ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ)  ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ในตำแหน่งครู (วิทยฐานะครูชำนาญการ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง คือ การแก้ไขปัญหา 

ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนแบบมีปฎิสัมพันธ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบสอนในรายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง พบว่า ครูผู้สอนจะดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ดำเนินการสอนควบคู่ไปกับการบรรยายโดยการเขียนกระดานและมีกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ทดลองคำนวนและฝึกปฎิบัติบ้างเล็กน้อย จึงทำให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนอยู่แค่ระดับรู้ จำ เข้าใจ ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงและขาดความกระตือรือร้นขณะเรียน เน้นการท่องจำหลักการเพื่อนำไปใช้ เนื่องจากเนื้อหาในหลักสูตรส่วนใหญ่จะเป็นการวิเคราะห์และคำนวณ ทำให้ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนค่อนข้างจำกัด ทำให้นักเรียนขาดแรงจูงใจในการเรียน เกิดความเบื่อหน่าย ขาดความเข้าใจในเนื้อหา แม้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมของวิชาเศรษฐศาสตร์ ของปีการศึกษา 2564 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.74 แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหน่วยการเรียนรู้ดังกล่าวต่ำกว่าเกณฑ์ที่ร้อยละ 78.74 และผู้เรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย นอกจากนี้แม้ผู้เรียนส่วนใหญ่จะสามารถเรียนรู้ได้อย่างปกติ แต่ผู้เรียนบางคนเกิดการไม่เข้าใจในเนื้อหา เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างเข้าใจยาก จากปัญหาดังกล่าวหากผู้เรียนไม่ได้รับการแก้ไขและพัฒนาจะทำให้เกิดปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียนอันจะส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ต่ำ และผู้เรียนมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ด้วย ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อยู่ในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ตั้งแต่ช่วงต้นปีพุทธศักราช 2563 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน แม้สถานการณ์เริ่มมีการคลี่คลายจนสามารถที่จะกลับมาจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ แต่ก็เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษาทั่วโลก ถึงแม้จะมีการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า Remote Learning หรือการจัดการศึกษาทางไกลที่หลากหลายรูปแบบ ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคลได้ ยกตัวอย่างเช่น ผลการสำรวจของนักเรียนโรงเรียนวัชรวิทยา มีเพียงแค่ 30 % เท่านั้นที่พร้อมสำหรับการเรียนออนไลน์ ส่วน ๗๐% พบว่าเข้าถึงไม่สะดวก หรือไม่สามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้ โดยมีเหตุผลเช่น ไม่มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือแท็ปเล็ต ไม่สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับเรียนออนไลน์ได้ และบางส่วนพ่อแม่ไม่รู้หนังสือ นอกเหนือจากตัวอย่างแล้ว ยังมีงานวิจัยมากมายพบว่าสิ่งที่เด็ก ๆ กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้เด็ก ๆ ในประเทศไทยเกิด ‘ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss)’ กล่าวคือ สิ่งที่ผู้เรียนควรที่จะได้เรียนรู้ หรือรู้แล้วตามระดับชั้นของตัวเอง แต่นักเรียนไม่รู้ เช่น นักเรียนเรียนอยู่ชั้น ม.4 แต่เขาไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามมาตรฐานในระดับของเขา หรือ อาจจะเป็นสิ่งนักเรียนเคยรู้แล้ว แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป และไม่ได้ไปโรงเรียนนาน ๆ นักเรียนกลับจำไม่ได้ หรือเด็กที่เคยช่วยเหลือตัวเองได้ กลับเริ่มทำอะไรไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งจากการประเมินโดยการทดสอบก่อนเรียนพบว่านักเรียนในภาพรวมมีคะแนนสอบที่น้อยลงอย่างชัดเจน แม้ในกลุ่มที่เป็นกลุ่มเก่ง การแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ คือทุกระดับชั้นจำเป็นต้องถอยตัวเองลงมารับเด็ก แล้วค่อย ๆ ยกระดับเด็กขึ้นไป เช่นเดียวกับการใช้เวลาช่วงปิดเทอมเพื่อสอนชดเชยให้เด็ก เนื่องจากมีเด็กจำนวนมากที่ผู้ปกครองไม่มีความสามารถที่จะส่งไปเรียนพิเศษ แต่เด็กต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คือ “เด็กในรุ่นที่โดนโควิด-19 จะมีทักษะต่ำกว่ารุ่นอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด” และสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น คือการพัฒนาประเทศที่ลดน้อยลง เนื่องจากทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพไม่ได้รับการดูแลช่วยเหลือตั้งแต่ต้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยสนใจการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บโดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านแบบสืบเสาะหาความรู้(Inquiry Based Approach) ของไบรอัน มิลเลอร์และใช้บทเรียนบนเว็บประเภทเว็บสนับสนุนรายวิชา (Web Supported Courses)มาร่วมในขั้นของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองลดระยะเวลาในการเรียนลง โดยนำเอาบทเรียนบนเว็บเข้ามาร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของข้อมูลสถานการณ์ในชีวิตจริงและเนื้อหาในบทเรียนนั้น เพื่อแก้ไขผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของผู้เรียนด้วยการเรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนแบบมีปฎิสัมพันธ์สำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บไซต์ เรื่อง ระบบเศรษฐกิจกับการกำหนดราคาและค่าจ้าง รายวิชา ส 32103 เศรษฐศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล


3. ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

  3.2 เชิงคุณภาพ