ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเงิน

ในสมัยโบราณยังไม่มีการใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการจึงใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อของ (Barter System) ซึ่งการแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้จะขาดความสะดวกและเป็นอุปสรรคขัดขวางการขยายขอบเขตของการแลกเปลี่ยนเมื่อสังคมเมีขนาดใหญ่ขึ้นผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นการแลกเปลี่ยนแบบของต่อของจึงไม่สะดวกจึงต้องใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนซึ่งการแลกเปลี่ยนโดยวิธีนี้ทำได้โดยสะดวกและรวดเร็วและสามารถขยายขอบเขตได้กว้างขวางเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า

เงินเป็นสิ่งที่มนุษย์ยอมรับให้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันโดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการระดมเงินจากประชาชนระบบธนาคารจะสร้างเงินฝากขึ้นมาซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของปริมาณเงินเพื่อนำไปให้ผู้ประกอบธุรกิจกู้ยืมไปลงทุนขยายการผลิตสินค้าและบริการ

ความหมายของเงิน

เงิน (Money) คือ สิ่งที่คนในสังคมยอมรับกันโดยทั่วไปให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการหรือใช้ในการชำระหนี้ในทางเศรษฐศาสตร์หมายรวมถึงเงินตราและเงินประเภทอื่นใต้แก่เงินเหรียญกษาปณ์ธนบัตรและเงินฝากธนาคารประเภทฝากกระแสรายวันโดยใช้เช็ค

วิวัฒนาการของเงิน

ก่อนที่จะเริ่มมีการใช้เงินนั้นมนุษย์ใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนโดยตรงเช่นชาวนานำข้าวไปแลกเนื้อสัตว์กับนายพรานหรือนำข้าวไปแลกเสื้อผ้ากับชาวบ้านหรือนำไข่ไปแลกเสื้อผ้ากับชาวบ้าน เป็นต้น แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงนี้ขาดความสะดวกสบายเมื่อสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้นความต้องการในการแลกเปลี่ยนมีมากขึ้นการแลกเปลี่ยนโดยตรงจึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงได้หาวิธีแลกเปลี่ยนทางอ้อมโดยใช้เงินเป็นเสื้อกลางในการแลกเปลี่ยนกล่าวคือจะต้องนำสิ่งของที่ต้องการแลกเปลี่ยนนั้นไปเปลี่ยนเป็นเงินก่อนโดยขายให้กับผู้ที่ต้องการสิ่งของนั้นแล้วจึงนำเงินไปซื้อสิ่งของที่ตนต้องการอีกต่อหนึ่ง

ในระยะแรกสิ่งที่ใช้เป็น“ เงิน” ได้แก่ สิ่งของหรือสินค้าบางชนิดที่สังคมนั้นยอมรับซึ่งแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเช่นขนสัตว์หนังสัตว์ใบชายาสูบเกลือเปลือกหอยลูกปัดซึ่งส่วนมากจะเป็นสิ่งของที่หายากในสังคมนั้นเพื่อให้มีคุณค่าในตัวของมันเอง แต่เงินที่เป็นสิ่งของนี้มีข้อ จำกัด หลายประการเช่นขาดความคงทนถาวรนำติดตัวไปด้วยไม่สะดวกแบ่งแยกเป็นหน่วยย่อย ๆ ได้ยากคุณภาพของสิ่งของที่ไม่เหมือนกันในระยะเวลาต่อมาจึงเปลี่ยนมาใช้เงินที่ทำด้วยโลหะแทน

เงินโลหะ ได้แก่ โลหะที่มีค่าเช่นทองคำเงินในตอนแรกการชำระเงินใช้วิธีชังโลหะให้มีน้ำหนักเท่ากับมูลค่าที่ต้องการจะข้าระต่อมาได้มีการนำโลหะมาหลอมเป็นเหรียญซึ่งมีคำแน่นอนมีการทำเหรียญกษาปณ์ได้โดยเสรีและอนุญาตให้โลหะนั้นเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้โดยเสรีมูลค่าของเหรียญกษาปณ์จะมีมูลค่าเท่ากับเนื้อโลหะที่มาทำเป็นเหรียญกษาปณ์ต่อมาเหรียญกษาปณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นเงินที่มีค่าไม่เต็มกล่าวคือมูลค่าของเนื้อโลหะที่มาทำเป็นเหรียญกษาปณ์จะน้อยกว่ามูลค่าของเหรียญกษาปณ์นั้นเพราะเมื่อโลหะหายากและมีราคาสูงขึ้นประชาชนจึงพากันฝนเนื้อโลหะออกหรือนำไปหลอมทำเป็นเครื่องประดับหรือเครื่องใช้อื่นและเหรียญกษาปณ์ที่มีจํานวนน้อยลงทุกทีจึงได้มีการทำขอบเหรียญกษาปณ์ให้มีรอยหยักและผสมโลหะเนื้อแข็งที่มีค่าน้อยลงไปเพื่อให้ทนทานขึ้นเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบันนี้เป็นเงินที่มีค่าไม่เต็มทั้งสิ้นและต่อมาโลหะหายากขึ้นมีราคาแพงและไม่สะดวกในการผลิตและการพกพาจึงเริ่มริวัฒนาการมาใช้เงินกระดาษขึ้น

เงินกระดาษมีกำเนิดมาจากใบรับฝากเงินของพวกช่างทองในสมัยโบราณกล่าวคือประชาชนมักจะผ่ากโลหะมีคำเงินทองไว้กับช่างทองเนื่องจากเป็นบุคคลที่ได้รับความเชื่อถือและมีที่เก็บรักษาที่แข็งแรงและพวกพ่อค้าไม่สามารถจะนำเงินและทองติดตัวไปไหนมาไหนได้ตลอดเวลาเพราะไม่สะดวกและไม่ปลอดภัยพวกช่างทองก็จะออกใบรับฝากให้เจ้าของถือไว้แทนไปรับฝากนี้สามารถจะโอนกรรมสิทธิ์กันได้โดยการเซ็นชื่อสลักหลังใบรับในตอนแรกพวกช่างทองจะออกใบรับให้กับคนที่นำโลหะมาฝาเท่านั้นต่อมาจากประสบการณ์พวกช่างทองพบว่าผู้ฝากมักจะไม่ถอนโลหะหรือเงินเหรียญออกไปพร้อม ๆ กันและถอนคืนไม่หมดดังนั้นพวกช่างทองจึงนำเอาโลหะเหล่านี้ออกให้กู้โดยออกใบรับให้แก่ผู้ที่ไม่ได้นำโลหะมาฝากและคิดค่าบริการเป็นดอกเบี้ยตามสมควรใบรับนี้สามารถนำมาขึ้นเป็นโลหะได้เช่นเดียวกับใบรับทั่วไปพวกช่างทองเหล่านี้จึงทำหน้าที่เป็นนายธนาคารและใบรับนี้ก็ ได้แก่ บัตรธนาคาร (Bank Card)

ปัจจุบันเงินกระดาษ ได้แก่ ธนบัตรซึ่งรัฐบาลพิมพ์ขึ้นมาใช้และรับรองให้ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายโดยทั่วไปแล้วการพิมพ์ธนบัตรจะต้องมีทุนสำรองเงินตราหนุนหลังทุนสำรองเงินตรานี้ประกอบด้วยทองคำและเงินตราต่างประเทศทั้งเงินเหรียญและธนบัตรนี้ไม่มีมูลค่าเต็มตามโลหะกล่าวคือไม่สามารถนำไปแลกโลหะคืนได้เต็มตามจำนวนนอกจากนี้ยังมีการชำระหนี้หรือจ่ายเงินซื้อสินค้าโดยใช้เช็คซึ่งกระทำได้โดยมีเงินฝากหรือทำความตกลงกับธนาคารไว้ว่าให้จ่ายเงินเมื่อเขียนเช็คสั่งจ่ายการใช้เช็คนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่าเงินฝากเผื่อเรียกหรือเงินฝากกระแสรายวัน (Current Account)

ปัจจุบันการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้การใช้เงินโดยผ่านธนาคารสะดวกสบายและมีหลายรูปแบบมากขึ้นบางครั้งเงินฝากกระแสรายวันสามารถตัดบัญชีออกจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หรือบัญชีเงินฝากประจำได้หรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มีความคล่องตัวมาก ๆ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาลหุ้นกู้บัตรเครดิตเช็คของขวัญเช็คเดินทางก็อาจใช้แทนเงินได้อีกด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า“ สิ่งคล้ายเงิน” ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นเงินได้ง่าย

ประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจมาก ๆ เช่นประเทศในยุโรปและอเมริกายังมีการโอนเงินกันทางโทรศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ซึ่งในอนาคตอาจจะนับรวมอยู่ในประเภทของเงินต่อไปเนื่องจากวิวัฒนาการของเงินนั้นยังคงมีอยู่เรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุดเพียงเท่านี้

สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีวิวัฒนาการมาตั้งแต่โบราณเช่นเดียวกันในสมัยโบราณการผลิตเป็นแบบเลี้ยงตัวเองการค้าขายแลกเปลี่ยนมีน้อยความจำเป็นในการใช้เงินมีไม่มากนักอย่างไรก็ตามมีหลักฐานว่ามีการใช้เงินตรามาเป็นเวลานานแล้วตั้งแต่ก่อนสมัยทวารวดีศรีวิชัยในสมัยสุโขทัยซึ่งการค้าเจริญรุ่งเรืองจนถึงสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์มิได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินมากนักจนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้เปิดประตูการค้ากับต่างประเทศมากยิ่งขึ้นมีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงใน พ.ศ. 2398 ให้สิทธิแก่ชาวอังกฤษที่จะมาทำการค้ากับคนไทยได้โดยเสรีและก็มีประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศที่ได้เข้ามาทำสัญญาในทำนองเดียวกันทำให้ปริมาณเงินที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับปริมาณการค้าและเงินที่ใช้ในสมัยนั้นผลิตโดยแรงงานคนจึงผลิตใต้เป็นจำนวนน้อยต่อมาจึงมีการผลิตโดยใช้เครื่องจักรเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นเครื่องจักรที่พระนางเจ้าวิคตอเรียราชินีแห่งอังกฤษถวายเป็นของขวัญแด่พระเจ้ากรุงสยามผลิตเหรียญออกมาใช้ครั้งแรกเป็นเหรียญเงิน 4 ชนิดคือหนึ่งบาทกึ่งบาทหนึ่งสลึงและหนึ่งเฟื้องมีเหรียญทองแดง 2 ขนาด เรียกว่าซิกและเสี้ยวมีเหรียญดีบุก 2 ขนาดให้เป็นเงินย่อยแทนเบี้ยเรียกว่าอัฐและโสฬสและมีทองคำอีก 3 ขนาดเรียกว่าทศพิศและพัดดึงส์

นอกจากนี้ยังมีการพิมพ์กระดาษหรือธนบัตรขึ้นอีกด้วยเรียกว่า“ หมาย” ซึ่งมีอยู่ 3 ราคาคือใบละเฟืองไปละสลึงและใบละแปดสิบบาทซึ่งสามารถนำมาแลกเป็นเหรียญกษาปณ์ได้ที่พระคลังมหาสมบัติและได้มีการจ่ายเบี้ยหวัดให้แก่ข้าราชการเรียกว่าใบพระราชทานเงินตราซึ่งสามารถนำมาแลกเป็นเหรียญกษาปณ์ได้เช่นเดียวกันดังนั้นเงินกระดาษทั้ง 2 ชนิดนี้จึงมีลักษณะคล้ายเช็คและไม่นิยมใช้แลกเปลี่ยนกันส่วนมากจะนำไปขึ้นเป็นเหรียญกษาปณ์จากพระคลังมหาสมบัติหมดในที่สุดก็เลิกใช้ไปเมื่อสิ้นรัชกาลที่ 4

ในสมัยรัชกาลที่ 5 แร่ดีบุกและทองแดงมีราคาสูงขึ้นทำให้ราษฎรพากันหลอมเป็นโลหะเพื่อส่งขายต่างประเทศจึงขาดแคลนเงินตราเป็นจํานวนมากต่อมาได้มีธนาคารพาณิชย์เข้ามาเริ่มดำเนินการในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเขียงไฮ้ใน พ.ศ. 2431 รัชกาลที่ 5 ได้โปรตให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติธนบัตรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2445 (ร.ศ. 121) และโปรดให้ตั้งกรมธนบัตรขึ้นรับผิดชอบในการออกธนบัตรรวม 5 ชนิด ได้แก่ ใบละ 5, 10,20, 100 และ 1,000 บาทตามลำดับพิมพ์โดย บริษัท โทมัสเดอลารู (Thomas de La Rue) ประเทศอังกฤษและต่อมาเนื่องจากการค้าได้เจริญมากขึ้นการที่มีหน่วยเงินแบบดั้งเดิมคือชั่งตำลึงบาทสลึงเฟืองและโสฬสไม่สะดวกในการลงบัญชีจึงมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นระบบบาทสตางค์หรือระบบหนึ่งส่วนต่อร้อยส่วนโดยได้ตราพระราชบัญญัติมาตราทองคำ พ.ศ. 2451 (ร.ศ. 127) ขึ้นและได้เพิ่มสตางค์ปลีกได้ทำเหรียญกษาปณ์ทองขาวและทองแดงขึ้น 3 ชนิดคือ 10 สตางค์ 5 สตางค์และ 1 สตางค์และประชาชนชาวไทยก็เริ่มยอมรับธนบัตรเป็นเงินตราใช้หมุนเวียนในท้องตลาดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนกระทั่งในปัจจุบันนี้เมื่อกิจการธนาคารพาณิชย์เจริญรุ่งเรืองขึ้นเงินฝากกระแสรายวันก็เริ่มมีบทบาทขึ้นและเริ่มมีการใช้เช็คกันมากขึ้นนอกจากนี้ยังมีการใช้บัตรเครดิตของธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศจากวิวัฒนาการของเงินจะเห็นได้ว่าเงินที่มีคุณสมบัติไม่ดีก็ค่อย ๆ เลิกใช้กันไปในที่สุดและเงินที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีคุณสมบัติของเงินที่ดี

คุณสมบัติของเงิน

1. เป็นที่ยอมรับในสังคม คือ สามารถใช้ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้และเป็นที่ยอมรับในการชำระหนี้ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดเพราะถ้าไม่มีคนยอมรับก็ไม่สามารถใช้จ่ายสิ่งของได้

2. มีความทนทาน ไม่เน่าเปื่อยหรือเสียหายได้ง่ายเมื่อเก็บเอาไว้นาน ๆ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนมือเพราะเงินย่อมมีการหมุนเวียนในท้องตลาดจากมือหนึ่งไปสู่มือหนึ่งเสมอเช่นสิ่งของต่าง ๆ เป็นหนังสัตว์ใบชาอาจขึ้นราหรือเปลือกหอยอาจแตกหักได้ดังนั้นเหรียญที่เป็นโลหะส่วนมากจะมีการนำไปผสมกับโลหะอื่น ๆ บางชนิดเพื่อให้ทนทานยิ่งขึ้นหรือถ้าเป็นธนบัตรก็จะใช้กระดาษที่มีความเหนียวและทนทานกว่ากระดาษทั่วไป มาทำธนบัตร

3. แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ง่าย แบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ง่ายและจะต้องเหมือนกันทุกหน่วยกล่าวคือต้องมีมาตรฐานทั้งด้านรูปร่างน้ำหนักและคุณภาพไม่เช่นนั้นจะทำให้เกิดความสับสนได้จะเห็นได้ว่าสิ่งของที่ใช้เป็นเงินต่าง ๆ ส่วนใหญ่ไม่มีคุณสมบัตินี้จึงได้เลิกใช้ไปในที่สุด

4. เป็นสิ่งที่หายาก เป็นสิ่งที่หายากและยากต่อการปลอมแปลงกล่าวคือจะต้องมีปริมาณ จำกัด เพราะถ้าหาง่ายจะไม่มีค่าและอาจจะมีการปลอมแปลงได้ง่ายดังนั้นจะเห็นได้ว่าในการทำเงินเหรียญจะมีการยกขอบหรือทำลวดลายที่ขอบในการพิมพ์ธนบัตรก็จะทำเป็นลายน้ำเพื่อให้เห็นลักษณะของเงินแต่ละชนิดได้ชัดเจนยิ่งขึ้นและยากต่อการปลอมแปลง

5. สะดวกสบายในการใช้จ่าย เงินควรทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบามีขนาดพอเหมาะเพื่อสะดวกแก่การแลก

เปลี่ยนกล่าวคือจะต้องไม่หนักหรือใหญ่เกินไปจนยากต่อการพกพาและไม่เล็กเกินไปจนกระทั่งหยิบไม่ติดหรือทำให้สูญหายได้ง่าย

