1.6 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์

ข้าพเจ้าคิดค้น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และนำผลการศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ มาใช้แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สูงขึ้น และเป็นแบบอย่างที่ดี ใน การศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ดังนี้

-วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากทุกหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างปีการศึกษา 2563-2564 เพื่อหา
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ นำหน่วยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุดมาเป็นจุดพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดย

- กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จเป็นเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ     - ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้             
- สร้างสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี

- ออกแบบการวัดและประเมินผล                         - นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน                          
- สรุปผลการจัดการเรียนรู้

- เปรียบเทียบผลการเรียนรู้กับตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้            - เขียนรายงานผลการพัฒนา

         ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 นักวิชาการทุกคนถูกท้าทายที่จะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีเทคโนโลยีมากมายที่ทำให้ปัจจุบันเป็นยุคไร้พรมแดน การรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆสามารถกระทำได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสทุกคนจึงต้องปรับตัวในทุก ๆ ด้าน สำหรับทางด้านการศึกษาก็ต้องมีการปรับตัวเช่นกัน โดยครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอนที่จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ ที่จะเป็นพื้นฐานต่อการใช้ชีวิตในอนาคต จึงอาจกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญสำหรับ ผู้เรียนยุคศตวรรษที่ 21
            การเรียนรู้แบบเดิมที่เน้นครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาหน้าชั้นเรียนทำหนักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายไม่มีความสนใจในเนื้อหาที่ครูบรรยาย เกิดปัญหาการขาดความใส่ใจวิชาเรียน  และไม่เข้าใจบทเรียนเพราะสิ่งที่ครูบรรยายให้นักเรียนฟังเป็นสิ่งที่ครูนำมาใส่ให้เด็ก ไม่ได้เกิดจากความสนใจใคร่รู้ของผู้เรียนครูจึงต้องหาวิธีการสอนที่สามารถจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างแท้จริง สอนในเรื่องที่ผู้เรียนมีความสนใจจริง ๆ  แต่ยังอยู่ในขอบข่ายที่หลักสูตรแกนกลางกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ การศึกษาไทยต้องก้าวไปสู่เป้าหมายในยุคความรู้  จุดท้าทายในการจัดการศึกษาควรไปในทิศทางของความสุขในการทำงานอย่างมีเป้าหมายเพื่อชีวิตที่ดีนักเรียนอยู่ในยุคความรู้กระตุ้นให้เรียนรู้ตลอดชีวิต  ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” ด้วยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียน ครูต้องตอบได้ว่า นักเรียนได้เรียนอะไร  และเพื่อให้นักเรียนได้อะไร การประสบผลสำเร็จได้นั้น ต้องทำอะไร ไม่ทำอะไร การทำหน้าที่  ครูจึงไม่ผิดทางคือ  ทำให้ผู้เรียนไม่สนุกหรือเรียนแบบขาดทักษะสำคัญ  “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” (21st Century Skills) จะเกิดขึ้นได้จาก “ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนวยความสะดวก”
(ศิริวรรณ ฉัตรมณีรุ่งเจริญ & วรางคณา  ทองนพคุณ, ม.ป.ป.)
                เนื่องด้วยสถานการณ์ปัจจุบันโลกยังอยู่ในช่วงของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ
Covid-19  กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม  หรือ Social  distancing  ได้แก่  การเรียนในชั้นเรียน (On- Site),การเรียนผ่านโทรทัศน์ (On-Site), การเรียนผ่านโทรทัศน์ (On – Air) และการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online) ซึ่งถูกนำมาปรับใช้โดยพิจารณาตามความเหมาะสมและตามบริบทของโรงเรียน  โดยส่วนใหญ่หลาย ๆ โรงเรียนมักจะใช้การเรียนการสอนแบบแบบผสมผสาน  คือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ครูและนักเรียนไม่ได้เผชิญหน้ากัน  หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วอย่างหลากหลาย ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น การจัดแบ่งกลุ่มสลับกันมาโรงเรียน  โดยกลุ่มที่มาโรงเรียนจะทำการเรียนการสอนแบบ On – Site ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้มาโรงเรียนจะทำการเรียนการสอนแบบ Online  ซึ่งกลุ่มที่มักจะมีปัญหาคือกลุ่มที่เรียนแบบ Online เนื่องจากนักเรียนมีความแตกต่างในการมีอุปกรณ์  หรือการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต  ทำให้เเกิดปัญหาคือ  ภาพกระตุกบ้าง  ภาพไม่ชัดบ้าง หรือเสียงซ่าไม่ชัดเจน  ซึ่งอุปสรรคเหล่านี้ส่งผลต่อสมาธิ  และความต่อเนื่องในการเรียนของนักเรียน  ประกอบกับเนื้อหาวิชาชีววิทยาเป็นวิชาที่มีเนื้อหามาก  มีข้อมูลเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงในทุกขณะ  นักเรียนจึงไม่สามารถจดจำความรู้ได้ทั้งหมด  และเมื่อจบการศึกษาไปแล้วความรู้ที่ได้รับจากการท่องจำนั้นไม่สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงของนักเรียนได้  เพราะไม่สอดคล้องกับความจริงในปัจจุบัน (ศิวดล  กุลฤทธิกร.2554 : 1-5) ซึ่งจะทำให้นักเรียนยิ่งเกิดความน่าเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาชีววิทยามากยิ่งขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการต่อผู้เรียน  ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์

                การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped  Classroom) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนโดยเปลี่ยนการสอนแบบเดิมจากครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จะต้องศึกษาหาความรู้จากนอกห้องเรียนด้วยตนเองโดยผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ครูเป็นผู้จัดทำขึ้น จากนั้นครูจะนำสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาใช้ทำกิจกรรมในชั้นเรียน  โดยครูมีหน้าที่คอยให้คำแนะนำและตั้งคำถามให้นักเรียนได้ร่วมกันแก้ปัญหา  แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านมักจะถูกเรียกว่า “เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน” ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนจึงสามารถช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดเพิ่มมากขึ้น 

            จากปัญหาดังกล่าวมานี้  ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาชีววิทยาด้วยบทเรียนออนไลน์ Google classroom ในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการศึกษาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อจัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุก ( Active  Learning) ขึ้นในชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่และทุกเวลา  ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ  ปรับตัวเข้ากับสังคมโลกปัจจุบันได้



ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาชีววิทยาด้วยบทเรียนออนไลน์ Google classroom ในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการศึกษาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

             ผลงานวิจัย เรื่องพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาชีววิทยาด้วยบทเรียนออนไลน์ Google classroom ในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการศึกษาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

บทคัดย่อ.docx.pdf