ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกสามารถแบ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศออกเป็น 3 กลุ่มคือ

1. กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Country)

2. กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Developing Country)

3. กลุ่มประเทศด้อยพัฒนา (Underdeveloped Country) หรือกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ((Least Developed Country)

ความแตกต่างของทั้งสามกลุ่มนี้จะพิจารณาอย่างง่าย ๆ จากรายได้เฉลี่ยต่อคนประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นประเทศที่ร่ำรวยส่วนประเทศกำลังพัฒนาเป็นประเทศที่ยังยากจนเนื่องจากการกระจายรายได้ไม่เสมอภาคกันดังนั้นประเทศกำลังพัฒนาจึงหมายถึงประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ยากจนมาเป็นเวลานานซึ่งความยากจนไม่ได้เกิดจากการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติหรือแรงงาน แต่เกิดจากความไม่สามารถที่จะนำทรัพยากรที่ประชากรมีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ได้และยังมีวิธีที่จะนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรให้ดีขึ้นสำหรับประเทศด้อยพัฒนาประชากรมีความยากจนมากการลงทุนจึงมีน้อยขาดแคลนเครื่องมือเครื่องจักรที่จะประกอบการผลิตทำให้ความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการต่ำประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่ำและการที่ประชากรยากจนมีเหตุผล 2 ประการคือตลาดภายในประเทศแคบเพราะประชากรมีความต้องการซื้อสินค้าน้อยและรายได้เฉลี่ยต่อคนน้อยการออมจึงต่ำการลงทุนจึงน้อยตามไปด้วย

การพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้รายได้ที่แท้จริงต่อคนเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานานเพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่สูงขึ้นและประชากรส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน

ความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ประเทศต่าง ๆ ยอมรับการพัฒนาเศรษฐกิจว่าสามารถทำให้ทุกคนอยู่ดีกินดีโดยเฉพาะประเทศต้อยพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชากรให้สูงขึ้น เพราะกระบวนการการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้รายได้ต่อบุคคลสูงขึ้นและมีอัตราเพิ่มของรายได้ต่อบุคคลค่อนข้างสูงตลอดจนกระจายความมั่งคั่งร่ำรวยไปสู่คนส่วนใหญ่ของประเทศ

2. เพื่อป้องกันการแทรกแซงทางเศรษฐกิจและการเมือง ความยากจนของประชากรในประเทศต้อยพัฒนาเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคมการพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันสิทธิ

3. เพื่อสามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง หากประเทศมีเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้าย่อมทำให้รัฐบาลมีเงินไปใช้จ่ายในโครงการพัฒนาต่าง ๆ ได้มากเช่นโครงสร้างพื้นฐานการศึกษาการสาธารณสุขการสาธารณูปโภคการป้องกันประเทศเป็นต้น

4. เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจโลกขยายตัว เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้ประชากรมีรายได้สูงขึ้นความต้องการซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศก็จะเพิ่มสูงขึ้นในขณะเดียวกันประชากรในประเทศพัฒนาแล้วก็จะมีรายได้สูงขึ้นเนื่องจากขายสินค้าประเภททุนได้มากทำให้ความต้องการซื้อสินค้าประเภทอาหารและวัตถุติบทางการเกษตรจากประเทศด้อยพัฒนามากขึ้นดังนั้นผลของการพัฒนาเศรษฐกิจจะทำให้การค้าของโลกขยายตัวจะช่วยให้เศรษฐกิจของโลกเจริญรุ่งเรืองขึ้น

5. เพื่อรักษาเสถียรภาพด้านราคา รัฐบาลจะต้องควบคุมปริมาณเงินให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝีตเพราะจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนการจ้างงานการผลิตและการส่งออก

หลักเกณฑ์ในการวัดและปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนเศรษฐกิจ

การที่จะวัดว่าประเทศใดมีการพัฒนาเศรษฐกิจไปได้มากหรือน้อยเพียงใดจะอาศัยหลักเกณฑ์ดังนี้

1. หลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ หลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจในการวัดระดับการพัฒนาประกอบด้วยเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

1) รายได้ต่อบุคคลเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันการเปรียบเทียบจะต้องเปลี่ยนค่าเงินในประเทศนั้น ๆ ให้อยู่ในรูปของดอลลาร์สหรัฐฯเช่นสหรัฐอเมริกามีรายได้ต่อบุคคล 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปีไทยมีรายได้ต่อบุคคล 1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปีแสดงว่าสหรัฐอเมริกามีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่สูงกว่าไทยอย่างไรก็ตามจะต้องพิจารณาถึงการกระจายรายได้และค่าครองชีพของประเทศประกอบด้วยเพราะถ้าประเทศหนึ่งมีการกระจายรายได้เหลื่อมล้ำมากมีค่าครองชีพสูงแม้จะมีรายได้ต่อบุคคลสูงประชากรของประเทศเหล่านั้นอาจยังยากจนอยู่ก็ได้

2) โครงสร้างทางเศรษฐกิจประเทศต้อยพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่ผลิตสินค้าเกษตรกรรมและมีกรรมวิธีในการผลิตที่ค่อนข้างล้าสมัยกล่าวคือใช้ที่ดินและแรงงานเป็นปัจจัยการผลิตหลักส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมจะมีสัดส่วนน้อยประเทศพัฒนาแล้วประชากรส่วนใหญ่ของประเทศจะประกอบอาชีพทางอุตสาหกรรมและบริการอย่างไรก็ตามยังมีบางประเทศแม้ว่าจะมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นแบบเกษตรกรรม แต่ก็มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่สูงมากเช่นเดนมาร์กนิวซีแลนด์เป็นต้น

3) ประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตประเทศต้อยพัฒนามีประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตต่ำทั้งนี้เนื่องจากการผลิตส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยในทางตรงข้ามประเทศพัฒนาแล้วประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตจะสูง

4) สถาบันการเงินและการใช้เครื่องมือเครดิตประเทศพัฒนาแล้วจะมีธนาคารและสถาบันการเงินจำนวนมากมีการใช้เครื่องมือเครดิตหลายชนิดและนิยมใช้กันมากส่วนประเทศด้อยพัฒนามีการใช้เครื่องมือเครดิตเพียงไม่กี่ชนิดเช่นเช็คตั๋วแลกเงินใช้กันเฉพาะบางกลุ่มและในเมืองใหญ่ ๆ

5) การมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจประเทศด้อยพัฒนาจะขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกในการผลิตการขนส่งและการจำหน่ายเพราะประเทศต้อยพัฒนามักจะขาดแคลนเงินทุนขาดความรู้ความสามารถทางวิชาการสมัยใหม่

2. หลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการพัฒนาเศรษฐกิจจะครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมดังนั้นในการวัดระดับของการพัฒนาเศรษฐกิจจำเป็นต้องพิจารณาหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจด้วยดังนี้

1) คุณภาพของประชากรประเทศที่พัฒนาแล้วประชากรจะมีคุณภาพสูงเพราะได้รับการศึกษาและการอบรมเป็นอย่างดี

2) ทัศนคติและความเชื่อมั่นในตนเองประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงมีหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจมีความมุมานะที่จะทำงานเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดส่วนประชากรในประเทศด้อยพัฒนามักขาดความเชื่อมั่นในตนเองไม่มีหลักเกณฑ์ที่ช่วยในการตัดสินใจมักกระทำตามผู้อื่น

3) โครงสร้างทางครอบครัวประชากรในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีขนาดครอบครัวเล็กจะช่วยส่งเสริมการเป็นผู้นำรู้จักเก็บออมรู้จักดิ้นรนเพื่อตัวเองส่วนประเทศด้อยพัฒนาจะมีลักษณะตรงกันข้าม

4) โครงสร้างของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมชนชั้นทางสังคมแบ่งออกเป็นชนชั้นสูงชนชั้นกลางและชนชั้นต่ำประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีชนชั้นกลาง (ผู้ที่มีอาชีพทางพาณิชยกรรมอุตสาหกรรมนักวิชาการช่างฝีมืเป็นจำนวนมากส่วนประเทศด้อยพัฒนาจะมีชนชั้นต่ำ (เกษตรกรแรงงานไร้ฝีมือข้าราชการขั้นผู้น้อยเสมียน) เป็นจำนวนมาก

5) ลักษณะของสังคมสังคมของประเทศพัฒนาแล้วจะมีการแบ่งหน้าที่การงานและความรับผิดชอบระหว่างสถาบันต่าง ๆ อย่างชัดเจนส่วนประเทศด้อยพัฒนาจะไม่มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจนเช่นพระสงฆ์ในชนบทจะทำหน้าที่เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระนักพัฒนาท้องถิ่นเป็นครูและเป็นหมอในบางคราวด้วย

6) ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทประเทศพัฒนาแล้วความเจริญในเมืองจะแผ่ขยายไปยังชนบทอย่างรวดเร็วเพราะการติดต่อสื่อสารสะดวกและคนในชนบทยอมรับการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองและชนบทมีน้อยตรงข้ามกับประเทศต้อยพัฒนาซึ่งมีความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทมาก

7) ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมประเทศพัฒนาแล้วขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมจะมีไม่มากนักและมีลักษณะที่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่ส่วนรวมส่วนประเทศด้อยพัฒนามักมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ไม่ส่งเสริมให้ประเทศเจริญก้าวหน้ามากนัก

8) ระบบการปกครองประเทศพัฒนาแล้วจะมีการปกครองในระบบประชาธิปไตยประชากรส่วนใหญ่มีสิทธิบริหารประเทศโดยวิธีเลือกตั้งผู้แทนมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี แต่ในประเทศต้อยพัฒนาจะปกครองในระบบเผด็จการหรือประชาธิปไตยไม่สมบูรณ์แบบอำนาจในการบริหารประเทศจะตกอยู่กับคนเพียงกลุ่มเดียว

ลักษณะสำคัญของประเทศด้อยพัฒนา

ลักษณะทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่มีลักษณะดังนี้

1. ลักษณะทางด้านสังคม ได้แก่ ระดับความเจริญของตัวเมืองระดับการพัฒนาของชุมชนนักสังคมวิทยาเห็นว่าสภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนที่ยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรเป็นผลของขนบธรรมเนียมประเพณีและสถาบันทางสังคมที่เป็นอยู่ขณะนั้นคือลักษณะของเกษตรกรรมเป็นแบบดั้งเดิมมีรายได้ต่อคนต่ำผลผลิตส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งผลิตขึ้นเพื่อเป็นสินค้าใช้ในท้องถิ่นการค้าและการติดต่อกับตลาดภายนอกยังมี จำกัด การจะหลุดพ้นจากลักษณะเช่นนี้จะต้องทำการผลิตเพิ่มขึ้นการติดต่อหรือการอยู่ร่วมกันจะเป็นไปเพื่อธุรกิจซึ่งแสวงหากำไรไม่ใช่เพื่อความเห็นอกเห็นใจแบบดั้งเดิม

2. ช่องว่างของภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม ประเทศด้อยพัฒนามีลักษณะคล้าย ๆ กันเห็นได้ชัดคือโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วยภาคการผลิตที่ล้าหลังใช้วิธีการผลิตแบบดั้งเดิม แต่อีกภาคการผลิตเป็นการผลิตที่ทันสมัยทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้วมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและที่สำคัญคือภาคการผลิตทั้งสองไม่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเมื่อระยะเวลาผ่านไปยิ่งทำให้เกิดช่องว่างทางเศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น

3. ขนาดของความเจริญในตัวเมือง ขนาดของความเจริญเติบโตในตัวเมืองจะมีความสัมพันธ์กับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมกล่าวคือเมืองใหญ่จะมีกิจกรรมอุตสาหกรรมเป็นแหล่งทรัพยากรเช่นหุนคนงานที่มีฝีมือเป็นต้นสิ่งที่สำคัญคือเมืองใหญ่ ๆ มีสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยเสริมสร้างคุณสมบัติของผู้ประกอบการ

4. ลักษณะของสถาบันทางสังคมขั้นมูลฐาน สถาบันครอบครัวในสังคมจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจนักสังคมวิทยาเห็นว่าความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัวจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่แตกต่างกันเป็นสมมติฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่าครอบครัวเดี่ยวย่อมทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าครอบครัวขยาย

5. ความสำคัญของกลุ่มอิทธิพลที่เป็นชาวเมือง ประชากรที่มีอาชีพค้าขายช่างฝีมือนักวิชาการซึ่งคนพวกนี้รวมเรียกว่าชนชั้นกลาง แต่ในประเทศด้อยพัฒนากลุ่มชนชั้นกลางมักเป็นลูกจ้างของรัฐมากกว่าเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจและผู้ประกอบการมักจะเป็นคนต่างด้าว

