รายงานสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในเขตสุขภาพที่ 10

การตั้งครรภ์วัยรุ่น หมายถึง การตั้งครรภ์ของสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี เป็นช่วงที่ยังไม่มีความพร้อม ซึ่งร่างกายยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จิตใจและอารมณ์ยังไม่มั่นคงพอ ยังไม่จบการศึกษา ยังไม่มีอาชีพและรายได้เป็นของตนเอง ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพ เช่น การเสียชีวิตของมารดา การเสียชีวิตของทารก เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ มีความเสี่ยงต่อการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต นอกจากนี้ยังทำให้เสียโอกาสทางการศึกษา หน้าที่การงาน รวมทั้งรายได้ในอนาคต การขาดความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ส่งผลให้เด็ก จำนวนหนึ่งถูกทอดทิ้ง หรือเติบโตมาอย่างไม่มีคุณภาพ 1

ในการติดตามสถานการณการตั้งครรภในวัยรุนของประเทศไทย ปจจุบันกรมอนามัยใชขอมูลที่สำคัญ 3 ตัวชี้วัด คืออัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ป อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ป และ รอยละการตั้งครรภซ้ำในหญิงอายุต่ำกวา 20 ปี สำหรับประเทศไทย ปีงบประมาณ 2564 พบอัตราการคลอดในวัยรุ่นอายุ10-14 ปี 1.1 ต่อพันคน อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ป 26.2 ต่อพันคน และ การตั้งครรภซ้ำในหญิงอายุต่ำกวา 20 ปี ร้อยละ 14.45 สำหรับเขตสุขภาพที่ 10 ในปีงบประมาณ 2564 พบ อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ป 0.83 ต่อพันคน อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ป 27.65 ต่อพันคน และ การตั้งครรภซ้ำในหญิงอายุต่ำกวา 20 ปี ร้อยละ 11.97 ซึ่งอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ป และร้อยละการตั้งครรภซ้ำในหญิงอายุต่ำกวา 20 ปี พบเพิ่มมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา 2

ข้อเสนอแนะ

การป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยใช้กระบวนการ“9 ภารกิจแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” ได้แก่

1. มีกลไกประสานการทำงานระดับจังหวัดที่เข้มแข็ง

2. ทำงานร่วมกับผู้ปกครองให้มีทักษะการคุยเรื่องเพศกับลูก

3. มีกลไกสนับสนุนให้สถานศึกษาสอนเรื่องทักษะชีวิต และเพศวิถีศึกษารอบด้าน โดยการบรรจุเรื่องดังกล่าวลงในหลักสูตรของสถานศึกษา

4. ทำงานกับกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ใช้ข้อมูลทั้งเชิงสถิติและเชิงคุณภาพเพื่อวิเคราะห์หากลุ่มวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์และเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ รวมทั้งพื้นที่รวมตัวของวัยรุ่น เพื่อเข้าถึงและออกแบบการจัดบริการด้านสุขภาพและบริการด้านอื่นๆ ให้เหมาะสม

5. รณรงค์สื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักถึงความรับผิดชอบ และผลที่จะตามมาจากการกระทำของตัวเอง เพื่อชะลอการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ร่วมกับการรณรงค์ให้วัยรุ่นใช้การคุมกำเนิดที่ได้ผล หากจะมีเพศสัมพันธ์

6. มีหน่วยบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น จัดให้มีบริการสุขภาพที่เป็นมิตรกับวัยรุ่น ครอบคลุมบริการที่จำเป็นทุกด้าน คอยให้คำปรึกษาด้านการป้องกัน และรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงวัยรุ่นทุกกลุ่ม

7. ระบบบริการที่เชื่อมโยงระหว่างสุขภาพ การศึกษา และสังคม โดยเฉพาะการได้รับคำปรึกษาถึงทางเลือกในการตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ควบคู่ไปกับการป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ การช่วยให้สามารถกลับไปศึกษาต่อได้ หรือได้รับการฝึกอาชีพ ซึ่งจะช่วยให้วัยรุ่นที่ประสบปัญหาสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้

8. การจัดให้มีพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กเยาวชน ให้เข้ามาใช้พื้นที่ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

9. มีระบบข้อมูล เพื่อติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยพัฒนาระบบข้อมูลซึ่งให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องใช้ระบบฐานข้อมูลเดียวกัน

อ้างอิง

1. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับชาติ พ.ศ.2560-2569 ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559.

2. ฐานข้อมูล HDC Services กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้น ณ วันที่ 8 เมษายน 2565.