หน้าที่ของเงิน

หน้าที่ของเงินในระบบเศรษฐกิจมี 4 ประการดังนี้

1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน (Medium of Exchange) คือ แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นเงินแล้วจึงนำเงินไปซื้อสินค้าและบริการอื่น ๆ หน้าที่นี้นับว่าเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญมากที่สุดจะเห็นได้ว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนมากต้องกำหนดเป็นตัวเงินทั้งนั้นเช่นราคาสินค้าและบริการค่าจ้างแรงงานค่าเช่าที่ดินค่าใช้จ่ายและรายได้ต่าง ๆ

2. เป็นมาตรฐานและหน่วยในการวัดมูลค่า (Standard of Value and Unit of Account) เมื่อมีการแลกเปลี่ยนสินค้าจำเป็นต้องมีหน่วยในการวัดมูลค่าสินค้าแต่ละชนิดไม่เหมือนกันเช่นกำหนดให้ไข่ไก่ฟองละ 4 บาทไก่ตัวละ 150 บาทค่าตัดผมครั้งละ 150 บาทเป็นต้นและเป็นประโยชน์เพราะสามารถรวมมูลค่าสิ่งของต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้เนื่องจากมีหน่วยเดียวกัน

3. เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า (Standard of Deferred Payments) การใช้เงินทำให้สามารถเลื่อนเวลาชำระหนี้ไปในอนาคตได้ทำให้มีการซื้อขายเงินเชื่อเกิดขึ้นเช่นในการทำสัญญาซื้อขายสินค้าต่าง ๆ จะต้องทำความตกลงว่าจะชำระหนี้เมื่อได้รับมอบงานเสร็จเรียบร้อยแล้วการตกลงทำสัญญานี้จะต้องตกลงกันเป็นตัวเงินถ้าตกลงกันเป็นสิ่งของจะค่อนข้างลำบากเพราะคุณภาพและราคาของสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงหรือเน่าเสียได้

4. เป็นเครื่องสะสมมูลค่า (Store of Value) กล่าวคือสะสมเงินในปัจจุบันนี้เพื่อใช้ในโอกาสต่อไปเช่นเก็บไว้ใช้เมื่อยามป่วยไข้หรือยามชราเป็นต้นเหตุที่คนนิยมเก็บเงินก็เพราะสามารถใช้จ่ายได้ทันที แต่มีข้อ จำกัด อยู่บ้างคือไม่ก่อให้เกิดผลกำไรมากนักอาจจะได้ดอกเบี้ยบ้างเล็กน้อยและค่าของเงินอาจจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเทียบกับระดับราคาสินค้าเช่นค่าของเงินจะลดลงเมื่อระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปสูงขึ้น

สำหรับหน้าที่ของเงินนั้นเป็นหน้าที่ที่ช่วยให้การดำเนินการของระบบเศรษฐกิจเป็นไปได้ด้วยดีกล่าวคือเป็นเครื่องหล่อลื่นของระบบเศรษฐกิจและสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการถือเงินและชุมชนกลุ่มต่าง ๆ

ประเภทของเงิน

ปัจจุบันประเภทของเงินที่ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ชนิด คือ

1. เหรียญกษาปณ์ (Coins) หมายถึง เงินเหรียญที่ข้าระหนี้ได้ตามกฎหมายการออกเหรียญกษาปณ์เป็นหน้าที่ของกรมธนารักษ์กระทรวงการคลังสำหรับขนิตราคาโลหะอัตราเนื้อโลหะน้ำหนักขนาดตัวดลายและลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์นั้นให้กำหนดโดยกฎกระทรวงการคลัง

2.ธนบัตร (Bit) หมายถึง เงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายธนบัตรที่ออกใช้ในปัจจุบันเป็นธนบัตรของรัฐบาลซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำและนำออกใช้

3. เงินฝากธนาคารประเภทฝากกระแสรายวันหรือเงินฝากเผื่อเรียก (Current Account) คือ เงินฝากกระแสรายวันซึ่งจ่ายโอนกันด้วยเช็คเงินฝากประเภทนี้มีอำนาจซื้อเช่นเดียวกับธนบัตรและเหรียญกษาปณ์

ความสำคัญของเงินต่อระบบเศรษฐกิจ

เงินมีความสำคัญในทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเพราะการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรายได้ผลผลิตและการจ้างงานกล่าวคือถ้าพิจารณาด้านความต้องการใช้จ่ายมวลรวมเมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นโดยสิ่งอื่น ๆ คงที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงทำให้ความต้องการในการลงทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นการจ้างงานเพิ่มขึ้นซึ่งมีผลทำให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นในทางตรงข้ามถ้าปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลงโดยสิ่งอื่น ๆ คงที่อัตราดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการในการลงทุนมีแนวโน้มลดลงส่งผลให้รายได้ประชาชาติลดลงดังนั้นเงินจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของมนุษย์เป็นอย่างมากกล่าวคือ

1. ความสำคัญในด้านการผลิต ผู้ประกอบการมักแสวงหาเงินตรามาลงทุนประกอบการผลิตหรือทำการค้าโดยหวังผลกำไรตอบแทนเป็นเงินตราหากผู้ประกอบการคาดว่าจะได้รับกำไรสูงย่อมมีการลงทุนเพิ่มมากขึ้นการใช้จ่ายลงทุนย่อมเป็นผลดีต่อสังคมช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น

2. ความสำคัญในด้านการแลกเปลี่ยนและการอุปโภคบริโภค เนื่องจากเงินตราเป็นสิ่งที่มนุษย์ยอมรับและใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลายเงินตราจึงเป็นสิ่งกระตุ้นให้สินค้าจากแหล่งผลิตสู่มือผู้บริโภคได้รวดเร็วยิ่งขึ้นตามปกติผู้บริโภคจะมีรายได้เป็นเงินตราในรูปของเงินเดือนค่าจ้างตอกเบี้ยหรือค่าเช่าสิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินรายได้ไปแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาบำบัดความต้องการได้มากกว่าการแลกเปลี่ยนแบบดั้งเดิมคือการแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของและระบบเศรษฐกิจที่ใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยนนั้นช่วยให้ระบบการแลกเปลี่ยนสม่ำเสมอชุมชนมีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นเพราะช่วยให้มีการผลิตสินค้าสู่มือผู้บริโภคสูงขึ้น

3. ความสำคัญในด้านสังคม การที่มนุษย์นิยมใช้เงินตรากันอย่างกว้างขวางเพราะสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ทุกชนิดเงินตราจะเป็นหลักประกันที่มั่นคงในระบบการเปลี่ยนแปลงแต่ละคนจึงเลือกทำงาน แต่เฉพาะที่ตนมีความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินตราไปใช้จ่ายการแบ่งงานกันทำเป็นลักษณะของสังคมปัจจุบันซึ่งก่อให้เกิดการผลิตการค้าและความเป็นอยู่ของสังคมมนุษย์สูงยิ่งขึ้น

ตลาดการเงิน

ตลาดการเงิน (Financial Market) คือ ตลาดที่อำนวยความสะดวกในการโอนเงินจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมไปยังหน่วยเศรษฐกิจที่ต้องการเงินออมเพื่อนำไปลงทุน

ตลาดการเงินประกอบด้วยตลาดเงินและตลาดทุน

1. ตลาดเงิน (Money Market) คือ ตลาดที่มีการระดมเงินทุนและการให้สินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ การโอนเงินการซื้อขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่มีอายุการไถ่ถอนระยะสั้นเช่นตัวเงินคงคลังตั๋วแลกเงินตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นต้นตลาดเงินเป็นที่รวมกลไกที่ทำให้การหมุนเวียนของเงินทุนระยะสั้นเป็นไปด้วยดีได้การให้สินเชื่อแก่บุคคลการจัดหาทุนเพื่อการประกอบการของธุรกิจการจัดหาเงินทุนระยะสั้นของภาครัฐบาลตลาดเงินยังแบ่งออกเป็น

1) ตลาดเงินในระบบประกอบด้วยสถาบันการเงินที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ได้แก่ ธนาคารกลางธนาคารพาณิชย์สถาบันเฉพาะกิจของรัฐ บริษัท เงินทุนและหลักทรัพย์กิจกรรมหลักของตลาดเงินในระบบ ได้แก่ การกู้โดยตรงหรือเบิกเกินบัญชี (Over Draft) การกู้ยืมระหว่างธนาคารด้วยกันเอง (Inter Bank) การกู้โดยขายตราสารทางการเงินตั๋วสัญญาใช้เงินตั๋วเงินคลังตราสารการค้าและตราสารที่ธนาคารรับรอง

2) ตลาดเงินนอกระบบเป็นแหล่งการกู้ยืมที่ไม่มีกฎหมายรองรับสถานภาพของผู้ให้กู้กิจกรรมที่สำคัญของตลาดเงินประเภทนี้ ได้แก่ การเล่นแชร์การให้กู้และการขายฝาก

2. ตลาดทุน (Capital Market) คือ ตลาดที่มีการระดมเงินออมและให้สินเชื่อในระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ได้แก่ เงินฝากประจำหุ้นสามัญหุ้นกู้และพันธบัตรทั้งของรัฐบาลและเอกชนโดยอาจแบ่งเป็นตลาดสินเชื่อทั่วไปและตลาดหลักทรัพย์ตลาดสินเชื่อทั่วไปซึ่งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ บริษัท ประกันชีวิตและ บริษัท เงินทุนส่วนตลาดหลักทรัพย์แบ่งออกเป็นตลาดย่อยได้ 2 ตลาดคือ

1) ตลาดแรก (Primary Market) คือตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่เป็นการซื้อขายที่หน่วยธุรกิจผู้ออกหลักทรัพย์ได้รับเงินทุนจากผู้ซื้อหลักทรัพย์ใหม่ทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดนี้เป็นการลงทุนที่แท้จริง

2) ตลาดรอง (Secondary Market) คือตลาดที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์เก๋ในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าไม่ใช่การลงทุนที่แท้จริงเป็นเพียงการเปลี่ยนมือระหว่างผู้ถือหลักทรัพย์โดยหน่วยธุรกิจผู้ออกหลักทรัพย์นั้น ๆ ไม่ได้รับเงินทุนจากการซื้อขายเหล่านั้นอย่างไรก็ตามตลาดรองก็มีบทบาทเกื้อกูลต่อตลาดแรกเพราะทำให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ในตลาดแรกมีความมั่นใจว่าจะสามารถเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นเงินสดได้เมื่อต้องการ

ปัจจุบันการแบ่งตลาดเงินและตลาดทุนออกจากกันชัดเจนทำได้ค่อนข้างยากเพราะสถาบันการเงินแต่ละแห่งมักมีธุรกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งสินเชื่อระยะสั้นและระยะยาวในการศึกษาจึงพิจารณารวมกันเป็นตลาดการเงิน

ความสำคัญของตลาดการเงิน

1. ระดมทุนจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออมหากไม่มีตลาดการเงินเงินส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายของหน่วยเศรษฐกิจบางส่วนจะถูกถือไว้โดยไม่มีผลประโยชน์งอกเงยเมื่อมีตลาดการเงินหน่วยเศรษฐกิจเหล่านั้นก็สามารถนำเงินออกไปฝากไว้กับสถาบันการเงินในรูปเงินฝากประเภทต่าง ๆ และสามารถแลกเปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมโดยได้รับผลตอบแทน

2. เกิดการจัดสรรเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพหน่วยเศรษฐกิจใดที่ต้องการลงทุนถ้าไม่มีเงินออมของตนที่สามารถหาได้จากตลาดการเงินโดยจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของเงินทุนและจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสถาบันการเงินดังนั้นโครงการลงทุนที่อาศัยเงินทุนจากตลาดการเงินจึงต้องมีอัตราผลตอบแทนสูงเพียงพอเพื่อให้คุ้มกับต้นทุนเงินทุนที่กู้ยืมมาทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการใช้เงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ

3. รักษาอัตราการเติบโตของระบบเศรษฐกิจสินเชื่อจากตลาดการเงินมีส่วนช่วยให้การบริโภคและการผลิตเป็นไปอย่างสม่ำเสมอหากขาดตลาดการเงินอุปสงค์มวลรวมจะลดต่ำลงในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่เมื่อมีตลาดการเงินที่ปล่อยสินเชื่อได้อย่างพอเพียงในช่วงเวลาที่เหมาะสมก็จะช่วยรักษาระดับการใช้จ่ายมวลรวมไม่ให้ตกต่ำลง

4. ระบบเศรษฐกิจที่มีตลาดการเงินที่ได้รับการพัฒนาธนาคารกลางสามารถใช้นโยบายการเงินเพื่อปรับสภาวะทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่ต้องการได้เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจระดับ

มหภาค

ทฤษฎีการเงิน

ปริมาณเงินหรืออุปทานของเงิน (Supply of Money: ) หมายถึง ปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจในขณะใดขณะหนึ่งกล่าวคือเนื่องจากแต่ละประเทศใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหลายชนิดบางชนิดเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายในทุกประเทศเช่นธนบัตรเหรียญกษาปณ์เป็นต้น แต่บางชนิดก็ยอมรับมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละประเทศเช่นเช็คดราฟต์เป็นต้นดังนั้นคำว่าปริมาณเงินหรืออุปทานของเงินในประเทศต่าง ๆ จึงแตกต่างกันโดยเฉพาะในกรณีของประเทศไทยนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดความหมายของปริมาณเงินไว้ดังนี้

1 ปริมาณเงินในความหมายแคบ (Narrow Money) หมายถึง ปริมาณของเหรียญกษาปณ์ธนบัตรและเงินฝากกระแสรายวันรวมกันทั้งหมดที่ใช้หมุนเวียนอยู่ในมือเอกชนองค์กรห้างร้าน บริษัท และหน่วยราชการต่าง ๆ ในขณะใดขณะหนึ่งโดยไม่นับรวมเงินที่อยู่ในมือของธนาคารและรัฐบาลเพราะเงินเหล่านี้ยังไม่ได้ถูกนำออกมาใช้หมุนเวียนการกำหนดปริมาณเงินตามความหมายอย่างแคบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วัดอำนาจซื้อของประชาชนในระบบเศรษฐกิจถ้าปริมาณเงินเพิ่มขึ้นอำนาจซื้อของประชาชนในระบบเศรษฐกิจก็จะเพิ่มขึ้นในทางตรงข้ามถ้าปริมาณ "ใบลดลงอำนาจซื้อของประชาชนในระบบเศรษฐกิจจะลดลง

2. ปริมาณเงินในความหมายกว้าง (Broad Money) เป็นแนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ที่เชื่อว่าบทบาทของเงินไม่ได้มีไว้เพื่อใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการเท่านั้น แต่มีบทบาทในการเป็นเครื่องรักษามูลค่าด้วยนั่นคือมีความต้องการถือเงินไว้เพื่อเก็งกำไรดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่จึงเห็นว่าความหมายของปริมาณเงินควรขยายเพิ่มเติมออกไปโดยรวมหลักทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่นที่มีสภาพคล่องสูงแก่เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำเข้าไว้ในปริมาณเงินด้วยฉะนั้นปริมาณเงินในความหมายกว้างจึงประกอบด้วยเหรียญกษาปณ์ธนบัตรเงินฝากกระแสรายวันเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำที่อยู่ในมือของหน่วยเศรษฐกิจในขณะใดขณะหนึ่ง

ดังนั้นการวิเคราะห์อุปทานของเงินในทางทฤษฎีโดยทั่วไปมักจะใช้ปริมาณเงินในความหมายกว้างนั่นคือปริมาณเงินที่หมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจในขณะใดขณะหนึ่งซึ่งจะมีจำนวนเท่าใดก็ตามจะไม่ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ย แต่ขึ้นอยู่กับนโยบายการเงินของรัฐบาลหรือธนาคารกลางเมื่อเป็นเช่นนี้เส้นอุปทานของเงินจึงไม่มีความยืดหยุ่นต่ออัตราดอกเบี้ยและมีลักษณะเป็นเส้นตรงตั้งฉากกับแกนนอน

ความต้องการถือเงินหรืออุปสงค์ของเงิน

อุปสงค์ของเงินการถือเงิน คือ ปริมาณเงินทั้งสิ้นที่ระบบเศรษฐกิจต้องการถือไว้ในขณะใดขณะหนึ่งซึ่งทฤษฎีการเงินของเคนส์ได้จำแนกความต้องการถือเงินหรืออุปสงค์ของเงินไว้ 3 ประเภทดังนี้

1. ความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายประจําวัน (Transaction Demand for Money) เช่น ค่าอาหารค่าพาหนะค่าเสื้อผ้าค่าใช้จ่ายในกิจการของธุรกิจค่าของใช้ภายในสำนักงานเป็นต้นจะมีมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับรายได้อุปนิสัยในการบริโกศและระยะเวลาที่ได้รับรายได้นั้นกล่าวคือคนที่มีรายได้เดือนละ 7,500 บาทก็อาจจะมีความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายประจำวันมากกว่าคนที่มีรายได้เดือนละ 4,000 บาทหรือคนที่มีนิสัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือยก็อาจมีความต้องการถือเงินมากกว่าคนที่มีนิสัยประหยัดระยะเวลาที่ได้รับรายได้ก็เช่นเดียวกันคนที่ได้รับรายได้เป็นรายเดือนก็ต้องถือเงินไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเฉลี่ยไร้ใช้ทั้งเดือนขณะที่คนมีรายได้เป็นรายวันอาจมีความจำเป็นจะต้องถือเงินประเภทนี้น้อยมากสำหรับธุรกิจย่อมต้องการเงินจำนวนหนึ่งไว้เป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือนวัตถุดิบสาธารณูปโภคเป็นต้นทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยจะไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการถือเงินประมาทนี้

2. ความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉิน (Precautionary Demand for Money) ได้แก่ เงินที่เก็บไว้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วยหรือว่างงานเพื่อเป็นการไม่ประมาทคนส่วนมากจะมีความต้องการถือเงินไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเหตุเหล่านี้ซึ่งจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับรายได้อุปนิสัยส่วนบุคคลและสวัสดิการทางสังคมของประเทศในประเทศที่เจริญแล้วมักจะมีโครงการสวัสดิการทางสังคมเพื่อช่วยเหลือคนงานเมื่อยามชราหรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุเจ็บป่วยโครงการสวัสดิการทางสังคมทำให้ความต้องการถือเงินประเภทนี้ลดน้อยลงความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉินจะมีความสัมพันธ์กับรายได้เช่นเดียวกับความต้องการถือเงินเพื่อใช้จ่ายประจำวันและอัตราดอกเบี้ยไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการถือเงินประเภทนี้

3. ความต้องการถือเงินเพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand for Money) หมายถึง ความต้องการถือเงินไว้เพื่อเสี่ยงหากำไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์โดยจะซื้อขายหลักทรัพย์ในขณะที่มีราคาต่ำแล้วนำออกขายเมื่อหลักทรัพย์มีราคาสูงขึ้นส่วนต่างของราคาซื้อกับราคาขายก็คือกำไรที่จะได้รับซึ่งโดยปกติราคาหลักทรัพย์จะมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับอัตราดอกเบี้ยกล่าวคือเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงราคาหลักทรัพย์จะต่ำและเมื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำราคาหลักทรัพย์ก็จะสูงดังนั้นเพื่อให้ได้กำไรบุคคลจะซื้อหลักทรัพย์เป็นจำนวนมากเมื่อหลักทรัพย์มีราคาต่ำและอัตราดอกเบี้ยสูงก็จะเหลือเงินที่ถือไว้เพื่อการเก็งกำไรน้อยการที่บุคคลถือหลักทรัพย์ไว้มากในขณะที่อัตราดอกเบี้ยสูงเพราะคาดว่าในอนาคตอัตราดอกเบี้ยจะต่ำลงจะมีผลทำให้ราคาหลักทรัพย์สูงขึ้นเมื่อนำหลักทรัพย์ออกขายก็จะได้กำไรในทางตรงกันข้ามถ้าหลักทรัพย์มีราคาสูงและอัตราดอกเบี้ยต่ำบุคคลจะไม่ซื้อหลักทรัพย์เลยก็จะเหลือเงินที่ถือไว้เพื่อการเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก

ดุลยภาพของตลาดเงิน

กล่าวได้ว่าดุลยภาพของตลาดเงินเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะอยู่เช่นนั้นตราบใดที่อุปสงค์ของการถือเงินและอุปทานของเงินไม่เปลี่ยนแปลงเหตุผลก็คือถ้าอัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลงไปจากดุลยภาพด้วยเหตุใดก็ตามจะทำให้อุปสงค์ของการถือเงินและอุปทานของเงินขาดความสมดุลอัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนไปจากดุลยภาพจึงดำรงอยู่ไม่ได้ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ จนเกิดดุลยภาพของตลาดเงินอีกครั้งหนึ่งจึงจะหยุดนิ่ง

อย่างไรก็ตามดุลยภาพของตลาดเงินจะเปลี่ยนแปลงไปถ้าอุปสงค์ของการถือเงินหรืออุปทานของเงินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างเปลี่ยนแปลงไปและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาดเงินจะมีผลกระทบต่อการลงทุนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมและการเปลี่ยนแปลงความต้องการใช้จ่ายมวลรวมจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผลผลิตรายได้และการจ้างงานด้วยเหตุนี้การใช้นโยบายการเงินจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินมีผลกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตรายได้และการจ้างงาน

ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) เป็นสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศมากเพราะเป็นสถาบันการเงินที่สามารถระดมเงินฝากและให้สินเชื่อมากกว่าสถาบันการเงินอื่น ๆ ธนาคารพาณิชย์มีบทบาทหน้าที่แตกต่างจากสถาบันการเงินทั่วไปประการหนึ่งคือธนาคารพาณิชย์รับฝากเงินกระแสรายวันซึ่งจ่ายโอนโดยเช็ค แต่สถาบันการเงินเฉพาะอย่างไม่สามารถกระทำการได้หากกระทำการดังกล่าวถือว่าผิดกฎหมายหน้าที่นี้เองที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์สามารถสร้างเงินฝากขึ้นได้เองโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ทางการเงินของรัฐบาลคือธนาคารกลางเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ธนาคารในประเทศไทยเริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงได้ได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่วสันวาคม พ.ศ. 2431 ธนาคารแห่งแขทที่เป็นของคนไทยเดิมชื่อว่า "ธนาคารสยามกัมมาจล" และได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2482 มีทุนเริ่มแรก 3 ล้านบาทตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 กิจการธนาคารพาณิชย์มีความเจริญก้าวหน้ามีรากฐานมั่นคงธนาคารพาณิชย์จึงกลายเป็นสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจมากที่สุด

การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 และ 2522 (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งให้คำจำกัดความของธนาคารพาณิชย์ไว้ว่าขนาคารพาณิชย์คือยูนาคารที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประเภทรับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถามหรือเมื่อหมดระยะเวลาที่กำหนดไว้และใช้ประโยชน์จากเงินนั้นในทางหนึ่งหรือหลายทางเช่นการให้กู้ยืมการซื้อขายหรือเก็บเงินตามตั๋วแลกเงินหรือตราสารเปลี่ยนมืออื่นใดหรือการซื้อหรือขายเงินปริวรรตเงินตราต่างประเทศเป็นต้น

ระบบของธนาคารพาณิชย์ที่จัดตั้งขึ้นที่นิยมในปัจจุบันอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ระบบดังนี้

1.ระบบธนาคารเดียวหรือระบบธนาคารเอกเทศ คือ ระบบธนาคารที่แต่ละธนาคารมีสำนักงานเพียงแห่งเดียวไม่มีสาขาไม่เกี่ยวข้องหรืออยู่ภายใต้การควบคุมของผู้หนึ่งผู้ใดหรือธนาคารหนึ่งธนาคารได้ส่วนใหญ่ตั้งขึ้นตามความต้องการทางเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นหนึ่ง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของท้องถิ่นเป็นสำคัญเช่นสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีระบบธนาคารเดี่ยวอย่างแพร่หลายเนื่องจากลักษณะการปกครองแบ่งออกเป็นมลรัฐอีกทั้งเพื่อส่งเสริมให้กิจการธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันกันอย่างเสรี

2.ระบบธนาคารสาขา คือ ระบบที่ธนาคารแต่ละแห่งมีสาขาตั้งแต่ 1 สาขาขึ้นไปโดยกระจายอยู่ในท้องที่ต่าง ๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศระบบธนาคารสาขาจะบริหารโดยมีสำนักงานใหญ่เป็นผู้วางนโยบายและควบคุมดูแลการดำเนินงานประเทศต่าง ๆ ส่วนมากรวมทั้งประเทศไทยใช้ระบบธนาคารสาขา

หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ ที่สำคัญมีดังนี้

1.การรับฝากเงิน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1) เงินฝากประเภทกระแสรายวันเป็นการรับฝากเงินที่จะต้องจ่ายคืนทันทีเมื่อทวงถามปัจจุบันธนาคารจะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฝากเงินฝากประเภทนี้เป็นที่นิยมกันในวงการธุรกิจ

2) เงินฝากประเภทฝากประจำเป็นเงินฝากประเภทที่ถอนคืนได้เมื่อหมดกำหนดระยะเวลาหรือถอนคืนเมื่อไปแจ้งให้ธนาคารทราบล่วงหน้าเท่านั้นธนาคารจะให้ดอกเบี้ยเงินฝากชนิดนี้ตามกำหนดระยะเวลาที่ฝากและอัตราดอกเบี้ยจะสูงกว่าการฝากเงินแบบอื่น ๆ เพราะธนาคารสามารถนำเงินไปลงทุนในระยะยาวได้ แต่ถ้าถอนก่อนกำหนดจะไม่จ่ายดอกเบี้ยให้

3) เงินฝากประเภทฝากออมทรัพย์เงินฝากประมาทนี้เหมาะสำหรับผู้มีรายได้น้อยเก็บสะสมทรัพย์

2.การให้เงินกู้และการขยายสินเชื่อ ลูกหนี้ธนาคารสามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารตามเงื่อนไขและนโยบายของธนาคารโดยการทำสัญญากู้เงินกับธนาคารพาณิชย์อาจใช้หลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายและเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร

3. การให้บริการอื่น ๆ อาทิ

1) การให้บริการในด้านเป็นตัวแทนของลูกค้าเช่นซื้อขายหุ้นเก็บเงินตามเช็คตั๋วเงินและตราสารอื่น ๆ และช่วยเก็บเงินประเภทอื่น ๆ เช่นค่าเช่าดอกเบี้ยค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์หรือทะเบียนรถยนต์ช่วยจัดทำพินัยกรรมและช่วยเป็นตัวแทนรัฐบาลในการจัดการเงินบางประเภทเช่นขายพันธบัตรตัวเงินคลังเป็นต้น

2) การให้บริการช่วยเหลือด้านการชำระเงินระหว่างประเทศเช่นการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อสั่งซื้อสินค้าเข้ามาขายในประเทศการซื้อขายเงินตราต่างประเทศค่าสินค้าส่งออกการเรียกเก็บเงินตามตัวเงินต่างประเทศ

3) การให้บริการอื่น ๆ ที่ให้ความสะดวกแก่ลูกค้าเช่นการรับฝากของมีค่าการบริการขายเช็คเดินทางรับโอนเงินภายในและภายนอกประเทศบริการด้านการศึกษาต่อต่างประเทศออกหนังสือและเอกสารต่างๆแจ้งข่าวสารทางการค้าและเศรษฐกิจแก่ลูกค้า

ธนาคารกลาง

เนื่องจากปริมาณเงินเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินไปได้ด้วยดีเมื่อปริมาณเงินมีพอเหมาะ แต่ถ้าปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากหรือน้อยเกินไปก็จะกระทบต่อภาคการผลิตทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืดได้ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมปริมาณเงินให้มีความพอเหมาะสถาบันที่ทำหน้าที่นี้คือ“ ธนาคารกลาง (Central Bank)” ซึ่งเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณเงินและการจัดการทางด้านการเงินของระบบเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจเช่นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นต้น

สำหรับธนาคารกลางของประเทศไทยคือ "ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand)” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า“ ธนาคารชาติ” ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 กำหนดให้เป็นองค์กรอิสระโดยได้เลียนแบบมาจากธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (Bank of England) ธนาคารแห่งประเทศไทยมีสาขาทั้งสิ้น 4 แห่งคือที่จังหวัดลำปางจังหวัดขอนแก่นจังหวัดสงขลาและที่จังหวัดเชียงใหม่โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สี่แยกบางขุนพรหมและมีสำนักงานอีกแห่งหนึ่งอยู่ที่ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพฯ

ลักษณะสำคัญของธนาคารกลาง

ธนาคารกลางมีลักษณะแตกต่างจากธนาคารพาณิชย์ดังนี้

1. ธนาคารกลางทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญดังนั้นจึงไม่ใช่สถาบันที่แสวงหากำไรเหมือนธนาคารพาณิชย์

2. ธนาคารกลางจะไม่ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับธนาคารพาณิชย์

3. ลูกค้าของธนาคารกลางเป็นคนละประเภทกับลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ลูกค้าของธนาคารกลาง ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ สำหรับลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ พ่อค้าและประชาชนทั่วไป

4. ธนาคารกลางเป็นผู้ควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์อย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

บทบาทและหน้าที่ของธนาคารกลาง

ธนาคารกลางในทุกประเทศมีวัตถุประสงค์และนโยบายหลักคล้ายคลึงกันคือรักษาเสถียรภาพของเงินตราและเศรษฐกิจของประเทศโดยอาจสรุปหน้าที่หลักของธนาคารกลางโดยเฉพาะธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดังนี้

1. การออกธนบัตร หน้าที่ของธนาคารกลาง ได้แก่ การออกธนบัตรใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยปริมาณที่ออกใช้จะต้องเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจเพราะถ้ามีการออกธนบัตรมากเกินความจำเป็นอาจทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือถ้าปริมาณธนบัตรที่ออกใช้มีน้อยเกินไปก็จะเกิดภาวะเงินฝืดได้เพื่อให้การออกธนบัตรมีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือของประชาชนและมีความยืดหยุ่นได้ตามความต้องการทางเศรษฐกิจกฎหมายธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จึงได้กำหนดให้การออกธนบัตรต้องมีเงินทุนสำรองเงินตราเป็นอัตราส่วนไม่น้อยกว่าที่กำหนดสำหรับประเทศไทยปัจจุบันการออกธนบัตรจะต้องมีเงินทุนสำรองเงินตราเป็นทองคำและสินทรัพย์ต่างประเทศรวมกันทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ของยอดธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้และในจำนวนนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ต้องเป็นทองคำและเงินตราต่างประเทศสกุลหลัก

2.การเป็นนายธนาคารของรัฐบาล หน้าที่ในฐานะที่เป็นนายธนาคารของรัฐบาลมีดังนี้

1) รักษาบัญชีเงินฝากของรัฐบาลหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ

2) ให้รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจกู้ยืมเงินเป็นแหล่งเงินกู้ยืมแหล่งสุดท้ายของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจในกรณีที่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจไม่สามารถกู้ยืมเงินจากแหล่งอื่นได้ธนาคารกลางมี 2 ลักษณะทคือให้กู้ได้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลและให้กู้เพื่อใช้จ่ายตามโครงการเฉพาะกิจของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ

3) เป็นตัวแทนในการจัดการทางการเงินของรัฐบาล ได้แก่ เป็นตัวแทนในการจัดการหนี้ของรัฐบาลและเป็นตัวแทนของรัฐบาลในองค์การการเงินระหว่างประเทศเช่นการกู้ยืมเงินจากเอกชนให้แก่รัฐบาลโดยวิธีประมูลขายตั๋วเงินคลังการจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลและตราสารอื่น ๆ ทำหน้าที่โอนเงินระหว่างประเทศและภายในประเทศให้รัฐบาลทำการซื้อขายทองคำควบคุมและปริวรรตเงินตราต่างประเทศและซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

4) เป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการคลังและหนี้สาธารณะของรัฐบาลรัฐบาลจำเป็นต้องระวังไม่ให้เกิดผลเสียหายแก่ระบบการเงินของประเทศอันจะส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจของประเทศในที่สุดธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพในการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

3. การเป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลางให้บริการต่าง ๆ แก่ธนาคารพาณิชย์ในลักษณะเดียวกับที่ธนาคารพาณิชย์ให้แก่ลูกค้าของธนาคารการทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ การรับฝากเงินของธนาคารพาณิชย์การควบคุมปริมาณเงินและเครดิตการเป็นสำนักงานกลางในการหักบัญชีระหว่างธนาคารการให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินและการเป็นศูนย์กลางการโอนเงินรวมทั้งการแก้ปัญหาทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ดังนั้นการให้บริการของธนาคารกลางจึงสามารถกระทำได้โดยผ่านธนาคารพาณิชย์อีกที่หนึ่งซึ่งการทำหน้าที่เป็นนายธนาคารของธนาคารพาณิชย์อาจแยกได้ดังนี้

1) หน้าที่ในการรับฝากเงินโดยธนาคารพาณิชย์จะนำเงินสำรองตามกฎหมายส่วนหนึ่งฝากไว้ที่ธนาคารกลางนอกจากนี้เงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารกลางยังใช้ประโยชน์ในการหักบัญชีชำระหนี้ระหว่างธนาคารพาณิชย์ได้อีกด้วย

2) หน้าที่ในการให้กู้ยืมเมื่อธนาคารพาณิชย์ขาดแคลนเงินสดและมีความจำเป็นต้องใช้เงินธนาคารพาณิชย์สามารถขอกู้จากธนาคารกลางโดยมีหลักทรัพย์ประกันหรือน้ำตั๋วเงินที่เชื่อถือได้ขายลดแก่ธนาคารกลางในการนี้ธนาคารกลางจะคิดดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์โดยหักอัตราดอกเบี้ยจากเงินต้นทันทีก่อนที่จะจ่ายเงินกู้จึงเรียกว่า“ อัตราส่วนลด (Discount Rate)” ธนาคารกลางจะใช้อัตราส่วนลดนี้เป็นเครื่องมือควบคุมสินเชื่ออย่างหนึ่งเพราะการเพิ่มหรือลดอัตราส่วนลดจะมีผลยับยั้งหรือส่งเสริมการกู้ยืมของธนาคารพาณิชย์

3) หน้าที่ในการกำกับและตรวจสอบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเพื่อดูแลการประกอบการของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น บริษัท เงินทุนและหลักทรัพย์ให้ถูกต้องตามกฎหมายมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพเพื่อความปลอดภัยของลูกค้าผู้ฝากเงิน

4) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการหักบัญชีและการโอนเงินธนาคารกลางเป็นศูนย์กลางการโอนเงินระหว่างธนาคารต่าง ๆ ทั่วประเทศเพราะทุกธนาคารมีเงินฝากอยู่ที่ธนาคารกลางการหักหนี้และการโอนเงินโดยผ่านธนาคารกลางจึงทำได้สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

4. เป็นผู้รักษาเงินสารองระหว่างประเทศ เนื่องจากเงินสำรองระหว่างประเทศจะมีมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจและตุลการชำระเงินของประเทศจึงเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางซึ่งเป็นผู้มีสิทธิในการออกธนบัตรและรักษาเงินสำรองของธนาคารพาณิชย์ดังนั้นธนาคารกลางจึงควรเป็นผู้รักษาเงินสำรองระหว่างประเทศทั้งหมดเพื่อผลประโยชน์ในการดำเป็นหน้าที่ของธนาคารกลางและสะดวกแก่การควบคุมเงินสำรองนี้

5.เป็นผู้ควบคุมปริมาณเงินและเครดิต หน้าที่หลักของสนาคารกลางคือควบคุมปริมาณเงินและเครดิตที่เหมาะสมในประเทศกล่าวคือถ้าปริมาณเงินมีมากหรือน้อยเกินไปจะกระทบต่อความก้าวหน้าและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งการควบคุมปริมาณเงินของระบบเศรษฐกิจธนาคารกลางจะใช้วิธีควบคุมการขยายเครดิตเป็นสำคัญถ้าต้องการเพิ่มปริมาณเงินก็จะขยายเครดิตมากขึ้นและถ้าต้องการลดปริมาณเงินก็จะลดการขยายเครดิตมาตรการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ก็คือนโยบายการเงินซึ่งถือเป็นนโยบายหลักอันหนึ่งของประเทศที่ใช้สำหรับรักษาเสถียรภาพและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ

6.เป็นผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ สามารถกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางได้วิธีกู้มี 3 วิธี คือ

1) นำตัวเงินที่เชื่อถือได้ขายลด แต่ธนาคารกลาง

2) ขายตัวเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลแก่ธนาคารกลาง

3) กู้ยืมโดยมีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน

ธนาคารกลางมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะช่วยให้ภาวะเงินฝืดทางการเงินลดลงธนาคารกลางและสถาบันการเงินมีสภาพคล่องสูงขึ้นธนาคารกลางสามารถให้กู้ยืมได้เกือบจะไม่มีขอบเขต จำกัด แต่การให้กู้ยืมของธนาคารกลางควรเป็นไปอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียแก่เศรษฐกิจของประเทศ

7. เป็นผู้ควบคุมธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์จะมีผลโดยตรงต่อการลงทุนธนาคารกลางจึงเข้ามาควบคุมการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์หากธนาคารกลางพบข้อบกพร่องอย่างไรจะแจ้งให้ทราบเพื่อแก้ไขได้ทันท่วงทีและธนาคารกลางยังมีอำนาจในการอนุมัติการจัดตั้งธนาคารและสาขาอีกด้วย

นโยบายการเงิน

นโยบายการเงิน (Monetary Policy) หมายถึง การควบคุมดูแลปริมาณเงินและสินเชื่อโดยธนาคารกลางเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของราคาการส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นการรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม

ประเภทของนโยบายการเงิน

การดำเนินนโยบายการเงินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. นโยบายการเงินแบบเข้มงวด (Restrictive Monetary Policy) โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงินเพื่อทำให้ปริมาณเงินมีขนาดเล็กลงมักใช้ในกรณีที่ระบบเศรษฐกิจเกิดภาวะเงินเฟ้อคือภาวะที่ราคาสินค้าสูงขึ้นประชาชนจะใช้จ่ายมากกว่าความสามารถในการผลิตของระบบเศรษฐกิจหรือประชาชนใช้จ่ายเกินตัวดุลการค้าและตุลการชำระเงินขาตตุลเป็นต้นการใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดจะช่วยลดความรุนแรงในระบบเศรษฐกิจลงได้

2. นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย (Easy Monetary Policy) โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทางการเงินเพื่อทำให้ปริมาณเงินมีขนาดใหญ่ขึ้นมักใช้ในกรณีต่อไปนี้ภาวะเศรษฐกิจซบเซากล่าวคือการลงทุนรวมทั้งการผลิตและการใช้จ่ายของประชาชนอยู่ในระดับต่ำความต้องการสินเชื่อมีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณเงินออมที่มีอยู่การใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัว

เครื่องมือของนโยบายการเงิน

เครื่องมือของนโยบายการเงินแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การควบคุมทางปริมาณหรือโดยทั่วไป (Quantitative or General Control) และการควบคุมทางคุณภาพหรือการควบคุมเฉพาะอย่าง ((Qualitative or Selective Credit Control)

1.การควบคุมทางปริมาณหรือโดยทั่วไป เป็นการควบคุมปริมาณเครดิตเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่

1) อัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน (Bank Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์โดยปกติเป็นการกู้ยืมโดยมีหลักทรัพย์รัฐบาลค้ำประกันหากธนาคารกลางต้องการเพิ่มปริมาณเงินก็จะลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในทางตรงข้ามหากธนาคารกลางต้องการลดปริมาณเงินก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานมีผลต่อดุลการชำระเงินระหว่างประเทศในบางประเทศการปรับอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอาจมีผลทำให้อัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปภายในประเทศปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานและอาจก่อให้เกิดความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยภายในและภายนอกประเทศมากขึ้นซึ่งก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้นจากประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าไปยังประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าซึ่งมีผลกระทบต่อบัญชีทุนเคลื่อนย้ายอันเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

2) อัตรารับช่วงซื้อลด (Rediscount rate) หมายถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางเก็บล่วงหน้าจากธนาคารพาณิชย์เมื่อธนาคารพาณิชย์นำตั๋วเงินที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อลดไปขายลดต่อให้กับธนาคารกลางธนาคารกลางสามารถเพิ่มหรือลดอัตรารับช่วงซื้อลดเพื่อเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์กล่าวคือถ้าธนาคารกลางลดอัตรารับช่วงซื้อลดธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมจากธนาคารกลางมากขึ้นดังนั้นเงินสดสำรองจึงเพิ่มขึ้นธนาคารพาณิชย์สามารถขยายสินเชื่อได้มากขึ้นปริมาณเงินซึ่งรวมทั้งเงินฝากจึงเพิ่มขึ้นในทางตรงข้ามถ้าธนาคารกลางเพิ่มอัตรารับช่วงซื้อลดปริมาณเงินและเงินฝากก็จะลดลงปัจจุบันธนาคารกลางได้โอนกิจการรับช่วงซื้อลดไปให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเพื่อดำเนินการต่อโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเป็นหลัก

3) อัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย (Legal Reserve Ratio) การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายนี้มีผลกระทบต่อกระบวนการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์กล่าวคือในกรณีที่ธนาคารกลางประกาศเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายให้สูงขึ้นหากธนาคารพาณิชย์ไม่มีเงินสดสำรองส่วนเกินธนาคารพาณิชย์ต้องการเพิ่มเงินสดสำรองตามกฎหมายให้เพียงพอตามอัตราใหม่จะมีทางเลือก 4 ทางคือ (ก) ขายหลักทรัพย์ที่มีอยู่ (ข) ขอกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ด้วยกัน (ค) ขอกู้ยืมจากธนาคารกลางและ (3) ลดเงินฝากโดยเรียกเงินกู้ที่มีอยู่ขณะนั้นบางส่วนกลับคืนหรือไม่ต่ออายุสินเชื่อที่ถึงเวลาชำระคืนในทางตรงข้ามเมื่อธนาคารกลางลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายธนาคารพาณิชย์จะสามารถขยายสินเชื่อต่อไปได้อีกทำให้จำนวนเงินฝากทั้งสิ้นเพิ่มขึ้นและปริมาณเงินเพิ่มขึ้นด้วยการเพิ่มหรือลดอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายเป็นวิธีการที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินและสินเชื่อค่อนข้างมากดังนั้นการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายต้องใช้อย่างระมัดระวังหรือใช้เมื่อมีวิกฤตการณ์ทางการเงินและมีแนวโน้มว่าจะยืดเยื้อเป็นเวลานาน

4) การซื้อขายหลักทรัพย์ (Securities Trading) ธนาคารกลางจะขายหลักทรัพย์เมื่อต้องการลดปริมาณเงินและสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจเพราะการขายหลักทรัพย์จะทำให้ธนาคารกลางดึงเงินส่วนที่มีอยู่มากเกินไปออกจากระบบเศรษฐกิจในทางตรงข้ามธนาคารกลางจะซื้อหลักทรัพย์กลับคืนเมื่อต้องการเพิ่มปริมาณเงินและสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจให้มากขึ้นการซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารกลางจะเพิ่มเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์จึงทำให้ปริมาณเงินและสินเชื่อเพิ่มขึ้นการซื้อขายหลักทรัพย์ของธนาคารกลางยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเงินสดสำรองและการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์รวมทั้งยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินอีกด้วยเมื่อธนาคารกลางซื้อหลักทรัพย์ราคาหลักทรัพย์จะสูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยจะต่ำลงเพื่อจูงใจให้นำหลักทรัพย์มาขายแก่ธนาคารกลางถ้าปริมาณซื้อหลักทรัพย์มีมากพอปริมาณทุนเพื่อการให้กู้ยืมจะลดลงอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจึงลดลงในทางตรงข้ามถ้าธนาคารกลางต้องการขายหลักทรัพย์ราคาหลักทรัพย์จะต่ำและอัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ของธนาคารกลาง

2. การควบคุมทางคุณภาพหรือด้วยวิธีเลือกสรร เป็นการควบคุมการให้เครดิตของธนาคารพาณิชย์บางประเภทวิธีการทั่วไป ได้แก่ การกำหนดเงื่อนไขการกู้ยืมประเภทที่ต้องการ จำกัด เครดิตเซ็นจำนวนเงินดาวน์ (Down Payment) ระยะเวลาของการผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยเป็นต้นซึ่งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินต่าง ๆ ต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดชนิดของเครดิตที่ธนาคารกลางใช้ในการควบคุม ได้แก่

1) การควบคุมเครติตเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ประเทศที่ตลาดทุนมีระดับการพัฒนาสูงจะมีบุคคลประเภทหนึ่งประกอบอาชีพค้าขายหากำไรจากหลักทรัพย์บุคคลเหล่านี้จะซื้อหลักทรัพย์เมื่อราคาหลักทรัพย์ต่ำ (ดอกเบี้ยสูง) และขายเมื่อราคาหลักทรัพย์สูง (ดอกเบี้ยต่ำ) การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นเรื่องของการเก็งกำไรทั้งสิ้นเพราะต้องมีการคาดคะเนอัตราดอกเบี้ยในอนาคตซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตลาดหลักทรัพย์ได้ธนาคารกลางสามารถควบคุมเหตุการณ์เช่นนี้ได้ด้วยวิธี จำกัด เครดิตเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์กล่าวคือโดยปกติผู้ซื้อหลักทรัพย์มักจะมีเงินสดไม่พอจำเป็นต้องกู้ยืมเงินบางส่วนโดยใช้หลักทรัพย์ที่ซื้อเป็นหลักประกันจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ จึงใช้วิธีกำหนดอัตราต่ำสุดของราคาหลักทรัพย์ที่ผู้ซื้อต้องชำระเป็นเงินสดที่เรียกว่า Margin Requirement ยิ่งมีอัตราสูงเท่าใดก็หมายความว่าธนาคารกลางต้องการ จำกัด เครดิตเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์มากเท่านั้น

2) การควบคุมเครดิตเพื่อการอุปโภคบริโภคเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้สำหรับควบคุมเครดิตประเภทนี้มี 2 ชนิดคือการกำหนดจำนวนเงินต่ำสุดที่ต้องชำระครั้งแรกและระยะเวลาสูงสุดของการผ่อนชำระกล่าวคือการเพิ่มจำนวนเงินต่ำสุดที่ต้องชำระครั้งแรกและการลดระยะเวลาสูงสุดของการผ่อนชำระจะทำให้สามารถ จำกัด เครดิตเพื่อการอุปโภคบริโภคได้มากขึ้นและมีผลต่อการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นไปตามที่ต้องการ

3) การชักชวนให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามธนาคารกลางอาจดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายหรือเข้มงวดได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือดังกล่าวข้างต้น แต่ใช้วิธีการชักชวนด้วยวาจาให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตามในเรื่องที่ขอร้องเช่นการขอร้องให้ละเว้นจากการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจเก็งกำไรเป็นต้นการที่ธนาคารกลางสามารถใช้บังคับด้วยวิธีการนี้ได้ด้วยเงื่อนไข 2 ประการคือธนาคารกลางมีเครื่องมืออื่นพร้อมจะนำมาใช้บังคับได้ถ้าไม่ปฏิบัติตามและธนาคารพาณิชย์ต้องพึ่งธนาคารกลางทั้งด้านการเงินและบริการต่าง ๆ อย่างมาก

นโยบายการเงินของประเทศไทย

ธนาคารกลางได้ดำเนินนโยบายการเงินและเลือกใช้มาตรการทางการเงินที่แตกต่างกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 3 ประการดังนี้

1. การรักษาเสถียรภาพทางการเงิน มาตรการทางการเงินที่ใช้มี 2 กรณีกรณีภาวะเงินเฟ้อใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่นเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเพิ่มอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมายเพิ่มเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากการซื้อหลักทรัพย์รัฐบาลส่วนกรณีภาวะเงินฝืดใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายโดยใช้มาตรการต่าง ๆ ในทิศทางตรงกันข้ามกับกรณีเงินเฟ้อ

2. การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน มาตรการที่นำมาใช้ ได้แก่ การกำหนดอัตราเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สถาบันการเงินต้องดำรงกำหนดอัตราการสำรองหนี้ที่สงสัยจะสูญ (Non-Performing Loan: NPL) กำหนดเงื่อนไขและอัตราสูงสุดที่สถาบันการเงินจะให้บุคคลกู้ยืม จำกัด การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นส่งเสริมการกระจายการถือหุ้นไปยังประชาชนควบคุมการปล่อยสินเชื่อของกรรมการสถาบันการเงินนั้น ๆ รวมทั้งปรับปรุงกฎระเบียบในการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงิน

3.การส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม มาตรการที่ใช้ ได้แก่ การรับช่วงซื้อสดตัวสัญญาใช้เงินในภาคเศรษฐกิจที่ต้องการสนับสนุนเช่นการส่งออกการเกษตรอุตสาหกรรมเป็นต้นกำหนดนโยบายและขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ในการเพิ่มสินเชื่อให้สาขาเศรษฐกิจดังกล่าวการให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินที่มีบทบาทในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเช่นธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยเป็นต้น

นโยบายอัตราแลกเปลี่ยน

ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นมาประเทศไทยได้เปลี่ยนมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Managed Float Currency) ซึ่งค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลต่าง ๆ ถูกกำหนดโดยกลไกตลาดตามอุปสงค์และอุปทานของตลาดเงินตราในประเทศและต่างประเทศและสามารถเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยธนาคารกลางจะเข้าซื้อหรือขายดอลลาร์สหรัฐฯตามความจำเป็นเพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนมากเกินไปและเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนโยบายเศรษฐกิจระบบดังกล่าวทำให้นโยบายการเงินมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจช่วยเสริมสร้างความมั่นใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งทำให้ทางการสามารถดูแลการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างประเทศได้ดีขึ้น