การประเมินผลและการติดตาม

การประเมินผลและการติดตามแผนกลยุทธ์

การประเมินและควบคุมกลยุทธ์(Evaluation and control) มีความสำคัญและมีความสัมพันธ์ กับหน้าที่หลักในการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยทั่วไปองค์การจะมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแล แผนกลยุทธ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบเต็มเวลาที่สามารถทุ่มเทให้กับการ ติดตาม และประเมินผลได้อย่างเต็มที่หน่วยงานนี้ควรอยู่กับฝ่ายวางแผน อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินกลยุทธ์นั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่ายตลอดเวลา จึงอาจมีความจำเป็นในการตั้งเป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับบริหารจากฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นร่วมด้วยการประเมินและควบคุมกลยุทธ์คือกระบวนการซึ่งผู้บริหารได้ติดตามกิจกรรมและผู้ปฏิบัติงานขององค์การอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่ากิจกรรมนั้น ๆ ได้รับการปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่

การควบคุมกลยุทธ์ เป็นหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลกลยุทธ์ที่นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัตินั้นมักจะเกิดข้อผิดพลาดที่ต้องการการปรับปรุง เพื่อให้แน่ใจว่ากลยุทธ์นั้นจะก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่ตรงตามแผนที่ได้ตั้งไว้

การตรวจสอบกลยุทธ์ (Strategic Control) จะมีการวัดผลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการกำหนดเกณฑ์และมาตรฐาน โดยมาตรวัดการดำเนินงานที่เหมาะสมกับแต่ละองค์การ ซึ่งในแต่ละองค์การจะมาตรฐานและเกณฑ์การดำเนินงานของตนเอง ทั้งนี้การกำหนดมาตรฐานควรมีความระมัดระวังเพื่อให้สามารถสะท้อนผลการทำงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

ในการติดตาม ควบคุม และประเมินผลนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาดูแลแผนกลยุทธ์โดยเฉพาะ ซึ่งจะต้องมีบุคลากรที่มีความรับผิดชอบเต็มเวลาที่สามารถทุ่มเทให้กับการติดตามและประเมินผลได้อย่างเต็มที่ หน่วยงานนี้ควรอยู่กับฝ่ายวางแผนที่มีผู้บริหารในฝ่ายอยู่ในระดับผู้บริหารชั้นสูง อย่างไรก็ตามในการดำเนินกลยุทธ์นั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือที่ดีจากทุกฝ่ายตลอดเวลา จึงอาจมีความจำเป็นในการตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลแผนกลยุทธ์ ที่ประกอบด้วยผู้แทนระดับบริหารจากฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นร่วมด้วย

การควบคุมและการประเมินผล เป็นงานขั้นสุดท้ายในกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์เป็นงานของ ผู้บริหารระดับสูง(top management) ที่จะใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมด ตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ว่าบรรลุผลสำเร็จตามแผนที่วางไว้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการที่จะทราบผลลัพธ์ ดังกล่าวได้ต้องอาศัยการเปรียบเทียบผลการประเมินที่ได้จากผลการปฏิบัติจริง (actual performance) กับผลการดำเนินงานที่ตั้งความมุ่งหวังไว้ตั้งแต่ก่อนลงมือปฏิบัติหากปรากฏว่าผลที่ได้จากการดำเนินงานจริงต่ำกว่าแผนที่กำหนดไว้ ผู้บริหารก็จะต้องหาหนทางปรับปรุงแก้ไขต่อไปวิธีดังกล่าวเรียกว่า “การควบคุม (control)” ซึ่งการควบคุมนี้หมายความว่าเป็นการควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานบรรลุตาม แผนที่กำหนดไว้นั่นเอง การควบคุม (Control) เนื่องจากกลยุทธ์เป็นแผนระยะยาว ดังนั้นเพื่อที่จะให้แน่ใจว่าแผนนั้นในแต่ละช่วงเวลาจะดำเนินการ ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ด้วยความก้าวหน้าที่เหมาะสมกับเวลาและการจัดสรรทรัพยากรที่สอดคล้อง การควบคุม แผนกลยุทธ์จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินงานอย่างไม่ผิดทิศทางและสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ขั้นตอนในการควบคุมกลยุทธ์

1) กำหนดสิ่งที่จะควบคุม ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการควบคุม แต่จะต้องเป็นสิ่งที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจน

2) กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เพียงตัวเงินอย่างเดียว องค์กรควรกำหนดตัวชี้วัดให้มี ความสมดุลในด้านอื่นๆ ด้วย ได้แก่ลูกค้า กระบวนการและการเรียนรู้เป็นต้น

3) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานหรือสิ่งที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ สำหรับตัวชี้วัดแต่ละตัว เช่นแผนงานในปีที่ผ่านมาค่าเฉลี่ยองค์กรอื่นที่อยู่ในรูปธุรกิจเดียวกันค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม ค่ามาตรฐานกลางที่มีองค์กรกลางกำหนดไว้

4) ประเมินผลการปฏิบัติงานตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ สำหรับการปฏิบัติงานแต่ละงานโดยใช้ สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลงบการเงิน ข้อมูลด้านการผลิตและข้อมูลด้านการตลาด เป็นต้น

5) เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จาการปฏิบัติงานกับเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรกำหนดไว้ให้ข้อมูลป้อนกลับ เพื่อเป็นสารสนเทศขององค์กรและหาวิธีในการแก้ไขปรับปรุงโดยอาจเป็นการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์กระบวนการทำงานบุคลากร โครงสร้างองค์กรหรือเกณฑ์มาตรฐานที่องค์กรกำหนดการประเมิน (Evaluation) การประเมิน คือ การวัดการดำเนินงานขององค์กรว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่และผลกระทบด้านอื่นๆ ในการดำเนินงาน ขั้นตอนของการประเมินกลยุทธ์

1) การตรวจสอบสมมุติฐานกลยุทธ์ว่าสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจปัจจุบันหรือไม่

2) เปรียบเทียบผลการดำเนินกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นเทียบกับเป้าหมาย

3) ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กาหนดไว้กลไกการมีกลไกที่เหมาะสมเพื่อรับความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า จะทำให้การประเมินกลยุทธ์มีประสิทธิภาพ การประเมินกลยุทธ์เป็นงานที่มีต้นทุนสูงและอ่อนไหว เนื่องจาก ปกติคนมักไม่ชอบการประเมิน ประกอบกับความซับซ้อนของสภาพแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา เทคนิคการประเมินกลยุทธ์ เทคนิคการประเมินกลยุทธ์ด้วยการตั้งคำถามง่ายๆ เป็นที่นิยม เช่น ยอดขายเพิ่มขึ้นหรือไม่ สินทรัพย์ เพิ่มขึ้นหรือไม่กำไรเพิ่มขึ้นหรือไม่หรือการผลิตมีประสิทธิภาพดีขึ้นหรือไม่ ฯลฯ เทคนิคการตั้งคำถามสามารถ ประเมินได้ว่าองค์กรมีกลยุทธ์ที่ถูกต้องหรือไม่ แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าองค์กรบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ หรือไม่ เพราะคำตอบเป็นเพียงเป้าหมายระยะสั้น ในขณะที่วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องระยะยาว การวัดผลการดำเนินงาน เป็นกิจกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการประเมินกลยุทธ์เป็นการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่ เกิดขึ้นกับผลการดำเนินงานที่ตั้งเป้าหมายไว้เช่น เป้าหมายประจำปี