ความหมายของตลาด

ตลาด หมายถึง สถานที่ที่ผู้ซื้อและผู้ขายมีการติดต่อกันได้โดยสะดวกจนสามารถทำการ แลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้จากคำ จำกัดความดังกล่าว ตลาดจึงมีความหมาย 2 นัย คือ

ตลาดนัยแรก หมายถึง สถานที่ใดที่หนึ่งซึ่งมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากัน หรือที่ซึ่ง จัดไว้เพื่อให้ผู้

ซื้อและผู้ขายมาพบปะซื้อขายกัน

ตลาดนัยที่สอง หมายถึง การซื้อขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือภาวการณ์ในการซื้อ ขายสินค้านั้นๆ

ความหมายของ “ตลาด (Market)” ในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง “กิจกรรม” ในการตกลงซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการรวมถึงปัจจัยการผลิต โดยไม่จา เป็นต้องมีสถานที่ที่เป็นตลาดดังที่เข้าใจ กันและไม่จา เป็นต้องพบกันโดยตรงระหว่างผู้ชื้อและผู้ขายดังนั้น การตกลงซื้อขายผ่านระบบพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) การตกลงซื้อขายผ่านการโอนเงินทางธนาคาร จึงจัดเป็น “ตลาด” ในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ด้วยเช่นกัน

ประเภทของตลาด

ตลาดโดยทั่วไปอาจแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น การแบ่งตามชนิดของสินค้า แบ่งตาม การดา เนินการของผู้ขาย แบ่งตามกลุ่มของผู้ชื้อและแบ่งตามระดับการแข่งขันสรุปได้ดังนี้

1.1 ตลาดแบ่งตามชนิดของผลผลิต แบ่งได้ดังนี้

1) ตลาดปัจจัยการผลิต (Factor Market) คือ ตลาดที่ทา การซื้อขายปัจจัยที่จะนำ ไปใช้ทำการ ผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เช่น ที่ดิน แรงงาน สินค้าประเภททุน ตลอดจนวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ใช้ทำการการผลิต โดยผู้ผลิตจะนา เอาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ไปทา การผลิตสินค้าและบริการเสียก่อนจึงจะนา ออกสู่ ตลาดเพื่อจำหน่ายต่อไป

2) ตลาดสินค้า (Product Market) คือ ตลาดที่ทา การขายสินค้าหรือบริการซึ่งผู้ชื้อจะนา ไปใช้ ในการอุปโภคบริโภคโดยตรง

3) ตลาดการเงิน (Financial Market) เป็นแหล่งให้ผู้ผลิตซึ่งมีความต้องการเงินลงทุนได้กู้ยืมเงินไปลงทุน ตลาดการเงินยังแบ่งออกเป็น

1.2 การแบ่งตลาดตามการดำเนินการของผู้ขาย

1) ตลาดขายส่ง เป็นตลาดที่มีการขายสินค้าครั้งละมากๆ โดยจา หน่ายให้กับพ่อค้าคนกลาง เพื่อสินค้าไปจา หน่ายโดยตรงให้ผู้บริโภคอีกครั้งหนึ่ง

2) ตลาดขายปลีก เป็นตลาดที่มีการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง

1.3 การแบ่งตลาดตามกลุ่มของผู้ซื้อ

1) ตลาดผู้บริโภค เป็นกลุ่มของผู้บริโภคที่เป็นบุคคลหรือครัวเรือนที่ซื้อสินค้าไปเพื่อ อุปโภคบริโภคในครัวเรือน

2) ตลาดผู้ผลิต เป็นการซื้อสินค้าของผู้ผลิตเพื่อนำไปแปรรูปหรือใช้ในการผลิตสินค้า เพื่อจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง

3) ตลาดผู้ขายต่อ เป็นการซื้อสินค้าของผู้ประสงค์จะนา สินค้าไปขายต่อโดยหวังผลกำไร อีกทอดหนึ่ง

4) ตลาดรัฐบาล เป็นการซื้อสินคาของหน่วยราชการเพื่อนำไปใช้ในองค์การต่าง ๆ

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์

ตลาดในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfectly Competitive Market) ถือว่าเป็นตลาดที่ดีที่สุด ลักษณะของตลาดคือ ผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดมีมากและมีความรู้ในเรื่องตลาดอย่างสมบูรณ์ (Perfect knowledge), สินค้าในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ (Homogeneous Product) สามารถใช้ทดแทนกันได้อย่างสมบูรณ์, การเข้าและออกจากตลาดทำได้อย่างเสรีและตลอดเวลา (free exit - free entry) ผู้ขายและผู้ซื้อในตลาดจะต้องซื้อขายสินค้าในราคาตลาด (Market Price) ซึ่งเป็นราคาดุลยภาพตลาด หรือปฏิบัติตามราคาตลาด (Price taker) สินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงคือ สินค้าเกษตร เป็นต้น

ดุลยภาพในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Equilibrium in Perfectly Competitive Market)

ดุลยภาพของผู้ผลิต หมายถึง สภาวะที่ผู้ผลิตไม่มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงการผลิต การผลิตที่เป็นอยู่ในขณะนั้นเป็นการผลิตที่ดีที่สุด ผู้ผลิตจะทำการผลิต ณ จุดที่ MC=MR ในระยะสั้นอาจมีผู้ผลิตบางรายมีต้นทุนต่อหน่วยสูงกว่าราคาสินค้าเนื่องจากขาดประสิทธิภาพจึงเกิดการขาดทุน ผู้ผลิตจะต้องเลือกว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่โดยการเปรียบเทียบรายรับรวมกับต้นทุนผันแปร ตราบใดที่รายรับรวมยังคงสูงกว่าต้นทุนผันแปร ผู้ผลิตจะดำเนินการต่อไปแม้จะขาดทุนเพราะสามารถนำรายรับที่มากกว่าต้นทุนแปรผันรวมมาชดเชยการขาดทุนได้บ้าง เพราะถ้าเลิกผลิตก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนของต้นทุนคงที่ ในกรณีที่รายรับรวมน้อยกว่าต้นทุนผันแปรผู้ผลิตควรเลิกทำการผลิตเพราะจะขาดทุนมากยิ่งขึ้น เงื่อนไขที่ผู้ผลิตจะขาดทุนน้อยที่สุดคือ ทำผลิตในระดับที่ MC=MR ในตลาดนี้ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดของโรงงานที่ใช้ได้ตลอดเวลารวมทั้งเลิกดำเนินการได้ถ้ารายรับไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต นอกจากนั้นผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้ามาในตลาดได้อย่างเสรีและตลอดเวลา ทำให้ในระยะยาวราคาสินค้าจะเท่ากับจุดต่ำสุดของต้นทุนเฉลี่ยผู้ผลิตจะใช้โรงงานที่มีขนาดเหมาะสมที่สุด (Optimum Size) และ SMC=LMC ถ้าราคาสินค้ามากกว่าจุดต่ำสุดของต้นทุนเฉลี่ยผู้ผลิตจะมีกำไรเกินปกติดึงดูดให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าจะลดลงจนกระทั่งเท่ากับจุดต่ำสุดของต้นทุนเฉลี่ย

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ผลิตมีรายรับรวมเท่ากับต้นทุนรวมจะได้กำไรปกติ (Normal Profit) ซึ่งเป็นกำไรขั้นต่ำที่ผู้ผลิตต้องได้รับเพื่อจูงใจให้ทำการผลิตต่อไป ในทางเศรษฐศาสตร์กำไรปกติคือ ต้นทุนการผลิตชนิดหนึ่งที่ต้องนับรวมเข้าไปในต้นทุนรวมเนื่องจากถือเป็นค่าเสียโอกาสของผู้ผลิต

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด

· มีผู้ขายจำนวนมาก แต่ละรายมีส่วนแบ่งในตลาดน้อย

· การเข้าและออกจากตลาดเป็นไปโดยเสรี(Free entry Free exit)

· ผลิตสินค้าแตกต่างกัน (Differentiated products) ซึ่งทดแทนกันได้ดีแต่ทดแทนกันได้ไม่สมบูรณ์

กล่าวคือความยืดหยุ่น ไขว้มีค่าสูงแต่ไม่ถึงกับ infinity

- สินค้าที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้บริโภคยอมจ่ายราคาแพงขึ้น เพราะชอบในลักษณะพิเศษของ แต่ละสินค้า

- นั่นคือบริษัท มีอำนาจผูกขาดในการที่จะตั้งราคา...อุปสงค์ที่บริษัทเผชิญ จึงเป็นเส้นทอดลง

- แต่อำนาจในการตั้งราคามีขอบเขตจำกัด ขึ้นกับอุปสงค์ ราคาเปรียบเทียบและการเข้ามา แข่งขันของหน่วยผลิตใหม่ๆที่สามารถผลิตสินค้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

