วิชา การป้องกันการทุจริต

สาระสำคัญ

ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564)ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตอันมีกลยุทธ์ว่าด้วยเรื่องของการปรับฐานความคิดทุกช่วงวัย ให้สามารถแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ส่งเสริมให้มีระบบและกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมเพื่อต้านทุจริต ประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือต้านทุจริต เสริมพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community) และบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อต่อต้านการทุจริต

ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โครงสร้างรายวิชาการป้องกันการทุจริต ซึ่งเป็นรายวิชาเลือก จึงได้จัดทำ สื่อการเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะให้แก่ผู้เรียน ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหา การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม โดยการคิดแยกแยะจากการใช้ระบบคิดฐานสองและกระบวนการคิดเป็น เพื่อให้มีความละอายและไม่ทนต่อการทุจริต สามารถปฏิบัติตนตามกฎกติกาต่าง ๆ มีการประยุกต์ใช้หลัก STRONG : จิตพอเพียงต้านการทุจริต และให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดีกับความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเคารพสิทธิ หน้าที่ต่อตนเองและผู้อื่น อยู่ในระเบียบ กฎกติกา และกฎหมาย

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม

  2. บอกความหมาย ความสำคัญของหลักการคิดเป็น

  3. สามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้โดยใช้กระบวนการคิดตามหลักปรัชญาคิดเป็น

  4. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริต

  5. ปฏิบัติตนเป็นผู้ละอายและไม่ทนต่อการทุจริตทุกรูปแบบโดยใช้กระบวนการคิดตามหลักปรัชญาคิดเป็น

  6. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริต โดยใช้กระบวนการคิดตามหลักปรัชญาคิดเป็น

  7. ปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ STRONG : จิตพอเพียงด้านการทุจริต โดยใช้กระบวนการคิดตามหลักปรัชญาคิดเป็น

  8. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคม

  9. ปฏิบัติตามหน้าที่พลเมือง และมีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยใช้กระบวนการคิดเป็นตามหลักปรัชญาคิดเป็นตระหนักและเห็นความสำคัญของการป้องกันการทุจริต

ขอบข่ายเนื้อหา