มะกรูด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Citrus hystrix DC. 


ชื่อเรียกในท้องถิ่น : มะขุน มะขูด มะหูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี โกรยเซียด มะขู 


ชนิดพืช : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก 

ลักษณะประจำพันธุ์: ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้้าตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสี เขียวเข้ม มีต่อมน้้ามันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลาย กิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผล เรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้้ามัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด 

การใช้ประโยชน์:

                การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้ว บีบน้้าสระโดยตรง บ้างก็น้ำไปเผา หรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีส้าคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่ง ระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อ การสระผมนั่นเอง และก็สามารถน้ำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน น้้ามะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่น ฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้้ามะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริก มะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอม ระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยาทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยาหอย ใส่ในแกง เช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่ มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขา