R1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา

วันที่โพสต์: Mar 27, 2019 5:23:53 AM

เริ่มต้น จากการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา จากเอกสาร ข้อมูล ผลการทดสอบวิชาภาษาไทย ของนักเรียน ทุกระดับ จากผลการทดสอบ ONET NT ในปีการศึกษา 2556 2557 และ 2558 และรายงานฐานข้อมูลและสารสนเทศของนักเรียนด้านภาษาไทยเป็นรายบุคคลทุกชั้นทุกโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษา ในปีการศึกษา 2559 2560 และ 2561 (คลิกดูข้อมูลได้ที่นี่) รวมทั้ง ศึกษานโยบาย ของ ศธ. /สพฐ. แผนพัฒนา ต่าง ๆ ... พบว่าผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาไทย ของนักเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยเฉพาะการอ่าน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 พบว่ายังมีนักเรียนที่ยังอ่านไม่ออก อ่านไม่คล่อง และครูผู้สอนยังไม่มีสื่อการสอนที่เหมาะสมในการสอนการอ่านแบบสะกดคำ ซึ่งเป็นพื้นฐานการหัดอ่านที่จะทำให้นักเรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ และสามารถอ่านหนังสือได้ อันจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่น ๆ ด้วย

ผู้วิจัย ได้ศึกษางานวิจัย และสื่อการสอน ที่ครูได้ผลิตไว้ใช้ในการเรียนการสอน พบปัญหา เรื่องของการออกแบบสื่อ และ เหมาะสมของสื่อที่ใช้ได้ไม่ครอบคลุมคำในภาษาไทย เช่น การจัดทำบัตรคำ ต้องใช้บัตรคำจำนวนมาก ที่จะแสดงคำ ให้นักเรียนได้ฝึกอ่านได้ครบทุกเสียงทุกตัวสะกด มีสื่อการสอนที่เป็นแบบฝึกการอ่าน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นคำยากมีรูปภาพประกอบและใช้ทดสอบนักเรียน มีสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งยังไม่สามารถแสดงคำได้ครบถ้วน สื่อประสมอักษรกับสระที่เป็นวงเวียน ก็พบสามารถประสมคำได้เฉพาะสระเดี่ยว หรือจัดทำในลักษณะมีตัวสะกดก็จะเป็นตัวสะกดเดี่ยว เมื่อจะใช้สอนการประสมสระ หรือตัวสะกด จะต้องใช้ แบบของสระถึง 13 ชิ้น หรือหากใช้ตัวสะกดเป็นหลัก จะต้องจัดทำ สื่อจำนวนเท่ากับตัวสะกด และหากเป็นสื่อที่เปลี่ยนพยัญชนะต้น จะต้องทำสื่อจำนวนเท่ากับพยัญชนะต้น หากต้องการสื่อให้ครบทุกลักษณะของการประสมอักษร จะต้องผลิตสื่อจำนวนมาก....

ผู้วิจัยจึงออกแบบหาวิธีการผลิตให้สื่อสามารถประสมตัวอักษร ได้ทุกตัว โดยเมื่อนำตัวอักษรมาประสมกันแล้วสามารถแสดง สระ แสดง พยัญชนะต้น หรือแสดงตัวสะกด ได้ในสื่อชิ้นเดียว จึงออกแบบสื่อที่เป็นแผง เจาะให้เป็นช่องใส ตามโครงสร้างของการวางอักษรไทย คือ ช่องมี 4 ระดับ

ช่องแถวที่ 1 บนสุด เป็นช่องขนาดเล็ก แสดง วรรณยุกต์ เอก โท ตรี จัตวา

ช่องแถวที่ 2 รองลงมา เป็นช่องขนาดเล็ก แสดงสระที่วางไว้บนอักษร เช่น สระอิ สระอี ฯลฯ หริอวรรณยุกต์ กรณีที่ประสมอักษรแล้วไม่มีตัวสระ

ช่องแถวที่ 3 เป็นช่องขนาดใหญ่ แสดงตัวพยัญชนะ และตัวสระ ที่อยู่ระดับเดียวกับตัวอักษร เช่นสระอา สระเอ

ช่องแถวที่ 4 ช่องล่างสุด เป็นช่องขนาดเล็ก แสดงสระที่อยู่ใต้ตัวอักษร เช่น สระอุ สระอู

ทั้งนี้ผู้วิจัย ได้เลือกวัสดุ ที่หาได้ง่าย มีน้ำหนักเบา ขนาดไม่ใหญ่มาก เคลื่อนย้ายได้ สามารถหาได้ง่ายตามร้านขายเครื่องเขียนทั่วไป ราคาไม่แพง