เรื่องที่ 3 

บุญคุณของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์




3.1 สมัยสุโขทัย

          อาณาจักรสุโขทัย เป็นสมัยที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงรัชสมัยของพระองค์มั่นคงมาก ได้ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญทั้งด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ปรัชญาพระพุทธศาสนา 

การประดิษฐ์อักษรไทย และอื่น ๆ

สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช https://sites.google.com/site/phanthicha477/bth-thi-2-bukhkhl-sakhay-smay-sukhothay/2-phxkhun-ramkhahaeng-mharach

http://onlyyoutoo.blogspot.com/2017/05/blog-post_23.html



ด้านการเมืองการปกครอง

          พระองค์ทรงใช้รูปแบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูก คือ พระองค์ทรงดูแลเอาใจใส่ในทุกข์สุขของราษฎรเหมือนพระองค์เป็นพ่อ ส่วนราษฎรหรือไพร่ฟ้า คือ ลูก เมื่อราษฎรมีเรื่องเดือดร้อนก็ทรงให้สั่นกระดิ่งที่หน้าประตูวัง แล้วพระองค์ก็จะเสด็จออกมารับฟังเรื่องราว และทรงตัดสินปัญหาด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ทรงทำสงครามขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในสมัยสุโขทัย


ด้านเศรษฐกิจ

          พระองค์ทรงโปรดให้สร้างทำนบกักเก็บน้ำที่เรียกว่า ทำนบพระร่วง หรือ สรีดภงค์ เพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และพระองค์ทรงให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการค้าขายได้อย่างมีอิสระเสรี ไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่านจากราษฎร ที่เรียกว่า จังกอบ ทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวาง และทรงโปรดให้สร้างเตาเผาเครื่องสังคโลกเป็นจำนวนมาก เพื่อผลิตสินค้าออกไปขายยังดินแดนใกล้เคียง


ด้านศิลปวัฒนธรรม

          พระองค์ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยที่เรียกว่า ลายสือไทย และได้มีการพัฒนามาเป็นลำดับจนถึงอักษรไทยในปัจจุบัน ทำให้คนไทยมีอักษรไทยใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยโปรดให้จารึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยลงบนศิลา เมื่อ พ.ศ. 1826 เรียกว่า ศิลาจารึกหลักที่ 1

สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)

https://sites.google.com/site/anatsayaboorapanoey/phra-mha-thrrm-racha-thi-1-li-thi

https://teen.mthai.com/variety/50894.html

      


    

   ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงรวบรวมราชอาณาจักรสุโขทัยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และขยายพระราชอำนาจออกไประหว่างแควจำปาสักกับแม่น้ำปิงจนจรดแม่น้ำน่านทางทิศเหนือมาไว้ในราชอาณาจักรสุโขทัย


ด้านศาสนา

       ทรงมีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงและเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ ได้ส่งพระสงฆ์ออกไปเผยแผ่ พระพุทธศาสนายังที่ต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงใหม่ พิษณุโลก อยุธยา และหลวงพระบาง ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระเจดีย์เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกุฏ ซึ่งอยู่นอกเมืองสุโขทัย โปรดให้สร้างวัดป่ามะม่วง (สุโขทัย) ทรงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดเท่ากับองค์พระพุทธเจ้า ถวายพระนามว่า พระศรีศากยมุนี ประดิษฐานที่พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุโขทัย


ด้านภาษาและวรรณคดี

        ทรงมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ดังมีหลักฐานปรากฏในหนังสือไตรภูมิพระร่วงว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท) ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งยังดำรงพระยศพระมหาอุปราช ครองเมืองศรีสัชนาลัย หนังสือไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณคดีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร จ.สุโขทัย http://www.dhammathai.org/watthai/north/watphrasri-sukhothai.php

3.2 สมัยอยุธยา

       สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ทรงตั้งกรุงศรีอยุธยา ณ ชัยภูมิที่เอื้ออำนวยทั้งในด้านความปลอดภัยจากข้าศึกและความอยู่ดีกินดีของชาวอยุธยา พื้นที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม

 บุญคุณของพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาที่มีต่อประเทศในสมัยอยุธยา ดังนี้

1. ทรงปฏิรูปการปกครอง โดยทรงรวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลาง คือ ราชธานี และแยกฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือนออกจากกัน การแต่งตั้งตำแหน่งข้าราชการให้มีบรรดาศักดิ์ตามลำดับจากต่ำสุดไปสูงสุด คือ ทนาย พัน หมื่น ขุน พระ พระยา และเจ้าพระยา มีกำหนดศักดินาเพื่อเป็นค่าตอบแทนการรับราชการ ทรงตั้งกฎมณเฑียรบาลขึ้นเป็นกฎหมายสำหรับการปกครอง

2. ทรงประกาศใช้กฎหมายลักษณะสำคัญ คือ กฎหมายศักดินา เป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่มูลนายและไพร่

3. โปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งหนังสือมหาชาติคำหลวง นับว่าเป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่องแรกของกรุงศรีอยุธยา และเป็นวรรณคดีที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาภาษาและวรรณคดีของไทย พร้อมทั้งสร้างวัดจุฬามณี

4. ทรงรวมอาณาจักรสุโขทัยเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยาโดยสมบูรณ์

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g297922-d8646933-i193495175-Ratchapak_Park-Hua_Hin_Prachuap_Khiri_Khan_Province.html


    

ตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงกอบกู้กรุงศรีอยุธยาจากพม่า และได้ทำสงครามกับอริราชศัตรูทั้งพม่าและเขมร จนราชอาณาจักรไทยเป็นปึกแผ่นมั่นคง ขยายดินแดนได้อย่างกว้างขวางบุญคุณของพระองค์ที่มีต่อประเทศชาติในด้านต่าง ๆ ดังนี้


ด้านการเมืองการปกครอง

      พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการปกครองหัวเมืองใหญ่เป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบเมืองพระยามหานคร ยกเลิกให้เจ้านายไปปกครองเมืองเหล่านี้ แล้วให้ขุนนางไปปกครองแทน จัดหัวเมืองตามความสำคัญและขนาดเป็น เอก โท ตรี จัตวา


ด้านการค้าขาย

 ทรงส่งทูตไปประเทศจีนเพื่อรับรองฐานะกษัตริย์ของพระองค์และติดต่อค้าขายกับประเทศจีน ขยายการค้าไปประเทศสเปน

สงครามยุทธหัตถี 

https://th.tripadvisor.com/LocationPhotoDirectLink-g297922-d8646933-i193495175-Ratchapak_Park-Hua_Hin_Prachuap_Khiri_Khan_Province.html

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

https://www.tnews.co.th/variety/514986


  


 พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมาก ทำให้กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระองค์ มีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การต่างประเทศ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่องเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ จนได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของวรรณคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยา

        ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีชาวตะวันตกเดินทางเข้ามาติดต่อค้าขาย เผยแผ่ศาสนา ตลอดจนเข้ารับราชการ ทำให้ชาวตะวันตกยอมรับนับถือกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างมาก

         ในด้านการค้าขาย ได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งกว่าในรัชสมัยอื่น ๆ ทั้งฮอลันดา ฝรั่งเศส และอังกฤษ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ต่อเรือกำปั่นหลวง เพื่อทำการค้าขายกับต่างประเทศ จึงทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับต่างประเทศ มีเศรษฐกิจรุ่งเรือง มีรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเป็นจำนวนมาก


3.3 สมัยธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช http://lakmuangonline.com/?p=2785

 



สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์มีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ คือ การรวบรวมกำลังไว้ต่อสู้กับพม่า สร้างความเป็นปึกแผ่นของพระราชอาณาจักรบุญคุณของพระองค์ที่มีต่อประเทศชาติในด้านต่าง ๆ

  ด้านเศรษฐกิจ

  เมื่อเศรษฐกิจของบ้านเมืองอยู่ในภาวะตกต่ำ ทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี โดยสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าต่างเมือง

  ด้านวรรณกรรม

  ทรงสนพระทัยด้านวรรณกรรม ทรงนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองดังแต่ก่อน

นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นนักรบและนักปกครองชั้นดีเยี่ยม มีคุณลักษณะผู้นำอยู่เต็มตัว ทั้งในยามคับขันและยามปกติ

3.4 สมัยรัตนโกสินทร์

 https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/176575.html


  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีไปยังที่แห่งใหม่ซึ่งอยู่คนละฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อ พ.ศ. 2325 ต่อมาได้พระราชทานนามว่า กรุงรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน

  การสร้างพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระองค์โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน

  ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศ มาเป็นการค้ากับชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดของชาติ เนื่องจากทรงตระหนักถึงภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยม ซึ่งกำลังคุกคามประเทศต่าง ๆ อยู่ในขณะนั้น

  จุดเริ่มของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ คือ การทำสนธิสัญญาเบาว์ริง กับอังกฤษ ใน พ.ศ. 2398 โดยพระนางเจ้าวิกตอเรียได้แต่งตั้งให้ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เป็นราชทูตเข้ามาเจรจา

สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบาว์ริง มีดังนี้

1. อังกฤษขอตั้งสถานกงสุลในประเทศไทย

2. คนอังกฤษมีสิทธิเช่าที่ดินในประเทศไทยได้

3. คนอังกฤษสามารถสร้างโบสถ์ และสามารถเผยแพร่ศาสนาคริสต์ได้

4. เก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3

5. พ่อค้าอังกฤษและพ่อค้าไทยมีสิทธิค้าขายกันได้โดยเสรี

6. สินค้าต้องห้าม ได้แก่ ข้าว ปลา เกลือ

7. ถ้าไทยทำสนธิสัญญากับประเทศอื่น ๆ ที่มีผลประโยชน์เหนือประเทศอังกฤษ จะต้องทำให้อังกฤษด้วย

8. สนธิสัญญานี้จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ จนกว่าจะใช้แล้ว 10 ปี และในการแก้ไขต้องยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่ายและต้อบอกล่วงหน้า 1 ปี


ผลจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลง ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

1. ด้านการปกครอง

รัชกาลที่ 4 ทรงแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณี คือ เปิดโอกาสให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้โดยสะดวกให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีการ้องทุกข์ได้ในขณะที่ทรงเสด็จพระราชดำเนิน

รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลงสถานะของไพร่ให้เป็นพลเมืองปลดปล่อยทาส

ซึ่งนำไปสู่การเลิกทาส และปฏิรูปการศึกษาโดยการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัดสำหรับราษฎร

รัชกาลที่ 6 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ โปรดให้ใช้พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชทางราชการ แทนรัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เปลี่ยนแปลงการนับเวลาทางราชการ ให้สอดคล้องกับสากลนิยม โปรดให้กำหนดคำนำหน้าชื่อเด็กหญิง เด็กชาย นางสาว และ นาง เปลี่ยนแปลงธงประจำชาติ จากธงรูปช้างเผือก มาเป็นธงไตรรงค์ตรากฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ ตามแบบประเทศยุโรป


2. การปฏิรูปกฎหมายและการศาล

รัชกาลที่ 4 ทรงตรากฎหมายขึ้นหลายฉบับ เพื่อให้ทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพบ้านเมือง เช่น กฎหมายเกี่ยวกับมรดก สินสมรส ฯลฯ

รัชกาลที่ 5 การปฏิรูปกฎหมายและการศาลครั้งสำคัญ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมาย) เป็นกำลังสำคัญ ผลการปฏิรูปกฎหมายและการศาล มีดังนี้

1. โรงเรียนสอนวิชากฎหมาย

2. ตรากฎหมายฉบับใหม่และทันสมัยที่สุด คือ กฎหมายลักษณะอาญา

3. จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น

รัชกาลที่ 6 โปรดให้ปฏิรูป กรมร่างกฎหมายเพิ่มเติม เป็นต้น


3. ด้านเศรษฐกิจ

ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว การค้าของไทยเจริญก้าวหน้าขึ้นมากทำให้มีการปรับปรุงด้านเศรษฐกิจ ดังนี้

รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงมาเป็นเงินเหรียญ และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย

รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนมาตราเงินไทยมาใช้ระบบทศนิยมกำหนดให้ 1 บาท มี 100 สตางค์ สร้างเหรียญสตางค์ทำด้วยทองขาว และเหรียญทองแดง และได้โปรดเกล้าฯ ได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้ โดยตราพระราชบัญญัติธนบัตร ร.ศ. 121 (พ.ศ. 2445) และตั้งกรมธนบัตรขึ้น สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ นอกจากนี้ยังประกาศใช้พระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2451) โดยใช้ทองคำเป็นมาตรฐานเงินตราแทนเงิน และได้ประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง เหรียญ เฟื้อง เบี้ยทองแดงต่าง ๆ เบี้ยสตางค์ทองขาว โดยให้ใช้เหรียญบาท สลึง และเหรียญสตางค์อย่างใหม่แทน และขุดคลอง ตัดถนนเพิ่มขึ้นหลายสาย

รัชกาลที่ 6 โปรดตั้งคลังออมสินขึ้น (ปัจจุบัน คือ ธนาคารออมสิน)


4. ด้านการศึกษา

รัชกาลที่ 4 ตั้งโรงเรียนชายขึ้นที่ตำบลสำเหร่ และโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง

รัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูปการศึกษาขึ้น คือ โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบและโรงเรียนวัดมหรรณพาราม (แห่งแรก) ได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เพื่อรับผิดชอบในด้านการศึกษา และยังได้พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงอีกด้วย

รัชกาลที่ 6 มีดังนี้

1. ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาขึ้นใช้ในปี พ.ศ. 2464

2. ให้เรียกเก็บเงิน “ศึกษาพลี” จากราษฎรเพื่อบำรุงการศึกษาท้องถิ่น

3. ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นเป็นแห่งแรก คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


5. ด้านศาสนา

  รัชกาลที่ 4 ทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักษณะการปกครองสงฆ์เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้ปกครองสูงสุด มีมหาเถรสมาคมให้คำปรึกษา และโปรดให้สร้างวัดขึ้นหลายแห่ง เช่น วัดโสมนัสวิหาร วัดราชประดิษฐ์ 

วัดปทุมวนาราม

 รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชกรณียกิจที่สำคัญ คือ โปรดให้จัดตั้งสถานศึกษาสำหรับพระสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง ซึ่งต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์ หรือมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา มีการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก คือ

1. มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ที่วัดมหาธาตุฯ เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย การให้บริการด้านการศึกษา เช่นเดียวมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย)

2. มหามงกุฎราชวิทยาลัย อยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย (ปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย การให้บริการด้านการศึกษา เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)


6. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี

รัชกาลที่ 4 ทรงประกาศให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า ทรงให้เสรีภาพประชาชน ในการนับถือศาสนา การประกอบอาชีพ โปรดให้สตรีได้ยกฐานะให้สูงขึ้น

รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการสวมเสื้อราชปะแตน และสวมหมวกอย่างยุโรป ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบตามแบบตะวันตก โปรดให้ผู้ชายในราชสำนัก ไว้ผมทรงมหาดไทย เปลี่ยนมาไว้ผมตัดยาวทั้งศีรษะแบบฝรั่ง โปรดให้ผู้หญิงเลิกไว้ผมปีก ให้ไว้ผมตัดยาว ที่เรียกว่า “ทรงดอกกระทุ่ม”


7. ด้านศิลปกรรม

รัชกาลที่ 4 เริ่มมีการก่อสร้างแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสราญรมย์ พระนครคีรี ที่เพชรบุรี ด้านจิตรกรรม ได้แก่ ภาพเขียนฝาผนังในพระอุโบสถ และวิหารวัดบวรนิเวศวิหาร จิตรกรเอกในสมัยนี้ ได้แก่ ขรัวอินโข่ง ซึ่งเริ่มเขียนภาพแบบสามมิติ ตามแบบตะวันตก เป็นบุคคลแรก

รัชกาลที่ 5 สถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลแบบตะวันตกมากขึ้น ประติมากรรม ได้แก่ พระพุทธชินราชจำลอง พระบรมรูปหล่อพระมหากษัตริย์ 4 รัชกาล พระราชนิพนธ์ที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน

รัชกาลที่ 6 มีการก่อสร้างตามแบบไทย ได้แก่ หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย การก่อสร้างแบบตะวันตก เช่น พระราชวังสนามจันทร์

ด้านจิตรกรรม ได้แก่ ภาพเขียนที่ฝาผนังวิหารทิศ ที่จังหวัดนครปฐม การก่อสร้างพระพุทธรูป เช่น พระแก้วมรกตน้อย

ด้านดนตรี และการแสดงละคร มีความรุ่งเรืองมาก มีการแสดงละครเพิ่มขึ้น หลายประเภท เช่น ละครร้อง ละครพูด

ด้านวรรณคดี ได้มีพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง เช่น เวนิสวาณิช ฯลฯ ได้มีการก่อตั้งวรรณคดีสโมสรขึ้นด้วย

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งสำคัญที่สุดของไทย คือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ซึ่งถือว่าเป็นบุญคุณอันใหญ่หลวงที่พระมหากษัตริย์ได้ทำเพื่อประชาชนของพระองค์

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9)

https://sites.google.com/site/jarassrioat3289/10-phra-rach-krniykic-xan-dod-den-ni-phrabath-smdec-phraceaxyuhaw-rachkal-thi-9

พระมหาชนก https://www.tnews.co.th/headshot/375885

    

       

    พระองค์มีพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาที่สำคัญ คือ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง ทรงตระหนักว่าปัญหาเกษตรกรมาจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ถูกทำลายจำนวนมาก ทรงคิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขด้วยการพัฒนาที่ดำเนินการได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของความเป็นอยู่ และระบบนิเวศในแต่ละภูมิภาค พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติมาตลอดรัชสมัยเป็นที่ยอมรับ ทรงสร้างรูปแบบที่เป็นตัวอย่างของการพัฒนาแบบยั่งยืน ผสมผสานความต้องการของราษฎรให้เข้ากับการประกอบอาชีพ โดยทรงนำพระราชดำริมาปฏิบัติจริง และสามารถพัฒนาให้เป็นทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นระบบการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ทำให้เกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยทรงเน้นคนเป็นศูนย์กลางตลอดมา พระองค์เป็นต้นแบบการบริหารจัดการที่ดีในทุกพระราชภารกิจ ในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ทรงเกื้อหนุนการบริหารราชการทุกรัฐบาล แนวพระราชดำริจำนวนมากที่พระราชทานให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติล้วนมีจุดมุ่งหมายให้ประชาชนชาวไทยมีความสุข ได้รับบริการจากรัฐอย่างทั่วถึง เข้าถึงทรัพยากรของชาติอย่างเท่าเทียมกัน

    แนวพระราชดำริด้านการเกษตรที่สำคัญ คือ “ทฤษฎีใหม่” เป็นการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    พ.ศ. 2540 ประเทศไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) พระราชทานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่ราษฎร เป็นผลให้เกิดการพัฒนาสังคมและทรัพยากรบุคคลอย่างมั่นคง ยั่งยืน และสงบสุข ซึ่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในรัชสมัยของพระองค์มีทั้งสิ้นมากกว่า 4,000 โครงการ อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)

  นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตร์สาขาต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทั้งสิ้น ทั้งในด้านการประดิษฐ์ ได้แก่ การประดิษฐ์ “กังหันชัยพัฒนา” ซึ่งเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย

    ด้านวรรณศิลป์ พระองค์ทรงเชี่ยวชาญในภาษาหลายภาษา ทรงพระราชนิพนธ์บทความ แปลหนังสือ เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระมหาชนก และพระมหาชนกฉบับการ์ตูน เป็นต้น งานทางด้านดนตรี พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมากและรอบรู้ในเรื่องการดนตรีเป็นอย่างดี พระองค์ทรงดนตรีได้หลายชนิด เช่น แซ็กโซโฟน คลาริเน็ต ทรัมเป็ต กีตาร์ และเปียโน พระองค์ยังได้ประพันธ์เพลงที่มีความหมายและไพเราะหลายเพลงด้วยกัน เช่น เพลงพระราชนิพนธ์แสงเทียน เป็นเพลงแรก นอกจากนี้ยังมีเพลงสายฝน ยามเย็น ใกล้รุ่ง ลมหนาว ยิ้มสู้ สายลม ค่ำแล้ว ไกลกังวล ความฝันอันสูงสุด เราสู้ และเพลงพรปีใหม่ เป็นต้น 

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร (รัชกาลที่ 10)

   พระราชกรณียกิจของพระองค์ที่สำคัญ เช่น พระองค์ทรงใส่พระราชหฤทัยในการส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนไทย โดยทรงรับโรงเรียนหลายแห่งไว้ในพระราชูปถัมภ์ เนื่องจากทรงตระหนักว่า การศึกษาจะสามารถพัฒนาเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ทรงมีพระราชดำริด้านการส่งเสริมการศึกษา ได้แก่ “โครงการทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน

   นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงห่วงใยและทรงคำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นสำคัญ และพระองค์มีพระราชปณิธานแน่วแน่ ที่จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวพระราชดำริต่าง ๆ ในการบำบัดทุกข์และบำรุงสุขให้ประชาชนและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์ ร่วมกับหน่วยราชการต่าง ๆ และประชาชนทุกหมู่เหล่าที่มีจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชน ปัญหาการจราจร และอื่น ๆ เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงห่วงใยปัญหาน้ำท่วมและปัญหาการจราจรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนาสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ในชุมชนให้มีสภาพที่ดีขึ้น

    ดังนั้น โครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” โครงการในพระราชดำริ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ปลุกจิตสำนึกในการทำความดี ปลูกฝังให้คนทุกเพศทุกวัย ได้ตื่นตัวในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคม ชุมชน และประเทศชาติ


โครงการทุนการศึกษาพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10

https://campus.campus-star.com/variety/22572.html

โครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ”

https://bangpla.go.th/2019/05/16