· เช่น ร้านข้าวมันไก่ในแต่ละร้านมีเทคนิคในการทา ข้าวมันไก่ต่างกัน ไม่ว่า จะเป็นเนื้อไก่ข้าวมัน น้า ซุป ลูกค้าสามารถเลือกที่จะบริโภคร้านที่ตนเองชอบได้และถ้าไม่มีร้านนั้น สามารถไปทานร้าน อื่นได้เนื่องจาก มีร้านข้าวมันไก่มากมายให้เลือก

· ร้านอาหารตามสั่งร้านขายของชา ร้านตัดผม

ตลาดผูกขาด

ลักษณะสำคัญ

1. มีผู้ผลิตหรือผู้ขายรายเดียว เรียกว่า “ผู้ผูกขาด” (Monopolist)

2. สินค้า มีลักษณะพิเศษไม่เหมือนใคร ไม่สามารถหาสินค้าอื่นมาทดแทนได้อย่างใกล้เคียง

3.ผู้ผูกขาดสามารถกีดกันไม่ให้ผู้อื่นเข้ามาผลิตแข่งขันได้

4.ผู้ผูกขาดมีอำนาจในการกำหนดราคา(Price Maker)

5. การผูกขาด มีทั้ง การผูกขาดแท้จริงและผูกขาดชั่วคราว

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการผูกขาด

1. รัฐบาลออกกฎหมายให้ผูกขาดการผลิตแต่ผู้เดียว

2. การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบสำคัญแต่เพียงผู้เดียว(Exclusive Ownership of Raw Materials)

3. ขนาดของกิจการต้องใหญ่มากจึงจะสามารถลดต้น ทุนการผลิตให้ต่ำ (economies of scale)

4. การจดทะเบียนลิขสิทธ์ หรือให้สิทธิ บัตรตามกฎหมายผู้ประดิษฐ์คิดค้นจะจดทะเบียนลิขสิทธ์หรือสิทธิ บัตรทรัพย์สินทางปัญญา หรือ สิ่งประดิษฐ์ของตนไว้เส้นอุปสงค์และเส้นรายรับส่วนเพิ่มของผู้ผูกขาด

ตลาดผู้ขายน้อยราย

ถูกครอบงำโดยผู้ขายรายใหญ่กลุ่มเล็ก ๆ (ผู้ขายรายย่อย) ผู้ขายน้อยรายอาจเป็นผลมาจากการสมรู้ร่วมคิดในรูปแบบต่างๆที่ลดการแข่งขันในตลาดซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะนำไปสู่ราคาที่สูงขึ้นสำหรับผู้บริโภค Oligopolies มีโครงสร้างตลาดของตนเองเนื่องจากมีผู้ขายเพียงไม่กี่รายผู้ขายรายย่อยแต่ละรายมีแนวโน้มที่จะตระหนักถึงการกระทำของผู้อื่น ตามดังนั้นการตัดสินใจของ บริษัท หนึ่งจึงมีอิทธิพลและได้รับอิทธิพลจากการตัดสินใจของ บริษัท อื่น โดยผู้ขายรายย่อยจำเป็นต้องคำนึงถึงการตอบสนองที่เป็นไปได้ของผู้เข้าร่วมตลาดรายอื่น ๆ อุปสรรคในการเข้ารวมสูง ข้อกำหนดที่แข็งแกร่ง สำหรับแบรนด์ที่มีอยู่และ . ในประเทศที่พัฒนาแล้วผู้ขายน้อยรายมีอิทธิพลเหนือระบบเศรษฐกิจเนื่องจากรูปแบบการแข่งขันที่สมบูรณ์แบบมีความสำคัญเพียงเล็กน้อยสำหรับผู้บริโภค Oligopolies แตกต่างจากผู้กำหนดราคาตรงที่พวกเขาไม่มีเส้นอุปทาน แต่พวกเขาค้นหาชุดค่าผสมราคา – ผลผลิตที่ดีที่สุด

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

-ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิต เพียงไม่กี่ราย

-สินค้าหรือหรือบริการมักมีความคล้ายคลึง แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

-มีการกีดกันการเข้าสู่ตลาดพอสมควร

-การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย และโฆษณา

-ผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีอำนาจกำหนดราคาพอสมควร

ตัวอย่าง น้ำมัน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ

การเปรียบเทียบผลของตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดผูกขาด

ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect competition market)

-มีจำนวนผู้ซื้อ-ผู้ขายในตลาดจำนวนมาก

-สินค้าในตลาดมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ ผู้ซื้อจึงยอมรับราคาที่ตลาดกำหนด (Price taker)

-ผู้ผลิต-ผู้ขาย สามารถเข้าออกจากตลาดได้โดยเสรี โดยไม่มีกำไรเป็นแรงจูงใจ

-มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรการผลิตสินค้าและบริการได้อย่างเสรี

-ผู้ซื้อ-ผู้ขายมีความรู้ และรับทราบข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะเรื่องราคาได้เป็นอย่างดี

-ตัวอย่าง ตลาดสินค้าการเกษตร ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์และเงินตราต่างประเทศ

ข้อดีของตลาดแข่งขันสมบูรณ์

-ด้านผู้บริโภค ราคาที่ถูกกำหนดขึ้นในสภาพการแข่งขัน เป็นราคาที่ยุติธรรมต่อผู้บริโภค

-ด้านผู้ผลิต ส่งผลให้ผู้ผลิตปรับปรุงสินค้าและบริการของตน เพื่อการแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นๆ

-ด้านสังคม ทำให้สังคมมีการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่า เพื่อประสิทธิภาพทางธุรกิจ

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการผูกขาด

-การกีดกันเนื่องจากการประหยัดต่อขนาด ผู้ผลิตรายย่อยไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้

--ผู้ผลิตเป็นเป็นผู้ผูกขาดทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต จึงมีอำนาจผูกขาดตลาดสินค้าด้วย

-มีการกีดกันจากภาครัฐ เช่น สัมปทาน สิทธิบัตร ใบอนุญาต

-ผู้ซื้อ-ผู้ขาย ไม่ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการล่าช้า หรือไม่ทั่วถึง

ข้อดีของตลาดผูกขาด

-ในกรณีต้องใช้เงินลงทุนเยอะ รัฐบาลต้องเข้ามาควบคุม เนื่องจากผู้ผูกขาดอาจตั้งราคาสูง จนผู้บริโภคเดือดร้อน

-มีการผลิตสินค้าหรือบริการที่มีคุณประโยชน์จากภาครัฐ ซึ่งเอกชนจึงไม่สนใจผลิต เนื่องจากไม่มีแรงจูงใจทางด้านกำไร

-การมีอำนาจผูกขาด อาจช่วยส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนาต่อยอด ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมใหม่ๆในอุตสาหกรรม

ข้อเสียของตลาดผูกขาด

-ผลผลิตอาจไม่พอต่อความต้องการ และอาจมีราคาสูง

-ผู้ซื้อไม่มีตัวเลือกในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก

-ยิ่งระดับการผูกขาดมาก การผลิตอาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีคู่แข่งทางการค้า

การเปรียบเทียบผลตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดและตลาดประเภทอื่นๆ

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)

-ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิตจำนวนมาก แต่ไม่มากเท่ากับตลาดแข่งขันสมบูรณ์

-สินค้าหรือหรือบริการ คุณภาพไม่ต่างกันมาก ใช้แทนกันได้

-ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี

-การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย โฆษณา รวมทั้งการแข่งขันราคา

-ผู้ผลิตแต่ละรายมีส่วนแบ่งในตลาดไม่มาก จึงไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา

ตัวอย่าง สบู่ แชมพู น้ำตาล ผงชูรส ลูกอม

ตลาดประเภทอื่นๆ

ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic Competition)

-ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิตจำนวนมาก แต่ไม่มากเท่ากับตลาดแข่งขันสมบูรณ์

-สินค้าหรือหรือบริการ คุณภาพไม่ต่างกันมาก ใช้แทนกันได้

-ผู้ผลิตหรือผู้ขายสามารถเข้าออกจากตลาดได้อย่างเสรี

-การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย โฆษณา รวมทั้งการแข่งขันราคา

-ผู้ผลิตแต่ละรายมีส่วนแบ่งในตลาดไม่มาก จึงไม่มีอำนาจในการกำหนดราคา

ตัวอย่าง สบู่ แชมพู น้ำตาล ผงชูรส ลูกอม

ตลาดประเภทอื่นๆ

ตลาดผู้ขายน้อยราย (Oligopoly)

-ตลาดที่มีผู้ขายหรือผู้ผลิต เพียงไม่กี่ราย

-สินค้าหรือหรือบริการมักมีความคล้ายคลึง แต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

-มีการกีดกันการเข้าสู่ตลาดพอสมควร

-การแข่งขันมักจะเน้นการส่งเสริมการขาย และโฆษณา

-ผู้ผลิตหรือผู้ขาย มีอำนาจกำหนดราคาพอสมควร

ตัวอย่าง น้ำมัน รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