6. ความคล่องตัวในการเลื่อนฐานะทางสังคม การเลื่อนฐานะทางสังคมจะมีความสัมพันธ์กับการเลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้วจะมีทัศนคติที่ยกย่องและยอมรับผู้ที่ประกอบธุรกิจเอกชน แต่ในประเทศต้อยพัฒนาจะยกย่องข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เจ้าหน้าที่ของรัฐว่าเป็นบุคคลที่มีฐานะสูงจึงไม่มีสิ่งจูงใจให้เอกชนประกอบธุรกิจของตนเองทำให้ประเทศด้อยพัฒนาขาดแคลนผู้ประกอบการ

ลักษณะสำคัญของประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศกำลังพัฒนาคือประเทศที่มีเศรษฐกิจอยู่ในวัฏจักรแห่งความยากจนประชากรของประเทศมีรายได้เฉลี่ยต่อคนที่แท้จริงต่อปีต่ำประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนสูงคนรวยเป็นคนกลุ่มน้อยของประเทศลักษณะสำคัญโดยทั่วไปของประเทศกำลังพัฒนามีดังนี้

1.ลักษณะทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรผลผลิตจะเป็นสินค้าขั้นปฐมการผลิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติหากเกิดภัยพิบัติผลผลิตจะลดลงเกษตรกรจะได้รับความเดือดร้อนมีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวรายได้ประชาติจะสดต่ำลง

2. ลักษณะประชากร คุณภาพชีวิตต่ำส่วนใหญ่ขาดแคลนอาหารมีสุขภาพอนามัยไม่ดีเนื่องจากขาดสารอาหารค่าครองชีพต่ำอัตราการเกิดสูงการดำรงชีวิตต้องอาศัยครอบครัวเป็นครอบครัวแบบขยายส่วนใหญ่อยู่ในชนบทและยากจน 8ฃ

3. ลักษณะทางเทคโนโลยีเทคโนโลยี ที่ใช้ในการผลิตไม่ทันสมัยเนื่องจากขาดการศึกษาอบรมผลผลิตจึงมีประสิทธิภาพต่ำเช่นใช้แรงงานคนในการผลิตไม่ว่าจะเป็นการปลูกการดูแลรักษาการเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือการใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้ไม่มีหลักการประหยัดเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตมีคุณภาพต่ำรายได้ของผู้ผลิตจึงต่ำ

4. ลักษณะของวัฒนธรรมและการเมือง มีประเพณีความเชื่อสืบทอดติดต่อกันมาเป็นเวลานานเชื่อเรื่องโชคลางไสยศาสตร์ขาดการพัฒนาไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

5. ลักษณะการออมและการลงทุน เนื่องจากประชากรมีรายได้ต่ำรายได้ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคหมดจึงไม่มีการออมทำให้การลงทุนมี จำกัด ผลผลิตที่ได้จึงน้อยและประสิทธิภาพการผลิตต่ำเนื่องจากขาดแคลนปัจจัยการผลิตเมื่อส่งสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศจึงเป็นสินค้าต้อยคุณภาพทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้สินค้าจึงขายได้น้อยรายได้จึงต่ำ

ปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ

การพัฒนาเศรษฐกิจโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญคือทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรธรรมชาติทรัพยากรทุนความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและปัจจัยอื่น ๆ ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งมีปัจจัยพื้นฐานอย่างครบถ้วนและเหมาะสมประเทศนั้นจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วความเหมาะสมของปัจจัยพื้นฐานพอสรุปได้ดังนี้

1. ทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์เป็นปัจจัยการผลิตหลักในทางเศรษฐกิจถ้ามนุษย์มีคุณภาพมีจริยธรรมและคุณธรรมสูงแสดงว่ามีความรู้ความเชี่ยวชาญความรับผิดชอบซื่อสัตย์ตรงต่อเวลาและมีวินัยย่อมมีผลงานหรือผลผลิตที่มีคุณภาพสูงถ้าเป็นแรงงานก็จะเป็นแรงงานที่มีผลิตภาพในการผลิตสูงการศึกษาการฝึกอบรมและสุขภาพอนามัยก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพในการผลิตของแรงงานทรัพย์สินทางปัญญาส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ภายในประเทศที่แท้จริงหรือความเจริญทางเศรษฐกิจในทางบวกหรือทางลบ

2. ทรัพยากรธรรมชาติ ประเทศใดมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ย่อมก่อให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจโดยมนุษย์รู้จักนำทรัพยากรนั้น ๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติหรือมีทรัพยากร แต่ขาดคุณภาพหรือไม่รู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

3. ทรัพยากรทุน ประเทศที่มีอุปกรณ์การผลิตที่ทันสมัยและมีปริมาณมากย่อมมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ประชาชาติที่แท้จริงของประเทศในทางตรงข้ามถ้าประเทศที่มีอุปกรณ์การผลิตที่ล้าสมัยและมีปริมาณน้อยย่อมกระทบต่อความเจริญทางเศรษฐกิจในทางลบได้

4. ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ประเทศใดมีเทคโนโลยีและเทคนิคการผลิตที่มีคุณภาพสูงย่อมผลิตสินค้าที่มีคุณภาพใต้มากทำให้ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำและราคาสินค้าถูกลงส่งออกได้มากขึ้นมีผลต่อการขยายความเจริญทางเศรษฐกิจในทางตรงข้ามถ้าขาดแคลนเทคโนโลยีและเทคนิคการผลิตที่ทันสมัยจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นเพราะต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยสูงผลที่ตามมาคือราคาสินค้าแพงขึ้นซึ่งส่งผลให้การส่งออกลดน้อยลงความเจริญทางเศรษฐกิจจะหดตัวลง

5. ปัจจัยอื่น ๆ เช่นทัศนคติประเพณีวัฒนธรรมการเมืองการปกครองเป็นต้นนอกจากนี้ระบบเศรษฐกิจของประเทศยังมีผลต่อความเจริญทางเศรษฐกิจในการขยายตัวหรือหดตัว

บทบาทของรัฐบาลกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วได้ดังนี้

1. การจัดโครงสร้างของตลาด ให้มีลักษณะการแข่งขันอย่างเสรีเพื่อสะดวกในการโยกย้ายทรัพยากรระหว่างภาคการผลิตไม่ให้มีการสูญเสียเกิดขึ้นส่วนเกินของผู้ผลิตภาคเกษตรจะสามารถเคลื่อนย้ายสู่ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเต็มที่โดยไม่มีคนกลางหรือผู้ผูกขาดคอยเอารัดเอาเปรียบ

2. การพยายามใช้ส่วนเกินของผลผลิตให้เป็นประโยชน์อย่างเต็มที่ คือ เกษตรลงทุนในการผลิตสินค้ามากเกินความต้องการของผู้บริโภคในตลาดรัฐบาลจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการรวบรวมส่วนเกินของผลผลิตด้วยการเก็บภาษีจากภาคเกษตรโดยภาษีที่เก็บได้นั้นมาจากส่วนเกินของผลผลิตนั่นเองภาษีที่จัดเก็บอาจเป็นภาษีทางตรงหรือภาษีทางอ้อมก็ได้เช่นภาษีที่ดินภาษีการค้าภาษีรายได้ภาษีที่เก็บจากการส่งออกและนำเข้าเป็นต้นนอกจากนี้รัฐบาลยังอาจเป็นผู้รับซื้อและจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรเอง

3.การอำนวยความสะดวกให้มีการลงทุนในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในท้องถิ่นที่เป็นภาคเกษตรกรรมเพื่อให้ภาคการผลิตทั้งสองมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่อกันอย่างใกล้ชิดคนงานที่สั้นงานทางภาคเกษตรสามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานในภาคอุตสาหกรรมได้ทันทีโดยไม่ต้องย้ายภูมิลำเนาเข้าไปอยู่ในเมือง

4. การพัฒนาอุตสาหกรรม ในระยะแรกควรเป็นไปในลักษณะที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเพื่อเป็นการส่งเสริมให้รองรับคนงานจากภาคเกษตรได้มากที่สุดในระยะต่อไปควรเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานฝีมือเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้น

5. การส่งเสริมวิทยาการทางด้านการเกษตร เพื่อทำให้ภาคเกษตรมีความสามารถในการผลิตสูงขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้อัตราค่าจ้างแรงงานสูงขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายงานและการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ หมายถึง กระบวนการของการกำหนดแผนงานล่วงหน้าในการกำหนดโครงการแผนงานวิธีการในการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีควรประกอบด้วย

1. ลักษณะในอนาคตของแผน

2. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนรวมถึงขั้นตอนของกระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

3. เครื่องมือทุกชนิดต้องประสานกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

ในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการคือความมั่งคั่งและความมั่นคงของชาติ

1.เพื่อความมั่งคั่งของชาติ เป็นวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจซึ่งประกอบด้วย

1. ให้รายได้ประชาชาติที่แท้จริงต่อบุคคลสูงขึ้น

2. ให้รายได้ของประชากรไม่แตกต่างกันมากนัก

3. ให้ความเจริญแผ่กระจายไปทั่วทุกท้องถิ่น

4. ให้จำนวนคนว่างงานลดลง

5. ให้มีดุลการชำระเงินระหว่างประเทศที่เหมาะสม

6. ให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจหรือสรุปได้ว่าให้มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

2. เพื่อความมั่นคงของชาติ ประกอบด้วย

1. เพื่อสนับสนุนการรักษาความมั่นคงทั้งในด้านเศรษฐกิจการเมืองและสังคม

2. เพื่อสนับสนุนการสร้างความมั่นคงทั้งด้านการเตรียมความพร้อมการเผชิญภาวะวิกฤติและสร้างเสถียรภาพหลังภาวะวิกฤติ

สำหรับวิธีการในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจโดยทั่วไปมี 2 วิธี คือ

การวางแผนจากส่วนบนสู่ส่วนล่าง คือ การกำหนดเค้าโครงของแผนให้สอดคล้องกันโดยหน่วยงานระดับสูงหรือในระดับรัฐบาลเพื่อเป็นกรอบหรือเค้าโครงในรูปของการประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่นเป้าหมายของการผลิตในสาขาต่าง ๆ การเก็บภาษีอากรการใช้จ่ายของรัฐบาลดุลการค้าดุลการชำระเงินเป็นต้น

การวางแผนจากส่วนล่างขึ้นสู่ส่วนบน คือ การวางโครงการและกำหนดการพัฒนาต่างโดยส่วนราชการในระดับต่ำเพื่อเสนอขึ้นไปตามลำดับมายังกรมกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วส่งต่อไปยังสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อพิจารณาตัดทอนแก้ไขและรวบรวมขึ้นเป็นแผนให้สอดคล้องกับเค้าโครงเศรษฐกิจที่ได้วางไว้ตามวิธีวางแผนจากส่วนบนสู่ส่วนล่างดังที่กล่าวมาแล้วเมื่อวิธีการทั้งสองได้บรรจบกันโดยเรียบร้อยก็จะจัดทำเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจขึ้น

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาดังนี้

พ.ศ. 2493 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นทำหน้าที่วิเคราะห์วิจัยภาวะทางเศรษฐกิจและเป็นที่ปรึกษารัฐบาลในการดำเนินการทางด้านการเงินการคลังและทางเศรษฐกิจ

พ.ศ. 2494 รัฐบาลแต่งตั้ง“ คณะกรรมการร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกับต่างประเทศทำหน้าที่ประสานงานรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้เลขาธิการสภาเศรษฐกิจแห่งชาติทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการฯ อีกตำแหน่งหนึ่ง

พ.ศ. 2500 คณะสำรวจภาวะเศรษฐกิจของธนาคารโลกได้ทำการสำรวจภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยตามคำขอร้องของรัฐบาลไทยโดยใช้เวลาสำรวจประมาณ 11 เดือนคือระหว่างเดือนกรกฎาคม 2500 ถึงเดือนมิถุนายน 2501 เป็นรายงานแสดงเศรษฐกิจไทยรายงานที่เสนอชื่อ“ โครงการพัฒนาภาครัฐบาลสำหรับประเทศไทย” เสนอแนวทางและชี้ถึงปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยและเสนอแนะวิธีจัดสรรงบประมาณการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมากที่สุดซึ่งรัฐบาลได้ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจ

พ.ศ. 2502 รัฐบาลจัดตั้ง“ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” มีฐานะเทียบเท่ากรมในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีต่อมาเปลี่ยนเป็น“ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2504 แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 แบ่งเป็น 2 ระยะคือระยะแรก พ.ศ. 2504 2506 เป็นระยะเวลา 3 ปีระยะที่ 2 พ.ศ. 2507-2509 เป็นเวลา 3 ปีรวมระยะเวลาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 เป็น 6 ปี

พ.ศ. 2510-2514 ใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 โดยเรียกชื่อว่า“ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” และได้ใช้ชื่อนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันผลจากการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1-11 สรุปได้ดังนี้

แนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 มีสาระสำคัญดังนี้

1. การพัฒนาคนและสังคมไทยสู่สังคมคุณภาพโดยมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่ระดับปัจเจกชนครอบครัวและชุมชนสู่สังคมที่มีคุณภาพสามารถจัดการความเสี่ยงและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงตลอดจนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมืองของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่ทิศทางการเติบโตในรูปแบบใหม่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็งเพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกโดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการในภาคการผลิตและบริการโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการในภาคเกษตรให้ใช้ภูมิปัญญาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อยกระดับสู่การผลิตและการให้บริการบนฐานความรู้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ บนพื้นฐานการพึ่งพาซึ่งกันและกันสร้างภูมิคุ้มกันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก

3. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เพียงพอต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์การเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติสร้างภูมิคุ้มกันต้านการค้าจากเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มบทบาทของไทยในเวทีประชาคมโลกเพื่อให้สังคมมีภูมิคุ้มกันสามารถสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนในสังคมไทย

ความเป็นมาและการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกิจพพอเพียง

ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระบบเศรษฐกิจไทยมีความไม่สมดุลในหลายด้านเช่นความไม่เท่าเทียมกันในด้านการกระจายรายได้ซึ่งการกระจายรายได้ของคนในประเทศแย่ลงในขณะที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวสูงขึ้นกลุ่มคนรวยและกลุ่มที่มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้คนรวยจะมีอัตราการเพิ่มของรายได้สูงกว่าความแตกต่างของรายได้และความเจริญระหว่างเมืองและชนบทความไม่สมดุลของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการเจริญเติบโตทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความไม่พอดีของโครงสร้างการผลิตและการจ้างงานความไม่สมดุลของโครงสร้างการผลิตและการศึกษาของคนงานเป็นต้น

กล่าวได้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยมีความสำเร็จในหลายด้าน แต่ไม่มีความสมดุลในโครงสร้างหลายด้านโดยเฉพาะการมีพฤติกรรมที่ไม่พอดีทำให้เกิดปัญหาวิกฤตสังคมไทยมีการใช้จ่ายเกินพอดีทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจทำให้เศรษฐกิจมหภาคไม่สมดุลจึงทำให้ประเทศไทยมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่องจากที่การออมในประเทศมีน้อยกว่าการลงทุน

นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางจริยธรรมมีการทุจริตในการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะสถาบันการเงินมีการปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มผลประโยชน์การปล่อยสินเชื่อโดยไม่มีการค้ำประกันที่พอเพียงทำให้ฐานะของธุรกิจมีความไม่มั่นคงความเปราะบางทางเศรษฐกิจไทยทำให้ขาดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจมีการโอนเงินจากสถาบันการเงินอย่างมากและรวดเร็วนักลงทุนต่างชาติขาดความมั่นใจถึงความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศเงินทุนจากต่างประเทศใหลออกอย่างรวดเร็วทำให้มีความไม่มั่นใจในเสถียรภาพของค่าเงินบาทมีแรงกดดันให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการปรับตัวความพยายามในการรักษาค่าเงินบาททำให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างมากจนต้องเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นระบบลอยตัวค่าเงินบาทลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินตราต่างประเทศสกุลต่าง ๆ ทำให้ประเทศเข้าสู่วิกฤติมีภาระต่อการชำระหนี้ต่างประเทศอย่างมากสถาบันการเงินและธุรกิจจำนวนมากล้มละลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงประเทศไทยจึงต้องเข้าสู่โครงการช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้มีพระราชดำรัสในวันที่ 4 ธันวาคม 2540 ว่า“ การเป็นเสือนั้นไม่สำคัญสำคัญอยู่ที่เรามีเศรษฐกิจแบบพอมีพอกินแบบพอมีพอกินนั้นหมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตนเองอันนี้ก็เลยบอกว่าความพอเพียงไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเองจะต้องทอผ้าใส่เองอย่างนั้นมันเกินไปแต่ว่าในหมู่บ้านหรือในอำเภอจะต้องมีความพอเพียงพอสมควรบางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการที่ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก .... ”

ทุกฝ่ายมีความสนใจที่จะนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางใหม่ในการพัฒนาประเทศในที่นี้ได้สรุปหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไว้ดังนี้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณ (Moderation) ความมีเหตุมีผล (Reasonableness) รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร (Self-Immunity) ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนาวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

การที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการยอมรับในสังคมไทยอย่างกว้างขวางเพราะมาจากประสบการณ์ที่เป็นจริงของการพัฒนาทั่วทุกพื้นที่การพัฒนาจะให้ความสำคัญที่คนโดยพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวและชุมชนส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกำหนดวิถีชีวิตของตนเองและสามารถพึ่งตนเองได้โดยยึดหลักทางสายกลางมีการพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนนอกจากนี้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังให้หลักการพัฒนาที่เน้นองค์รวมโดยมุ่งความสุขของบุคคลทั้งด้านวัตถุสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมจึงช่วยให้มีกรอบที่กว้างกว่าในอดีตปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ปฏิเสธกระแสโลกาภิวัตน์ แต่ขี้ว่าให้มีความรู้เท่าทันให้มีความสามารถที่จะรับความผันผวนของการเปลี่ยนแปลงได้

คุณลักษณะทั้ง 3 ประกอบด้วย

1. ความพอประมาณ (Moderation) หมายถึง ความพอดีที่ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไปในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการผลิตการบริโภคการใช้จ่ายการออมต้องอยู่ในระดับที่ไม่สามารถสร้างความเดือดร้อนให้ตนเองและไม่เบียดเบียนผู้อื่น

2. ความมีเหตุผล (Reasonableness) หมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ที่มีความพอประมาณจะต้องมีสติรอบรู้คิดถึงระยะยาวต้องมีเป้าหมายและวิธีการที่เหมาะสมมีความรู้ในการดำเนินการมีการพิจารณาจากเหตุต้องเป็นการมองระยะยาวและคำนึงถึงผลกระทบของการกระทำและความเสี่ยงจะทำให้มีความพอประมาณทั้งในปัจจุบันและอนาคต

3. การมีภูมิคุ้มกันในตัวดีพอสมควร (Self-Immunity) สภาวะต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงต้องมีการเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ การกระทำที่เรียกได้ว่าพอเพียงไม่คำนึงถึงเหตุการณ์และผลในปัจจุบัน แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตภายใต้ข้อ จำกัด ของข้อมูลที่มีอยู่และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและการมีภูมิคุ้มกันจะทำให้มีความพอเพียงแม้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถรับมือได้

เงื่อนไขต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนในขณะเดียวกันต้องสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีสำนึกคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและความรอบคอบ

เงื่อนไขความรู้ต้องประกอบด้วยความรอบรู้ความรอบคอบความระมัดระวังที่จะนำไปสู่การตัดสินใจในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับพอเพียง

ส่วนเงื่อนไขคุณธรรมต้องเสริมสร้าง 2 เรื่อง ได้แก่ เรื่องจิตใจและปัญญาโดยเน้นความรู้คู่คุณธรรมและเรื่องการกระทำเน้นความอดทนความเพียรสติปัญญาและความรอบคอบ

การทำตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือการประยุกต์คือการตัดสินใจที่เหมาะสมโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตัดสินใจตามหลักคือสามห่วงสองเงื่อนไขจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนลดความผันผวนหลักการตัดสินใจต้องเริ่มจากการประเมินศักยภาพภายในของเราทั้งในระยะสั้นและระยะยาวและใช้หลักปรัชญาในการพิจารณาก็จะรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ควรทำอะไรเป็นสิ่งที่ควรมีการติดต่อกับภายนอกหากมีหลักของความมีเหตุผลทำให้มีความรอบรู้และมีสติมองระยะยาววิเคราะห์ศักยภาพอย่างถูกต้องเมื่อมีเหตุผลก็จะทำให้พึ่งตนเองได้ แต่ไม่ทำอะไรเอาหมดจนขาดประสิทธิภาพนอกจากนี้การคำนึงถึงความเสี่ยงและการสร้างภูมิคุ้มกันทำให้ตระหนักว่าควรทำเองหรือการติดต่อภายนอกลักษณะใดที่ทำให้เรารับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีกว่ากัน

ตัวอย่าง เช่น การใช้น้ำมันปิโตรเลียมประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันไม่สามารถผลิตในประเทศได้เพียงพอทางเลือกจึงไม่มี แต่หากจะให้มีความพอเพียงต้องมีมาตรการในการสำรองน้ำมันเพื่อให้รู้ว่าหากมีปัญหาขาดแคลนน้ำมันในตลาดโลกจะมีน้ำมันใช้ในประเทศระยะหนึ่งทำให้มีเวลาในการปรับตัวมีการกระจายแหล่งนำเข้าเพื่อลดความไม่แน่นอนรวมทั้งมีมาตรการไม่ให้มีการพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมมากเกินไปโดยมีการพัฒนาพลังงานทดแทนที่มีความคุ้มค่ามีราคาที่จะสะท้อนในเรื่องของต้นทุนที่แท้จริงรวมถึงความขาดแคลนและความเสี่ยงด้วย

การทำตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้องไม่มีหนี้สินจริงหรือไม่โดยทั่วไปบุคคลและธุรกิจมีความจำเป็นในการก่อหนี้เพื่อการลงทุนหรือการใช้จ่ายในสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูงเช่นที่อยู่อาศัยยานพาหนะตู้เย็นเป็นต้นหากใช้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะทําให้มีความพอเพียงในการก่อหนี้โดยใช้หลักความมีเหตุมีผลในการพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการก่อหนี้การคาดการณ์รายได้ในอนาคตและขนาดของการกู้ที่เหมาะสมทำให้พอดีไม่มากไปน้อยไปไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นนอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงและการมีภูมิคุ้มกันการกู้หนี้ตามกรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจะสร้างความพอเพียงคือเป็นการกู้ที่เป็นประโยชน์และมีความสามารถในการใช้คืนได้

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพพอเพียงกับการบริหารเศรษฐกิจของไทย

การบริหารเศรษฐกิจของประเทศต้องคำนึงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวและความมีเสถียรภาพในระยะสั้น

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว เป็นเครื่องมือที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในการเพิ่มรายได้ประชาชาติให้ทันกับประเทศที่พัฒนาแล้วการมุ่งเน้นอัตราการเจริญเติบโตสูง ๆ นี้จะก่อให้เกิดการใช้จ่ายของรัฐบาลที่ไม่ถูกต้องโดยเน้นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และละเลยภาคประชาชนและสังคมก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูงขึ้นและประสบปัญหาทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมซึ่งกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศดังนั้นการมุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรลุความอยู่ดีกินดีหรือสวัสดิการที่ดีของประชาชนในประเทศโดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ 4 ปัจจัย ได้แก่ ทุนกายภาพ ทุนมนุษย์ ทุนธรรมชาติ และทุนสังคมซึ่งได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการปัจจัยทุนเหล่านี้เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ

1. ทุนกายภาพ ประเทศกำลังพัฒนาที่เน้นการบริหารเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอาจมีการสะสมทุนทางกายภาพมากเกินไปภาครัฐมีการใช้จ่ายที่ไม่สมเหตุสมผลประกอบกับการมีเงินออมในประเทศต่ำทำให้ต้องพึ่งพาเงินกู้และเงินลงทุนจากต่างประเทศมากเกินไปจนขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการให้ประชาชนตำเนินชีวิตในทางสายกลางมีความพอประมาณและมีภูมิคุ้มกันที่ดีประชาชนต้องเริ่มที่การพึ่งพาตนเองโดยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์

เพื่อการบริโภคภายใต้การทำการเกษตรแบบผสมผสานเมื่อมีผลผลิตมากพอก็จะนำมาแปรรูปหรือทำการขายหากประชาชนมีการพึ่งพาตนเองสามารถขายผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคและมีการใช้จ่ายอย่างพอประมาณรู้จักเก็บออมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองปัญหาการขาดเงินทุนของประเทศกำลังพัฒนาก็จะลดลงและพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศน้อยลงด้วยซึ่งจะช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศได้

2. ทุนมนุษย์ ทุนมนุษย์เป็นส่วนสำคัญของการเจริญเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาวการเรียนรู้จากการทำงานและการศึกษาโดยเฉพาะคุณภาพของการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มทุนมนุษย์ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ให้ความสำคัญกับความรู้และการศึกษาเพื่อที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจอย่างมีเหตุผลการศึกษาจะไม่ จำกัด เฉพาะการศึกษาในระบบ แต่จะรวมถึงการศึกษานอกห้องเรียนเช่นการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการศึกษาหาความรู้เพื่อเพิ่มทักษะศักยภาพและขีดความสามารถนับได้ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยส่งเสริมการเพิ่มทุนมนุษย์ซึ่งทุนมนุษย์นี้จะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

3. ทุนธรรมชาติ ทุนธรรมชาติหรือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศประเทศไตใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปจะส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่หมดไปและยังส่งผลร้ายต่อสิ่งแวดล้อมสร้างมลพิษสุดท้ายจะส่งผลร้ายกลับมายังประชากรในประเทศปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะให้ความสำคัญในเรื่องการรักษาคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใต้หลักการความพอประมาณความมีเหตุผลและการมีภูมิคุ้มกันหากประชาชนในทุกภาคส่วนมีเหตุผลในการใช้ทรัพยากรจะทำให้มีการใช้อย่างระมัดระวังพอประมาณและช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสิ่งเหล่านี้จะช่วยรักษาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคมอย่างยั่งยืน

4. ทุนสังคม เป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสังคมภายในชุมชนเป็นบรรทัดฐานหรือค่านิยมของกลุ่มคนทุนสังคมถือเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจลดปัญหาการดำเนินธุรกรรมเช่นปัญหานักแสวงหาผลประโยชน์ปัญหาข้อมูลไม่เท่าเทียมกันเป็นต้นทุนสังคมช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีและค่านิยมและวัฒนธรรมและช่วยส่งเสริมให้มีระบบสถาบันที่เข้มแข็งและมีธรรมาภิบาลตามหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงหากประชาชนในประเทศยึดหลักคุณธรรมมีความซื่อสัตย์คนในสังคมมีความไว้วางใจกันเชื่อถือกันจะช่วยขจัดปัญหานักแสวงหาผลประโยชน์และปัญหาข้อมูลไม่เท่าเทียมกันให้หมดไปได้ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศมีการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นในหลักการมีเหตุผลมีความพอประมาณและมีภูมิคุ้มกันและใช้ความรู้หรือประสบการณ์มาพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบรวมทั้งการมีคุณธรรมหรือธรรมาภิบาลในองค์กรของรัฐหากรัฐยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการปัจจัยทุนต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้มีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพและนำมาซึ่งสวัสดิการสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากรในประเทศ

นโยบายภาครัฐที่เสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ

ปัจจัยทุน ได้แก่ ทุนกายภาพทุนมนุษย์ทุนธรรมชาติและทุนสังคมมีความสำคัญต่อการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศหากมีการบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม

ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นในหลักการมีเหตุผลมีความพอประมาณและมีภูมิคุ้มกันประกอบกับการใช้ความรู้หรือประสบการณ์มาพิจารณาประกอบอย่างละเอียดรอบคอบพร้อมทั้งการมีคุณธรรมในองค์กรของรัฐหากรัฐยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการปัจจัยทุนก็จะช่วยให้มีการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งการเจริญเติบโตที่มีคุณภาพและนำมาซึ่งสวัสดิการสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากรในประเทศดังนั้นเพื่อให้มีการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพรัฐบาลควรใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการกำหนดนโยบายดังต่อไปนี้

1. นโยบายด้านทุนกายภาพ ปัญหาหลักที่เกี่ยวกับทุนกายภาพของประเทศกำลังพัฒนาคือปัญหาการขาดเงินทุนหรือการมีเงินออมไม่เพียงพอปัญหาการขาดทางเลือกในการลงทุนของเงินออมและปัญหาระบบสถาบันการเงินที่ขาดประสิทธิภาพดังนั้นภาครัฐควรดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เช่น

1. ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การออมครัวเรือนในทุกระดับรายได้

2. สร้างระบบสถาบันการเงินท้องถิ่นเช่นสหกรณ์ออมทรัพย์ธนาคารหมู่บ้านเป็นต้น

3. พัฒนาตลาดทุนและตลาดเงินเพื่อให้ประชาชนทุกระดับรายได้สามารถเข้าถึง

4. มีสถาบันที่ควบคุมดูแลสถาบันการเงินที่มีจริยธรรมเข้มแข็งและเป็นอิสระ

2. นโยบายด้านทุนมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนและเป็นทุนพื้นฐานที่ช่วยส่งเสริมการบริการจัดการทุนในด้านอื่น ๆ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสะสมทุนมนุษย์ให้มากนโยบายภาครัฐจึงจำเป็นต้องเน้นในการพัฒนาและปรับปรุงระบบการศึกษาเช่น

1. กำหนดให้มีการศึกษาภาคบังคับอย่างน้อย 12 ปีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

2. กำหนดและควบคุมคุณภาพของสถาบันการศึกษาให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากันทั่วประเทศ

3. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาให้เพียงพอ

4. สร้างแหล่งเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่ผู้ยากจนให้เพียงพอ

5. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอในการให้ทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไปแก่ผู้เรียนที่

6. กำหนดนโยบายป้องกันสมองไหลทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น

7. ส่งเสริมระบบการศึกษานอกห้องเรียนภูมิปัญญาชาวบ้านและปราชญ์ท้องถิ่น

8. สร้างห้องสมุดชุมชนเพื่อเก็บรักษาภูมิปัญญาชาวบ้าน

3. นโยบายด้านทุนธรรมชาติ เป้าหมายหลักคือความสมดุลระหว่างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไปทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อแลกเปลี่ยนอัตราการเจริญเติบโตที่สูงดังนั้น

1. สร้างองค์กรกลางในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เข้มแข็งและมีจริยธรรม

2. กำหนดแรงจูงใจในด้านภาษีแก่ภาคธุรกิจในการรักษาสิ่งแวดล้อม

3. กำหนดบทลงโทษที่รุนแรงและเด็ดขาดต่อผู้กระทำผิดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4. ปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

4. นโยบายด้านทุนสังคม ทุนสังคมช่วยส่งเสริมให้เกิดธุรกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนโยบายภาครัฐที่จะเพิ่มทุนสังคมมีดังนี้

1. ปลูกฝังหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับประชาชนโดยมุ่งเน้นให้เป็นค่านิยมประจำชาติ

2. บรรจุหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้อยู่ในหลักสูตรการศึกษา

3. สร้างสถาบันพัฒนาความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง

4. พัฒนาศูนย์เศรษฐกิจพอเพียงประจำท้องถิ่นเช่นวัดโรงเรียนเป็นต้น

การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ประเทศกำลังพัฒนาในหลาย ๆ ประเทศมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมีความเปราะบางต่อปัจจัยภายนอกและมีโอกาสประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ง่ายภาครัฐและภาคเอกซนมิได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กล่าวคือภาครัฐเปิดเสรีทางการเงินโดยขาดความรู้ความรอบคอบและเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่มีมาตรการจัดการความเสี่ยงที่ดีพอรวมทั้งกู้ยืมเงินอย่างไม่พอประมาณไม่สมเหตุสมผลถือว่าขาดหลักคุณธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมาตรการต่างที่นำมาใช้ควรมีความพร้อมและมีการดำเนินการใช้ก่อนที่จะมีการเปิดเสรีและรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำรักษาความสมดุลของบัญชีเดินสะพัดและมีเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอย่างพอเพียงในการรักษาอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำธนาคารกลางควรใช้หลักความพอประมาณในการบริหารจัดการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนอกจากนโยบายการเงินที่ใช้รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศแล้วความมีวินัยทางการคลังก็มีความสำคัญมากเช่นกันภาครัฐจำเป็นต้องมีเหตุผลและความพอประมาณในการใช้งบประมาณแผ่นดินต้องไม่ใช้จ่ายเงินเกินตัวมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้เพื่อป้องกันการใช้เงินของรัฐบาลอย่างไม่มีเหตุผล ๆ และปัญหาคอร์รัปชัน

วัฏจักรเศรษฐกิจ

วัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) หมายถึง การเคลื่อนไหวขึ้นลงซ้ำ ๆ ของเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเช่นการผลิตการบริโภคการจัดสรรทรัพยากรการแลกเปลี่ยนเป็นต้นตัวอย่างเช่นปริมาณสินค้าที่ผลิตได้เปลี่ยนแปลงขณะที่ความต้องการบริโภคสินค้านั้นคงที่ย่อมส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการชนิดนั้นเปลี่ยนแปลงเมื่อราคาสินค้าและบริการเปลี่ยนแปลงรายได้จากการขายสินค้าและบริการย่อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยลักษณะนี้จะมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในลักษณะวัฏจักรนักเศรษฐศาสตร์ได้แบ่งวัฏจักรออกเป็น 4 ระยะดัง

1.ระยะเศรษฐกิจฟื้นตัว (Economic Recovery) การผลิตจะเริ่มขยายตัวมีการนำเอาความก้าวหน้าทางวิทยาการเข้ามาใหม่การใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือใหม่การจ้างงานการฝึกอบรมแรงงานจะเพิ่มขึ้นการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติจะมีอัตราเพิ่มขึ้น

2. ระยะเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Economic Prosperity) เป็นระยะที่เศรษฐกิจมีแนวทางขยายตัวสูงขึ้นมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นการลงทุนเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติอัตราการขยายตัวจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในตอนต้นต่อมาจะมีอัตราลดน้อยถอยลงจนถึงจุดสูงสุด

3. ระยะเศรษฐกิจถดถอย (Economic Recession) ระยะนี้การจ้างงานการลงทุนและผลิตภัณฑ์ประชาชาติมีอัตราขยายตัวมีแนวโน้มลดลงและในระยะต่อมาจะมีอัตราลดลงเรื่อย ๆ

4.ระยะเศรษฐกิจตกต่ำ (Economic Depression) ภาวการณ์จ้างงานจะลดลงการลงทุนลดลงระดับราคาจะลดลงเป็นช่วงภาวะเงินฝืดอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ประชาชาติจะลดลงจนถึงจุดต่ำสุด

การเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจปกติจะอยู่ในระดับเส้นสมมติที่ระดับเศรษฐกิจปกติดังนั้นเศรษฐกิจมีการเคลื่อนไหวในระยะที่สูงกว่าระดับเศรษฐกิจปกติประชาชนจะรู้สึกว่าเศรษฐกิจมีการขยายตัว แต่ถ้าการเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับปกติประชาชนจะเห็นถึงปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรง

องค์ประกอบที่กระทบต่อการเกิดวัฏจักรเศรษฐกิจ

การที่เศรษฐกิจมีการเคลื่อนไหวเกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจและผลกระทบจากภายนอกระบบเศรษฐกิจ คือ

1.องค์ประกอบโดยทั่วไปทางเศรษฐศาสตร์มหภาค เช่น ระดับการจ้างงานระดับราคาสินค้าโดยทั่วไปปริมาณผลผลิตของชาติเกิดการเปลี่ยนแปลงจนเกิดผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ

2. การเกิดความก้าวหน้าทางวิทยาการ ทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มาใช้ในระบบการผลิตของชาติทำให้เกิดการพัฒนากรรมวิธีการผลิตการจัดการการบริหารตลอดจนกลยุทธ์ทางการค้า

3.การลงทุนตามนโยบายการพัฒนาของรัฐบาล ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจถ้ารัฐบาลมีนโยบายการใช้จ่ายเพื่อก่อให้เกิดการผลิตย่อมทำให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่ถ้าการใช้จ่ายของรัฐบาลเป็นไปในทางที่ไม่ก่อให้เกิดการผลิตเช่นการสะสมอาวุธหรือทำสงครามย่อมทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่ำลง

4. ผลกระทบจากการสะสมทุนและตลาดการเงิน ผลกระทบทางการเงินมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจกล่าวคือในภาวะเศรษฐกิจถดถอยปริมาณเงินที่ใช้จ่ายประจำวันจะลดลงการขายผลิตภัณฑ์ในตลาดจะชะลอตัวลงส่งผลให้การกู้ยืมเพื่อนำเงินไปลงทุนของอุตสาหกรรมลดลงเกิดส่วนเกินของปริมาณเงินถ้าในระยะเวลานี้อัตราดอกเบี้ยในตลาดลดลงการกู้ยืมเพื่อการลงทุนก็อาจจะเพิ่มสูงขึ้นซึ่งทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มสูงขึ้นเศรษฐกิจก็จะลดการขยายตัว

5.ภาวะของตลาดหลักทรัพย์และการเปลี่ยนแปลงสินค้าคงเหลือ ในการผลิตและจำหน่ายสินค้าย่อมใช้เงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ก็เป็นส่วนหนึ่งของการระดมทุนถ้าหากการซื้อขายมีปริมาณมากย่อมเกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจและถ้าหากจำนวนสินค้าเปลี่ยนแปลงย่อมส่งผลให้สินค้าคงเหลือเปลี่ยนแปลงและเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจขณะนั้น

6. การคาดคะเนภาวะการตลาดในอนาคต นักเศรษฐศาสตร์และนักการตลาดมักจะคาดคะเนภาวะการตลาดถ้าคาดว่าแนวโน้มของอุปสงค์ในตลาดเพิ่มสูงขึ้นผู้ผลิตจะขยายการผลิตเพิ่มเพื่อรองรับอุปสงค์ถ้าการคาดคะเนถูกต้องย่อมทำให้เศรษฐกิจขยายตัว แต่ถ้าคาดการผิดพลาดก็อาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยหรือตกต่ำในระยะต่อมาได้