ปัจจัยสำคัญในการออม

โดยทั่วไปการออมจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นมีรายได้มากกว่าการจ่าย และต้องอาศัยปัจจัยสำคัญในการออม ดังนี้

1. ผลตอบแทนที่ได้รับ ถ้าผลตอบแทนในการออมเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นสิ่งจูงใจให้บุคคลมีการออมเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เช่น รัฐบาลกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลง และยังเก็บดอกเบี้ยภาษีเงินฝากอีก จึงทำให้ระดับเงินออมของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มลดลงมาก

2. มูลค่าของอำนาจซื้อของเงินในปัจจุบัน ผู้ออมจะตัดสินใจออมเงินมากขึ้น หลังจากพิจารณาถึงอำนาจซื้อ

ของเงินที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าจะมีความแตกต่างจากมูลค่าของเงินในอนาคต เช่น จำนวนเงิน 1 บาท ซื้อสินค้า

หรือบริการได้ในจำนวนใกล้เคียงหรือเท่ากับการใช้เงิน 1 บาท ซื้อสินค้าหรือบริการใน 2-3 ปีข้างหน้า

หรือมากกว่านั้น

3. รายได้ส่วนบุคคลสุทธิ ผู้ที่มีรายได้แน่นอนทุกเดือนในจำนวนไม่สูงมาก จำนวนเงินออมที่กันไว้

อาจเป็นเพียงจำนวนน้อยตามอัตราส่วนของรายได้ที่มีอยู่ นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงรายได้เนื่องจากการ

เลื่อนตำแหน่ง โยกย้ายงาน ถูกปลดออกจากตำแหน่งหน้าที่ที่มีผลต่อระดับการออม ทำให้มีการออมเพิ่มขึ้น หรือลดลงจากระดับเดิมได้ ในระหว่างที่บุคคลมีรายได้มากกว่าปกติ หรือขณะที่มีความสามารถหารายได้อยู่

จึงควรจะมีการออมไว้เพื่อป้องกันปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้

4. ความแน่นอนของจำนวนรายได้ในอนาคตหลังเกษียณอายุ ถ้าทุกคนทราบว่าเมื่อใดก็ตามที่แต่ละบุคคล

ไม่มีความสามารถหารายได้ต่อไป ก็จะไม่มีปัญญาการเงินเกิดขึ้น เนื่องจากหน่วยงานหน็จ เงินชดเชย เป็นต้น


ปัญหาในการออม

ปัญหาในการออมเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศ เนื่องจากชาวไทยจำนวนมากจะมีอายุยืนประมาณ 80-90 ปี แต่ส่วนมากก็ยังไม่มีการออมอย่างเพียงพอเพราะแต่ละคนก็จะมีปัญหาเรื่องการออม และ ท้อแท้ที่จะพยายามออมต่อไป ปัญหาในการออมเงินที่เห็นได้ชัดเจนก็คือการไม่ตั้งใจ หรือไม่มีความอดทนเพียงพอของแต่ละบุคคล จึงทำให้ไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1. ความโลภ (Greedy) คือ ความต้องการอยากได้ทุกอย่างที่พบเห็น จึงใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่ายไม่คำนึงถึงอนาคตว่าจะมีเงินเก็บเหมือนที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ทำให้การวางแผนออมเงินไม่ประสบผลสำเร็จในที่สุด ดังนั้น ความโลภ จึงเป็นอุปสรรคที่ต้องแก้ไขให้ได้ ต้องฝึกฝนตนเองให้รู้จักคำว่า “พอเพียง” ตามแนวทางหลัก ของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำริของพระบาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

2. ภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) หมายถึง ช่วงเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับราคาของสินค้าหรือบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทำให้อำนาจซื้อและมูลค่าของเงินออมลดลง จึงเป็นอุปสรรคที่ไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นแนวทางในการแก้ปัญหา คือควรหาแหล่งเงินออมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ตั้งเป้าหมายอยากมีบ้านเดี่ยวเป็นของตนเอง ภายใน 5 ปี ต้องเก็บเงินเพื่อวางเงินดาวน์ประมาร 300,000บาท เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ปรากฏว่าราคาบ้านเดี่ยวมีราคาสูงขึ้น จึงต้องเพิ่มวงเงินดาวน์เป็น 500,000 บาท เป็นตัน

3. เหตุการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Event) เป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน แต่เป็นเหตุการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา เช่น อุบัติเหตุ การตกงาน เจ็บป่วยเป็นต้น จะส่งผลต่อการนำเงินที่ออมอยู่มาใช้ ดังนั้น ควรวางแผนป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้า เช่น การทำประกันชีวิต การประกันภัย เป็นต้น