วัดวังหาด

ชื่อแหล่งเรียนรู้ วัดบ้านวังหาด

รหัสแหล่งเรียนรู้

สาขาคลังปัญญา ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี / ด้านศาสนา จริยธรรม

สาขาของแหล่งเรียนรู้ สาขาศาสนาและประเพณี

ข้อมูลพื้นฐาน รายบุคคล เจ้าของแหล่งเรียนรู้/บุคคลคลังปัญญา

ชื่อ วัดบ้านวังหาด

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ - หมู่ที่ 2 บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

รหัสไปรษณีย์ 64140 โทรศัพท์ 0639686387 0902861276 (นายสมบัติ องอาจ)

พิกัดทางภูมิศาสตร์ ค่า X 17.1917728 ค่า Y 99.385233

ความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

นายสมบัติ องอาจ อายุ 45 ปี อยู่บ้านเลขที่ 10/3 หมู่ที่ 2 ตำบลตลิ่งชันเล่าว่า ลุงตุ๊ ศรีมา ซึ่งเป็นพระครูสีมา วัดนาโปร่งใต้ อ.เถิน จ.ลำปาง ซึ่งเป็นครูบาที่ชาวบ้านวังหาดเคารพนับถือจึงเชิญท่านมาเป็นประธานในการออกแบบก่อสร้างพระวิหาร โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2518 ยกเดือนหกเหนือ เดือนสี่ใต้ ท่านชักชวนชาวบ้านมาร่วมกันสร้างโดยตกลงกันว่า 2 ครัวเรือนต้องช่วยกันบริจาค หรือหาเสามาก่อสร้างวิหาร 1 ต้น ซึ่งวิหารมีเสาทั้งหมด 24 ต้น เป็นทรงล้านนาหันหน้าไปด้านทิศตะวันออกของวัด ซึ่งตอนนั้นมีตุ๊หลวงเป็นผู้ดูแล ในการก่อสร้างพระวิหารจะใช้ความร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้านในการลากเสาเมื่อก่อนจะใช้เกวียนลาก ตุ๊ศรี มาได้ก่อสร้างวิหารเป็นรูปทรงวิหารไว้ และต่อมามีตุ๊ปู่อัด เป็นพระมาจากเชิงผา อ.ทุ่งเสลี่ยม มาสานงานต่อ โดยท่านเริ่มให้ชาวบ้านทำอิฐแดงขนาด 6x3 นิ้ว เพื่อนำมาใช้ก่อสร้างผนังวิหาร ส่วนการฉาบผนังวิหารนั้น ชาวบ้านจะนำหินอ่อนที่โด่ปู่โท๊ะ นำมาเผาที่เตาเผา วันไหนที่เผาหินอ่อนชาวบ้านถือเคล็ดว่าห้ามทะเลาะกัน ถ้าทะเลาะกันจะเป็นเหตุให้เผาหินไม่สุก การที่จะทราบว่าหิน ที่เผาสุกหรือไม่ให้สังเกตดูที่ปล่องไม้ที่เคลือบอิฐบาง ๆ พอจะดูก็กะเทาะ พอสุกแล้วก็ปิด (ประมาณ 3 วัน) แล้วนำหินอ่อนที่เผาแล้วมาผสมน้ำฉาบแทนปูน

จุดเด่นของแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น

เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมทางศาสนา กิจกรรมทางศาสนา ประตู หน้าต่างเป็นไม้แกะสลักเป็นวัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของชาวบ้าน ในอดีต ในการก่อสร้างศาลาวัด วิหารวัด และหอระฆัง ล้วนแล้วมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างก่อสร้าง

วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากแหล่งเรียนรู้ ซึ่งพื้นที่อื่นไม่มี ได้แก่

การก่อสร้างวัดวังหาดเป็นการสร้างด้วยความศรัทธาของชาวบ้านสมัยก่อนซึ่งไม่มีเครื่องมือด้านช่างที่อำนวยความสะดวกในการก่อสร้างเหมือนในปัจจุบัน

รายละเอียดของแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น (ลักษณะแหล่งเรียนรู้/รูปแบบ/วิธีการ/เทคนิคที่ใช้/ภาพถ่ายหรือภาพวาดประกอบ/พัฒนาการของผลิตภัณฑ์หรือผลงาน/กระบวนการสร้างแหล่งเรียนรู้/ลักษณะการใช้ประโยชน์จากแหล่งเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ฯลฯ)

เป็นสถานที่ยึดเหนียวจิตใจของชาวบ้าน สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา ปัจจุบันวัดวังหาดเป็นจุดการเรียนรู้บนเส้นทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนวังหาด มีนักสื่อความหมายที่มีความรู้ คอยให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน

รูปแบบและลักษณะการถ่ายทอด การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น (ที่สะท้อนความน่าเชื่อถือการยอมรับผ่านบุคคล/ชุมชน/องค์กร/รางวัล/ใบประกาศ/การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สื่อดิจิทัล/เอกสารเผยแพร่ แผ่พับ คลิป(VDO) ฯลฯ)

มีการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนและสื่ออื่นอย่างแพร่หลาย ได้แก่ เผยแพร่ผ่านเฟสบุ๊คแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด/ กศน.ตำบลตลิ่งชัน เผยแพร่ผ่านเพจ ชมรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนวังหาด/ เผยแพร่ผ่านยูทูป กศน.อำเภอบ้านด่านลานหอย

มีการศึกษาดูงานจากบุคคลภายนอก จำนวน 10 ครั้ง จำนวน 250 คน

ลักษณะของแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น การพัฒนาต่อยอดแหล่งเรียนรู้ให้เป็นนวัตกรรม คุณค่า (มูลค่า) และ ความภาคภูมิใจ

แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น เป็นสถานที่ยึดเหนียวจิตใจของชาวบ้าน สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ทางศาสนา มีนักสื่อความหมายที่มีความรู้ คอยให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน