เรื่องที่ 2 องค์ประกอบการสร้างจิตพอเพียงด้านการทุจริต

หน่วยงานทุกภาคส่วนให้ความสำคัญในการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ประกอบหลักการด้านการทุจริตต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานคิดจิตพอเพียงด้านการทุจริตให้เป็นพื้นฐานความคิดของแต่ละบุคคล โดยรองศาสตราจารย์ดร.มาณีไชยธีรานุวัฒคิริ ได้คิดด้นโมเดล “STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริต”

เมื่อปี พ.ศ. 2560 ให้เกิดขึ้นในจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งมีองค์ประกอบของ STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริตดังนี้

1) S (Sufficient) : ความพอเพียง

2) T (Transparent) : ความโปร่งใส

3) R (Realize) : ความตื่นรู้

4) O (Onward) : มุ่งไปข้างหน้า

5) N (Knowledge) : ความรู้

6) G (Generosity) : ความเอื้ออาทร

ตามแผนภาพ “การประยุกต์หลักความพอเพียง ด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริต

จากแผนภาพ “การประยุกต์หลักความพอเพียง ด้วยโมเดล STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต”ให้เกิดขึ้นในจิตใจของแต่ละบุคคล มีรายละเอียด ดังนี้

1) ความพอเพียง (Sufficient : S) หมายถึง แต่ละบุคคลน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต กล่าวคือ ต้องมี ความพอประมาณ ในการกระทำสิ่งต่าง ๆ ให้ไม่มากไม่น้อยเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น มีเหตุผล กล่าวคือ สิ่งที่ตัดสินใจทำอย่างพอประมาณนั้น ต้องมีเหตุมีผลรองรับ รวมทั้งคำนึงถึงผลที่จะเกิดจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ และเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบที่เป็นความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็น ภูมิคุ้มกัน กล่าวคือ ให้สามารถรับมือและปรับตัวเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ โดยมีเงื่อนไขที่ฐานของการตัดสินใจว่าต้องมีความรู้ คือ รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวังและคุณธรรม คือ ซื่อสัตย์สุจริต ขยันอดทน สติปัญญา แบ่งปัน ตามแผนภาพปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2) ความโปร่งใส (Transparent : T) หมายถึง การที่ตัวเราต้องทำทุกเรื่องบนพื้นฐานของความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ตรงไปตรงมา ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดต่าง ๆที่มีในสังคม

ในฐานะที่ผู้เรียนเป็นสมาชิกของชุมชน สังคม และประเทศชาติ จึงควรประพฤติปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดต่าง ๆ ที่มีในสังคม ซึ่งการประพฤติปฏิบัติดังกล่าวถือว่ามีความถูกต้อง โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ ตรงไปตรงมา ส่งผลให้เป็นผู้ไม่กระทำการทุจริต หรือเป็นส่วนหนึ่งของการทุจริต และสามารถผลักดันให้เกิดความร่วมมือต้านทุจริตในสังคมได้

การทำอะไรไม่ตรงไปตรงมา พูดจาเชื่อถือไม่ได้ ไม่พูดความจริง โกหกเนือง ๆ จะทำให้คนอื่นไม่เชื่อถือ ส่งผลให้คนอื่นไม่ไว้ใจในการกระทำต่าง ๆ พฤติกรรมดังกล่าวมักจะเป็นเหตุของการกระทำทุจริต

3) ความตื่นรู้ (Realize : R) / ความรู้ (Knowledge : N) หมายถึง ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงรากเหง้าของปัญหาจากภัยร้ายแรงของผลกระทบที่เกิดจากการกระทำทุจริต ประพฤติมิชอบต่อสังคมในภาพรวม หากเกิดการทุจริตประพฤติมิชอบขึ้นมาแล้ว ก็ควรมีส่วนร่วมในการต้านทุจริตดังกล่าวด้วยเพื่อเป็นพลังให้คนอื่น ๆ ในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการไม่กระทำการทุจริต ร่วมเฝืาระวังและด้านการทุจริต

4) มุ่งไปข้างหน้า (Onward : O) เราทุกคนต้องมีความหวัง ร่วมสร้าง ปรับเปลี่ยนตัวเอง และส่วนรวมให้มีความเจริญก้าวหน้าบนฐานความโปร่งใส ความพอเพียง และร่วมกันสร้างวัฒนธรรมสุจริตให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างไม่ท้อ

5) ความเอื้ออาทร (Generosity: G) สังคมไทยเป็นสังคมที่ผู้คนมีความเอื้ออาทรต่อกัน ความเอื้ออาทรนี้จึงเป็นพลังที่เราสามารถนำมาใช้ในการกระตุ้นเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทุจริตให้เกิดขึ้นในสังคมดังพระราชดำรัสพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร (พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9) เพื่ออัญเชิญลงพิมพ์ในนิตยสารที่ระลึกครบ 36 ปี ของสโมสรไลออนส์กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2538 ว่า “สังคมใดก็ตามล้ามีความเอื้อเพีอเกื้อกูลกันด้วยความมุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน สังคมนั้นย่อมเต็มไปด้วยไมตรีจิต มิตรภาพ มีความร่มเย็นเป็นสุขน่าอยู่...”

6) ด้านการทุจริต ผู้เรียนเองต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของการทุจริต เช่น เมื่อเราทำผิดกฎจราจรและต้องเสียค่าปรับ เราควรไปเสียค่าปรับที่สถานีตำรวจตามจำนวนที่ภาครัฐเรียกเก็บ แทนการจ่ายเงินให้ตำรวจโดยตรงด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่า หรือเมื่อพบเห็นการกระทำทุจริตก็ควรมีส่วนร่วมในการด้านทุจริตผ่านSocial Media ซึ่งเราพบว่าปัจจุบันได้ผลในหลายเรื่อง