ร้อยละของประชากรสูงอายุมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์เขตสุขภาพที่ 10

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลตาม Care Plan

และผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เขตสุขภาพที่ 10

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุ (aged society) และกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่าง สมบูรณ์ (complete aged society) ภายในปี 2566 ปัจจุบันมีประชากรผู้สูงอายุรวมประมาณ 12 ล้านคน โดยพบว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีภาวะพึ่งพิง (ยัง active อยู่) ร้อยละ 96.7 และ เป็นผู้มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้าน ติดเตียง) ร้อยละ 3.3 คือประมาณ 4 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีสุขภาพที่พึงประสงค์ ปีงบประมาณ 2564 คิดเป็นร้อยละ 30.8 ซึ่งต่ำกว่าเณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 50 ในส่วนการป้องกันภาวะติดบ้านติดเตียง ยังมีระบบที่ไม่ชัดเจน และประสิทธิภาพ ยังไม่ดี มีระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ป่วย ติดบ้านติดเตียงที่ครอบคลุม แต่ยังต้องมีการปรับปรุงคุณภาพ1

สำหรับเขตสุขภาพที่ 10 ปีงบประมาณ 2564 มีผู้สูงอายุ ร้อยละ19.21 ได้รับการคัดกรอง ADL ร้อยละ 81.49 จำแนกเป็นกลุ่มติดสังคม กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง ร้อยละ 93.76, 5.63 และ 0.61 ตามลำดับ ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองความเสี่ยงภาวะพลัดตกหกล้ม ร้อยละ 76.23 จังหวัดที่มีการดำเนินการ คัดกรองสูงที่สุดคือ จังหวัดอำนาจเจริญ รองลงมาคือ จังหวัดมุกดาหาร ร้อยละ 85.56 และ 84.79 ตามลำดับ มีผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้ม ร้อยละ4.48 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงพลัดตกหกล้มมากที่สุดคือ จังหวัดยโสธร รองลงมาคือจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 6.06 และ 5.05 ตามลำดับ และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงร้อยละ 6.24 ได้รับการดูแลตาม Care Plan ร้อยละ 94.90 โดยจังหวัดที่มีการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตาม Care Plan มากที่สุดคือ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดยโสธร ร้อยละ 96.72 และ 96.09 ตามลำดับ โดยจังหวัดอำนาจเจริญมีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan น้อยที่สุด ร้อยละ 83.00 และจะพบว่าช่วงอายุที่ผู้สูงอายุมีภาวะพึ่งพิงมากที่สุด คือ ผู้สูงอายุวัยปลาย ( อายุ 80ปีขึ้นไป) โรคประจำตัวที่พบ 3 อันดับแรกคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวาน เมื่อมีสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ ผ่าน Application H4U พบผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ (ครบทั้ง 8 ข้อ) ร้อยละ19.23 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ (ครบทั้ง 8 ข้อ) สูงที่สุดคือ จังหวัดยโสธร และจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 25.68 และ 18.83 ตามลำดับ สำหรับพฤติกรรมพึงประสงค์ที่ผู้สูงอายุปฏิบัติได้น้อยคือ กิจกรรมทางกายระดับปานกลางสะสม 150 นาที/สัปดาห์ และการกินผักและผลไม้ได้วันละ 400 กรัมหรือ 5 กำมือ2

ข้อเสนอแนะ ในการดำเนินงานคือ

1.การส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับปานกลาง (เดิน /ปั่น จักรยาน/ทำงานบ้าน/ ทำไร่/ทำสวน/ ทำนา/ออกกำลังกาย) สะสม 150 นาที/สัปดาห์

2.การกำหนดบทบาทหน้าที่ในแต่ละระดับใน รพ.สต. และ รพช. ให้มีการเชื่อมโยงกัน 3.มีการบูรณาการข้อมูล Digital Health เพื่อ ลดภาระงานในพื้นที่

อ้างอิง

1.สำนักตรวจและประเมินผล กระทรวงสาธารณสุข.สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รอบที่ 2 ; 2564.

2.กลุ่มอนามัยสูงอายุ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. รายงานสรุปผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2564 ; 2564