การออมเพื่อเกษียณอายุในประเทศไทย

“เกษียณ” หมายถึง สิ้นไป ซึ่งศัพท์ทางราชการจะใช้คําว่า “เกษียณอายุ หมายถึง ครบกําหนดอายุรับราชการ หรือสิ้นกําหนดเวลารับราชการ เมื่อบุคคลนั้นมีอายุครบ 60 ปี ในปัจจุบัน แม้จะมีผู้ลาออกตามนโยบายเออร์ลี่รีไทร์ (Early Retired) ของรัฐบาลไปก่อนอายุจะครบ 60 ปีก็ตาม แต่ ข้าราชการก็ยังอยู่จนครบอายุเกษียณ

การกําหนดรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่ายเป็นสิ่งที่สําคัญและจําเป็นมาก เพราะในวัยเกษียณอาย ทุกคนสามารถนําเงินที่เก็บสะสมไว้มาใช้ได้อย่างสะดวกสบายเพื่อการดํารงชีวิตต่อไป หากแต่ละบุคคล เงินออมเก็บสะสมไว้ เพื่อเป็นทุนสํารองไว้ใช้จ่ายสําหรับวัยเกษียณ วิธีที่ดีที่สุด คือ การวางแผนเพื่อการ เกษียณอายไว้ตั้งแต่เริ่มต้นอย่างมีระบบตามขั้นตอน ซึ่งแต่ละคนสามารถกําหนดแผนงานและขั้นตอน แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมกับสภาพการดํารงชีวิต ดังนี้

1. กําหนดความต้องการใช้เงิน

2. กําหนดความต้องการของรายได้ที่สามารถหามาได้

3. เปรียบเทียบความต้องการเงินทุน กับความสามารถในการหารายได้


การคำนวณเงินออมเพื่อเกษียณอายุ

ทุกคนควรเตรียมความพร้อมในอนาคตกับวัยเกษียณด้วยตนเอง จึงต้องมีเงินออมไว้ จํานวนหนึ่งเพื่อใช้จ่ายในวัยเกษียณ จึงต้องสํารวจตนเองว่าปัจจุบันอายุเท่าไร สุขภาพเป็นอย่างไร พฤติกรรมการใช้จ่ายเป็นอย่างไร มีรายได้ต่อเดือนเท่าไหร่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะนํามาพิจารณาวางแผนได้ว่า ในอนาคตต้องมีเงินออมจํานวนเท่าใดจึงจะพอใช้ ซึ่งไม่มีสูตรใดที่จะคํานวณได้แน่นอน แต่ก็พอประมาณได้ ดังนี้

วิธีที่ 1 พิจารณาจากเงินออมที่มีอยู่ในมือปัจจุบัน ซึ่งจะมีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของเงินได้ทั้งปี คูณด้วยอายุในปัจจุบันของตนเอง

ตัวอย่าง

ปัจจุบันนายชัชวี อายุ 45 ปี เงินเดือน เดือนละ 45,000 บาท หรือคิดเป็นรายได้ต่อปี ก็จะเท่ากับ 540,000 บาท

การคํานวณ, นายชัชวีมีเงินออมอยู่ในมือ(45,000X12) = 540,000 บาท

อัตราเงินออม = 10%

อายุปัจจุบันของนายชัชวี = 45 ปี

ดังนั้น นายชัชวีจะมีเงินออมเมื่อเกษียณอายุ = (10/100) x 540,000 x 45

= 2,430,000 บาท

หมายเหตุ : นายชัชวีควรจะมีเงินออมเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้นทุกปี

บทบาทของกาออกงานเกษียณอายุการวางแผนเกษียณอายุ มีเป้าหมายที่จะแสดงถึงความมั่นคงทางการเงิน ความสะดวกสบายและ มาตรฐานการดํารงชีวิตที่ดีทั้งปัจจุบันและอนาคต ผู้ที่จะประสบความสําเร็จในชีวิตได้นั้นก็คือผู้ที่มีการ วางแผนไว้อย่างรอบคอบซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว

ขั้นตอนของการวางแผนมีดังนี้

1. กําหนดเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องการหลังเกษียณอายุแล้ว เช่น รายได้ที่ได้รับ บ้าน รถยนต์ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นแนวทางวางแผนวัยเกษียณและอาจจะเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมที่เปลี่ยนแปลง

2. กําหนดจํานวนเงินสะสมที่ต้องการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายภายหลังเกษียณอายุ และเป็นแนวทาง ที่จะนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมายได้เงินตามที่ต้องการ

3. การจัดทําโครงการลงทุนที่สร้างเงินทุนที่ได้สะสมไว้ให้มีครบตามจํานวนที่ต้องการ และ ควรพิจารณาว่าควรนําเงินออมเหล่านี้ไปลงทุนอะไรได้บ้างเพื่อให้เงินที่มีอยู่เพิ่มมากขึ้น

หลักการวางแผนเกษียณอายุ

1. การหาระยะเวลาแห่งช่วงชีวิต ในปัจจุบันช่วงชีวิตโดยเฉลี่ยของผู้ชายคือ 72 ปี และของผู้หญิงคือ 75 ปี แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น สามารถยืดอายุของคนไปได้อีก 20 ปี จากค่าเฉลี่ยนั้น

2. ระดับเงินเฟ้อที่มีแนวโน้ม หรือคาดว่าน่าจะเป็นไปในช่วงเวลาของการเกษียณอายุ ซึ่งทําให้ เงินออมที่หามาได้ในแต่ละปีด้อยค่าไป

3. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเริ่มอายุมาก โดยทั่วไปทุกคนต้องการเงินประมาณ 70-75% ของรายได้ก่อนการเกษียณอายุ เพื่อเอาไว้ใช้จ่ายเมื่อยามเกษียณอายุ ซึ่งอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคนที่วางแผนเอาไว้

แนวทางในการวางแผนเกษียณอายุ ควรกําหนดกลยุทธ์การออมและการลงทุนของแต่ละ บุคคลมาเป็นหลักในการปฏิบัติ ซึ่งแตกต่างกันไปตามแนวทางในการดําเนินชีวิตของแต่ละบุคคล ถ้ามีภาระค่าใช้จ่ายสูง ก็อาจจะต้องวางแผนการออมและการใช้จ่ายเงินให้สอดคล้องกับรายได้ของแต่ละคน หากไม่มีภาระมากก็สามารถออมได้มากขึ้น ดังนั้นรูปแบบหรือแผนการออมจึงแตกต่างกันไปแล้วแต่บุคคล ซึ่งการนํา “เงินออม” ไป “ลงทุน” จะเป็นการเพิ่มค่าให้เงินออมเพื่อไว้ใช้จ่ายในวัยเกษียณอายุ “การกําหนด กลยุทธ์การออมเพื่อการลงทุน” จึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการนํา เงินออมไปลงทุนตามที่ได้ตั้งใจไว้ให้เหมาะมากที่สุดเนื่องจากวัตถุประสงค์ในการลงทุนของผู้ลงทุนต่างกัน ซึ่งการกําหนดกลยุทธ์การลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และข้อจํากัดของ แต่ละบุคคลนั้น จึงต้องให้ความสําคัญกับการวางแผนการจัดสรรการลงทุน เช่น นาย ก. ปัจจุบันอายุ 35 ปี ยังไม่มีครอบครัว ต้องการออมเงินไว้ใช้จ่ายเมื่อเกษียณในอนาคตอีก 25 ปี จึงควรกําหนดความต้องการ นโยบาย และกลยุทธ์การลงทุนดังนี้

-ต้องการจะมีเงินจํานวนเท่าใดเมื่อเกษียณ

-สามารถออมเงินได้เท่าใดในแต่ละเดือน ที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด

-ตราสารหรือหลักทรัพย์ประเภทใดที่ลงทุนได้

-ต้องการได้รับผลตอบแทนเท่าใดจึงจะบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้

การประมาณรายได้และรายจ่ายเพื่อเกษียณอายุ

บุคคลที่มีการวางแผนเงินไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นทุนสํารองไว้ใช้จ่ายในวัยชราเกษียณ ย่อมจะได้รับความ สะดวกสบาย จึงควรวางแผนการเงินไว้อย่างรอบคอบเพื่อเกษียณอายุ ประกอบด้วย

1. การกําหนดความต้องการใช้เงินหลังเกษียณ อย่างที่ทราบกันแล้วว่า รายได้ รายจ่าย ส่วนบุคคลย่อมแตกต่างกันตามวงจรชีวิต หรือช่วงชีวิตของบุคคล เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าอาหาร ค่าท่องเที่ยวเป็นต้น จะมีจํานวนสูงกว่าช่วงชีวิตที่อยู่ในวัยทํางาน แต่ค่าใช้จ่ายบางส่วนก็จะลดลง เช่น ค่าเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เป็นต้น การประมาณความต้องการใช้เงินในอนาคตสามารถกําหนดรายได้จํานวน เงินทุนสะสมสําหรับวัยเกษียณอายุ และจํานวนเงินที่ต้องสะสมประจําปี เพื่อให้บรรลุถึงความสําเร็จตาม เป้าหมายในวัยเกษียณอายุตามที่ได้วางไว้

2. การประมาณรายได้หลังวัยเกษียณอายุ รายได้ที่นํามาใช้จ่ายภายในครอบครัวตามที่ได้ ประมาณการเอาไว้จะต้องทราบว่ามาจากแหล่งใดบ้าง ซึ่งอาจได้มาจากเงินบําเหน็จบํานาน เงินประกันสังคม และอาจมีปัจจัยอื่นๆ เพื่อทดแทนไว้ เป็นต้น

3. การจัดหาเงินสํารองไว้สําหรับส่วนที่ขาด เพื่อกําหนดจํานวนเงินทุนสะสม และควรกัง ไว้จํานวนปีละเท่าใด เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายภายในครอบครัวที่เกิดขึ้น

การพิจารณาจํานวนเงินที่ไม่แน่นอนในระยะยาว จะต้องประมาณรายได้หลังเกษียณและผลตอบแทน ต้องการจากการลงทุน โดยตัดความเสี่ยงรายได้ที่สามารถจะได้จากการขายสินทรัพย์และมีกระแสเงินสด ถ้าภาวะเงินเฟ้อเกิดขึ้นในอนาคต จะทําให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้นเช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สูงขึ้น

4. แหล่งที่มาของรายได้หลังเกษียณอายุ เพื่อเป็นการเก็บเงินไว้ใช้จ่ายเมื่อยามแก่หรือไม่สามารถ ทํางานได้ จึงควรมีการเก็บเงินไว้ใช้จ่ายซึ่งอาจทําได้หลายลักษณะ เช่น การนําเงินฝากธนาคารเพื่อได้รับ ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย การออมเงินเพื่อเกษียณอายกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ เป็นต้น

ปัญหาหลังการเกษียณอายุ

1. รายได้และรายจ่าย เมื่อเกษียณแล้วรายได้ต่างๆ ก็ลดน้อยลง มีแต่รายได้ที่เกิดจากเงินออม เงินประกันสังคมและอื่นๆ หากไม่วางแผนการใช้จ่ายให้ดี หรือยังติดยึดอยู่กับตําแหน่งฐานะเดิม แม้เกษียณ แล้วก็พยายามทําตนให้เหมือนเดิมอยู่ ก็ย่อมจะก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจได้ ดังนั้นผู้เกษียณจึงต้องทําใจ อย่ายอมให้สังคมมาเป็นผู้กําหนด หรืออย่านําตัวไปเปรียบเทียบกับผู้อื่น

แนวทางในการแก้ปัญหา ต้องมีการวางแผนการเงินไว้ล่วงหน้า ดูรายรับรายจ่ายให้สมดุลกัน รู้จักทําบัญชีหรือควบคุมค่าใช้จ่ายให้รัดกุม รู้จักประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายในสิ่งที่จําเป็น เช่น เสื้อผ้าเครื่องสําอาง อาหารบางชนิด เหล้า บุหรี่ หรือการเที่ยว เป็นต้น หากต้องส่งเสียลูกเรียน ต้องผ่อนบ้านหรือผ่อนรถ เป็นต้น ก็ควรมีการวางแผนตั้งแต่ก่อนเกษียณ เพื่อมิให้เกิดความเครียดจน กลายเป็นปัญหาครอบครัว ควรปรึกษาสมาชิกในครอบครัวตั้งแต่เริ่มต้น ว่าจะทําอะไรต่อไปหลังเกษียณแล้ว

2. เวลา เมื่อออกจากงานจะทําให้มีเวลาว่างมากขึ้น จึงเป็นโอกาสที่จะใช้เวลาทําในสิ่งที่ตนเอง อยากทํา อย่าปล่อยให้ว่างเพราะอาจจะก่อให้เกิดความสูญเสียหลายอย่าง ทั้งจิตใจและรายได้

แนวทางในการแก้ปัญหา ต้องรู้จักเลือกใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

3. สภาพจิตใจ การเกษียณอายุจะทําให้บุคคลได้รับความกระทบกระเทือนด้านจิตใจ เนื่องจากรายได้ลดลงอย่างรวดเร็ว เงินบําเหน็จบํานาญ เงินสะสมเงินเลี้ยงชีพ จะช่วยให้สภาพจิตใจดีขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจอารมณ์ของผู้สูงอายุ อาจเกิดจากมีเวลาว่างมากเกินไปเพราะเกษียณอายุ จากการทํางานแล้ว จึงรู้สึกว่าตัวเองถูกลดคุณค่าลง ความสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเริ่มมีน้อยลง อาจทําให้รู้สึกโดดเดี่ยว และเศร้าซึม อาจเป็นผลมาจากความเจ็บป่วย และการเสื่อมของระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งทําให้มีอารมณ์ที่แปรปรวนง่าย หงุดหงิด ใจน้อย โกรธง่าย เป็นต้น

แนวทางในการแก้ปัญหา ไม่ควรแยกตัวออกจากสังคม หรือเก็บตัวเงียบอยู่แต่ในบ้าน ควรใช้เวลาว่างไปทำงานอดิเรกที่ชอบหัดเต้นรำฝึกใช้คอมพิวเตอร์ เป็นอาจารย์สอนพิเศษ เป็นต้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอาชีพและให้ประสบการณ์ใหม่อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน

4. สภาพร่างกาย เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณสุขภาพย่อมทรุดโทรมลง ดังนั้นควรรักษาสุขภาพให้ดีซึ่งอาจทำประกันสุขภาพไว้ก็ได้

แนวทางในการแก้ปัญหา ผู้เกษียณอายุควรหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอโดยอาจจะไปตามฟิตเนส ศูนย์การค้าหรือสวนสาธารณะ เช่น แอโรบิค โยคะ ฝึกลมปราณ เป็นต้น การไปออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ค่อยเจ็บปวด จิตใจแจ่มใส รู้สึกดี และทำให้ได้เพื่อนใหม่ๆและหากเป็นวัยเดียวกันก็สามารถพูดคุยปรึกษาปัญหาที่ขายกันได้ เพียงแต่ต้องยอมรับซึ่งกันและกันเพราะเพื่อนแต่ละสถานที่ ก็จะมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันไป แต่ถ้าชอบสมาคมก็จะมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ซึ่งเพื่อนๆกลุ่มออกกำลังกายหลายคนก็กลายมาเป็นเพื่อนเที่ยวได้ นอกจากนี้ ผู้เกษียณอายุควรดูแลความสะอาดและควรแต่งตัวให้สวยงามและเหมาะสม จะทำให้ได้รับการยอมรับ ทำให้จิตใจสดชื่น สบายใจ เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้