ความหมายและความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่งโดยแต่ละประเทศมีทรัพยากรและความชำนาญในการผลิตสินค้าและบริการแตกต่างกันและจำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันการค้าระหว่างประเทศจะประกอบด้วยผู้ซื้อและผู้ขายโดยผู้ซื้อเป็นผู้ติดต่อนำสินค้าและบริการเข้าประเทศส่วนผู้ขายเป็นผู้ติดต่อส่งสินค้าและบริการออกนอกประเทศทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกันการซื้อขายแลกเปลี่ยนนี้อาจกระทำโดยรัฐบาลหรือเอกชนก็ได้การค้าระหว่างประเทศทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราการแลกเปลี่ยนของแต่ละประเทศ

ความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ

ในปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของทุก ๆ ประเทศเนื่องจากทรัพยากรและวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในการผลิตของแต่ละประเทศไม่เหมือนกันจึงต้องมีการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้ประชากรมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าที่หลากหลายและการดำเนินงานของเศรษฐกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้การค้าขายระหว่างประเทศอย่างเสรีจะทำให้ผู้บริโภคภายในประเทศได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าในประเทศต่ำกว่าราคาสินค้าจากต่างประเทศและผลักดันให้มีการพัฒนาคุณภาพและราคาของผู้ผลิตในประเทศให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างไรก็ตามประเทศต่าง ๆ ยังใช้นโยบายการกีดกันทางการค้าหรือข้อ จำกัด ในการส่งสินค้าออกจำหน่ายทำให้ประโยชน์ของการค้าเสรีลดน้อยลงดังนั้นประเทศคู่ค้าจึงต้องร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานทางด้านการค้าบรรลุผลตามเป้าหมายการค้าระหว่างประเทศจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของทุก ๆ ประเทศ

ความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ทำให้ประชากรของประเทศต่าง ๆ มีสินค้าและบริการไว้บริโภคหลากหลายชนิดมากขึ้น

2. มีความชำนาญในการผลิตสินค้าที่ตนถนัดมากขึ้นทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิธีการในการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตได้มากขึ้นขยายปริมาณการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกได้มากขึ้น

3. มีผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีเนื่องจากการติดต่อค้าขายทำให้ประชากรของประเทศนั้น ๆ มีความรู้มากขึ้นซึ่งเป็นผลดีต่อการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ประเทศเกษตรกรรมหลายประเทศได้ปรับปรุงวิธีการผลิตจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมพัฒนาที่อยู่อาศัยปรับปรุงวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศให้ดีขึ้น

4. การค้าเสรีก่อให้เกิดการแข่งขันของผู้ผลิตในตลาดโลกทำให้ราคาสินค้าลดต่ำลงสำหรับการบริโภคภายในประเทศ

5. การพัฒนาสินค้าเพื่อการส่งออกส่งผลให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของความร่ำรวยของประเทศและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ

การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศโดยเสรีนอกจากจะก่อให้เกิดผลผลิตหรือรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นแล้วยังสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศคู่ค้า ดังนี้

1. ผลต่อแผนการบริโภคและราคาสินค้า เนื่องจากการค้าขายระหว่างประเทศทำให้จํานวนสินค้าที่อุปโภคและบริโภคมีเพิ่มมากขึ้นความเป็นอยู่ของผู้บริโภคดีขึ้นทั้งนี้ประเทศต่าง ๆ จะพากันผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบมากขึ้นและหันไปนำเข้าสินค้าที่ตนไม่มีความถนัดจากประเทศอื่นแทนทำให้จำนวนสินค้านำเข้ามีมากขึ้นอุปทานของสินค้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ราคาสินค้าลดลง

2. ผลต่อคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การค้าระหว่างประเทศนอกจากจะทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นยังทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้นเพราะมีการแข่งขันในด้านการผลิตสูงทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกเข้มงวดในคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าเนื่องจากต้องเผชิญกับคู่แข่งทำให้ต้องพัฒนาการผลิตโดยใช้เทคนิคและวิทยาการให้ก้าวหน้าและทันสมัย

3. ผลต่อความชำนาญเฉพาะอย่าง การค้าระหว่างประเทศทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมาผลิตสินค้าที่ตนได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ แต่เนื่องจากปัจจัยการผลิตมีจำนวน จำกัด จึงต้องดึงปัจจัยการผลิตจากการผลิตสินค้าชนิดอื่นเพราะฉะนั้นปัจจัยการผลิตจะมีความซานาญเฉพาะอย่างมากขึ้นเกิดการประหยัดต่อขนาดมีผลให้ต้นทุนต่อหน่วยลดต่ำลง

4. ผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การดำเนินนโยบายการค้าระหว่างประเทศที่สนับสนุนให้ประเทศผลิตสินค้าที่ตนเองมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบนั้นมีผลให้หลาย ๆ ประเทศอาจต้องซื้อสินค้าเข้าประเทศเป็นมูลค่ามากกว่ามูลค่าสินค้าส่งออกทำให้ดุลการค้าขาดดุลและผลของการขาดดุลเงินตราต่างประเทศมีสาเหตุสำคัญมาจากอัตราการค้าของประเทศคู่ค้าไม่เท่ากันในกรณีของประเทศกำลังพัฒนาโดยทั่วไปสินค้าส่งออกมักจะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งราคามักจะต่ำและขาดเสถียรภาพเมื่อเทียบกับราคาสินค้านำเข้ามักจะเป็นสินค้าต้นทุนและสินค้าอุตสาหกรรมผลที่ตามมาก็คืออัตราการค้าของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มลดลงนั่นคือมูลค่าจากการส่งสินค้าออกน้อยกว่ามูลค่าของสินค้านำเข้าส่งผลให้เกิดปัญหาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศคือปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินขาดดุลในที่สุด

