คณะกรรมการที่กำกับดูแล

คณะกรรมการบริหารงานบุคคลของขา้ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาคณะหนึ่ง เรียกวา่ “คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา” เรียกโดยย่อว่า “ก.ค.ศ.”อำนาจและหน้าที่

(1) เสนอแนะและใหค้า ปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับ นโยบายการผลิตและการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้

(2) กำหนดนโยบายวางแผน และกำหนดเกณฑ์อัตรากำลังของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งให้ความเห็นชอบจำนวนและอัตราตำแหน่งของหน่วยงานการศึกษา

(3) เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในกรณีที่ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลงไปมาก หรือการจัดสวัสดิการหรือประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษายังไม่เหมาะสมเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในอันที่จะปรับปรุงเงินเดือน เงินวิทยฐานะเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูล สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เหมาะสม

(4) ออกกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กฎ ก.ค.ศ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

(5) พิจารณาวินิจฉัยตีความปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ เมื่อ ก.ค.ศ. มีมติเป็นประการใดแล้วให้หน่วยงานการศึกษาปฏิบัติตามนั้น

(6) พัฒนาหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานการบริหารงานบุคคลรวมทั้งการพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(7) กำหนดวิธีการและเงื่อนไขการจ้างเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติิหน้าที่ในตำแหน่งครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษารวมทั้งกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน

(8) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาการเสริมสร้างขวัญกำลังใจและการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(9) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่นแก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(10) พิจารณาตั้ง อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา และคณะอนุกรรมการอื่นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย

(11) ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงาน ให้คำปรึกษาแนะนำ และชี้แจงด้านการบริหารงานบุคคลแก่หน่วยงานการศึกษา

(12) กำหนดมาตรฐาน พิจารณาและให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

(13) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของขา้ราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารงานบุคคล ตรวจสอบและปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากหน่วยงานการศึกษา ให้ผู้แทนของหน่วยงานการศึกษาขา้ราชการ หรือบุคคลใด มาชี้แจงข้อเท็จจริงและให้มีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับ รวมทั้งให้ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษาขา้ราชการหรือบุคคลใดรายงานเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.ค.ศ.

(14) ในกรณีที่ปรากฏว่า ส่วนราชการ หน่วยงานการศึกษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาคณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหรือปฏิบัติการโดยไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมายกฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดให้ ก.ค.ศ. มีอำนาจยับยั้งการปฏิบัติการดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราวเมื่อ ก.ค.ศ. มีมติเป็นประการใดแล้ว ให้ส่วนราชการหน่วยงานการศึกษา อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา คณะอนุกรรมการหรือผู้มีหน้าที่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ปฏิบัติไปตามนั้น

(15) พิจารณารับรองคุณวุฒิของผู้ใดรับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่ควรได้รับ

(16) กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในเรื่องการปฏิบัติการต่าง ๆ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้

(17) พิจารณาจดัระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับ วัน เดือน ปีเกิด และควบคุมการเกษียณอายุของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

(18) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น


3. ตำแหน่งวิทยฐานะ

ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามี 3 ประเภทคือ

1) ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา

- ครูผู้ช่วย

- ครู

- อาจารย์

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์

- รองศาสตราจารย์

- ศาสตราจารย์

เรียกรวม ๆ ว่า“ คณาจารย์” และให้มีในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับปริญญา

2) ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา

- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

- ผู้อำนวยการสถานศึกษา

- รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

- ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

3) ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น

- ศึกษานิเทศก์

- ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ให้ตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาดังต่อไปนี้เป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ ได้แก่

ตำแหน่งครูมีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้

- ครูชำนาญการ

- ครูชำนาญการพิเศษ

- ครูเชี่ยวชาญ

- ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้

- รองผู้อำนวยการชำนาญการ

- รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

- รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ

- ผู้อำนวยการชำนาญการ

- ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

- ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ

- ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ

ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษามีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้

- รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ

- รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ

- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ

- ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ

ตำแหน่งศึกษานิเทศก์มีวิทยฐานะ ดังต่อไปนี้

- ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ

- ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ

- ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ

- ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ

ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนดให้มีวิทยฐานะ


4. วินัยและการรักษาวินัย

1) ต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธิ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้น

2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเสมอภาคและเที่ยงธรรมมีความวิริยะอุตสาหะขยันหมั่นเพียรดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษามติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลโดยถือประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ

4) ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง

5) ต้องตรงต่อเวลาอุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมได้

6) ต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียนชุมชนสังคมมีความสุภาพเรียบร้อยรักษาความสามัคคีช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการต้อนรับให้ความสะดวกให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ

7) ต้องไม่กลั่นแกล้งกล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง

8) ต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรมหรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน

9) ต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ

10) ต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัท

11) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่

12) ต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย


5. สิ่งที่ถือว่าผิดวินัยร้ายแรง

1) การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้

2) การปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการและหน่วยงานการศึกษามติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลประมาทเลินเล่อหรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ

3) การขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง

4) ละทิ้งหน้าที่หรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงหรือการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน

5) การกลั่นแกล้งดูหมิ่นเหยียดหยามกดขี่หรือข่มเหงผู้เรียนหรือประชาชนผู้มาติดต่อราชการอย่างร้ายแรง

6) กระทำโดยมีความมุ่งหมายจะให้เป็นการซื้อขายหรือให้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหรือ

วิทยฐานะใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

7) คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ

8) เข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการทุจริตโดยการซื้อสิทธิหรือขายเสียงในการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาสมาชิกสภาท้องถิ่นผู้บริหารท้องถิ่นหรือการเลือกตั้งอื่น

9) การกระทำความผิดอาญาจนได้รับโทษจำคุกหรือโทษที่หนักกว่าจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าจำคุกเว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ 10) เสพยาเสพติดหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นเสพยาเสพติดเล่นการพนันเป็นอาจิณหรือกระทำการล่วงละเมิดทางเพศต่อผู้เรียนหรือนักศึกษา


โทษทางวินัย

1) ภาคทัณฑ์

2) ตัดเงินเดือน

3) ลดเงินเดือน

4) ปลดออก

5) ไล่ออก

***โทษปลดออกมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนผู้นั้นลาออกจากราชการ***