การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน (Learning and Classroom Management) เป็นบทบาทสำคัญของครูทุกคน เริ่มจากการศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร เอกสารที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ผู้เรียน นำมาวางแผนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดหาหรือเลือกใช้สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แล้วดำเนินการจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียน ให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังต่อไปนี้

มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักที่ว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

1) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้คิดได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

4) จัดการเรียนการสอน โดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้

6) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดาผู้ปกครองและบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว

ความหมาย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง วิธีการ/กิจกรรมที่ครูหรือผู้เกี่ยวข้อง นำมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ความสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คือ

1. ด้านหลักสูตร กล่าวถึงการปฏิรูปหลักสูตรให้ต่อเนื่อง เชื่อมโยง มีความสมดุลในเนื้อหาสาระ ทั้งที่เป็นวิชาการ วิชาชีพ และวิชาว่าด้วยความเป็นมนุษย์ และให้มีการบูรณาการเนื้อหาหลากหลายที่มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต ได้แก่

1.1 เนื้อหาเกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม

1.2 เนื้อหาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การบำรุงรักษา ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1.3 เนื้อหาเกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย

1.4 เนื้อหาความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง

1.5 เนื้อหาความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

2. ด้านกระบวนการเรียนรู้ กล่าวถึง กระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังข้อมูลที่ระบุไว้เป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษาที่สำนักนโยบายและแผนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (2543) ได้สรุปถึงลักษณะกระบวนการจัดการเรียนรู้ในสาระของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไว้ดังนี้

2.1 มีการจัดเนื้อหาที่สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน

2.2 ให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์และฝึกนิสัยรักการอ่าน

2.3 จัดให้มีการฝึกทักษะกระบวนการและการจัดการ

2.4 มีการผสมผสานเนื้อหาสาระด้านต่างๆ อย่างสมดุล ปลูกฝังคุณธรรม

2.5 จัดการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และรอบรู้

2.6 จัดให้มีการเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วย

3. ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง โดยการใช้วิธีการประเมินผู้เรียนหลายๆ วิธี ได้แก่ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนและการร่วมกิจกรรม การใช้แฟ้มสะสมงาน การทดสอบ การสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน ผู้เรียนจะมีโอกาสแสดงผลการเรียนรู้ได้หลายแบบ ไม่เพียงแต่ความสามารถทางผลสัมฤทธิ์การเรียนซึ่งวัดได้โดยแบบทดสอบเท่านั้น การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้แบบนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างอันเกิดจากผลการพัฒนาตนเองของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้จะได้กล่าวในตอนต่อไป

หลักการ

3.1 ลักษณะการจัดการเรียนรู้

1) กระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

2) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และจิตพิสัย

3) ผู้สอนต้องใช้ทั้งวิชาการ (ศาสตร์) และทักษะ/เทคนิค (ศิลป์)

3.2 หลักการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

1) เลือกประสบการณ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้หากเป็นทักษะ ควรเป็นทักษะที่ปฏิบัติแล้วผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ตามวัตถุประสงค์

2) เลือกประสบการณ์ที่ผู้เรียนพึงพอใจ สนุก น่าสนใจ ไม่ซ้ำซาก มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้

3) เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับความสามารถทางด้านร่างกายของผู้เรียน

4) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนรู้หลายๆ ด้าน

5) คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. การซักถาม : ตั้งคำถามให้ช่วยกันตอบ รายบุคคล/กลุ่ม/ชั้นเรียน เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนหรือกิจกรรม

2. การอภิปราย : หัวข้อเป็นข้อความหรือคำถามก็ได้ อธิบายแสดงเหตุผลสนับสนุน/โต้แย้ง โดยไม่แบ่งฝ่าย ไม่มีการลงมติ อาจให้ทุกคนเขียนสรุปผลการอภิปราย ผู้สอนบันทึกการอภิปรายและตรวจข้อเขียนประกอบการพิจารณาประเมินผล

3. การแสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหา : การตั้งข้อสังเกตหรือบอกวิธีแก้ปัญหา อาจพูดหรือเขียนบรรยายหรือแสดงท่าทาง

4. การค้นหา : การศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง/ข้อมูลสารสนเทศ/ทักษะกระบวนการ ซึ่งอาจทำโดยการรวบรวม การสังเกต การทดลอง การตรวจสอบ หรือการฝึกฝน

5. ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง : รวมถึงการรวบรวมปรับปรุงจากผลงานที่มีผู้ทำไว้ เช่น เอกสาร รายงานหรือหนังสือต าราวิชาการต่างๆ โดยเสนอเป็นข้อเขียน เช่น เรียงความ รายงาน หรือโครงงาน และอาจเลือกผลงานที่ดี ทั้งที่เป็นแบบฝึกหัดและผลการทำงาน เก็บไว้ในแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)