5. ผลต่อประสิทธิภาพของนโยบายทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศมีขนาดใหญ่ขึ้นเพียงใดการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจภายในประเทศจะมีประสิทธิภาพน้อยลงเช่นเมื่อเกิดปัญหาเงินเฟ้อนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีความยุ่งยากมากขึ้นดังนั้นรัฐบาลต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจและนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าด้วยว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจภายในประเทศทำให้กลไกแก้ไขปัญหาดังกล่าวซับซ้อนขึ้น

6. ผลต่อรายได้และการจ้างงาน ประเทศที่ต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศสูงหากรายได้จากการส่งออกลดลง แต่รายจ่ายจากการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นผลสุทธิของการนำเข้าสูงกว่าการส่งออกย่อมทำให้รายได้และการจ้างงานของประเทศลดลง

ตลาดเงินตราต่างประเทศและการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

นอกจากประเทศต่าง ๆ จะมีความสัมพันธ์ในการค้าขายสินค้าและบริการกันแล้วยังมีความสัมพันธ์เรื่องอื่น ๆ ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือหรือการได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากต่างประเทศการลงทุนระหว่างประเทศการกู้ยืมและการชำระหนี้สินสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการชำระเงินระหว่างประเทศขึ้นโดยทั่วไปแล้วการชำระเงินระหว่างประเทศมักจะใช้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินสกุลหลักเช่นเงินดอลลาร์สหรัฐฯเงินยูโรของสหภาพยุโรปเป็นต้นและมักชำระผ่านธนาคารโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า“ เครดิต ได้แก่ ตัวแลกเงินดราฟต์ธนาคารเป็นต้นด้วยเหตุที่แต่ละประเทศมีหน่วยเงินตราแตกต่างกันเช่นไทยมีหน่วยเงินเป็น“ บาท” ญี่ปุ่นมีหน่วยเงินเป็น“ เยน” สหรัฐอเมริกามีหน่วยเงินเป็น“ ดอลลาร์ประเทศในสหภาพยุโรปมีหน่วยเงินเป็น“ ยูโร” เป็นต้นเมื่อทำการติดต่อค้าขายกันจะต้องมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างมูลค่าเงินของประเทศต่าง ๆ กับมูลค่าของเงินตราสกุลหลักซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการชำระเงินระหว่างประเทศจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินตรวจากสกุลหนึ่งไปเป็นอีกสกุลหนึ่งตามความต้องการของผู้รับผู้รับก็จะนำเงินตราสกุลหลักที่ได้รับไปแลกเป็นเงินตราภายในประเทศในตลาดเงินตราต่างประเทศซึ่งโดยปกติตลาดนี้มักนำเงินตราต่างประเทศที่รับซื้อมาไปแลกเป็นเงินตราในประเทศจากธนาคารกลางอีกต่อหนึ่งและธนาคารกลางก็จะเก็บเงินตราต่างประเทศเหล่านี้ไว้สำหรับผู้ต้องการใช้ในภายหลัง

ตลาดเงินตราต่างประเทศ หมายถึง องค์กรที่ทำหน้าที่ในการซื้อขายเงินตราและการชำระหนี้ต่างประเทศระหว่างเอกชนหน่วยธุรกิจและธนาคารพาณิชย์ตลาดนี้จะแตกต่างจากตลาดซื้อขายสินค้าโดยทั่วคือไม่ จำกัด ประเทศที่เกี่ยวข้องไม่มีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดไม่มีเวลาเปิดและปิดตลาดที่แน่นอนตลาดเงินตราต่างประเทศจะมีอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลกโดยผู้ส่งออกผู้นำเข้านักลงทุนและนักท่องเที่ยวมักจะซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าที่จะซื้อขายระหว่างกันเองเนื่องจากสะดวกกว่า

ประเภทของตลาดเงินตราต่างประเทศ

ตลาดเงินตราต่างประเทศแบ่งตามลักษณะการซื้อขายออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.ตลาดที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศทันที (Spot Market) หมายถึง ตลาดที่มีการข้าระเงินและส่งมอบเงินตราต่างประเทศสกุลที่ต้องการทันทีการซื้อขายก็จะเป็นไปตามราคาตลาดในขณะนั้นที่เรียกว่า“ อัตราแลกเปลี่ยนทันที (Spot rate) "หน้าที่หลักของตลาดประเภทนี้คือการโอนหรือหักบัญชีซึ่งเกิดจากการติดต่อทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยจะมีการชำระเงินติดตามมาและหน้าที่ในการจัดหาสินเชื่อเพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ระหว่างประเทศซึ่งหน้าที่นี้มีบทบาทที่ทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว

2. ตลาดเงินตราต่างประเทศแบบซื้อขายล่วงหน้า (Forward Market) หมายถึง ตลาดที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยการชำระเงินและส่งมอบเงินตราต่างประเทศสกุลที่ตกลงซื้อขายกันในอนาคตข้างหน้าตามอัตราที่ได้ตกลงกันไว้ซึ่งเรียกว่า“อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward Rate)” หน้าที่หลักของตลาดประเภทนี้คือการลดความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน

การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลหนึ่งจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานเงินตราสกุลนั้นเช่นอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐฯกับเงินบาทจะเปลี่ยนแปลงทุกวันอัตราแลกเปลี่ยนแต่ละวันถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของเงินสองสกุลอุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศสกุลใดสกุลหนึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้องของการเงินตราสกุลนั้นเช่นเพื่อชำระเป็นค่าสินค้าและบริการที่ขี้ยจากต่างประเทศ

เพื่อให้กู้ยืมหรือซื้อหลักทรัพย์ต่างประเทศหรือลงทุนในต่างประเทศเพื่อเก็งกำไรหรือเพื่อส่งเงินทุนออกนอกประเทศเป็นต้นส่วนอุปทานเงินตราต่างประเทศสกุลใดสกุลหนึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าและบริการที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศการลงทุนในประเทศจากต่างประเทศและปริมาณเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ

ในระบบอัตราแลกเปลี่ยนเสรีอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคือราคาของเงินตราต่างประเทศซึ่งเหมือนกับราคาของสินค้าและบริการโดยทั่วไปคือกำหนดจากอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศโดยเส้นอุปทานและอุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศมีลักษณะดังนี้

1. อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศ (Demand for Foreign Exchange) หรือความต้องการเงินตราต่างประเทศเป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการสินค้าและบริการต่างประเทศรวมทั้งการลงทุนและการบริจาคระหว่างประเทศโดยทั่วไปความต้องการเงินตราต่างประเทศขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่นราคาหรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศซึ่งมีผลโดยตรงส่วนปัจจัยที่มีผลทางอ้อม ได้แก่ ผลต่างของอัตราดอกเบี้ยภายในและนอกประเทศรสนิยมในการบริโภคสินค้าต่างประเทศรายได้ส่วนบุคคลและรายได้ประชาชาติสรุปได้ว่า

1) อุปสงค์ของเงินตราต่างประเทศสกุลใด ๆ คือจำนวนของเงินตราต่างประเทศสกุลนั้นที่ผู้ซื้อต้องการได้ซื้อ ณ ระดับอัตราแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ในระยะเวลาที่กำหนด

2) ความสัมพันธ์จะเป็นไปตามกฎของอุปสงค์ (Law of Demand) คือปริมาณเงินตราต่างประเทศสกุลใด ๆ ย่อมแปรผันกับอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศหมายความว่าเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นราคาสินค้านำเข้าจะสูงขึ้นทำให้ความต้องการสินค้าเข้าและเงินตราต่างประเทศลดลงในทางตรงข้ามเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนลดลงราคาสินค้าเข้าจะถูกลงความต้องการสินค้าเข้าจะเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น

คุณส่ง วันนี้ เวลา 14:32 น.

2.อุปทานของเงินตราต่างประเทศ (Supply of Foreign Exchange) อุปทานของเงินตราต่างประเทศได้มาจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้ในรูปของเงินตราต่างประเทศเช่นการส่งออกสินค้าการรับบริจาคการลงทุนจากต่างประเทศเป็นต้นปัจจัยที่กำหนดอุปทานของเงินตราต่างประเทศก็คือปัจจัยที่มีผลต่อการส่งออกสินค้าและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศซึ่ง ได้แก่ ต้นทุนการผลิตเปรียบเทียบระหว่างประเทศภาษีศุลกากรมาตรการกีดกันทางการค้ารสนิยมการบริโภคอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศบรรยากาศส่งเสริมการลงทุนและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ความสัมพันธ์ของปริมาณอุปทานและอัตราแลกเปลี่ยนจะเป็นไปตามกฎของอุปทานคือปริมาณเงินตราต่างประเทศที่จะหามาได้ย่อมแปรผันโดยตรงกับอัตราแลกเปลี่ยนกล่าวคือเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นราคาสินค้าจะถูกลงปริมาณอุปทานของเงินตราต่างประเทศจะมากขึ้นในทางตรงข้ามถ้าอัตราแลกเปลี่ยนลดลงราคาสินค้าจะแพงขึ้นการส่งออกมีแนวโน้มลดลงปริมาณอุปทานของเงินตราต่างประเทศจะลดลงเช่นกัน

3. อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพ ในกรณีที่การซื้อขายเงินตราต่างประเทศเป็นไปอย่างเสรีอัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดเงินตราต่างประเทศราคาและปริมาณดุลยภาพจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ณ ระดับที่ปริมาณซื้อเท่ากับปริมาณขายพอดีเรียกจุดนี้ว่า“ จุดดุลยภาพของตลาด” อัตราแลกเปลี่ยนดุลยภาพดังรูปล่างเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะคงอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่อุปสงค์และอุปทานยังไม่เคลื่อนย้าย แต่ถ้าปัจจัยที่นอกเหนือจากอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งเป็นตัวกำหนดอุปสงค์และอุปทานโดยอ้อมเปลี่ยนแปลงก็จะทำให้เส้นอุปสงค์หรือเส้นอุปทานเส้นใดเส้นหนึ่งเคลื่อนย้ายไปทำให้เกิดดุลยภาพตลาด ณ ตำแหน่งใหม่

การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทย

การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับกล่าวคือเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการก่อตั้งระบบการเงินระหว่างประเทศระบบใหม่ขึ้นมามีชื่อเรียกหลายชื่อดังนี้ระบบมาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard System) ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ (Fixed Exchange Rate System) และระบบกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund System) ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ทำหน้าที่กำกับดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามกฎระเบียบที่กำหนดลักษณะสำคัญของระบบนี้คือมีการกำหนดค่าของเงินตราสกุลต่าง ๆ เทียบเท่ากับทองคำจำนวนหนึ่งเงินตราสกุลต่าง ๆ จึงมีอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้เป็นทางการซึ่งเรียกว่าค่าเสมอภาค (Par Value) และประเทศสมาชิก AAF จะต้องพยายามรักษาค่าเสมอภาคอย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติปรากฏว่าศเสมอภาคกับอัตราแลกเปลี่ยนตลาดมักแตกต่างกันและในกรณีที่อัตราทั้งสองนี้มีความแตกต่างกันมากการปล่อยทิ้งไว้จะส่งผลกระทบต่อตุลการชำระเงินระหว่างประเทศอย่างมากหากรัฐบาลปรับอัตราค่าเสมอภาคให้ตรงกันหรือใกล้เคียงกับอัตราแลกเปลี่ยนตลาดก็จะถูกกลุ่มบุคคลที่เสียประโยชน์เจมตี

ดังนั้นใน พ.ศ. 2514 ได้มีการยกเลิกระบบมาตราปริวรรตทองคำประเทศต่าง ๆ จึงมีอิสระในการเลือกระบบอัตราแลกเปลี่ยนตามที่เห็นสมควรสำหรับประเทศไทยโดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการเลือกใช้รูปแบบต่าง ๆ ตามลำดับดังนี้ระยะแรกยังคงใช้ระบบกำหนดค่าเงินบาทเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯต่อมาในช่วงปี 2524-2527 ใช้ระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนโดยอาศัยกลไกตลาด แต่วิธีนี้มีความยุ่งยากบางประการจึงได้ยกเลิกและเปลี่ยนไปใช้วิธีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่เรียกว่า“ อัตราแลกเปลี่ยนแบบตะกร้า (Basket Currency)” โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลสำคัญ ๆ ที่ประเทศไทยทำการค้าขายด้วยและกำหนดความสำคัญตามสัดส่วนของการค้าที่ชำระด้วยเงินสกุลนั้นโดยในแต่ละวันเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะนำข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลต่าง ๆ ใน“ ตะกร้า” แทนค่าลงในสูตรและคำนวณค่าอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกันเงินสกุลต่าง ๆ ออกมาจากนั้นนำผลการคำนวณไปพิจารณาและตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่มากน้อยเพียงใด

วิธีนี้เป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ ทั่วไปซึ่งมีทั้งข้อดีและข้อเสียข้อดีคือช่วยป้องกันมิให้อัตราแลกเปลี่ยนมีการผันผวนมากนักส่วนข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นคือหากพยายามควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนให้อยู่คงที่จนอยู่ห่างไกลจากสภาพที่เป็นจริงดังเช่นที่เกิดกับประเทศไทยในช่วง พ.ศ. 2539-2540

ก็จะเกิดปัญหาลักษณะเดียวกับระบบมาตราปริวรรตทองคำกล่าวคือค่าที่ประกาศออกมาไม่ตรงกับค่าจริงหรือไม่ตรงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานทำให้ต้องมีการปรับค่าเกิดขึ้น

จากการที่ค่าเงินบาทมีค่าสูงกว่าความเป็นจริงในช่วงปี 2539 ถึงต้นปี 2540 ทำให้รัฐบาลไทยต้องประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนให้เป็นระบบ“ การลอยตัวที่มีรัฐบาลกำกับ (Managed Float Exchange Rate)” เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ค่าเงินบาทลดลงและเริ่มสะท้อนค่าที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ (Balance of International Payment) หมายถึงบัญชีที่บันทึกรายการรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศสืบเนื่องจากการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ที่มีภูมิลำเนาของประเทศหนึ่งกับผู้ที่มีภูมิลำเนาในประเทศอื่น ๆ ในรอบระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยปกติมักจะกำหนดให้เป็น 1 ปีเพื่อแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้พำนักอาศัยของประเทศหนึ่งกับผู้พำนักอาศัยในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

ผู้ที่มีภูมิลำเนา หมายถึง ผู้พำนักอาศัยอยู่ในอาณาเขตของประเทศหนึ่งหรือเป็นผู้ที่เรียกได้ว่าเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาเป็นการถาวรอยู่ในประเทศนั้นเช่นผู้ที่มีถิ่นฐานของประเทศไทยก็คือผู้ที่มีภูมิลำเนาถาวรในประเทศไทยโดยทั่วไปคือประชาชนที่มีเชื้อชาติไทยหรือสัญชาติไทยรวมทั้งองค์กรนิติบุคคลห้างร้าน บริษัท ที่ประกอบอาชีพอยู่ในประเทศไทยส่วนนักท่องเที่ยวข้าราชการสถานทูตต่างประเทศ บริษัท ที่เป็นสาขาของ บริษัท ต่างชาติเป็นต้นไม่ถูกจัดว่าเป็นผู้มีภูมิลำเนาในประเทศไทย

