การทอผ้าฝ้ายย้อมดิน

ชื่อภูมิปัญญา การทอผ้าฝ้ายพื้นเมือง

รหัสภูมิปัญญา

สาขาคลังปัญญา ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

สาขาของภูมิปัญญา สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

ข้อมูลพื้นฐาน รายบุคคล เจ้าของภูมปัญญาท้องถิ่น/บุคคลคลังปัญญา

ชื่อ นางจุ่ม นามสกุล สมหารวงศ์ วันเดือนปีเกิด - - 2498

ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 98 หมู่ที่ 2 บ้านวังหาด ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

รหัสไปรษณีย์ 64140 โทรศัพท์ -

พิกัดทางภูมิศาสตร์ ค่า X 17.1792378 ค่า Y 99.3885131

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

นางจุ่ม สมหารวงศ์ อายุ 64 ปี ผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าพื้นเมืองบ้านวังหาด อธิบายถึงการทอผ้าพื้นเมือง ดังนี้ การทอผ้าเริ่มต้นจากการปลูกฝ้ายใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน เก็บฝ้ายประมาณเดือนพฤศจิกายน หรือธันวาคม เมื่อเก็บดอกฝ้ายแล้วจะนำมาตากให้แห้งสนิท เก็บสิ่งสกปรกที่ติดมากับดอกฝ้ายให้หมดนำไปแยกเม็ดฝ้ายออกจากปุยฝ้าย เรียกว่า อิดฝ้าย หรือ อิ้วฝ้าย แล้วนำปุยฝ้ายไปดีดให้ปุยฝ้ายแตกตัวละเอียดฟู ด้วยแรงสั่นสะเทือนของสายดีด ซึ่งเรียกว่า กงดีดฝ้าย จากนั้นนำปุยฝ้ายที่ดีดจนเป็นปุยละเอียดดีแล้ว นำไปกลิ้ง หรือใช้ไม้ล้อคลึงบนแผ่นปุยฝ้ายที่วางอยู่บนกระดานล้อให้เป็นแท่งกลมยาวแล้วดึงไม้ล้อออก แท่งกลมยาวที่ล้อเสร็จแล้ว เรียกว่า ดิ้ว หลังจากนั้นนำไปปั่นให้เป็นเส้นใยโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เผี่ยน ที่มีสายพานเชือกโยงจากเผี่ยนไปปั่นเมื่อเต็มเหล็กในแล้วหมุนแกนเหล็กในเพื่อล้อฝ้ายให้เป็นเส้นใยพันม้วนอยู่กับแกนเหล็กในแล้วจึงจัดฝ้ายเข้าไม้ขาเปียเพื่อทำเป็นไจ หรือปอย โดยกะขนาดโดยประมาณ หลังจากนั้นจึงนำเส้นฝ้ายไปย้อมสีตามที่ต้องการแล้วนำมาชุบน้ำข้าวเพื่อให้ฝ้ายมีความเหนียวคงทนไม่ขาดง่าย จากนั้นจึงนำไปใส่กงเพื่อกวักเส้นด้ายแล้วนำมาปั่นหลอดแยกเส้นฝ้ายออกเป็น 2 จำพวก คือ เส้นยืน และเส้นพุ่ง เพื่อใช้ในการทอผ้า และด้ายไว้สำหรับผูกข้อมือทำพิธีต่าง ๆ

จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น

กรรมวิธีและขั้นตอนในการผลิตผ้าฝ้ายโดยเริ่มตั้งแต่การปลูกฝ้าย จนถึงกระบวนการทอฝ้ายเป็นผืน และกระบวนการนำดินมาย้อมผ้าฝ้าย จะได้สีที่เป็นธรรมชาติดูคลาสสิก

วัตถุดิบที่ใช้ประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากภูมิปัญญา ซึ่งพื้นที่อื่นไม่มี ได้แก่

ดินที่นำมาย้อมผ้าฝ้ายซึ่งเป็นดินที่ชาวบ้านเรียกว่าดินแดง และยังเป็นดินที่ใกล้กับแหล่งค้นพบโบราณวัตถุต่าง ๆ ในชุมชน ที่มีอายุนับพันปี หรือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์

รายละเอียดของภูมิปัญญาท้องถิ่น (ลักษณะภูมิปัญญา/รูปแบบ/วิธีการ/เทคนิคที่ใช้/ภาพถ่ายหรือภาพวาดประกอบ/พัฒนาการของผลิตภัณฑ์หรือผลงาน/กระบวนการสร้างภูมิปัญญา/ลักษณะการใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาที่เกิดขึ้น ฯลฯ)

นางจุ่ม สมหารวงศ์ สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ขั้นตอนในการผลิตผ้าฝ้ายได้ทุกขั้นตอน เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ย่าม หมอน ผ้าห่ม ผ้าพันคอ และที่นอน นำมาสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้

รูปแบบและลักษณะการถ่ายทอด การประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น (ที่สะท้อนความน่าเชื่อถือการยอมรับผ่านบุคคล/ชุมชน/องค์กร/รางวัล/ใบประกาศ/การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สื่อดิจิทัล/เอกสารเผยแพร่ แผ่นพับ คลิป(VDO) ฯลฯ)

มีการเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนและสื่ออื่นอย่างแพร่หลาย ได้แก่ เผยแพร่ผ่านเฟสบุ๊กแหล่งโบราณคดีบ้านวังหาด/ กศน.ตำบลตลิ่งชัน เผยแพร่ผ่านเพจ ชมรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนวังหาด/ผ้าฝ้ายย้อมดิน ถิ่นก่อนประวัติศาสตร์/ย่ามบ้านวังหาด งานฝีมือ แอ่วอ่างแม่รำพัน เผยแพร่ผ่านยูทูป กศน.อำเภอบ้านด่านลานหอย เผยแพร่ผ่านแผ่นพับ

ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับ ย่าม จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุโขทัย

ได้รับใบประกาศด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จาก สำนักงาน กศน.จังหวัดสุโขทัย

มีการศึกษาดูงานจากบุคคลภายนอก จำนวน 10 ครั้ง จำนวน 250 คน

ลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาให้เป็นนวัตกรรม คุณค่า (มูลค่า) และ ความภาคภูมิใจ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อ แม่ ซึ่งปัจจุบัน นางจุ่ม สมหารวงศ์ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้คนที่สนใจได้ และได้รับเชิญเป็นวิทยากรในการเผยแพร่จากหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ และนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในงานต่าง ๆ

รายละเอียดเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=ILqamiLtqfM

https://www.youtube.com/watch?v=wQfLZ-pWuUo

https://www.youtube.com/watch?v=SOgbI5bSWJw

https://www.youtube.com/watch?v=2bd27ha5Mf0

ถ่ายภาพบุคคล และอุปกรณ์/ เครื่องมือ/ สิ่งที่ประดิษฐ์ (ชิ้นงานหรือผลงาน) รูปภาพเจ้าของภูมิปัญญา (สามารถนำไฟล์รูปภาพมาบันทึกลงระบบคอมพิวเตอร์ได้)

ชื่อ – สกุลผู้บันทึกข้อมูล นายสมชาย นาโตนด เบอร์ติดต่อ/LineID 0910274071

หน่วยงาน/ สถานศึกษา กศน.อำเภอบ้านด่านลานหอย วันที่บันทึกข้อมูล 16 ธันวาคม 2562