สถานการณ์ preterm และ LBW ในเขตสุขภาพที่ 10

รายงานการเฝ้าระวัง Preterm Labor เขตสุขภาพที่ 10

ประเทศไทย พบอุบัติการณ์หญิงตั้งครรภ์มีภาวะคลอดก่อนกำหนด ปี 62-64 ร้อยละ 14.53 ,12.38 และ 12.47 1 สำหรับเขตสุขภาพสุขภาพที่ 10 พบร้อยละ 8.82, 8.85 และ 8.99 ตามลำดับ2 ผลกระทบจากทารกคลอดก่อนกำหนด คือ ทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ในปี 62-64 ร้อยละ 6.33, 6.84 และ 7.02 ซึ่งมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และอัตราตายทารกแรกเกิด อายุ ≤ 28 วัน ปี 62-64 พบ 5.21, 5.15 และ 5.72 (อัตราตาย:1,000 การเกิดมีชีพ)1

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดเกิดได้หลายปัจจัย โดยการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดถึงร้อยละ 50 และปัจจัยที่ทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้แก่

1. มีประวัติการคลอดก่อนกำหนด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดถึง 5.08 เท่าในครรภ์ปัจจุบัน

2. การมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ โดยการมีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์ และการมีน้ำคร่ำน้อย สามารถทำนายการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ได้ และพบว่าภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนการเจ็บครรภ์มีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 4.059; 95% CI 1.974–8.349)

3.ทารกในครรภ์ที่มีความผิดปกติมีความสัมพันธ์กับการคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (OR 3.6; 95% CI 1.1–11.2)3

ข้อเสนอแนะ :1.การลด preterm delivery : รณรงค์ให้มีการฝากครรภ์คุณภาพและ จัดระบบการฝากครรภ์คุณภาพ

2.ดำเนินมาตรการแนวทางการลดการคลอดก่อนกำหนดด้วยกลยุทธต่างๆให้มีความต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้ยา progesterone เพื่อลดภาวะคลอดก่อนกำหนด

3.การให้ความรู้แก่หญิงที่พร้อมจะมีบุตร โดยบูรณาการกับแพ็คเก็จส่งเสริมสุขภาพวัยทำงาน

4.การส่งข้อมูลคุณภาพ, ANC คุณภาพ การป้องกันการ คลอด Preterm

อ้างอิง 1. ฐานข้อมูล HDC Services กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น ณ วันที่ 15 ตค. 64

2. ฐานข้อมูล สปสช. เขตสุขภาพที่ 10. สืบค้น ณ วันที่ 20 กพ. 65

3. ประไพรัตน์ แก้วศรี และคณะ.การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563.