นวัตกรรมการบริหารจัดการการ

กลุ่มบริหารงานบุคคล

1. ชื่อนวัตกรรม : TP CARE

2. ประเภทของนวัตกรรม : ด้านการบริหารจัดการ

3. ที่มาและความสำคัญของนวัตกรรม

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อันเป็นโรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 พบการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ซึ่งกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางสำคัญทางเศรษฐกิจ การคมนาคม และการท่องเที่ยว และมีความหนาแน่นของประชากรสูงถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะมีการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว การควบคุมโรคอย่างทันเวลาและจำกัดการชุมนุมของประชาชนเพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายไปในวงกว้างจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลดโอกาสการแพร่ระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความเสี่ยงสูง

โรงเรียนทวีธาภิเศก จึงมีระบบ TP CARE ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยเหลือนักเรียนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด19) นักเรียนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด19) เข้ามาแจ้งในระบบ TP CARE และทำการระบุตำแหน่ง โดยระบบจะทำการซ่อนข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ แต่จะทำการระบุชั้น/ห้อง ของนักเรียน และสถานที่ ที่นักเรียนอยู่ ทำให้ ผู้ที่ต้องการจะช่วยเหลือรู้ตำแน่งของนักเรียนและเข้าช่วยเหลือได้ และเมื่อได้รับการช่วยเหลือ นักเรียนสามารถเข้าไปปรับสถานะในระบบได้ นอกจากนั้นยังมีระบบการจองวัคซีนของนักเรียน ให้นักเรียนเข้าไปจองวัคซีนในช่วงเวลาที่โรงเรียน เปิดระบบกับฟอร์มที่ให้นักเรียนเข้าไปกรอกเพื่อเก็บประวัติการรับวัคซีน ของนักเรียน และสามารถเก็บข้อมูลผลการตรวจ Antigen Test Kit หรือ ATK เป็นรายบุคคล ทั้งนี้ยังเป็นช่องทางการเข้าประเมินในระบบประเมินความเสี่ยงการแพร่เชื้อ ไทยเซฟไทย Thai Save Thai ได้อีกด้วย

4. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

  1. เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ใช้ติดตามและรายงานผลด้านการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด19) ของนักเรียนอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

  2. เพื่อใช้นวัตกรรมในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด19) ที่ต้องการความช่วยเหลือ

5. ขั้นตอนการดำเนินงาน

5.1 การพัฒนานวัตกรรม กระบวนการพัฒนาระบบใช้รูปแบบตามวงจรพัฒนาระบบ SDLC ในรูปแบบ Waterfall Model ดังแผนภาพ

  1. การวางแผน (Planning): รวบรวมสภาพปัญหาและความต้องการต่าง ๆ จากผู้ใช้งานระบบ ได้แก่ผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง

  2. การวิเคราะห์ระบบ (Requirement Analysis): วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบการทำงานของระบบ

  3. การออกแบบระบบ (System Design): ออกแบบส่วนต่าง ๆ ของระบบ ได้แก่

    • ส่วนประสานระหว่างผู้ใช้และระบบ

    • ระบบฐานข้อมูล (ER-Diagram)

    • หน้าจอผู้ใช้งาน (User Interface)

  4. การพัฒนาระบบ (Deployment): การเปลี่ยนข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบเอกสารให้เป็นระบบงานที่สามารถจับต้องได้ และใช้งานได้จริง จากนั้นนำระบบงานที่พัฒนาไปติดตั้งเพื่อไปใช้งาน

  5. การบำรุงรักษาระบบ (Maintenance): เมื่อมีการใช้ระบบไประยะหนึ่ง อาจพบข้อผิดพลาดจากการใช้งานระบบ จึงต้องทำการรวบรวมข้อผิดพลาดในการใช้งานระบบ และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้สามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน


6. ผลการดำเนินงาน / ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้บริหาร สามารถดูตำแหน่งนักเรียนที่ขอความช่วยเหลือได้ (ไม่ระบุชื่อ ขึ้นชั้นและห้อง ขึ้นสถานะครู/นักเรียน)

  2. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้บริหาร สามารถดูยอกนักเรียนที่ติดเชื่อ, กำลังรักษาตัว หรือ หายแล้วได้

  3. นักเรียน ครู สามารถแจ้งการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด19)โดยระบุสถานที่ลงไปด้วย Google Map ได้สามารถแก้ไขสถานะการติดโควิดของตนเองได้

  4. มีแบบฟอร์มประวัติของนักเรียน ครู ในการได้รับวัคซีน และ โรงประจำตัวของนักเรียน

  5. มีแบบฟอร์มขอวัคซีนในช่วงเวลาที่ โรงเรียนประกาศของนักเรียน

  6. อำนวยความสะดวกในการรับรหัสผ่านเข้าประเมินตนเองในระบบประเมินความเสี่ยงการแพร่เชื้อไทยเซฟไทย Thai Save Thai

7. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ

7.1 การขยายผลภายในโรงเรียน

ใช้โครงสร้างการพัฒนารูปแบบของนวัตกรรมในการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศในกลุ่มบริหารวิชาการ และกลุ่มบริหารทั่วไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

7.2 การขยายผลระดับโรงเรียน

โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ศึกษาดูงานการใช้นวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการ และมีการให้คำปรึกษาแนะนำการใช้ระบบแก่โรงเรียนเครือข่าย

8. ข้อเสนอแนะ / แนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

  1. พัฒนาระบบให้สามารถรองรับการใช้งานในตามตามการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด19)

  2. พัฒนาระบบให้ผู้ปกครองสามารถติดตามข้อมูลและขอความช่วยเหลือในกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 (โควิด19) ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น

  3. พัฒนาระบบให้ครูสามารถนำข้อมูลไปสร้างนวัตกรรมการจัดการข้อมูล