ความหมายของต้นทุนประเภทต่างๆในทางเศรษฐศาสตร์

ต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะมีความหมายและขอบเขตกว้างกว่าต้นทุนทางบัญชีเล็กน้อยเนื่องจากต้นทุนทางบัญชี (Accounting Cost) หมายถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตที่มีการ จ่ายจริงเป็นตัวเงิน สามารถแสดงหลักฐานเพื่อบันทึกลงบัญชีได้ หรือเรียกว่า “ต้นทุนที่จ่ายจริง”แต่การคิดต้นทุนในทางเศรษฐศาสตร์จะมีความหมายเพียงประการเดียวเท่าน้ัน นั่นคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ซึ่งหมายถึง มูลค่าของผลประโยชน์ที่สูงที่สุดของการใช้ปัจจัยการผลิตในกิจกรรมทางเลือกอื่นที่ต้องเสียสละไปจากการไม่ได้เลือก กล่าวคือ การที่ผู้ผลิตตัดสินเลือกใช้ปัจจัยต่าง ๆ มาผลิตสินค้าและบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ย่อมต้องสูญเสียโอกาสที่จะนำปัจจัยการผลิตน้ันไปผลิตเป็นสินค้าอย่างอื่น

ความหมายของต้นทุนการผลิตแต่ละชนิดในระยะสั้น

ต้นทุนคงที่ทั้งหมด(Total Fixed Cost : TFC) คือ ต้นทุนที่มีจำนวนคงที่ไม่แปรผันตามจำนวนผลผลิต ไม่ว่าผู้ผลิตจะผลิตสินค้านั้นหรือไม่ หรือจะผลิตจำนวนเท่าใด ก็จะเสียต้นทุนประเภทนี้คงที่จำนวนหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ ต้นทุนชนิดนี้จะไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณของของผลผลิต ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในทฤษฎีการผลิตในระยะสั้นว่า ปัจจัยคงที่จะเป็นปัจจัยใดก็ได้ หากปริมาณการใช้ปัจจัยดังกล่าวนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต ย่อมถือเป็นปัจจัยคงที่ทั้งหมด

ต้นทุนแปรทั้งหมด(Total Variable Cost : TVC) คือ ต้นทุนที่มีจำนวนแปรผันตามปริมาณผลผลิต หากผู้ผลิตไม่ผลิตสินค้าเลย ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปัจจัยผันแปรเลย ต้นทุนผันแปรทั้งหมดจึงมีค่าเท่ากับ 0 และเมื่อผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ปัจจัยผันแปรที่ใช้ก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนผันแปรทั้งหมดสูงขึ้นตามปริมาณของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วย

ต้นทุนทั้งหมด(Total Cost : TC) คือ ต้นทุนทั้งหมดที่ผู้ผลิตจ่ายใปเพื่อเป็นค่าปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร สามารถเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

CT = TFC+TVC

โดยที่ TC คือ ต้นทุนรวม

TFC คือ ต้นทุนคงที่รวม

TVC คือ ต้นทุนผันแปรรวม

ความหมายและลักษณะของต้นทุนการผลิตในระยะยาว

เนื่องจากการผลิตในระยะยาวผู้ผลิตสามารถปรับเปลี่ยนปัจจัยการผลิตได้ ทุกชนิด ดั้งนั้นปัจจัยการผลิตที่ผู้ผลิตใช้ในการการผลิตจะมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น คือ ปัจจัยผันแปรและต้น ทุนในระยะยาวก็จะมี เพียงตน้ ทุนผันแปรเท่าน้ัน การผลิตทั้งสองระยะมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ในระยะสั้น เมื่อผู้ผลิตตัดสินใจใช้ปัจจัยคงที่ในขนาดและปริมาณใดแล้วย่อมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงขนาดและปริมาณการผลิตนั้น ให้เป็นไปตามจำนวนสินค้าที่ต้องการผลิตได้เช่น ถ้าใช้โรงงานขนาดเล็กผู้ผลิตจะใช้โรงงานขนาดน้อยตลอดไม่ว่าจะผลิตสินค้าจำนวนเท่าใดก็ตาม ในขณะที่การผลิตในระยะยาว ผู้ผลิตสามารถจะเปลี่ยนแปลง ขนาดและปริมาณปัจจัยการผลิตได้ทุกชนิด เช่น สามารถเพิ่มขนาดโรงงานได้โดยใช้โรงงานขนาดใหญ่ และติดตั้งเครื่องมือเครื่องจักรมากขึ้น เพื่อให้เหมาะสมกับจา นวนสินค้าที่ต้องการผลิต และจะเลือก ตัดสินใจใช้ขนาดโรงงานที่จะท าให้ตนสามารถผลิตสินค้าในแต่ละจำนวนได้ด้วยต้นทุนต่ำสุดเสมอ

ความหมายและรายรับจากการผลิตแต่ละชนิด

รายรับจากการผลิต (Revenues) คือ รายได้ที่ผู้ผลิตได้รับจากการขายผลผลิตในราคาที่กำหนด ซึ่งถ้าราคาสินค้าสูงขึ้นจำนวนสินค้าที่ขายได้มีปริมาณลดลง รายได้จากการผลิตจะลดลงด้วย และเนื่องจากราคาของสินค้าในแต่ละระดับคือ รายรับของผู้ผลิตจากการขายสินค้านั้นๆ ดังนั้น ราคาต่อหน่วยสินค้า ณ ระดับการขายจะเท่ากับรายรับเฉลี่ย (Average Revenue : AR) ของผู้ผลิต ณ ระดับการขายนั่นเอง

รายรับรวม (Total Revenue : TR) หมายถึง รายรับทั้งหมดที่ผู้ผลิตได้รับจากการขายสินค้า รายรับรวมหาได้จาก

TR = PxQ

โดยที่ : P = ราคาสินค้าต่อหน่วย

Q = ปริมาณสินค้าที่ขายได้

รายรับเฉลี่ย (Average Revenues : AR) หมายถึง รายรับรวมเฉลี่ยต่อจำนวนสินค้าทั้งหมดที่ขายได้ รายรับเฉลี่ยหาได้จาก รายรับเพิ่ม (Marginal Revenue :MR) หมายถึง รายรับรวมที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อขายสินค้าเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย รายรับเพิ่มหาได้จาก

โดยที่ : ส่วนเปลี่ยนแปลงของรายรับรวม

ส่วนเปลี่ยนแปลงของจำนวนสินค้าที่ขายได้

ความหมายของกำไรทางเศรษฐศาสตร์

กำไรทางเศรษฐศาสตร์ เท่ากับศูนย์ แสดงว่าการผลิตนั้นมีเพียงกำไรปกติเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ประกอบการได้รับเท่านั้น ไม่ได้ดึงดูดใจให้ผู้ประกอบการรายใหม่ๆเข้ามา

กำไรทางเศรษฐศาสตร์มีค่ามากกว่าศูนย์ แสดงว่ามีกำไรเกินปกติ ( Abnormal Profit, Excess Profit ) ซึ่งถือว่ากำไรส่วนนี้เป็นกำไรทางเศรษฐศาสตร์ ( Economic Profit ) ซึ่งจะดึงดูดให้ผู้ผลิตรายใหม่เข้ามา

กำไรทางเศรษฐศาสตร์มีค่าติดลบ แสดงว่าหน่วยผลิตนั้นขาดทุน แต่การขาดทุนนั้นกิจการอาจดำเนินการต่อถ้ายังขายสินค้าได้ในราคาที่สูงกว่า ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย