เรื่องที่ 2 

บทสรุปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจของคนในชาติ

บทสรุปสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมใจของคนในชาติ 


สถาบันพระมหากษัตริย์มีความสำคัญและผูกพันกับสังคมไทย และคนไทยมาตลอดประวัติศาสตร์ของประเทศ ในฐานะที่เป็นปัจจัยแห่งความมั่นคงที่ทรงนำพาประเทศชาติให้อยู่รอดปลอดภัยตลอดมา เป็นศูนย์รวมความรัก ความสามัคคีของคนในชาติมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทย มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสัญลักษณ์ของการดำรงอยู่ของชาติไทยมาต่อเนื่อง สังคมไทยให้ความสำคัญกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นสถาบันทางสังคม ที่เข้มแข็งยืนยง ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาความเป็นไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภารมาจนถึงปัจจุบัน สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเสาหลักที่สำคัญของสังคมไทย ในทุก ๆ ด้าน เป็นสมบัติล้ำค่าที่ชาวไทยทุกคนจะต้องร่วมกันปกป้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์คงอยู่ตลอดไป พระมหากษัตริย์ไทยทรงครองราชย์ป้องเมือง ทำนุบำรุงบ้านเมือง ทำนุบำรุงสุข ศาสนา และสังคมมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าประเทศไทยจะมีรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย แต่สถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นที่เคารพสักการะจากประชาชนมากเช่นเดิม ไม่มีเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน จนถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ก็ยังคงมีความเป็นห่วงราษฎรในทุกเรื่อง โดยเฉพาะด้านการศึกษา ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งในด้านการศึกษาโดยเน้นให้การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน การสร้างทัศนคติที่ถูกต้อง (อุปนิสัย) ที่มั่นคงเข้มแข็ง การสอนให้มีอาชีพ มีงานทำ รวมถึงการทำให้เยาวชนมีความสนใจ และเข้าใจในเรื่องของสถาบันพระมหากษัตริย์และประวัติศาสตร์ชาติไทยได้อย่างถูกต้อง

สถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยเป็นศูนย์รวมใจชาวไทยที่สืบทอดมายาวนานหลายศตวรรษ เป็นวัฒนธรรมการปกครองที่มีความสำคัญ บ่งบอกถึงแนวคิด ความเชื่อ และความหมายของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่หลอมรวมจิตใจชาวไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสร้างสรรค์ให้เกิดความผาสุกของสังคมโดยรวมได้ วัฒนธรรมการปกครองระบบกษัตริย์ของประเทศไทยจึงมีความผูกพันอย่างแนบแน่นต่อสังคมไทยมาแต่อดีตจนปัจจุบัน แนวคิดที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ปกครองที่มีคุณลักษณะพิเศษนั้นสืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมความเชื่อทางศาสนา ซึ่งพัฒนาและผสมผสานมาจากแนวคิดหลักต่าง ๆ 3 ประการ คือ ประการแรก เป็นแนวคิดพราหมณ์ฮินดูซึ่งถือว่าผู้ที่ดำรงตำแหน่งกษัตริย์คือองค์อวตารของพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ฮินดูซึ่งมีหน้าที่หลักในการธำรงไว้ซึ่งความผาสุกของโลกมนุษย์ เป็นแนวคิดเบื้องต้นเมื่อชาวไทยรับคติความเชื่อพราหมณ์ฮินดูเข้ามา ประการที่สอง เป็นแนวคิดของพระพุทธศาสนา ซึ่งนอกจากความเชื่อเรื่องบุญกรรมที่ส่งให้เป็นผู้มีบารมีแล้ว ยังมีความเชื่อว่าองค์พระมหากษัตริย์ทรงมีสถานะเป็นพระพุทธเจ้าและเป็นเทพ แนวคิดเรื่องเทพทางพระพุทธศาสนานี้แตกต่างจากศาสนาพราหมณ์ฮินดู ในคัมภีร์จักรวาฬทีปนีซึ่ง เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2063 อธิบายว่า “พระราชาพระเทวีพระกุมารชื่อว่าสมมติเทพ,เทพที่อยู่ณ ภาคพื้นดินและที่สูงกว่านั้นชื่อว่าอุปบัติเทพ,พระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพชื่อว่า “พระวิสุทธิเทพ” พระมหากษัตริย์ในสังคมไทยทรงมีลักษณะของเทพ 3 ประเภทนี้ คือ สมมติเทพ อุปบัติเทพ และวิสุทธิเทพอยู่ในองค์เดียว ทั้งนี้ได้รวมเอาเทพชั้นสูงในศาสนาพราหมณ์ฮินดูเข้าไว้ด้วย ดังที่สะท้อนให้เห็นจากแนวคิดเรื่องสมมติเทพหรือสมมติเทวดา และในบริบทแวดล้อมอื่น ๆนอกจากนั้น พระมหากษัตริย์ไทยยังทรงเป็นมหาสมมติราช ขัตติยะ และราชา ดังปรากฏคำอธิบายในหนังสือไตรภูมิพระร่วงของพระเจ้าลิไทซึ่งแต่งขึ้นในสมัยสุโขทัยว่า “อันเรียกชื่อมหา สมมติราชนั้นไซร้เพราะว่าคนทั้งหลายย่อมตั้งท่านเป็นใหญ่แล อันเรียกชื่อขัตติยะนั้นไซร้เพราะว่าคนทั้งหลายให้แบ่งปันไร่นาเข้าน้ำแก่คนทั้งหลายแล อันเรียกชื่อว่าราชานั้นเพราะท่านนั้นถูกเนื้อ พึงใจคนทั้งหลายแล” ส่วนในโลกทีปสารแต่งโดยพระสังฆราชเมธังกร ซึ่งเป็นครูของพระเจ้าลิไทยกล่าวว่า “นามราชาเพราะปกครองบุคคลอื่น ๆ โดยธรรมโดยเที่ยงธรรม” ประการที่สาม แนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างบิดา - บุตร อันเป็นแนวคิดพื้นเมืองดั้งเดิมที่เน้นความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครอง ซึ่งต่างไปจากสังคมที่มีวรรณะ นับได้ว่าเป็นความเข้มแข็งของวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริย์ของไทยที่สามารถดำรงสืบต่อมาได้จนปัจจุบัน แนวคิดทั้ง 3 ประการนี้แสดงคติความเชื่อเรื่องสถานะขององค์พระมหากษัตริย์ที่ผสมผสานกัน พระมหากษัตริย์ไทยนับแต่อดีตมิได้ทรงดำรงพระองค์เป็นเฉพาะองค์อวตารแห่งพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์ฮินดูหรือเป็นผู้บำเพ็ญบุญบารมีเฉพาะพระองค์แต่ยังทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ เช่นเดียวกับบิดาผู้ดูแลบุตรด้วย พระราชภาระหลักของพระมหากษัตริย์อันเป็นพื้นฐานตามคติพราหมณ์ฮินดูมี 4 ประการ คือ 1) พระราชทานความยุติธรรมอันเป็นระเบียบสากลของผู้ปกครองหรือผู้นำที่จะต้องสร้างหรือออกกฎหมายเพื่อให้เกิดความยุติธรรม 2) ทรงรักษาความยุติธรรมนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด 3) ทรงรักษาพระศาสนาและประชาชน 4) ทรงสร้างความผาสุกแก่ประชาชน นอกจากนั้นพระมหากษัตริย์ยังทรงดำรงหลักราชธรรมในพระพุทธศาสนา ได้แก่ ทศพิธราชธรรม 10 ประการ สังคหวัตถุ 4 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ เมื่อประสานกับลักษณะวัฒนธรรมการปกครองแบบบิดา - บุตรแล้วจึงเป็นเหตุให้พระมหากษัตริย์ในประเทศไทยมีพระราชสถานะอันสูงส่งควรแก่การยกย่องสรรเสริญยิ่ง ในสมัยกรุงสุโขทัย ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมาก พระมหากษัตริย์ทรงดูแลทุกข์สุขของประชาชนดังบิดาดูแลบุตร ดังปรากฏบันทึกในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่สำคัญมากก็คือวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริย์นั้นเป็นการปกครองโดยมีมนุษยธรรม จารึกสุโขทัยหลักที่ 38 วัดพระมหาธาตุ - วัดสระศรีพุทธศักราช 1940 ว่า พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย “จักใคร่ขัดพระราชสีมานี้ดังมนุษยธรรม(อย่าง)พระยารามราช” คือ กษัตริย์ในกรุงสุโขทัยได้ปกครองประชาชนอย่างมีมนุษยธรรมเช่นเดียวกับพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเอาพระราชหฤทัยใส่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ดังปรากฏหลักมนุษยธรรมในไตรภูมิ พระร่วงว่า “รู้จักผิดแลชอบแลรู้จักที่อันเป็นบาปแลบุญแลรู้จักประโยชน์ในชั่วนี้ชั่วหน้าแลรู้จักกลัวแก่บาปแลละอายแก่บาปรู้จักว่ายากว่าง่ายแลรู้รักพี่รักน้องแลรู้เอ็นดูกรุณาต่อผู้เข็ญใจแลรู้ยำเกรง พ่อแม่ผู้เถ้าผู้แก่สมณพราหมณาจารย์อันอยู่ในสิกขาบทของพระพุทธเจ้าทุกเมื่อและรู้จักคุณแก้ว 3 ประการ” อันแสดงให้เห็นความผูกพันระหว่างกษัตริย์ในฐานะของบิดา - บุตร ในการสอนให้ทำความดี ให้รู้จักบาปบุญและหลักธรรมต่าง ๆในสมัยอยุธยา พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เมื่อมีคติความคิดเกี่ยวกับสมมติเทวราชมาผสมผสาน พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้า ดังปรากฏพระนามของ พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยา เช่น สมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระรามราชา สมเด็จพระอินทรราชา สมเด็จพระเอกาทศรถ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นทั้งพระนามของเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูและเทพเจ้าในความเชื่อพื้นถิ่นทั้งสิ้น นอกจากนั้นพระราชกรณียกิจทั้งปวงของพระเจ้าแผ่นดินดังที่ปรากฏในพระราชพิธี 12 เดือน หรือที่ตราไว้ในกฎมณเฑียรบาลก็ดีล้วนเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมการปกครองในระบบกษัตริย์ของอยุธยานั้น ยังคงสืบทอดมาจากแบบฉบับของกรุงสุโขทัยที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบิดา - บุตร แม้บันทึกของชาวต่างชาติ เช่น ลาลูแบร์หรือแชร์แวสก็ยังระบุว่า การลงโทษขุนนางในราชสำนักนั้น “เสมอด้วยบิดากระทำแก่บุตรและมิได้ทรงลงอาญาอย่างตระลาการที่ใจเหี้ยมหรือเจ้าขุนมูลนายที่เอาแต่โทสจริตได้กระทำแก่ทาส” ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์วัฒนธรรมการปกครองในระบบเดิมยังสืบทอด และธำรงไว้ได้เป็นอย่างดีในการสร้างความเป็นปึกแผ่นของบ้านเมืองและการสร้างขวัญกำลังใจให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ดังแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภกยอยกวรพุทธศาสนา ป้องกันขอบขัณฑเสมา รักษาประชาชนแลมนตรี” หรือคติ “พระมหาสมมุติราช” ซึ่งรวมความเป็นพระราชามหากษัตริย์ก็ได้ปรากฏชัดเจนในประกาศพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชใน พ.ศ. 2328 ว่า “พรรณพฤกษาชลธี แลสิ่งของในแผ่นดินทั่วเขตพระนครซึ่งหาผู้หวงแหนมิได้นั้นตามแต่สมณชีพราหมณา จารย์ราษฎร์ ปรารถนาเถิด” แนวคิดดังกล่าวยังได้สืบต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนที่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสากลก็คือพระมหากษัตริย์ทรงสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทรงเรียนรู้ ศิลปวิทยาต่างๆ และทรงเข้าถึงประชาชนมากขึ้น อนึ่ง ตั้งแต่ในรัชกาลที่ 4 เริ่มมีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงและยอมรับฐานะแห่ง “มหาชนนิกรสโมสรสมมติ”มากขึ้น และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งจำเป็น ดังเช่น ความตอนหนึ่งในประกาศเรื่องดาวหางปีระกาตรีศกว่า“พระเจ้าแผ่นดินคนทั้งปวงยกย่องไว้เป็นที่พึ่ง ใครมีทุกข์ร้อนถ้อยความประการใดก็ย่อมมาร้องให้ช่วยดังหนึ่งทารกเมื่อมีเหตุแล้วก็มาร้องหาบิดามารดาเพราะฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่าคนทั้งปวงยกย่องให้เป็นบิดามารดาของตัวแล้วก็มีความกรุณาแก่คนทั้งปวง ดังหนึ่งบิดามารดากรุณาแก่บุตรจริง ๆ โดยสุจริต”

พระราชกรณียกิจพระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ ๔ https://sites.google.com/site/prawti00011/phra-rach-krniykic-r-4

พระราชกรณียกิจ….สำคัญของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

https://www.tvpoolonline.com/content/244230

นอกจากนั้นการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช ได้เสด็จธุดงค์ตามหัวเมืองต่าง ๆ ก็ยิ่งเป็นการสร้างความผูกพันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนอีกด้วย เพราะได้ทรงรู้จักวิถีชีวิตของราษฎรอย่างแท้จริง ในรัชกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงได้รับการยอมรับจากขุนนางทั้งปวงอย่าง “อเนกนิกรสโมสรสมมติ” ที่ทั้งพระสงฆ์ พระราชวงศ์ และขุนนางเห็นพ้องกันให้พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ ตลอดเวลาที่ผ่านมานับแต่สมัยสุโขทัยแม้จะมีการเปลี่ยนแผ่นดินหรือมีการเปลี่ยนราชวงศ์แต่แนวคิดระบบการปกครองแบบกษัตริย์ที่เคยมีมานั้นหาได้เปลี่ยนไปด้วยไม่ ในระบอบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจผ่านกระบวนการ 3 องค์กร คือ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ เสมือนผู้แบ่งเบาพระราชภาระของพระองค์ แต่พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงมีพระมหากรุณา พระราชทานพระบรมราโชวาทสั่งสอน ชี้นำแนวทางการดำเนินชีวิตที่ถูกที่ควร มีศีลธรรมกำกับ ทั้งทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้คนไทยจึงยังคงมีความผูกพันกับองค์พระมหากษัตริย์มากเช่นเดิม คนไทยมีคำเอ่ยพระนามพระมหากษัตริย์อยู่หลายคำที่บ่งบอกความรู้สึก ยกย่องเทิดทูนและผูกพันต่อพระองค์เช่นคำว่าพระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัว เจ้าชีวิต ทั้ง 3 คำนี้มีนัยสำคัญดังนี้ พระเจ้าแผ่นดิน ตามรูปศัพท์ หมายถึง ผู้ปกครองที่เป็นเจ้าของแผ่นดิน คือ ผู้นำที่มีสิทธิ์ขาดในกิจการของแผ่นดิน และสามารถพระราชทานที่ดินให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งได้แต่ในสังคมไทย พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินผู้ทรงบำรุงรักษาแผ่นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ที่ดินในพระราชอาณาเขตของพระองค์ให้เกิดประโยชน์ เช่น ทำการเพาะปลูกให้ได้ผล ตลอดจนเอาพระราชหฤทัยใส่ในการบำรุงแผ่นดินให้มีความอุดมสมบูรณ์อยู่เป็นนิจ ดังที่ปรากฏเป็นโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ และเป็นที่ประจักษ์ในสากลว่าพระเจ้าแผ่นดินไทยทรงงานหนักที่สุดในโลก และทรงรักประชาชนของพระองค์อย่างแท้จริง พระเจ้าอยู่หัวเป็นคำเรียก พระเจ้าแผ่นดินที่แสดงความเคารพเทิดทูนอย่างสูงสุดและเป็นยอดของมงคลทั้งปวง พระเจ้าอยู่หัวหรือพระพุทธเจ้าอยู่หัว หมายถึง การยอมรับพระราชสถานะของพระเจ้าแผ่นดินว่าทรงเป็นองค์พระพุทธเจ้า ดังนั้น จึงทรงเป็นที่รวมของความเป็นมงคล สิ่งของต่าง ๆ ที่พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พิธีกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นโดยพระบรมราชโองการ และการได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท หรือได้เห็นพระเจ้าอยู่หัว จึงล้วนแต่เป็นมงคลทั้งสิ้น เจ้าชีวิต เป็นคำเรียกพระเจ้าแผ่นดินที่แสดงพระราชอำนาจเหนือชีวิตคนทั้งปวงที่อยู่ในพระราชอาณาเขต คำคำนี้อาจหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงสิทธิ์ในการปกป้องคุ้มครองชีวิตประชาชนให้พ้นภัย วิบัติทั้งปวง หรือลงทัณฑ์ผู้กระทำผิดต่อพระราชกำหนดกฎหมาย ตลอดจนทรงชุบชีวิตข้าแผ่นดิน ให้มีความสุขล่วงความทุกข์ ทั้งนี้สุดแต่พระเมตตาพระกรุณาธิคุณอันเป็นล้นพ้นของพระองค์ แต่ในสังคมไทยปัจจุบันนั้น คำว่า เจ้าชีวิต หมายถึงพระเจ้าแผ่นดินผู้พระราชทานกำเนิดแนวคิดโครงการต่าง ๆ แก่ประชาชน โดยมิได้ทรงใช้พระราชอำนาจล่วงไปเกินขอบเขตแห่งราชนีติธรรม แต่ทรงดำรงธรรมะ เป็นองค์ประกอบในการตัดสินวินิจฉัยเรื่องทั้งหลายทั้งปวงด้วย นอกจากนั้นยังปรากฏในคำที่ประชาชนเรียกแทนตนเองว่าข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งว่าพระมหากษัตริย์ หรือพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระเจ้าอยู่หัว หรือเจ้าชีวิตนั้น เป็นเสมือนหนึ่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ประชาชนทุกคนต่างได้พึ่งพระบารมีอยู่เป็นนิจเหมือนอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร กล่าวได้ว่าวัฒนธรรมการปกครองของสังคมไทยแม้จะมีความเปลี่ยนแปลงผ่านยุคสมัยต่าง ๆ ก็ยังคงรักษาแนวคิดเดิมคือความสัมพันธ์อันใกล้ชิดเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน และศาสนาไว้ได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด “พระราชาก็ยังเป็นกำลังของคนทุกข์ยาก” ซึ่งได้ทรงสงเคราะห์โดยทั่วทุกชนชั้นวรรณะให้เกิดความผาสุกอยู่เป็นนิจ ตรงตามหลักมนุษยธรรมในไตรภูมิพระร่วงดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นอย่างไม่เสื่อมคลาย และทรงเป็นศูนย์รวมความจงรักภักดีของคนไทยตลอดไป (มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี, 2554 : พระราชนิพนธ์คำนำ)