มาตรฐานที่ 3

ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

มาตรฐานที่ 3 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระดับคุณภาพ : ยอดเยี่ยม

1. กระบวนการพัฒนา

1.1 โรงเรียนทวีธาภิเศก ส่งเสริมให้ครูทุกคนจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และปรับบทบาทครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (teacher as facilitator) ตั้งแต่การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก และกระบวนการนิเทศ เพื่อติดตามผลการดำเนินการ และให้ข้อแนะนำเพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน โดยจัดหลักสูตรวิชาเพิ่มเติมเพื่อการค้นพบตนเองในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และวิชาเพิ่มเติมเพื่อการศึกษาเฉพาะทางสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 11 กลุ่มวิชา ซึ่งมีทั้งการเรียนรู้ในชั้นเรียนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ให้นักเรียนฝึกคิด และได้ลงมือทำ

1.2 โรงเรียนทวีธาภิเศกส่งเสริมให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ สำหรับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา2019 ผ่านกระบวนอบรมการสร้างสื่อ อาทิ การสร้างสื่อจาก Canva การใช้ Google Site และยังได้พัฒนาระบบ TP Checktime สำหรับการติดตามการเรียนออนไลน์ของนักเรียน ช่วยให้ครูและผู้ปกครองสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น โดยมีข้อมูลการเข้าชั้นเรียนของนักเรียน กิจกรรมการการเรียนรู้ รวมถึงภาระงานในชั้นเรียน

1.3 โรงเรียนทวีธาภิเศกพัฒนารูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลอื่น ทั้งกิจกรรมในชั้นเรียน และกิจกรรมนอกชั้นเรียนในรูปแบบออนไลน์ อาทิ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนใหม่ กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ อีกทั้งยังมีการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อรับทราบปัญหาของนักเรียนและผู้ปกครองผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงมีระบบสำหรับการติดตามข้อมูลและช่วยเหลือนักเรียนเกี่ยวกับโรคโคโรนา 2019 คือระบบ TPCareที่รวบรวมข้อมูลการรับวัคซีนของนักเรียน การลงทะเบียนเข้ารับวัคซีน ข้อมูลการติดเชื้อที่ช่วยให้สามารถดูแลนักเรียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

1.4 โรงเรียนทวีธาภิเศกกำหนดปฏิทินการศึกษาอย่างชัดเจน ช่วยให้ครูสามารถออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างสอดคล้องกับปฏิทินของโรงเรียน อีกทั้งยังปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่นักเรียนต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน เช่น การจัดสัปดาห์งดการบ้านเพื่อลดความเครียด การจัดสอบออนไลน์ และการแก้ไขผลการเรียนออนไลน์

1.5 โรงเรียนทวีธาภิเศกมีระบบการนิเทศและให้คำปรึกษาแก่ครู โดยมีการนิเทศ 3 ระดับ ได้แก่ เพื่อนครูคู่สัญญา ครูที่มีประสบการณ์ อีกทั้งยังมีกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่ช่วยให้ครูได้แลกเปลี่ยนพูดคุยปัญหาการจัดการเรียนการสอนและแนวทางแก้ไข เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ต่อไป

2. ผลการดำเนินการ

โรงเรียนทวีธาภิเศก ดำเนินงานจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับดีเลิศ ดังนี้

2.1 ครูโรงเรียนทวีธาภิเศกปรับรูปแบบการสอนโดยเน้นให้นักเรียนได้ค้นคว้าและปฏิบัติตามแนวคิด Active Learning เห็นได้จากกระบวนการนิเทศทั้ง 3 ระดับ รวมถึงนักเรียนได้เรียนรู้ตามต้องการและความสนใจของตนเองมากขึ้น จากการปรับปรุงหลักสูตรให้มีรายวิชาเพิ่มเติมตามความสนใจ

2.2 ครูโรงเรียนทวีธาภิเศกใช้สื่อเทคโนโลยีที่ครูได้นำความรู้จากการอบรมของโรงเรียนมาใช้พัฒนาสื่อ สารสนเทศในชั้นเรียนจากการพัฒนาระบบ TPChecktime ที่รวบรวมข้อมูลการเข้าชั้นเรียน กิจกรรมการเรียนรู้ และภาระงานในชั้นเรียน ช่วยให้นักเรียน ผู้ปกครอง และครูสามารถติดตามการเรียนเรียนของนักเรียนได้อย่างใกล้ชิด แม้ว่าจะต้องเรียนออนไลน์ก็ตาม อีกทั้งยังนำแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยส่วนใหญ่เป็นแหล่งเรียนรู้ออนไลน์ อาทิ การเชิญวิทยาการ การใช้แอพลิเคชั่น รวมถึงสื่อต่าง ๆ

2.3 ครูจัดการบริหารชั้นเรียนเชิงบวก โดยติดตามดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านการเรียนและเรื่องสุขภาพที่สำคัญคือ การป้องกันและรักษาโรคโคโรนา 2019 จากระบบ TPCare ที่ครอบคลุมเรื่องการรับวัคซีนและประวัติการติดเชื้อ อีกทั้งยังปรับเปลี่ยนกิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นรูปแบบออนไลน์เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์เทียบเท่ากับการเรียนในภาวะปกติ เช่น กิจกรรมเยี่ยมบ้านออนไลน์ กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติออนไลน์ การประชุมผู้ปกครองออนไลน์

2.4 ครูออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างสอดคล้องกับปฏิทินของโรงเรียน รวมถึงได้ปรับเปลี่ยนวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่นักเรียนต้องเรียนออนไลน์อยู่ที่บ้าน

2.5 ครูเข้ารับการนิเทศ ทั้ง 3 ระดับ ได้แก่ คู่สัญญา ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหาร ซึ่งช่วยให้ครูได้รับกำลังใจและข้อแนะนำในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการเข้าร่วมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูช่วยให้ได้แนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน

3. จุดเด่น

3.1. ครูมีพลังความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเรียนรู้และพัฒนา

3.2 โรงเรียนอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และพร้อมส่งเสริมครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ

3.3 โรงเรียนมีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีทั้งทางด้านอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ

3.4 โรงเรียนมีการติดตามตรวจสอบการดำเนินการอย่างเป็นระบบ

4. จุดควรพัฒนา

4.1 ควรพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมบางกิจกรรมที่งดเว้นไปให้เป็นรูปแบบออนไลน์ เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้และประสบการณ์อย่างเต็มที่

4.2 ควรติดตามการนิเทศครูให้ครบถ้วนทุกระดับ