แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 6



1. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญที่ละครต้องมี

1 ตัวละคร

2 ผู้ชม

3 ฉาก

4 บทละคร



2. ประเทศไทยรับแบบแผนศิลปะการแสดงมาจากประเทศใด

1 อินเดีย

2 เกาหลี

3 อเมริกา

4 เขมร



3. ข้อใดไม่ใช่ที่มาของคำว่า ละคร

1 มาจากคำว่า ละคน ในภาษายาวี ซึ่งแปลว่า การแสดงบทบาทสมมุติของคน

2 มาจากคำว่า ละคร ของชวา หมายถึง เรื่องการเล่นละคอน

3 มาจากคำว่า ละโขน ในภาษาเขมร แปลว่า มหรสพอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน

4 มาจากคำว่า ละงันดริโย ซึ่งหมายความว่า ละครแบบหนึ่งของชวา



4. ข้อใดกล่าวถึงการละครในสมัยสุโขทัยได้ถูกต้อง

1 มีรูปแบบที่หลากหลาย เน้นความสนุกสนาน

2 นำรูปแบบศิลปะการแสดงของประเทศเพื่อนบ้านมาประยุกต์ใช้อย่างลงตัว

3 เน้นละครพูดเป็นหลัก

4 เป็นการละเล่นพื้นเมืองประเภทรำและระบำ



5. ในสมัยใด มีการนำคณะละครหลวงของเขมรและนำตำนานนาฏศิลป์ของเขมรเข้ามา

1 สมัยสุโขทัย

2 สมัยอยุธยา

3 สมัยธนบุรี

4 สมัยรัตนโกสินทร์

6. พระมหากษัตริย์องค์ใด เป็นผู้พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์

1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 2 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

3 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 4 พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช



7. พระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์พระองค์ใด ยกเลิกละครหลวงและโขนตลอดรัชกาล

1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



8. “วงปี่พาทย์วังบางขุนพรหม” เกิดขึ้นในสมัยใด

1 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

3 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 4 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



9. ในสมัยใดได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของการละครวรรณคดี

1 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

3 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 4 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



10. พระมหากษัตริย์พระองค์ใด ทรงโปรดเกล้าฯให้มีการบันทึกภาพยนตร์ส่วนพระองค์ และมีการจัดพิธีไหว้ครู

มอบท่ารำองค์พระพิราพให้แก่ศิลปินของกรมศิลปากร

1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 2 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

3 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล 4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช