1.6 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์

ข้าพเจ้าคิดค้น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และนำผลการศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ มาใช้แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สูงขึ้น และเป็นแบบอย่างที่ดี ใน การศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ดังนี้

-วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากทุกหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างปีการศึกษา 2562-2564 เพื่อหาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ นำหน่วยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุดมาเป็นจุดพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดย

- กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จเป็นเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ     - ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้                - สร้างสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี

- ออกแบบการวัดและประเมินผล                         - นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน                            - สรุปผลการจัดการเรียนรู้

- เปรียบเทียบผลการเรียนรู้กับตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้            - เขียนรายงานผลการพัฒนา

    จากการวิเคราะห์ รายวิชาชีววิทยา  (ว31241) หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง  การศึกษาชีววิทยา  ในส่วนการศึกษาชีววิทยาและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมสะเต็มศึกษาและกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม จะใช้การ เรียนการสอนแบบผสมผสาน คือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ครูและนักเรียนไม่ได้เผชิญหน้ากัน หรือการใช้ แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วอย่างหลากหลาย ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นสำคัญ
ส่วนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) เป็นรูปแบบการเรียนการ สอนโดยเปลี่ยนการสอนแบบเดิมจากครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้จะต้องศึกษาหาความรู้จากนอกห้องเรียนด้วยตนเองโดยผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ครูเป็นผู้จัดทำขึ้น จากนั้นครูจะนำสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้มาใช้ทำกิจกรรมในชั้นเรียน โดยครูมีหน้าที่คอยให้คำแนะนำและตั้งคำถามให้นักเรียนได้ร่วมกันแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยรูปแบบการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านมักจะถูกเรียกว่า “เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน” ซึ่งจะทำให้ เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนจึงสามารถช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะการคิดเพิ่มมากขึ้น สามารถกำหนดปัญหาที่เกิดในชีวิตประจำวัน และสามารถใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กิจกรรมสะเต็มศึกษาและกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ในการแก้ปัญหานั้น ๆ อย่างมีเหตุผล

ครูผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้สร้างบทเรียนออนไลน์ Google classroom วางแผนการสอน เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แบบ  5 E 
หาสื่อ เทคโนโลยี มาใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ใช้วิธีการสอนแบบ Active  Learnning

จากปัญหาดังกล่าวจึงทำวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาชีววิทยาด้วยบทเรียนออนไลน์ Google classroom ในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการศึกษาชีววิทยา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4