พระบฏ จิตรกรรมบนผืนผ้า

          หลายคนคงเคยเห็นภาพเขียน หรือภาพวาดบนผืนผ้า ที่ปรากฎตามวัดหรือพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่เรียกว่า  พระบฏ ซึ่งพระบฏ คือ ผืนผ้าที่มีรูปพระพุทธเจ้า และแขวนไว้เพื่อบูชา คำว่า บฏ มาจากคำในภาษาบาลีว่า ปฏ (อ่านว่า ปะ-ตะ) แปลว่า ผ้าทอ หรือ ผืนผ้า ส่วนมากเป็นผ้าแถบยาว มีวาดภาพพระพุทธเจ้า นิยมแขวนไว้ในสถานที่จัดพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใช้แทนที่พระพุทธรูป เพื่อเป็นที่เคารพบูชา ในล้านนาเรียกกันว่า  “ตุงค่าว” หรือ ตุงค่าวธรรม ในประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น เทศน์มหาชาติ เเละตั้งธรรมหลวง เป็นต้น 

ภาพจาก : สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  ความหมายของ “ภาพตุงค่าว”   และ  “ผ้าพระเวส”

คือผ้าพระบฏรูปแบบหนึ่งที่เขียนเล่าเรื่องในเวสสันดรชาดก มีจำนวน 13 - 28 ผืน ตามเนื้อเรื่องในแต่ละกัณฑ์ของเวสสันดรชาดก ที่มีทั้งหมด 13 กัณฑ์ คือ ทศพร หิมพานต์ ทานกัณฑ์ วนประเวศ ชูชก    จุลพน มหาพน กุมาร มัทรี สักกบรรพ มหาราช ฉกษัตริย์ และนครกัณฑ์ เป็นกัณฑ์สุดท้าย ใช้แขวนภายในวิหารหรือศาลาการเปรียญในพิธีเทศน์มหาชาติ

ในภาคเหนือเรียกว่า “ภาพตุงค่าว” เพราะเป็นภาพประกอบการเทศนาธรรมในพิธีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) ส่วนภาคอีสาน  เรียกว่า “ผ้าพระเวส” ใช้ประกอบการเทศน์มหาชาติในงาน “บุญเผวส”  เช่นเดียวกัน

             พระบฏมีพัฒนาการด้านทัศนศิลป์มาตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ซึ่งสังเกตได้จากรูปแบบของลวดลายบนพระบฏ กล่าวคือ ลวดลายยุคก่อนมักเน้นที่การเขียนรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนตรงกลางเพียงองค์เดียว จากนั้นก็พัฒนาเพิ่มรายละเอียดต่าง ๆ มากขึ้น สามารถจำแนกพระบฏเป็น 5 แบบ ดังนี้ 

          นอกจากรูปแบบของพระบฏแล้ว วัสดุในการวาดเขียนพระบฏก็มีพัฒนาการมาโดยตลอดเช่นกัน นั้นคือ “สี” ในยุคแรก ๆ จะใช้ “สีฝุ่น” ที่มาจากแร่ หิน โลหะ มาใช้ในการเขียนลวดลาย ซึ่งมีเพียงไม่กี่สีเท่านั้น คือ สีดำจากเขม่า สีขาวจากฝุ่นขาว สีแดงจากดินแดง สีเหลืองจากดินเหลือง  เมื่อวิทยาการของมนุษย์เจริญการหน้ามากขึ้นก็ได้มีการพัฒนาสีอื่น ๆ ขึ้นมาใช้อีก เช่น สีรงค์จากยางไม้รงค์ สีเหลืองหรดาลได้จากแร่หรดาล สีเหลืองจากตะกั่ว สีแดงชาด สีแดงลิ้นจี่ สีขาวจากออกไซด์ของตะกั่ว เป็นต้น

          ในสมัยรัชกาลที่ 5 สีฝุ่นเริ่มหายากช่างจิตรกรจึงนิยมหันไปใช้สีผสมจากต่างประเทศมากขึ้น มีสีสำเร็จรูปส่งมาจากต่างประเทศ เช่น สีเขียวตั้งแชจากเมืองจีน สีเขียวชินศรีจากตะวันตก และสีเขียวจากหินขี้นกการะเวก

ภาพพระบฏในวัดพระยืน กัณฑ์ที่ 7 กัณฑ์มหาพล

ภาพจาก : หอภาพถ่ายล้านนา

ภาพพระบฏในวัดพระยืน กัณฑ์ที่ 11  กัณฑ์มหาราช

ภาพจาก : หอภาพถ่ายล้านนา

ภาพพระบฏในวัดพระยืน กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์

ภาพจาก : หอภาพถ่ายล้านนา

  วัดพระยืนหนึ่งในวัดเก่าแก่สำคัญของจังหวัดลำพูน มีการเก็บรักษาปูชนียวัตถุไว้อย่างมากมาย หนึ่งในนั้นก็คือผ้าพระบฏ ซึ่งภาพดังกล่าวถูกเขียนขึ้นราวสมัยปลายรัชกาลที่ 5 ต่อต้นรัชกาลที่ 6 มีจำนวน 25 ผืน เขียนพระพุทธประวัติเรื่อง “มหาเวสสันดรชาดก” แบ่งเป็น 13 กัณฑ์ และมีการเก็บรักษาพระบฏไวเ้ป็นอย่างดี มีไว้ใช้ประกอบการเทศน์มหาชาติตามปกติจะม้วนเก็บไว้และเมื่อถึงเวลาจะใช้ประกอบการเทศน์จึงจะนำออกมาแขวน ภาพพระบฏชุดนี้มีคุณค่าทางประวัตศาสตร์ของท้องถิ่น เนื่องจากช่างได้เขียนเรื่องราวความเป็นอยู่ในขณะนั้นลงไปด้วย ทั้งรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม การแต่งกายรวมถึงวิถัชีวิตของคนในยุคนั้น จึงกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นต่อไปได้ศึกษาในแง่มุมต่างๆ

ภาพถ่ายโดย : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง

ภาพพระบฏกัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ในวัดพระยืน

ภาพถ่ายโดย : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง

ภาพพระบฏกัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ในวัดพระยืน

ภาพถ่ายโดย : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง

ภาพถ่ายโดย : นางสาวสุภาณี  รอดเกลี้ยง

สถานที่ตั้ง วัดพระยืน 

ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านพระยืน หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำกวง

ข้อมูลเนื้อหา :    ฐาปนีย์ เครือระยา.(2563).  ผ้าพระบฏ. ค้นจาก https://art-culture.cmu.ac.th/Lanna/articleDetail/1273

                            ทีมงานคนล้านนา.(2566). มหาเวสสันดรชาดก “ภาพพระบฏวัดพระยืน”.   

                                        ค้นจาก    https://konlanna.com/contents/read/1945.                                                                                

                            หอภาพถ่ายล้านนา.(2562). ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน.

                           ค้นจาก https://cmhop.org/product-category/lamphun/phra-yuen-temple/lamphun-phra-yuen-temple-phrabot/

รวบรวม/เรียบเรียง : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง บรรณารักษ์อัตราจ้าง

ภาพถ่าย : นางสาวสุภาณี รอดเกลี้ยง บรรณารักษ์อัตราจ้าง

                    หอภาพถ่ายล้านนา.(2562). ภาพเขียนจิตรกรรมบนผืนผ้า (พระบฏ) วัดพระยืน.

                     ค้นจาก https://cmhop.org/product-category/lamphun/phra-yuen-temple/lamphun-phra-yuen-temple-phrabot/