บทบาทครู

1. การให้คำแนะนำ

1.1 ชี้แนะกิจกรรม หัวข้อศึกษาค้นคว้าหรือสถานการณ์ ซึ่งอาจเป็นสถานการณ์จริงหรือ

สถานการณ์จำลองก็ได้ ให้เป็นตามหลักสูตรหรือสอดคล้องกับหลักสูตร ผู้สอนต้องเตรียมการ โดยเสนอให้เลือกหรือให้ผู้เรียนกำหนดเองและผู้สอนปรับแก้ให้เป็นไปตามหลักสูตร

1.2 ชี้แนะวิธีด าเนินการ โดยให้คำปรึกษา ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการศึกษาค้นคว้าจาก

แหล่งข้อมูล วิธีรวบรวม วิธีนำเสนอ แนะนำการทำงานร่วมกัน การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้

2. การกำกับดูแลกิจกรรม

2.1 กำกับดูแลการทำงาน โดยแนะนำวิธีการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกวิธี ถูกรูปแบบ รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น รับผิดชอบ คิดและทำอย่างสร้างสรรค์ ปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ

2.2 ประเมินผลตามสภาพจริง โดยการสังเกตพิจารณาระหว่างปฏิบัติงานตามขั้นตอนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ความถูกต้องเรียบร้อยของผลงาน อาจพิจารณาประกอบกับผลการประเมินตนเองของผู้เรียน และประเมินโดยเพื่อน ข้อคิดเห็นของผู้ปกครอง/ผู้เกี่ยวข้อง

การจัดการเรียนรู้ (Learning Management)

การเรียนรู้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของบุคคล อันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต ทั้งจากการฝึกฝน การปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์รอบตัวและมีปริมาณองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น


หลักการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ ยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้และคุณธรรม

กระบวนการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนจะต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองไปสู้เป้าหมายของหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน อาทิ กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการสร้างความรู้กระบวนการคิด กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหากระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง กระบวนการปฏิบัติ ลงมือทำจริง กระบวนการจัดการกระบวนการวิจัย กระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้ของตนเอง กระบวนการพัฒนาลักษณะนิสัย

การออกแบบการจัดการเรียนรู้

ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ แล้วจึงพิจารณาออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยเลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพและบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กำหนด

บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน

1. บทบาทของผู้สอน

จำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการ เพื่อนำมาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของตน และการเรียนรู้ของผู้เรียน

2. บทบาทของผู้เรียน

ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถของสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศักยภาพผู้เรียน

รูปแบบการจัดการเรียนรู้

1. การถ่ายทอดความรู้ (Transmission Approach) เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กันมานานเป้าหมายเพื่อสืบทอดความรู้ อารยะธรรม วัฒนธรรมประเพณี ทักษะฝีมือเพื่อให้คงอยู่ต่อไป

2. การสร้างองค์ความรู้ (Trans formational Approach) หรือ (Constructionist) การพึ่งพาตนเองในการแสวงหาความรู้ โดยเน้นการเรียนรู้ผ่าน สื่อ (Media) นวัตกรรม(Innovation) และเทคโนโลยี ( Technology) การเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง ภายใต้การอำนวยความสะดวกของครูผ่านสื่อและนวัตกรรมแต่อำนาจการจัดการยังเป็นอำนาจของครูแต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมมากขึ้น

3. การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่สู่ปัญญาภิวัฒน์ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย(Transactional Approach) การศึกษาถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยน มุมมอง วิธีคิด รูปแบบการให้การศึกษาแนวใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนสู่ขีดจำกัดของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีศักยภาพสูงเพื่อเป็นที่พึ่งของสังคมให้มีโอกาสเรียนรู้เต็มศักยภาพโดยรูปแบบที่พัฒนาเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่สังคม 4.0


แนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้ของ เบญจมิน บลูม (Bloom Taxonomy)

อติญาน์ ศรเกษตริน (2543 : 72-74 อ้างในบุญชม ศรีสะอาด 2537 :Bloom : 18) ได้กล่าวว่า จุดประสงค์สำคัญของการเรียนการสอน คือการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงไปในทางที่พึงประสงค์พฤติกรรมเหล่านี้จำแนกและจัดลำดับหมวดหมู่และระดับความยากง่าย หมวดหมูเหล่านี้เรียกว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาของ บลูม (Taxonomy of Educational objective) : ซึ่ง Benjamin Bloom (Bloom.1976) ได้แบ่งเป็น 3 หมวดดังนี้

1. พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain) เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญา

2. พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดในจิตใจ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง

3. พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นความสามารถในการปฏิบัติ

การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้

เป็นการรักษาองค์ความรู้ในสามารถนำไปใช้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดในชีวิตของคนเรา การเรียนแบบปกตินั้นเป็นการสอนให้รู้จักกับความรู้พื้นฐานรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นในด้านของ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เราทุกคนเรียนสิ่งเหล่านี้มาเหมือนๆ กัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถนำเอาความรู้เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จึงเป็นเหตุผลที่เราจะต้องเรียนเพื่อให้คิดว่าจะนำไปใช้

แผนการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนหลักๆ แล้วจะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ ต้นทุนของชีวิต (Basis of Life), การค้นพบตัวเอง (Fact-Finding), เส้นทางการพัฒนาชีวิต (Path Way) คนเราทุกคนล้วนจะต้องเกิดมาเป็นผู้ไม่รู้ (Self-Unknow Person) เหมือนในสมัยเด็กที่เราทุกคนต้องตามหาว่าอาชีพในฝันของเราคืออะไร สิ่งที่เป็นตัวแปรหลักในการกำหนดตัวตนของเราประกอบไปด้วย ครอบครับ (Family) ผู้ที่คอยให้การสนับสนุนเลี้ยงดูเราให้เป็นคนดี, สังคม (Community) ความคิดตามสังคมนิยมก็เป็นตัวแปรสำคัญ เช่น อาชีพที่นิยมในสมัยก่อนสมัยก่อนอาจเป็น หมอ แต่ปัจจุบันนี้คือ วิศวกร เป็นต้น, การเรียนรู้ (Education) คนเราจะคนพบตัวตนได้ดีสุดก็คือรู้จักสิ่งที่เราอยากจะเป็นผ่านการเรียนรู้, เพื่อน (Friend) กลุ่มคนที่เล่นสนุกไปกับเรา คอยให้ความช่วยเหลือยามในยามลำบาก

Pathway เส้นทางในการพัฒนาตนเอง

1.Coaching สอนให้รู้จักเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง เป็นวิธีที่จะสร้างทักษะจำเป็นได้อย่างมีเป้าหมายมากที่สุด เพราะเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง

2.Advising การชี้แนะให้คำปรึกษากับผู้ที่ไม่รู้ ช่วยกระตุ้นความคิด ชี้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง

3.Motivating แรงกระตุ้นเป็นสิ่งสำคัญของการพัฒนาตนเอง หลายคนไม่เริ่มเพราะไม่มีแรงพลักดันจากภายนอก จึงจำเป็นต้องมีคนคอยสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดแรงบันดาลใจ

4.Teaching การปลูกฝังเรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ ช่วยสร้างตัวเลือกในการตัดสินใจให้กับคนที่ยังคิดไม่ออกว่าจะเอายังไงกับชีวิตตนเอง เมื่อมีตัวเลือกที่มากพอก็มีความเป็นไปได้ที่จะค้นพบตัวตนได้เร็วขึ้น

ผู้สอนจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้บอกความรู้ให้จบไปในแต่ละครั้งที่เข้าสอนมาเป็นผู้เอื้อ อำนวยความสะดวก(Facilitator)ในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนกล่าวคือเป็นผู้กระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนจัดสิ่งเร้าและจัดกิจกกรมให้ผู้เรียน เกิดการพัฒนาให้เต็มตามศักยาภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล การจัดกิจกรรมจึงต้องเป็นกิจกรรมที่ ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ สร้างสรรค์ศึกษาและค้นคว้าได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดการเรียนรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองเป็นสาระ ความรู้ ด้วยตนเอง รักการอ่าน รักการเรียนรู้อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต(Long-life Education) และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Man ) ผู้สอนจึงต้องสอนวิธีการแสวงหาความรู้ (Learn how to learn ) มากกว่าสอนตัวความรู้

การพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพนักเรียนจึงต้องจัดระเบียบและขั้นตอนดังนี้

1. วิเคราะห์สภาพทั่วไปของสถานที่ ห้องเรียนและตัวผู้เรียน

2.พัฒนาโดยการวิเคราะห์หลักสูตร เพื่อพัฒนานวัตกรรมในแต่ละบทเรียนโดยเน้นด้านความรู้และด้านกระบวนการ

3.พัฒนาจัดหาสื่อ เครื่องมือช่วยในการใช้สื่อการสอน ICT ช่วยในการจัดการเรียนรู้

4.สร้างและพัฒนานวัตกรรมและกิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนได้รับองค์ความรู้และสนุกสนานกับการเรียนรู้กิจกรรมต่าง ๆ

5.ปรับเปลี่ยนห้องเรียนให้มีบรรยากาศเป็นห้องเรียนแห่งการเรียนรู้

6.เชื่อมโยงห้องเรียนให้มีองค์ความรู้ในห้องและนอกห้องเรียนสู้องค์ความรู้ที่เป็นสากลโดยใช้สื่อที่จัดทำขึ้นเองและสื่อออนไลน์

7.มีการวัดผลประเมินผลเพื่อการพัฒนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลอดจนสนับสนุนผู้ที่เรียนดี เก่ง ให้ได้ศึกษา,และซ่อมเสริมนักเรียนที่อ่อนโดยใช้บทเรียนออนไลน์และบทเรียนสำเร็จรูปร่วมกับผู้ปกครอง

8.ประเมินผลทุกระยะ เพื่อให้ทราบสภาพจริง แก้ไขและวางแผนพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง