เตาถลุงเหล็กที่ห้วยต้นไฮ

สถานที่ค้นพบเศษเตาถลุงเหล็กเด่นป่าเติง และ ห้วยต้นไฮ เป็นพื้นที่ราบเชิงเขา การขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพื้นที่เชิงเขาพบเศษตะกรันโลหะจำนวนหนึ่งสันนิษฐานว่าพื้นที่ดังกล่าวน่าจะมีการถลุงโลหะ ต่อมาในพุทธศักราช๒๕๕๙ ผู้เขียนได้สำรวจพื้นที่เทือกเขานี้เพิ่มเติมพบเตาถลุงบนที่ราบเชิงเขา ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ขุดค้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๗ ไปทางทิศตะวันออกเฉียง

เหนือประมาณ ๑.๘ กิโลเมตร พบกลุ่มเตาถลุงโลหะมีสภาพเหลือเพียงผนังเตาที่โผล่พ้นพื้นดินขึ้นมาเป็นแนวขอบวงกลมกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ ๑ เมตร

มากกว่า ๑๕ เตา ผนังเตาทำขึ้นจากดินเหนียวผสมกรวด ทราย และเศษหินในบริเวณแหล่ง ก่อนทำการปั้นขอบผนังเตา โดยมีเส้นริ้วยาวจากการใช้มือลูบ

ตกแต่งขอบเตาก่อนการถลุงเมื่อเผาเสร็จจึงทุบและเกลี่ยผนังเตา เศษตะกรัน (Iron Slag) ที่เกิดขึ้นจากการถลุงแต่ละครั้งโดยรอบพื้นที่ ซึ่งพบเศษตะกรัน

จำนวนมากกระจุกตัวเป็นชั้นหนารอบ ๆ เตาถลุง


ข้อมูลจาก นายธีรศักดิ์ ธนูศิลป์ นักโบราณคดี / วีดิทัศน์ นายสมชาย นาโตนด