สิทธิบัตร

สิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวทุกคนมากที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าสิทธิบัตรเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกๆ คนไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่เป็นผลงานสร้างสรรค์จากการประดิษฐ์คิดค้นทั้งสิ้น เช่น การประดิษฐ์เกี่ยวกับผงซักฟอก โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ ดังนั้น สิทธิบัตรจึงมีส่วนช่วยในการดำรงชีวิตของมนุษย์ มีความสะดวกสบายและมีความปลอดภัยมากขึ้น

  1. 1. สิทธิบัตรคืออะไร

  2. สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สิทธิบัตร หมายถึง การที่รัฐให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ผู้ทรงสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาด หรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม การออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรม

  3. 2.ผลที่จะได้รับจากสิทธิบัตร

    1. 2.1 ในด้านของประชาชน โดยทั่วๆ ไปสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็คือสิทธิบัตร นอกจากจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ใหม่ๆ ที่อำนวยความสะดวกต่างๆแล้วยังก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ให้ปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้นด้วย เช่น ยารักษาโรคต่างๆ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆเป็นต้น ดังจะเห็นได้จากเครื่องกลเติมอากาศ หรือกังหันน้ำชัยพัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้นเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียและใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพและอนามัยของประชาชนให้ดีขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ นี้จะทำให้ประชาชนได้รับแต่สิ่งที่ดี มีคุณภาพสูงขึ้น มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้น

    2. 2.2 ในด้านเจ้าของสิทธิบัตร ผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ย่อมสมควรได้รับผลตอบแทนจากสังคม คือ การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร ซึ่งสามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรือ อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรนั้นโดยได้รับค่าตอบแทน

  4. 3.เหตุผลในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร

    1. 3.1เพื่อคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ เนื่องจากผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบได้ใช้สติปัญญาและความพยายามของตนรวมทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะมีประโยชน์แก่มนุษย์ ดังนั้น หากการคิดค้นดังกล่าวสามารถทำให้เกิดผลตอบแทนในทางเศรษฐกิจหรือในเชิงพาณิชย์ได้ ก็ควรถือเป็นสิทธิของผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบที่รัฐควรให้ความคุ้มครอง

    2. 3.2เพื่อให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบ เนื่องจากผลงานที่ได้คิดค้นขึ้นทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้รับความสะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สังคมก็ควรให้รางวัลตอบแทนแก่ผู้สร้างคุณประโยชน์ดังกล่าว โดยการให้ความคุ้มครองป้องกันมิให้ผู้อื่นแสวงหาประโยชน์จากผลงานดังกล่าวนั้นโดยมิชอบ

    3. 3.3เพื่อจูงใจให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ขึ้น เนื่องจากการประดิษฐ์คิดค้นจะต้องมีการลงทุนทั้งในด้านค่าใช้จ่าย เวลา และสติปัญญาอันพิเศษของมนุษย์แต่เมื่อมีการเปิดเผยสาระสำคัญในการประดิษฐ์คิดค้น หรือมีการผลิตเป็นสินค้าเพื่อออกจำหน่ายแล้ว บุคคลอื่นอาจสามารถลอกเลียนแบบได้โดยง่าย ดังนั้น จึงจำเป็นที่รัฐต้องให้การคุ้มครอง อันจะเป็นการกระตุ้นให้นักประดิษฐ์คิดค้นมีกำลังใจ และมีความมั่นใจในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

    4. 3.4เพื่อกระตุ้นให้มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ในการให้ความคุ้มครองนี้ ได้มีการกำหนดให้มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นนั้นๆ จนทำให้สามารถนำไปศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาต่อไปได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่สูงขึ้น

    5. 3.5เพื่อจูงใจให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนจากต่างประเทศ การจัดระบบให้มีการคุ้มครองสิทธิบัตรย่อมทำให้เจ้าของเทคโนโลยีจากต่างประเทศมีความมั่นใจในการลงทุนหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้ร่วมทุนในประเทศ

  5. 4.เงื่อนไขหรือลักษณะของการรับความคุ้มครองสิทธิบัตร

    1. 4.1สิทธิบัตรการประดิษฐ์

      1. 1. ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ คือ การประดิษฐ์ที่แตกต่างไปจากเดิม ยังไม่เคยมีใช้หรือแพร่หลายมาก่อนใน

      2. ประเทศ หรือไม่เคยเปิดเผยสาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือการนำออกแสดง หรือเปิดเผยต่อ

      3. สาธารณชนมาก่อนทั้งในและนอกประเทศ และยังไม่เคยได้รับสิทธิบัตรมาก่อน

      4. 2.ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น คือ มีลักษณะที่เป็นการแก้ไขปัญหาทางเทคนิค หรือไม่เป็นการประดิษฐ์

      5. ที่ทำได้โดยง่ายต่อผู้ที่มีความชำนาญในระดับสามัญสำหรับงานประเภทนั้น

      6. 3.ต้องเป็นการประดิษฐ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้

    2. 4.2สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมซึ่งรวมถึงหัตถกรรม คือ เป็นการ

    3. ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใช้แพร่หลายในประเทศ ยังไม่ได้เปิดเผยสาระสำคัญหรือรายละเอียดในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ก่อน

    4. วันขอรับสิทธิบัตร และไม่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว

  6. 5. สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

    1. 5.1 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

      1. 1.จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยุ่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช

      2. 2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

      3. 3. ระเบียบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์

      4. 4. วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์

      5. 5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัย หรือสวัสดิภาพของประชาชน

      6. 5.2 การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

        1. 1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่

        2. 2. แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

        3. 3. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ยังไม่มีการกำหนด)

  7. 6.เอกสารที่ใช้ในการขอรับสิทธิบัตร

    1. 6.1 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์เป็นการใช้ความคุ้มครองแนวความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ดังนั้นการยื่นขอรับสิทธิบัตรจึงไม่จำเป็นต้องส่งตัวอย่างการประดิษฐ์ในการขอรับสิทธิบัตร ผู้ที่ประสงค์จะยื่นขอต้องจัดเตรียมคำขอนี้ประกอบด้วยส่วนที่เป็นแบบพิมพ์คำขอซึ่งเป็นแบบที่ทางราชการกำหนด (แบบ สป/สผ/อสป/001-ก) และส่วนที่เป็นเอกสารประกอบคำขอ ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมขึ้นเองทั้งหมด ตามหัวข้อและรูปแบบที่กำหนดส่วนเอกสารประกอบคำขอนี้ประกอบด้วย รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิบทสรุปการประดิษฐ์ และรูปเขียน (ถ้ามี) นอกจากนี้ ยังมีเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) เช่น หนังสือสัญญาโอนสิทธิ หนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

    2. 6.2 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ การให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น เป็นไปเช่นเดียวกันกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ โดยในการจัดเตรียมคำขอจะคล้ายกัน คือ แบบพิมพ์คำขอ เอกสารประกอบคำขอ และเอกสารอื่นๆ จะแตกต่างกันเฉพาะในส่วนที่เป็นเอกสารประกอบคำขอ ซึ่งจะประกอบด้วยคำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี) ข้อถือสิทธิ รูปเขียนหรือภาพถ่ายที่แสดงแบบผลิตภัณฑ์นั้นชัดเจนทุกด้าน

  8. 7.ขั้นตอนการรับสิทธิบัตร

    1. 7.1 การประดิษฐ์

      1. 1. การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม ในคำขอต้องประกอบด้วย

        1. 1.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร สป/สผ/อสป/001- ก

        2. 1.2 รายละเอียดการประดิษฐ์

        3. 1.3 ข้อถือสิทธิ

        4. 1.4 บทสรุปการประดิษฐ์

        5. 1.5 รูปเขียน (ถ้ามี)

        6. 1.6 เอกสารอื่นๆ เช่น หนังสือรับรองสิทธิ สำเนาบัตรประชาชน หนังสือสัญญาโอนสิทธิ สัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

      2. 2.เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้วถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้ จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนทราบ เพื่อทำการแก้ไขตามคำสั่งในหนังสือแจ้งนั้นๆ

      3. 3.ผู้ขอต้องใช้ปบบ สป/สผ/อสป/ 003- ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม

      4. 4.ในกรณีคำขอถูกต้องหรือได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว จะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมประกาศโฆษณาในหนังสือจดหมายเหตุสิทธิบัตร

      5. 5.ผู้ขอต้องใช้แบบ สป/อสป/005-ก ในการยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ภายใน 5 ปี นับจากวันประกาศโฆษณา

      6. 6. ถ้าอธิบดีเห็นว่าคำขอถูกต้องตามกฎหมายและสั่งให้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรแล้วจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียม

      7. 7. เมื่อผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ 6 แล้ว จะออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอต่อไป

    2. 7.2 การออกแบบผลิตภัณฑ์

      1. 1. การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องยื่นคำขอพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม ในคำขอต้องประกอบด้วย

        1. 1.1 แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร สป/สผ/อสป/001-ก

        2. 1.2 คำพรรณนาแบบผลิตภัณฑ์ (ถ้ามี)

        3. 1.3 ข้อถือสิทธิ

        4. 1.4 รูปเขียน

        5. 1.5 เอกสารอื่นๆ เช่น หนังสือรับรองสิทธิ สำเนาบัตรประชาชน หนังสือโอนสัญญาสิทธิ สัญญาการว่าจ้าง หนังสือมอบอำนาจ เป็นต้น

      2. 2. เมื่อยื่นคำขอตามข้อ 1 แล้ว ถ้ามีสิ่งบกพร่องที่พอจะแก้ไขได้ จะแจ้งให้ผู้ขอหรือตัวแทนทราบ เพื่อทำการแก้ไข ตามคำสั่งในหนังสือแจ้งนั้นๆ

      3. 3. ผู้ขอต้องใช้แบบ สป/สผ/อสป/003-ก ในการยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียม

      4. 4. ในกรณีคำขอถูกต้องหรือได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อ 3 แล้ว จะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมประกาศโฆษณาในหนังสือจดหมายเหตุสิทธิบัตร

      5. 5. หากอธิบดีเห็นว่าคำขอถูกต้องตามกฎหมายและสั่งให้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรแล้วจะส่งหนังสือแจ้งให้ผู้ขอมาชำระค่าธรรมเนียม

      6. 6. เมื่อผู้ขอชำระค่าธรรมเนียมตามข้อ 5 จะออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอต่อไป

  9. 8.อายุการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร

    1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร

    2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร

  10. 9.ค่าธรรมเนียม

    1. คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ 500 บาท

    2. คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ 250 บาท

    3. คำขอแก้ไขเพิ่มเติม 50 บาท

    4. การประกาศโฆษณา 250 บาท

    5. คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ 250 บาท

    6. (เฉพาะกรณีการประดิษฐ์การทำได้ภายใน 5 ปี นับจาวันประกาศโฆษณา)

    7. รับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตร 500 บาท

    8. คำคัดค้าน (กระทำภายใน 90 วัน นับจากวันประกาศโฆษณา) 500 บาท

    9. คำอุทธรณ์ 500 บาท

    10. คำขอเปลี่ยนแปลงคำขอรับสิทธิบัตร 100 บาท

    11. (กระทำได้ก่อนการประกาศโฆษณาสิทธิบัตร)

  11. 10.สถานที่และวิธีการยื่นขอจดทะเบียน

      1. สถานที่ยื่นขอจดทะเบียนท่านสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนได้ที่ศูนย์บริการทรัพย์สินทางปัญญา ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ หรือที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกแห่ง

      2. วิธีการยื่นขอจดทะเบียน

      3. 1.ยื่นขอโดนตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมชำระค่าธรรมเนียม

      4. 2. ส่งคำขอทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึง ผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรพร้อมชำระ ค่าธรรมเนียมโดยธนาณัติสั่งจ่ายในนาม ผู้อำนวยการสำนักสิทธิบัตรกรมทรัพย์สินทางปัญญา

      5. 3. ยื่นคำขอทางอินเตอร์เน็ต