บัญชีที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและรายจ่ายของประเทศกับต่างประเทศเรียกว่า“ ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ” จะประกอบด้วยบัญชีย่อย ๆ 4 บัญชีดังนี้

1. บัญชีเดินสะพัด (Current Account) เป็นบัญชีแสดงรายการการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการส่วนใหญ่จะเป็นรายการที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีการซื้อขายสินค้าและบริการในรอบปีรายการในบัญชีประกอบด้วย

1) บัญชีของสินค้าเป็นรายการเกี่ยวกับสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกและเมื่อรวมรายการในส่วนของสินค้าทั้งหมดจะเรียกว่า“ ดุลการค้า (Balance of Trade)” ซึ่งดุลการค้ามี 3 ลักษณะคือดุลการค้าสมดุลหมายถึงมูลค่าสินค้าส่งออกเท่ากับมูลค่าสินค้านำเข้าซึ่งแสดงว่ารายรับจากการส่งออกมีมูลค่าเท่ากับรายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้าดุลการค้าขาดดุลหมายถึงมูลค่าสินค้าส่งออกน้อยกว่ามูลค่าสินค้านำเข้าซึ่งแสดงว่ารายรับจากการส่งออกมีน้อยกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้าและดุลการค้าเกินดุลหมายถึงมูลค่าสินค้าส่งออกมากกว่ามูลค่าสินค้านำเข้าซึ่งแสดงว่ารายรับจากการส่งออกมีค่ามากกว่ารายจ่ายในการสั่งสินค้าเข้า

2) บัญชีของบริการหรือดุลบริการเป็นรายการเกี่ยวกับบริการระหว่างประเทศเช่นค่าขนส่งสินค้าค่าระวางการเดินทางระหว่างประเทศเป็นต้น

ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเป็นตัวชี้ศักยภาพในการแสวงหารายได้ของประเทศ

2.บัญชีเงินโอนหรือเงินบริจาค (Transfer Account) รายการที่นำมาบันทึกในบัญชีนี้เป็นการให้เปล่าโดยที่เอกชนหรือรัฐบาลของประเทศหนึ่งให้กับเอกชนหรือรัฐบาลของประเทศอื่น ๆ บัญชีการโอนจะประกอบด้วยรายการต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสินค้าบริการของขวัญหรือเงินตราต่างประเทศก็ได้เช่นคนงานไทยไปทำงานที่ตะวันออกกลางส่งเงินตราต่างประเทศมาให้แก่ญาติพี่น้องในประเทศไทยหรือการบริจาคช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลเช่นรัฐบาลไทยบริจาคข้าวให้องค์การสหประชาชาติเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในค่ายอพยพหรือการที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาบริจาคเงินช่วยเหลือในโครงการอีสานเขียวให้กับรัฐบาลไทยเป็นต้นเพราะฉะนั้นถ้าประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่ต่างประเทศรายการนั้นจะปรากฏอยู่ในดุลการชำระเงินทางด้านเดบิต แต่ถ้าประเทศที่ได้รับความช่วยเหลือรายการนั้นจะปรากฏอยู่ทางด้านเครดิต

3. บัญชีทุนเคลื่อนย้าย (Capital Account) เป็นบัญชีที่บันทึกรายการเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเงินทุนทั้งโดยตรงและโดยอ้อมการลงทุนโดยตรงคือการลงทุนระยะยาว (มากกว่า 1 ปี) หมายถึงการลงทุนหรือเงินกู้ที่มีกำหนดไถ่ถอนนานเกินกว่า 1 ปี ได้แก่ การไปตั้ง บริษัท สาขาหรือโรงงานในต่างประเทศเพื่อทำการค้าหรือการผลิตสินค้าเช่น บริษัท ต่างประเทศเข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยโดยที่เจ้าของทุนนำเงินทุนและผู้ประกอบการเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกันเพราะฉะนั้นจะได้รับผลตอบแทนในรูปของกำไรในปัจจุบันประเทศกำลังพัฒนาได้ให้ความสนใจและมีความต้องการการลงทุนประเภทนี้มากส่วนการลงทุนโดยอ้อมคือการลงทุนระยะสั้นหมายถึงการลงทุนที่มีกำหนดระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปีการลงทุนระยะสั้นประกอบด้วยรายการต่าง ๆ เช่นการซื้อขายพันธบัตรหรือการให้กู้ยืมเงินหรือการซื้อขายสินเชื่อซึ่งระยะเวลาชำระเงินน้อยกว่า 1 ปียอดเงินฝากธนาคารที่มีอยู่กับธนาคารในต่างประเทศหรือที่ต่างประเทศมีฝากกับธนาคารในประเทศจำนวนหนี้ซึ่งพ่อค้าของประเทศเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้กับพ่อค้าต่างประเทศที่อยู่ในรายการลงทุนระยะสั้นผู้ลงทุนทางอ้อมจะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยแบบรับสินเชื่อจากผู้ขายและอื่น ๆ หรือการซื้อขายหลักทรัพย์หรือพันธบัตรของต่างประเทศโดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผล

4. บัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศ (International Reserve Account) ประกอบด้วยรายการที่เป็นหลักทรัพย์ ได้แก่ ทองคำเงินตราต่างประเทศหลักทรัพย์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศและสิทธิถอนเงินพิเศษซึ่งเป็นเงินที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สร้างขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกกู้ยืมหรือนำไปชำระหนี้ระหว่างประเทศสมาชิกบัญชีทุนสำรองระหว่างประเทศมีลักษณะแตกต่างจากบัญชีอื่น ๆ ของคุลการชำระเงินเพราะเป็นรายการประเภทที่เกิดขึ้นเพื่อปรับหรือชดเชยความแตกต่างระหว่างยอดรวมทางด้านรายรับและรายจ่ายเงินตราต่างประเทศในบัญชีเดินสะพัดบัญชีทุนเคลื่อนย้ายและการบริจาคให้เข้าสู่ภาวะสมดุลถ้าประเทศมีดุลการชำระเงินขาดดุลจะทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงหรือถ้าประเทศมีตุลการชำระเงินเกินตุลจะทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น

ในกรณีที่ดุลการชำระเงินขาดดุลกล่าวคือรายรับจากต่างประเทศน้อยกว่ารายจ่ายของประเทศที่ต้องจ่ายให้กับต่างประเทศประเทศนั้นจะต้องนำเอาส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งมาชดเชยซึ่งจะมีผลทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงจากเดิมในทางตรงข้ามถ้าดุลการชำระเงินเกินดุลแสดงว่ารายรับจากต่างประเทศมากกว่ารายจ่ายที่ให้กับต่างประเทศรัฐบาลหรือธนาคารกลางก็จะโอนเงินตราส่วนที่เกินดุลไปรวมเข้ากับเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพื่อเก็บสะสมไว้

สาเหตุของดูลการปาระเงินระหว่างประเทศขาดดุล อาจเกิดในแต่ละบัญชีดังนี้

1.การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด องค์ประกอบดุลบัญชีเดินสะพัด คือ ดุลการค้าและตุลบริการ

1) สาเหตุการขาดดุลการค้า คือการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งส่งสินค้าไปขายยังต่างประเทศซึ่งมีมูลค่าน้อยกว่าสินค้านำเข้าสาเหตุสำคัญที่มีผลให้ดุลการค้าขาดดุล ได้แก่ (1) โครงสร้างและปัญหาจากการส่งออกสินค้าโดยเฉพาะประเทศเกษตรกรรมจะไม่สามารถควบคุมปริมาณการผลิตและการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมได้ทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตล่วงหน้าได้ (2) โครงสร้างและปัญหาจากการนำเข้าประเทศเกษตรกรรมมีความต้องการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ราคาสินค้านำเข้ามักมีราคาสูงกว่าราคาสินค้าเกษตรกรรมจึงเป็นเหตุให้รายจ่ายเพื่อนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากกว่ารายได้จากการส่งออก (3) การเปลี่ยนแปลงรายได้ประชาชาติการเคลื่อนไหวขึ้นลงของรายได้ประชาชาติย่อมส่งผลให้ประเทศประสบกับปัญหาดุลการชำระเงินขาดดุลประเทศที่ส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปจำหน่ายยังต่างประเทศมักมีรายได้จากการส่งออกน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (4) เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อมีผลให้ราคาสินค้าส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นอาจทำให้ประเทศนั้นสูญเสียตลาดในต่างประเทศไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งนำไปสู่การขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินในที่สุด

2) สาเหตุการขาดดุลบริการ สาเหตุที่สำคัญของการขาดดุลบริการคือการที่นักท่องเที่ยวภายในประเทศหันไปเที่ยวยังต่างประเทศมากขึ้นกิจการของธุรกิจชาวต่างประเทศ (หากมีการส่งรายได้กำไรหรือเงินปันผลตลอดจนค่าดอกเบี้ยและค่าลิขสิทธิ์กลับต่างประเทศมากย่อมส่งผลต่อดุลการชำระเงินของไทยได้) ประชาชนภายในและต่างประเทศนิยมใช้การขนส่งระหว่างประเทศของ บริษัท ต่างชาติมากกว่า บริษัท ของคนในประเทศมีผลให้รายจ่ายประเภทค่าระวางและค่าประกันภัยสินค้าตลอดจนค่าใช้จ่ายในการขนส่งอื่น ๆ สูงกว่ารายรับ

2.การขาดดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้ายการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนระหว่างประเทศการหยุดชะงักของเงินทุนระยะยาวที่ไหลเข้าเป็นประจำรัฐบาลมีนโยบายไม่ชัดเจนในการลงทุนการขาดแคลนแรงงานย่อมเป็นเหตุให้ดุลการชำระเงินขาดดุลได้

3. การขาดดุลบัญชีการโอนและบริจาคการที่ประเทศได้รับเงินโอนเข้ามาน้อยกว่าเงินโอนที่ออกไปโดยเฉพาะความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากต่างประเทศนอกจากนี้ถ้าประเทศต้องชดใช้หนี้สินหรือค่าเสียหายตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศอื่น ๆ มากขึ้นย่อมทำให้เงินตราต่างประเทศไหลออกทำให้เกิดการเสียเปรียบทางด้านการเงินและการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

คุณส่ง วันนี้ เวลา 14:37 น.

การแก้ไขปัญหาตูลการชำระเงินและตุลการค้าระหว่างประเทศขาดดุล มีแนวทางแก้ไข 4 แนวทางดังนี้

1. แนวทางแก้ไขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมีดังนี้

1) แนวทางเพิ่มการส่งออก การพยายามส่งเสริมให้มีสินค้าออกให้มากขึ้นเป็นวิธีการที่ให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศวิธีการส่งเสริมอาจทำได้โดย (1) ลดราคาสินค้าที่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศถ้าสินค้าที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศมีราคาลดลงชาวต่างชาติก็จะซื้อสินค้าจากประเทศนั้นมากขึ้น แต่การลดราคาสินค้าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิตถ้าต้นทุนการผลิตสูงก็ไม่สามารถลดราคาได้มากนักเว้นเสีย แต่รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ส่งออกเช่นการงตหรือลดภาษีอากรบางชนิดยกเว้นภาษีวัตถุดิบที่สั่งจากต่างประเทศการให้เงินช่วยเหลือพิเศษเป็นต้น (2) การสนับสนุนการผลิตเพื่อการส่งออกอาจทำได้หลายวิธีเช่นการกระจายสินค้าส่งออกให้มากชนิดขึ้นเพื่อลดความผันผวนจากรายได้จากการส่งออกและการกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าและเพิ่มแหล่งรายได้จากการส่งออกให้มากยิ่งขึ้นดังนั้นรัฐบาลควรมีแนวทางสนับสนุนการผลิตเพื่อการส่งออกเช่นรัฐบาลควรจัดหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ส่งออกส่งเสริมการวิจัยและการพัฒนาเจรจากับประเทศต่าง ๆ เพื่อจัดสรรโควตาการส่งออกให้มากขึ้น

2) แนวทางการลดการนำเข้า วิธีการควบคุมคือการตั้งกำแพงภาษีคือการเก็บภาษีสินค้านำเข้าให้สูงขึ้นเมื่อราคาสินค้าสูงขึ้นย่อมมีผลให้พ่อค้าสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศน้อยลงหรือปริมาณการบริโภคสินค้าชนิดนั้นลดต่ำลงหรือการกำหนดโควตาซึ่งเป็นการกำหนดปริมาณสินค้านำเข้าของรัฐบาลสามารถเพิ่มหรือลดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้

3) การลดค่าของเงินจะทำให้มีการส่งออกมากขึ้นส่วนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจะลดลงกล่าวคือการส่งออกจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดค่าเงินบาทจะทำให้ราคาส่งออกสินค้าของไทยในตลาดต่างประเทศถูกลงทำให้ชาวต่างชาติซื้อสินค้าไทยมากขึ้นส่วนการที่สินค้านำเข้าลดลงเนื่องจากผู้นำเข้าต้องชำระเงินบาทเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการเป็นเงินตราต่างประเทศมากขึ้นเพราะหลังลดค่าเงินบาทแล้วเขาจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนและราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้นประชาชนภายในประเทศจะซื้อสินค้าจากต่างประเทศลดลง

2. แนวทางแก้ไขการขาดดุลบัญชีทุนเคลื่อนย้าย การส่งเสริมการลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการชำระเงินแนวทางส่งเสริมการลงทุนที่สำคัญมีดังนี้

1) นโยบายรักษาเสถียรภาพการเงินของประเทศ พยายามควบคุมไม่ให้มีความผันผวนในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเพราะจะมีผลให้นักลงทุนไม่กล้าตัดสินใจเข้ามาลงทุนทั้งการลงทุนโดยตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์เนื่องจากขาดความมั่นใจในเรื่องผลตอบแทน

2) นโยบายและหลักประกันรัฐบาลควรให้หลักประกันว่ารัฐจะไม่โอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐหรือไม่ประกอบกิจการที่จะแข่งขันกับกิจการที่เอกชนได้รับการส่งเสริมและอนุญาตให้นำผลกำไรออกนอกประเทศอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและนำช่างฝีมือและผู้บริหารงานจากต่างประเทศเข้ามาทำงานได้

3) นโยบายภาษีและแรงจูงใจรัฐบาลควรมีนโยบายและมาตรการทางด้านภาษีและแรงจูงใจเช่นยกเว้นอากรหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าและภาษีการค้าสำหรับเครื่องจักรวัตถุดิบที่นำเข้าหรือมีใช้ภายในประเทศเพื่อส่งเสริมกิจการลงทุนโดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออกการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากทำให้ราคาสินค้าต่ำลงได้สามารถส่งออกและแข่งขันกับต่างประเทศได้ขณะเดียวกันมีผลให้ประชาชนหันมาซื้อสินค้าภายในประเทศแทนการซื้อสินค้าจากต่างประเทศนอกจากนี้มาตรการส่งเสริมการลงทุนทางด้านภาษีอากรอีกประเภทหนึ่งคือการตั้งกำแพงภาษีการควบคุมการนำเข้าเป็นต้นข้อควรระวังในการใช้นโยบายภาษีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ยังต้องพึ่งพาวัตถุดิบตลอดจนเครื่องจักรจากต่างประเทศอาจจะทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าเหล่านั้นเพิ่มขึ้นดุลการค้าและตุลการชำระเงินยิ่งขาดดุลมากขึ้นดังนั้นนโยบายส่งเสริมการลงทุนควรสนับสนุนให้ธุรกิจใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ภายในประเทศแทนการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นสำคัญ

4) ส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนภายในประเทศ แนวทางการส่งเสริมการลงทุนจะลุล่วงไปได้ด้วยดีประเทศจะต้องมีบรรยากาศการลงทุนที่เอื้ออำนวยและจูงใจนักลงทุนจากต่างประเทศและภายในประเทศไม่ให้ไปลงทุนในต่างประเทศมีบรรยากาศการลงทุนที่ดีเช่นมีเสถียรภาพทางการเมืองและการปกครองมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นต้น

3. แนวทางแก้ไขการขาดดุลบัญชีเงินโอนและเงินบริจาค แม้ว่าตุลบัญชีเงินโอนและเงินบริจาคจะสามารถแก้ไขได้ยากเพราะอยู่นอกเหนือปัจจัยการควบคุมเช่นเป้าหมายของประเทศที่ให้ความช่วยเหลือการเมืองระหว่างประเทศนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อประเทศต่าง ๆ หากประเทศใดได้รับเงินโอนเข้ามามากกว่าเงินโอนที่ออกไปย่อมช่วยให้ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศได้เปรียบ

4.แนวทางเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างประเทศจะต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตโดยมุ่งลดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยและพยายามประหยัดการใช้สินค้าหรือทรัพยากรบางประเภทที่ต้องใช้จ่ายเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนมากพยายามหาช่องทางส่งสินค้าออกที่ประเทศมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบและสนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีตลอดจนการวิจัยเพื่อพัฒนาสินค้าส่งออก

การค้าระหว่างประเทศประเทศและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของประเทศไทย

การค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย

การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศของประเทศไทยมีบทบาทที่สำคัญมากเพราะการค้าระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อธุรกิจภายในประเทศอย่างมากซึ่งเห็นได้จากการวางแผนพัฒนาจะมีนโยบายส่งเสริมการส่งออกเพราะการส่งออกมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยมากเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมักเสียเปรียบประเทศอุตสาหกรรมทำให้ประสบกับปัญหาการขาดดุลการค้ามาโดยตลอดแม้รัฐบาลไทยจะพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็ตาม

โครงสร้างการค้าระหว่างประเทศของไทย

ประเทศไทยมีความจำเป็นเหมือนประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกที่ต้องพึ่งพาการติดต่อซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศสำหรับการค้าระหว่างประเทศของไทยมีโครงสร้างสินค้าออกและสินค้าเข้าดังนี้

1. โครงสร้างสินค้าส่งออก สินค้าส่งออกส่วนใหญ่เป็นผลผลิตทางการเกษตรและเป็นสินค้าขั้นปฐมภูมิในระยะหลังมีการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นสินค้าส่งออกของไทยประกอบด้วย

1) สินค้าทางการเกษตร ได้แก่ ข้าวยางพาราข้าวโพดผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและผลิตผลเกษตรอื่น ๆ สินค้าส่งออกเหล่านี้เป็นสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกมาเป็นเวลานานและปัจจุบันเป็นสินค้าหลักที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก

2) สินค้าส่งออกชนิดใหม่ ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็งเนื้อไก่ปลาหมึกปลาผลไม้และผลผลิตอื่น ๆ

3) สินค้าอุตสาหกรรม ได้แก่ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์แผงวงจรไฟฟ้าอัญมณีเสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าผลิตภัณฑ์น้ำมันและสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ

สินค้าส่งออกของไทยเหล่านี้นำเงินตราต่างประเทศมาสู่ประเทศมูลค่าและปริมาณสินค้าออกของแต่ละปีนั้นแตกต่างกันออกไปและมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งสินค้าออกก็เปลี่ยนไปเสมอปัญหาของสินค้าส่งออกในแต่ละปีไม่เหมือนกับปีก่อน ๆ ดังนั้นเพื่อขจัดความยุ่งยากและความสับสนในการวิเคราะห์สินค้าส่งออกในแต่ละปีจะช่วยให้ได้เนื้อหาที่ละเอียดและไม่ผิดพลาด

2. โครงสร้างสินค้านำเข้า สินค้านำเข้าของไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นโครงสร้างสินค้านำเข้ามี 4 รายการดังนี้

1) สินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ สินค้าประเภทอาหารเครื่องดื่มผลิตภัณฑ์นมเครื่องใช้ในบ้านสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าประเภทสิ้นเปลืองและประเภทถาวร

2) สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและวัตถุดิบเป็นสินค้าที่ใช้ในการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและใช้เพื่อผลิตสินค้าทุน

3) สินค้าประเภททุน ได้แก่ เครื่องจักรเครื่องมือปุ๋ยเคมีและสินค้าประเภททุนอื่น ๆ

4) สินค้าอื่น ๆ ได้แก่ รถยนต์เชื้อเพลิงอะไหล่รถยนต์สินค้าเบ็ดเตล็ดและทองคำแท่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าการส่งออกไปขายต่างประเทศทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการดังนี้

1. ประเทศอยู่ในระหว่างการเร่งรัตพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมมีความจำเป็นต้องสั่งสินค้าประเภททุนเข้ามาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

2. ประเทศไทยรับเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นในรูปของเงินกู้เงินช่วยเหลือและเงินทุนของต่างประเทศซึ่งมีเงื่อนไขและความกดดันให้มีการสั่งสินค้าเข้าทั้งทางตรงและทางอ้อม

3. อิทธิพลจากการเลียนแบบในการบริโภคจากต่างประเทศเกิดความต้องการในการบริโภคสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

4. ประเทศไทยส่งเสริมให้เอกชนทำการค้าโดยเสรีมีการควบคุมการนำเข้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจึงมีการสั่งสินค้าเข้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว