เทศกาลโคมแสนดวง
ภาพโดย : งานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองลำพูน
เมื่อกล่าวถึงประเพณียี่เป็ง คงจะนึกถึง "โคม" ซึ่งเป็น อัตลักษณ์ของล้านนาเป็นสิ่งที่ชาวล้านนา ใช้สำหรับจุดไฟให้แสงสว่างสืบทอดกันมาแต่โบราณ ในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ โคม นั้นแฝงไปด้วยเรื่องราวของวิถีชีวิตของชาวล้านนา ในวัฒนธรรมชาวล้านนา ในวัฒนธรรมชาวล้านนา โคม เป็นมากกว่าสิ่งของที่ถูกคิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้งานในการช่วยกำบังไฟที่จุดส่องสว่าง แต่ยังควบคู่กับเรื่องราววิถีชีวิต ความศรัทธา ความเชื่อ จารีตประเพณีของชาวล้านนา ที่สั่งสมส่งต่อยังรุ่นสู่รุ่น เกิดเป็นงานศิลปหัตถกรรมโคมล้านนาที่มีความงดงาม ประณีต ชาวล้านนาจุดโคมเพื่อเป็นพุทธบูชา เทพารักษ์ ทำให้บ้านมีแสงสว่าง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป
แต่ ปัจจุบัน ชาวล้านนานิยมนำมาใช้ เป็นเครื่องบูชา เครื่องประดับตบแต่งสถานที่ทั้งทางศาสนา โดยเฉพาะงานประเพณียี่เป็ง นิยมจุดโคมค้าง หรือโคมที่ติดแขวนไว้บนที่สูง ทำด้วยไม้ไผ่และ กระดาษ สร้างเป็นโคมทรงกลมหักมุมเรียกว่า โคมแปดเหลี่ยม เพื่อให้แสงสว่างในยามค่ำคืน และเพื่อใช้สำหรับบูชาพระพุทธเจ้าเชื่อว่าเป็นการบวงสรวงพระเกษแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค
ภาพโดย : งานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองลำพูน
ประเพณีแขวนโคมแสนดวง จังหวัดลำพูน ไม่แน่ชัดว่าถูกจัดขึ้นเมื่อใด ในทางความเชื่อเกี่ยวกับการถวายโคมจะทำเมื่อหลังออกพรรษาใกล้กับเทศกาลยี่เป็ง หรืองานลอยกระทงของทางภาคเหนือนั่นเองสำหรับประเพณีการแขวนโคมของภาคเหนือก็เพื่อบูชาไฟ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เราเคารพนับถือเสมือนให้ไฟช่วยนำทางสว่างและให้โคมช่วยป้องกันมิให้ไฟในโคมนั้นดับเปรียบดั่งมีสิ่งคุ้มครองผู้แขวนบูชานั่นเอง
ภาพโดย : งานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองลำพูน
ภาพโดย : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง
งานเทศกาลโคมแสนดวง จังหวัดลำพูน เป็นหนึ่งในกิจกรรมของงานประเพณีลอยกระทงของจังหวัดลำพูน จัดขึ้นทุกปีระหว่างเดือนตุลาคมไปจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยเทศกาลแขวนโคมของจังหวัดลำพูน จัดขึ้นที่วัดพระธาตุหริภุญชัยมหาวรวิหาร และลานอนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี ในบริเวณงานจะได้เห็นโคมไฟแบบล้านนานับร้อยที่ถูกแขวนประดับรอบอุโบสถและองค์พระธาตุ และทั่วบริเวณลานอนุสาวรีย์เจ้าแม่จามเทวี สามารถชม ความสวยงามและถ่ายภาพได้ตลอดทั้งวันจนถึงช่วงกลางคืน ซึ่งทางวัดจะเริ่มเปิดไฟตั้งแต่เวลา 6 โมงเย็นเป็นต้นไป
สถานที่ตั้ง
ข้อมูลเนื้อหา : พระปลัดจตุพร วชิรญาโณ.(2562)."โคม: แนวคิด ประวัติศาสตร์ และกระบวนการสร้าง อัตลักษณ์วัฒนธรรมพระพุทธศาสนาแบบล้านนา" วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(1),31-45
รวบรวม/เรียบเรียง : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง บรรณารักษ์อัตราจ้าง
ภาพประกอบ : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง บรรณารักษ์อัตราจ้าง
และ งานพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เทศบาลเมืองลำพูน