โครงสร้างรายวิชา

หน่วยที่ 1 ดนตรีกับสังคมและวัฒนธรรม (เวลาเรียน 2 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : ดนตรีมีบทบาทและอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ มีองค์ประกอบของดนตรีต่างกันไปตาม วัฒนธรรม ในประเทศไทย วิวัฒนาการและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์มีอิทธิพลต่อรูปแบบของดนตรี


หน่วยที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย (เวลาเรียน 6 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : การเรียนรู้เรื่องดนตรีต้องอ่าน เขียน และร้องตามโน้ตไทย และโน้ตสากล ระบุปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี และสามารถบรรยายอารมณ์จากเพลง และความรู้สึกที่มีต่อ บทเพลงที่ฟัง


หน่วยที่ 3 ทักษะดนตรีไทย (เวลาเรียน 6 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : การขับร้องและบรรเลงดนตรีไทยทั้งเดี่ยว และรวมวงให้ถูกต้อง ไพเราะนั้น ผู้ขับร้องควรเข้าใจ หลักการเทคนิคของการขับร้องและหมั่นฝึกฝนปฏิบัติ และประเมินพัฒนาการทางทักษะดนตรี


หน่วยที่ 4 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีสากล (เวลาเรียน 6 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : การศึกษาเกี่ยวกับโน้ตสากล จะสามารถอ่าน เขียน ร้อง และบรรเลงตามโน้ตสากลได้อย่างถูกต้อง และการศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการ สร้างสรรค์งานดนตรี การถ่ายทอดเรื่องราวความคิดในบทเพลงจะช่วยให้สามารถเข้าใจอารมณ์ของแต่ละเพลงได้อย่างลึกซึ้ง


หน่วยที่ 5 ทักษะดนตรีสากล (เวลาเรียน 6 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : ทักษะดนตรีสากล ทั้งการร้องเพลง และเล่นดนตรีเดี่ยว และรวมวง ต้องฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และสามารถประเมินพัฒนาการทักษะทางด้านดนตรีของตนเองได้


หน่วยที่ 6 ดนตรีกับอาชีพทางดนตรี (เวลาเรียน 2 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : อาชีพทางดนตรีเป็นอาชีพที่สร้างความสุขให้กับสังคมดนตรี และบทบาทของดนตรีได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในธุรกิจบันเทิงต่างๆ


หน่วยที่ 7 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนาฏศิลป์ (เวลาเรียน 2 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : นาฏศิลป์เป็นศิลปะการแสดงที่มีหลักการและวิธีการสร้างสรรค์บูรณาการกับศิลปะแขนงอื่น และเชื่อมโยงการเรียนรู้กับสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้


หน่วยที่ 8 การแสดงนาฏศิลป์ไทยมาตรฐาน (เวลาเรียน 4 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : รำวงเป็นการรำที่ปรับปรุงขึ้นมาจากการเล่นรำโทนที่เป็นการรำร้องของชาวบ้าน ผู้รำมีทั้งผู้ชายและผู้หญิง รำกันเป็นคู่ ๆ เป็นรอบ ๆ รำกันเป็นวงกลม และเครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่ใช้ คือ โทน จึงเรียกว่า รำโทน มีลักษณะการรำที่ไม่เป็นแบบแผน มีการร้องเล่นง่าย ๆ เน้นความสนุกสนาน


หน่วยที่ 9 การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง (เวลาเรียน 4 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านจะมีลักษณะเฉพาะตามวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ผู้เรียนควรระบุและเปรียบเทียบได้


หน่วยที่ 10 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับละคร (เวลาเรียน 2 ชั่วโมง)

สาระสำคัญ : การสร้างสรรค์การแสดงต้องมีความรู้เรื่ององค์ประกอบนาฏศิลป์ และการละคร สามารถเชื่อมโยงความรู้ ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสาระการเรียนรู้อื่นๆ ได้