1.6 ศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์

ข้าพเจ้าคิดค้น วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และนำผลการศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ มาใช้แก้ไขปัญหา หรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้สูงขึ้น และเป็นแบบอย่างที่ดี ใน การศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อแก้ไขปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้ดังนี้

-วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากทุกหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างปีการศึกษา 2563-2564 เพื่อหา
สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ นำหน่วยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุดมาเป็นจุดพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดย

- กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จเป็นเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ     - ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และเขียนแผนการจัดการเรียนรู้             
- สร้างสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี

- ออกแบบการวัดและประเมินผล                         - นำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน                          
- สรุปผลการจัดการเรียนรู้

- เปรียบเทียบผลการเรียนรู้กับตัวชี้วัดความสำเร็จที่กำหนดไว้            - เขียนรายงานผลการพัฒนา

               วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญในชีวิตของเรา เนื่องจากวิทยาศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่าง ๆ รวมถึงยังมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ดังนั้นทุกคนจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งเป็นกระบวนการในงานด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของคนและสังคมในปัจจุบัน

           จากผลการศึกษาของผู้เรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ผู้เรียนยังไม่มีทักษะกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ โดยส่วนใหญ่จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ค่อนข้างต่ำนักเรียนขาดทักษะกระบวนการในการแก้ปัญหา การคิดวิเคราะห์ รวมถึงกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ ซึ่งปัญหาและสาเหตุที่สำคัญอาจจะมาจากการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนมีการใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม มีการสอนแบบเน้นย้ำให้จำเนื้อหา จึงมักจะสอนให้นักเรียนจดบันทึกและท่องจำมากกว่าการทดลองหรือการลงมือทำด้วยตนเอง จึงทำให้นักเรียนบางส่วนที่มีการเรียนรู้ในระดับปานกลางหรือระดับต่ำไม่สนใจในการเรียนมีความเบื่อหน่ายในรายวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” ปีการศึกษา 2564 ที่อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะการเรียนการสอนรายวิชาชีววิทยาในเนื้อหาเรื่องการศึกษาพันธุกรรมของเมนเดล ที่มีเนื้อหาส่วนมากเป็นการแก้โจทย์ปัญหาและการออกข้อสอบในสอบ O-net และ pat 2 แต่ละปีจะมีจำนวนข้อสอบออกมากกว่าเนื้อหาอื่น  และที่ผ่านมานักเรียนส่วนมากมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำกว่าที่ควรจะได้รับ

             นอกจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนแล้ว การจัดสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเรียนการสอนชีววิทยา ในปัจจุบันการเรียนการสอนชีววิทยาประสบปัญหาการขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน (ยุพิน พิพิธกุล,2524;ดิเรก สมฤทธิ์, 2532;ฮวด บุญประเสริฐ,2532) และยังขาดแคลนครูที่สามารถพัฒนาตนเองในการใช้และผลิตสื่อการเรียนการสอน ขาดความมั่นใจในการใช้สื่อ และมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องกับการใช้สื่อการเรียนการสอน(ศิลปากร,2533) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นสำหรับเนื้อหาการแก้โจทย์ปัญหาชีววิทยา ควรเป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น โดยให้นักเรียนได้เรียนจากการผสมผสานสื่อการเรียนการสอนหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ ที่เรียกว่า สื่อประสม (Multi-Media) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่อำนวยประโยชน์ต่อครูและนักเรียน ช่วยแบ่งเบาภาระการสอนของครู และยังช่วยเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียน เพราะเป็นการใช้สื่อประเภทต่าง ๆ มาใช้ร่วมกันเพื่อสนองจุดมุ่งหมายของการสอนโดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน สถานที่เรียน ระยะเวลาหรือช่วงเวลาที่กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ (วาสนา ชาวหา,2533,หน้า 15) นอกจากนี้ ยังทำให้นักเรียนสามารถบรรลุจุดประสงค์ของการเรียน ซึ่งจากผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้สื่อประสมของนักการศึกษาหลายท่าน พบว่านักเรียนที่เรียนจากสื่อประสมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ยุพา พัฒนนิพัทธ์,พฤษภา กลีบแก้ว,2530;ลัดดา  ศรีทอง.2534; ศรีวรรณ ดำรงโกวรรณ,2537)


               จากปัญหาการเรียนการสอนวิชาชีววิทยา เรื่องการศึกษาพันธุกรรมของเมนเดล ปัญหาการขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบต่าง ๆ และคุณค่าของสื่อประสมดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชาชีววิทยา เรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งผลการศึกษาจะเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาต่อไป

ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชาชีววิทยา
              เรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 

             ผลงานวิจัย เรื่องผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชาชีววิทยา
                  เรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  

บทคัดย่อ.docx.pdf