นวัตกรรมการบริหาร

กลุ่มบริหารวิชาการ

1. ชื่อนวัตกรรม : TPOC (Taweethapisek School Online Classroom)

2. ประเภทของนวัตกรรม : ด้านการบริหารจัดการ

3. ที่มาและความสำคัญของนวัตกรรม

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อันเป็นโรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 พบการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจ การคมนาคม และการท่องเที่ยว และมีความหนาแน่นของประชากรสูงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว การควบคุมโรคอย่างทันเวลาและจำกัดการชุมนุมของประชาชนเพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้างจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง อาศัยอำนาจตามความมาตรา ๓๕(๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 จึงออกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) ซึ่งรวมทั้งสถานศึกษาทุกระดับและสถาบันกวดวิชา ทำให้มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบ ทั้งหมด 5 รูปแบบ ได้แก่ เรียนที่โรงเรียน (On-site) เรียนที่บ้านด้วยสื่อ DLTV และสื่อของ สพฐ. (On-air) เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต (Online) เรียนผ่านแอปพลิเคชั่น (On demand) และการจัดส่งหนังสือแบบเรียนและสื่อการเรียนรู้ถึงบ้าน (On hand)

โรงเรียนทวีธาภิเศกได้เลือกรูปแบบการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต (Online) โดยเริ่มจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าวผสมผสานกับการเรียนที่โรงเรียน (On-site) ในปีการศึกษา 2563 พบปัญหาดังนี้

1. ไม่สามารถติดตามและรายงานผลการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนได้เป็นปัจจุบัน

2. เกิดความซ้ำซ้อนของระบบบริหารจัดการ

3. ผู้ปกครองไม่สามารถติดตามการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนได้

4. นักเรียนบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงรูปแบบเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต (Online) ได้

TPOC (Taweethapisek Online Classroom) จึงถูกพัฒนาขึ้นมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยนวัตกรรมนี้ประกอบไปด้วยระบบ TP Check time ซึ่งระบบ TP Check Time ใช้เพื่อติดตามและรายงานผลด้านการเรียนของนักเรียน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียน ทวีธาภิเศกจึงได้พัฒนานวัตกรรม TPOC (Taweethapisek Online Classroom) อย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักเรียนได้รับองค์ความรู้ครบถ้วนตามหลักสูตรของสถานศึกษา ผู้ปกครองสามารถติดตามการเข้าชั้นเรียนของนักเรียนได้ครูสามารถดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ทั้งด้านการเรียน และผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศจากระบบในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

      1. เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ใช้ติดตามและรายงานผลด้านการเรียนของนักเรียนอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

      2. เพื่อใช้นวัตกรรมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เข้าถึงรูปแบบการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ต (Online)

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน

5.1 การพัฒนานวัตกรรม กระบวนการพัฒนาระบบใช้รูปแบบตามวงจรพัฒนาระบบ SDLC ในรูปแบบ Waterfall Model ดังแผนภาพ

  1. การวางแผน (Planning): รวบรวมสภาพปัญหาและความต้องการต่าง ๆ จากผู้ใช้งานระบบ ได้แก่ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง

  2. การวิเคราะห์ระบบ (Requirement Analysis): วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบการทำงานของระบบ

  3. การออกแบบระบบ (System Design): ออกแบบส่วนต่าง ๆ ของระบบ ได้แก่

    • ส่วนประสานระหว่างผู้ใช้และระบบ

    • ระบบฐานข้อมูล (ER-Diagram)

    • หน้าจอผู้ใช้งาน (User Interface)

  4. การพัฒนาระบบ (Deployment): การเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบเอกสารให้เป็นระบบงานที่สามารถจับต้องได้ และใช้งานได้จริง จากนั้นนำระบบงานที่พัฒนาไปติดตั้งเพื่อไปใช้งาน

  5. การบำรุงรักษาระบบ (Maintenance): เมื่อมีการใช้ระบบไประยะหนึ่ง อาจพบข้อผิดพลาดจากการใช้งานระบบ จึงต้องทำการรวบรวมข้อผิดพลาดในการใช้งานระบบ และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน

5.2 การประเมินผลนวัตกรรม

จากตารางจะเห็นได้ว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบอยู่ในระดับมากทุกประเด็นเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ประเด็นที่อยู่ในระดับความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การกำหนดสิทธิการเข้าใช้ระบบเกิดความปลอดภัยในการใช้งาน (𝑥̅= 4.05, S.D. = 0.86) และความพึงพอใจต่อการใชระบบโดยรวม (𝑥̅= 4.05, S.D. = 0.88) ส่วนประเด็นการให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาระหว่างการใช้งาน อยู่ในระดับความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด (𝑥̅= 3.88, S.D. = 1.00)

6. ผลการดำเนินงาน / ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้บริหาร สามารถตรวจสอบการเข้าเรียนและภาระงานในแต่ละรายวิชา

  2. ผู้ปกครองสามารถติดตามการเข้าเรียนของนักเรียนเป็นปัจจุบันและสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้

  3. ครูผู้สอนใช้เป็นเครื่องมือในการบันทึกการสอน การเช็คชื่อ กำหนดภาระงาน รวมถึงสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าสอนผ่าน Google meet

  4. ครูที่ปรึกษาสามารถตรวจสอบและติดตามการเข้าเรียนของนักเรียนประจำชั้นได้

  5. ผู้บริหารสามารถติดตามการเข้าเรียนของนักเรียนระดับโรงเรียน ระดับชั้น ระดับห้อง และระดับบุคคล ในรูปแบบข้อมูลสารสนเทศเชิงสถิติ ในการแสดงผลแบบ Real Time

  6. ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ใหม่และการกระตุ้นในการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ เช่น ส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

  7. ส่งเสริมการใช้ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้โดยใช้ ICT เพื่อการบริหาร และการบริการ

สำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง

for student and parent

สำหรับครูผู้สอน

for Teacher

สำหรับผู้บริหาร

for Executive

7. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ

7.1 การขยายผลภายในโรงเรียน

ใช้โครงสร้างการพัฒนารูปแบบของนวัตกรรมในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในกลุ่มบริหารงบประมาณ และกลุ่มบริหารทั่วไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

7.2 การขยายผลระดับโรงเรียน

โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ศึกษาดูงานการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการ และมีการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ระบบแก่โรงเรียนเครือข่าย

7.3 การนำเสนอผลงานระดับเขตพื้นที่การศึกษา และที่ประชุมผู้บริหาร

ผู้บริหารโรงเรียนได้ใช้ข้อมูลสารสนเทศจากการประมวลผลของระบบในการรายงานข้อมูล และนำเสนอวิธีการใช้นวัตกรรมในการจัดกระทำข้อมูล

ศึกษานิเทศน์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เยี่ยมชมรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ของโรงเรียนทวีธาภิเศก

นายนิยม ไผ่โสภา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เข้าติดตามการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนทวีธาภิเศก

นายประจวบ อินทรโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก เข้าพบ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรายงานการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

8. ข้อเสนอแนะ / แนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  1. พัฒนาระบบให้สามารถรองรับการใช้งานในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

  2. พัฒนาระบบให้ผู้ปกครองสามารถติดตามข้อมูลของนักเรียนในด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

  3. พัฒนาระบบให้ครูสามารถนำข้อมูลไปสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้