นวัตกรรมการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอน

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. ชื่อนวัตกรรม : การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model

2. ผู้รับผิดชอบ : กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. ประเภทของนวัตกรรม : ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

4. ที่มาและความสำคัญของนวัตกรรม

จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนทวีธาภิเศก ปีการศึกษา2564 คือสถานศึกษาแห่งนวัตกรรม (School of Innovation) ” และพันธกิจของโรงเรียน ข้อที่ 4 คือการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 สู่วิสัยทัศน์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2564 ที่ว่า “พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรมที่เหมาะสมต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ” โดยออกมาเป็นการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model ที่มุ่งพัฒนาและส่งเสริมครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ รวมถึงส่งเสริมนักเรียนและครูให้สามารถสร้างนวัตกรรมได้

5. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

5.1 วัตถุประสงค์

      1. ครูผู้สอนมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ในศตวรรษที่ 21

      2. นักเรียนและครูเรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21

      3. นักเรียนและครูสามารถสร้างนวัตกรรมได้

5.2 เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

      1. ครูผู้สอนร้อยละ 80 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21

      2. ครูร้อยละ 80 สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

นักเรียนร้อยละ 80 สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้

      1. นักเรียนร้อยละ 80 สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้


เชิงคุณภาพ

  1. ครูผู้สอนร้อยละ 80 มีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21

  2. นักเรียน ร้อยละ 80 เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21

  3. นักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมและได้รางวัลในระดับเหรียญทองแดงเป็นต้นไป

6. ขั้นตอนการดำเนินงาน

6.1 การพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model ดังแผนภาพดังนี้

ขั้นตอนการดำเนินการ

1) ศึกษาวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงเรียนทวีธาภิเศก

2) วางแผนจัดทำนวัตกรรมกลุ่มสาระฯให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกลุ่มสาระฯและของโรงเรียน

3) สร้างและทดลองใช้ต้นแบบนวัตกรรมการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model ดังขั้นตอนต่อไปนี้

3.1) ขั้นกระตุ้น ส่งเสริม

นัดหมายประชุมพัฒนา ส่งเสริม กระตุ้นคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูในกลุ่มสาระฯให้เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านการคิดวิเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในด้านการใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การนำเสนอ และการออกแบบ เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน

3.2. ขั้นกระบวนการสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมและการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning

ตามวงจร PDCA ดังนี้

3.2.1 ขั้นวางแผน (Plan)

- ประชุมกลุ่มสาระฯเพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ Active Learning

- ให้ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ฯ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21

- หัวหน้ากลุ่มสาระฯให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำเป็นระยะ

3.2.2 ขั้นปฏิบัติ (Do)

- ครูในกลุ่มสาระฯจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในทักษะด้านวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 และสามารถนำไปสร้างเป็นนวัตกรรมได้

3.2.3 ขั้นตรวจสอบ (Check)

- ครูประเมินการสอนจากแบบประเมิน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21

- ประเมินจากแบบฝึกประสบการณ์การเรียนรู้

- ประเมินจากแบบทดสอบ

- การนิเทศการสอนจากหัวหน้ากลุ่มสาระฯ

3.2.4 ขั้นดำเนินงานให้เหมาะสม (Act)

- การเขียนบันทึกหลังสอน เพื่อสะท้อนการจัดการเรียนรู้

- ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลลัพท์และตอบสนองการเรียนรู้ ของนักเรียนมากที่สุด

- หัวหน้ากลุ่มสาระฯให้กำลังใจและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนานักเรียนในลำดับต่อไป

3.3 เผยแพร่นวัตกรรม การบริหารการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model ด้แก่ แผนการจัดการ

เรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning โดยเผยแพร่ขึ้น E-portfolio ส่วนตัวของครูทุกคนในกลุ่มสาระการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

E-portfolio สะสมผลงานนวัตกรรมแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning

ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6.2 การใช้นวัตกรรม

การใช้นวัตกรรม การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model

ขั้นปฏิบัติ (Do)

- ครูในกลุ่มสาระฯจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในทักษะด้าน

วิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 และ สามารถนำไปสร้างเป็นนวัตกรรมได้ โดยมีแนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน แบบ Active Learning ดังนี้

ขั้นตรวจสอบ (Check)

- ครูประเมินการสอนจากแบบประเมิน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21

- ประเมินจากแบบฝึกประสบการณ์การเรียนรู้

- ประเมินจากแบบทดสอบ

- การนิเทศการสอนจากหัวหน้ากลุ่มสาระฯ

ขั้นดำเนินงานให้เหมาะสม (Act)

- การเขียนบันทึกหลังสอน เพื่อสะท้อนการจัดการเรียนรู้

- ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดผลลัพท์และตอบสนองการเรียนรู้ ของนักเรียนมากที่สุด

- หัวหน้ากลุ่มสาระฯให้กำลังใจและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนานักเรียนในลำดับต่อไป

6.3 การประเมินผลนวัตกรรม

การประเมินผลการใช้นวัตกรรม การบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model จากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้

7. ผลการดำเนินงาน/ ประโยชน์ที่ได้รับ

7.1 ครูผู้สอนร้อยละ 90 สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21

7.2 นักเรียน ร้อยละ 80 เกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

7.3 นักเรียนร้อยละ 80 สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ได้แก่

- โครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

- โครงงานหุ่นยนต์

- โครงงานซอฟต์แวร์

7.4 ครูผู้สอนร้อยละ 100 สามารถสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ได้แก่

- งานวิจัยในชั้นเรียน

- แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning

- นวัตกรรม PLC

8. การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ

8.1 รางวัลการนำเสนอโครงงานห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 11 จำนวน 8 รางวัล ประกอบด้วย เหรียญทอง 1 รางวัล, เหรียญเงิน 4 รางวัล และเหรียญทองแดง 3 รางวัล

8.2 การเผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน E-port folio ปีการศึกษา 2564

8.3 รูปเล่มงานวิจัยในชั้นเรียนของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

8.4 รูปเล่ม PlC และรายงานผลนวัตกรรม PLC ของครูในกลุ่มสาระฯ

9. ข้อเสนอแนะ / แนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model โดยการผสมผสานบูรณาการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบอื่นหรือเทคนิคอื่นเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในการนำมาพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

10. บรรณานุกรม

ทิศนา แขมมณี.//(2565).//ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา. (ระบบออนไลน์)// สืบค้นเมื่อ /26 มีนาคม 2565./จาก http://innovationforeducation.weebly.com/

Lukpla Boonyacharoenkul.//(2565).//กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา มี 5 ขั้นตอน. (ระบบออนไลน์)//สืบค้นเมื่อ /

26 มีนาคม 2565./จากhttp://innovationforeducation.weebly.com/


นวัตกรรมการบริหารจัดการการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Sci-Tech-Active-Model

ผลงานนักเรียนที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม

นวัตกรรมแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Active Learning

ของครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ใน E-Portfolio

ผลงานนวัตกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับรางวัลและเผยแพร่