ผลงานนวัตกรรม

ด้านสินเชื่อ

"การทำสัญญากู้สามัญหรือสัญญากู้พิเศษแบบสัญญาหลักและระดมเงินฝาก"

นำเสนอโดย นายสรวีย์ จิรานันท์สิริ

สหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีษะเกษ จำกัด

ความเป็นมา และวัตถุประสงค์

ด้วยสมาชิกสหกรณ์เป็นผู้มีเงินเดือน และรายได้จำกัด จึงต้องกู้เงินเพื่อจัดซื้อจัดหาให้ได้มาซึ่งปัจจัยสี่ ที่สำคัญต่อการดำรงชีพ และเมื่อกู้เงินแล้ว รายได้หลังจากหักชำระค่าหุ้นและหนี้ จะเหลือไม่เพียงพอใช้จ่ายในแต่ละเดือน วิธีแก้ไขก็คือ ยื่นกู้สหกรณ์ใหม่ เมื่อส่งชำระหนี้สามัญไปได้ 6 งวด หรือส่งชำระหนี้เงินกู้พิเศษไปได้ 10 งวด เพื่อให้ได้เงินก้อนมาทยอยใช้จ่ายจนกว่าจะกู้ครั้งใหม่ได้อีกทำให้ต้องทำสัญญาใหม่ทุกครั้งเพื่อชำระหนี้เก่าและได้รับเงินส่วนต่างที่เหลือออกไปใช้จ่าย(ส่วนที่เหลือออกไปใช้ส่วนใหญ่ก็คือเงินงวดชำระหนี้ : เดือน หรือ 10 เดือนแล้วแต่กรณี) นั่นคือ ทำสัญญากู้เงินครั้งใหม่จำนวนมากแต่ได้เงินออกไปใช้เพียงเล็กน้อย และต้องใช้เอกสารมากมาย รวมทั้งยุ่งยากในการติดตามเอาสัญญาไปให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือซื่อหรือนำผู้ค้ำประกันมาลงลายมือชื่อที่สหกรณ์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่หรือต่อหน้ากรรมการประจำเขต เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวสหกรณ์จึงจัดให้มีการทำ

สัญญากู้สามัญ หรือสัญญากู้พิเศษ แบบสัญญาหลัก คือทำสัญญาไว้ครั้งเดียวเต็มวงเงินขั้นสูงสุดของเงินกู้ประเภทสามัญหรือพิเศษที่สหกรณ์กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยเงินกู้ประเภทนั้นๆ และให้สมาชิกทำหนังสือขอรับเงินกู้ครั้งที่ 1 ตามที่ทำสัญญาหลักไว้โดยได้รับเงินกู้ตามสิทธิของตน เมื่อส่งชำระหนี้ไปครบ 6 งวดหรือ 10 งวด แล้วแต่กรณี หากประสงค์จะรับเงินกู้เพิ่มอีกก็ทำเพียงหนังสือขอรับเงินกู้ครั้งที่ 2 โดยไม่ต้องทำสัญญากู้และค้ำประกันใหม่อีก

และกรณีที่สมาชิกเก็บเงินก้อนที่ได้จากการกู้เพื่อทยอยใช้จ่ายนั้น เพื่อให้สมาชิกมีเงินออมและได้รับดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าธนาคาร ตลอดทั้งสหกรณ์มีเงินต้นทุนต่ำในการบริหารมากขึ้นสหกรณ์จึงจ่ายเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากสหกรณ์ของสมาชิก (แทนการจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสมาชิก) แต่การโอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากสหกรณ์ของสมาชิกนั้น สมาชิกจะไม่ได้รับความสะดวกเหมือนโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสมาชิกโดยตรงเพราะสหกรณ์มีสมาชิกถึง 15,500 คนเศษ และกระจายอยู่ทุกอำเภอ (22 อำเภอ) สหกรณ์ไม่มีสาขาและไม่มีตู้เอทีเอ็มของสหกรณ์เองอยู่ทุกอำเภอ ดังนั้นเพื่อให้สมาชิกได้รับความสะดวกในการถอนเงินฝาก จึงแก้ไขปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการรับฝากเงินและโปรแกรมระบบงานให้สามารถถอนเงินฝากได้ 5 ช่องทาง คือ

(1) ถอนที่สำนักงานสหกรณ์ด้วยตนเองหรือมอบอำนาจ

(2) ถอนด้วยบัตรเอทีเอ็มธนาคารธนชาต

(3) ถอนผ่านโทรสาร

(4) ถอนผ่านเว็บไซต์สหกรณ์โดยมีรหัสผ่าน และ

(5) ถอนผ่านโทรศัพท์โดยมีรหัสผ่าน ทั้งนี้

ช่องทางที่ (3)-(5) สหกรณ์จะโอนเงินที่ถอนเข้าบัญชีธนาคารของสมาชิกเท่านั้น

ประโยชน์ของผลงานนวัตกรรมต่อสมาชิก ต่อสหกรณ์และ/หรือต่อสังคม

(1) ต่อสมาชิก สมาชิกสะดวกในการกู้ขอรับเงินครั้งใหม่โดยไม่ต้องทำสัญญากู้และค้ำประกันใหม่ทุกครั้ง และสหกรณ์พิมพ์หนังสือขอรับเงินกู้ให้โดยสมาชิกไม่ต้องเขียนเอง ประหยัดค่าเอกสารประกอบการรับเงินกู้เพิ่มเพราะใช้หนังสือขอรับเงินกู้เพิ่มฉบับเดียว แก้ปัญหาการถูกอายัดค่าหุ้นได้เพราะสัญญาหลักทำไว้ครั้งเดียวก่อนถูกอายัดหุ้นแล้ว แม้ภายหลังถูกอายัดหุ้นจะขอรับเงินกู้เพิ่มตามสัญญาหลักที่ทำไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นการทำสัญญากู้หลังถูกอายัดเงินค่าหุ้น สมาชิกมีเงินออมมากขึ้นได้ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคาร ประหยัดเวลาและค่าพาหนะเดินทางมาถอนเงินที่สำนักงานสหกรณ์

(2) ต่อสหกรณ์ สหกรณ์ประหยัดแบบพิมพัสัญญากู้และค้ำประกันในการที่สมาชิกขอรับเงินกู้เพิ่มในครั้งต่อ ๆไป เอกสารมีความผิดพลาดน้อยเพราะหนังสือขอรับเงินกู้เพิ่มพิมพ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ลดปัญหาการปลอมลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเพราะไม่มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่ทุกครั้งที่รับเงินกู้เพิ่ม หากผู้ค้ำประกันไม่ประสงค์จะค้ำประกันเงินกู้ครั้งต่อไป ก็สามารถทำบันทึกถึงสหกรณ์ ซึ่งสหกรณ์จะงดการขอรับเงินกู้ครั้งต่อไปไว้จนกว่าจะเปลี่ยนผู้ค้ำประกันใหม่หรือมีการตกลงค้ำประกันต่อไป สหกรณ์มีเงินทุนดอกเบี้ยต่ำมาใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้น(3) ต่อสังคม ลดปริมาณการใช้เอกสารหรือกระดาษลงไปได้มากซึ่งเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนไปได้ด้วย ช่วยรัฐประหยัดพลังงานที่ต้องใช้ไปในการเดินทางเข้ามาติดต่อกับสหกรณ์ปลูกฝังความมีวินัยทางการเงินและการใช้เงินเพื่อเป็นแบอย่างที่ดีแก่คนในชาติ

Clip การนำเสนอ