ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย(Wisdom) คือ ความรู้ความชํานาญ วิธีการหรือเทคโนโลยีที่มีการสืบทอด ต่อกันมาจากอดีตสู่ปัจจุบัน รวมทั้งงานสร้างสรรค์ของกลุ่มคนในชุมชนบนพื้นฐานวัฒนธรรม และสร้างสรรค์ ขึ้นเพื่อประโยชน์ของกลุ่ม โดยสะท้อนความคิดและความคาดหวังของชุมชนนั้น ด้วยเป็นการแสดงออกซึ่ง เอกลักษณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม มาตรฐานและคุณค่าของชุมชน อาจใช้ภาษาหรือไม่ใช้ภาษา หรือผสมผสานระหว่างใช้ภาษาและไม่ใช้ภาษาเป็นสื่อ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เป็นองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลในท้องถิ่น รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่มีอยู่ในทุกภาคของประเทศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ภูมิปัญญาประเภทองค์ความรู้ของกลุ่มบุคคลท้องถิ่น เช่น การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร การผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ และการผลิตผลิตภัณฑ์จากไม้ หิน โลหะ แก้ว เซรามิก ดินเผา เครื่องหนัง เป็นต้น

2. ภูมิปัญญาประเภทงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น เรื่องเล่าพื้นบ้าน กวีนิพนธ์พื้นบ้าน ปริศนาพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นบ้าน ละครพื้นบ้าน จิตรกรรมพื้นบ้าน ประติมากรรมพื้นบ้าน หัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องแต่งกายพื้นบ้าน เป็นต้น

ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น

ภูมิปัญญาเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าและความดีงามที่จรรโลงชีวิตและวิถีชุมชนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมได้อย่างกลมกลืนและสมดุล

ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานการประกอบอาชีพและเป็นรากฐานการพัฒนาที่เริ่มจากการพัฒนาเพื่อการ ซึ่งพาตนเอง การพัฒนาเพื่อการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการพัฒนาที่เกิดจากการผสมผสานองค์ความรู้ สากลบนฐานภูมิปัญญาเดิม เพื่อเกิดเป็นภูมิปัญญาใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัย

ดังนั้น ภูมิปัญญาจึงมีคุณค่าไม่เพียงแต่ต่อท้องถิ่นและผู้คนเท่านั้น แต่ยังเอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวง ต่อการวางแผนพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคง


การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยด้านต่างๆ ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาคและประเทศ โดยเฉพาะภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีตและปัจจุบัน

2. การอนุรักษ์ โดยปลูกจิตสํานึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าและความสําคัญของภูมิปัญญา ท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสํานึกของความเป็น คนท้องถิ่นนั้นที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น สนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ ท้องถิ่นขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชน ท้องถิ่นด้วย

3. การฟื้นฟู โดยเลือกสรรภูมิปัญญาที่กําลังสูญหายหรือที่สูญหายไปแล้วมาทําให้มีคุณค่าและ มีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม

4. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์ในการ ดําเนินชีวิตประจําวัน โดยใช้ภูมิปัญญาในการรวมกลุ่มพัฒนาอาชีพ ควรนําความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาดและการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม

5. การถ่ายทอด โดยนําภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบ และรอบด้าน แล้วถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และ ปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ต่างๆ

6. ส่งเสริมกิจกรรม โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญา ของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

7. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญา และวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยมีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสือและวิธีต่างๆ

8. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดําเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่อง ประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่างๆ