ใบความรู้ที่ 6.1 อาชีพที่เกี่ยวข้องกับดนตรี


ในการศึกษาเล่าเรียนในวิชาดนตรีนั้น ผู้เรียนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต ซึ่งมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับดนตรีอยู่หลายอาชีพ ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างความสุข ความบันเทิงให้กับคนในสังคมซึ่งอาชีพทางดนตรีที่เราควรรู้จักมีดังนี้


1. อาชีพนักแต่งเพลง

อาชีพนักแต่งเพลงนี้ ถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อ วงการดนตรีเป็นอย่างมากเพราะว่าเป็นผู้ที่สร้างสรรค์ผล งานเพลงให้กับนักร้องนักดนตรีได้ใช้ในการขับร้องและ บรรเลงดนตรี ซึ่งเป็นอาชีพที่จะต้องมีความรู้ในหลักของ ดุริยางคศิลป์ มีความสามารถทางด้านดนตรีขับร้องมีใจรักในการแต่งเพลง มีความคิดสร้างสรรค์ทั้งยังต้องมีพรสวรรค์ในการแต่งเพลง ซึ่งนักแต่งเพลงนี้จะได้ถ่ายทอดอารมณ์ต่างๆ ลงไปในบทเพลงเพื่อให้ผู้ฟังได้รับฟังและเกิดความซาบซึ้งสนุกสนาน นอกจากนี้ยังเป็นอาชีพที่ช่วยส่งเสริมให้ศิลปินหรือนักร้องและบทเพลงเป็นที่รู้จัก เป็นที่นิยมของคนในสังคมอีกด้วย

2. อาชีพนักดนตรี

เป็นอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถ ในการบรรเลงดนตรีเป็นอย่างดีเยี่ยมในการบรรเลงดนตรี โดย เฉพาะ ทั้งยังต้องมั่นฝึกซ้อมการบรรเลงดนตรีให้ดีและมีคุณภาพ ยิ่งๆขึ้นไปเพื่อความเจริญก้าวหน้าในการประกอบอาชีพทางดนตรี อาชีพนักดนตรีนี้สามารถสร้างความสุขความสนุกสนานความบันเทิงให้กับผู้ชมผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นการบรรเลงเป็นวงหรือบรรเลงเดี่ยวก็ตาม

3. อาชีพนักร้อ

ถือว่าเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญ ต่อวงการบันเทิง ซึ่งอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายในปัจจุบันสำหรับผู้ชมผู้ฟัง ซึ่งนักร้องอาชีพจะ ต้องมีบุคลิกลักษณะที่น่าสนใจ มีน้ำเสียงที่ไพเราะสามารถ ดึงดูดความสนใจของผู้ฟังให้คล้อยตามบทเพลงได้ อาชีพ นักร้องมีสถานที่ทำงานที่หลากหลาย เช่น ตามสถานบันเทิง ต่างๆ โรงละคร งานเสดงคอนเสิร์ตต่างๆ เป็นต้น

4. อาชีพนักจัดรายการเพลง

อาชีพนักจัดรายการเพลงหรืออาชีพดี.เจ. ซึ่งอาชีพนี้มีอิทธิพลต่อวงการบันเทิงมากอีกอาชีพหนึ่ง เพราะว่าเป็นอาชีพที่ช่วยส่งเสริมให้ผลงานเพลงเป็นที่รู้จักของผู้ฟัง ซึ่งคำว่า ดี.เจ. นี้ย่อมาจาก Disc Jockey หรือ D.J.ที่เรานิยมเรียกกันนั่นเอง ซึ่งอาชีพนี้มีสถานที่ทำงานได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นต่างๆ รายการโทรทัศน์ตามสถานีวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น

5. อาชีพผู้อำนวยการสร้างผลงานเพลง

อาชีพผู้อำนวยการสร้างสรรค์ผลงานเพลงนี้หรือที่เราทั่วไปนิยมเรียกอาชีพนี้ว่า “โปรดิวเซอร์” มีหน้าที่คอยอำนวยการสร้างผลงานต่างของศิลปิน มีหน้าที่คอยบริหารจัดการทางการตลาด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งของนักร้อง นักดนตรี ซึ่งโปรดิวเซอร์จะต้องกำหนดและวางแผนการตลาด เพื่อให้การผลิตผลงานของศิลปินนั้นออกมาอย่างมีคุณภาพและเป็นที่นิยม ที่น่าสนใจ น่าติดตามของคนในสังคม ซึ่งอาชีพโปรดิวเซอร์นี้จะทำงานอยู่ตามค่ายเพลงต่างๆ เช่น แกรมมี่ อาร์เอส อาร์สยาม เป็นต้น

6.อาชีพครูสอนดนตรีและขับร้อง

อาชีพนี้ถือว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีความสำคัญต่อวงการบันเทิงเพราะว่าครูสอนดนตรี ขับร้อง ถือว่าเป็นบุคคลแรกทีจุดประกายความฝันให้กับนักร้องนักดนตรีให้ก้าวเข้าสู่การเป็นนักร้องนักดนตรีอาชีพ ซึ่งเป็นอาชีพที่มีความสำคัญมากทีเดียวสำหรับวงการเพราะว่า นักร้องนักดนตรีจะขับร้องและบรรเลงดนตรีได้อย่างถูกต้องนั้น จะต้องมาจาการเรียนรู้และฝึกฝนกับครู ซึ่งครูจะเป็นผู้ให้คำสอน คำแนะนำในการขับร้องและบรรเลงดนตรีได่อย่างถูกต้อง เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นศิลปินอาชีพต่อไป

7. อาชีพครูสอนและออกแบบท่าเต้น

อาชีพนี้สำหรับในวงการบันเทิงเป็นอาชีพที่ ผู้ประกอบอาชีพนี้จะต้องมีความสามารถเฉพาะตัว และมีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบท่าเต้น ซึ่งจะต้องมีการคิดประดิษฐ์ท่าเต้นขึ้นใหม่อยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความแตกต่างและเกิดความน่าสนใจแก่ผู้ชม เป็นการสร้างสรรค์ความบันเทิงให้กับคนในสังคม ซึ่งอาชีพนี้มีสถานที่ทำงานหลายแห่ง เช่น ตามสถาบันสอนเต้น บริษัทหรือค่ายเพลง และตามวงดนตรีต่างๆ

8. อาชีพนักเต้นหรือแดนเซอร์

แดนเซอร์เป็นอาชีพที่สร้างความสนุกสนานให้กับผู้ชมการแสดง ซึ่งในการขับร้องเพลงของศิลปินนอกจะเป็น การขับร้องเสียอย่างเดียวแล้วนั้น แดนเซอร์เป็นอีกอาชีพ หนึ่งที่สร้างความน่าสนใจ ความสนุกสนานให้กับผู้ชมการได้เป็นอย่างดี ซึ่งในสมัยก่อนเราจะเรียกแดนเซอร์นี้ว่า “หางเครื่อง” ซึ่งหางเครื่องนี้จะอยู่ในวงดนตรีลูกทุ่งในสมัยแรกๆ หางเครื่องจะมีน่าที่เป็นส่วนประกอบของนักร้องเท่านั้น เพราะว่าจะต้องคอยเต้นอยู่ทางด้านหลังของนักร้องไม่มีบทบาทที่โดดเด่นกว่านักร้อง ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาความสำคัญอาชีพนี้ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการแสดงดนตรีเลยทีเดียว แดนเชอร์จะมีสถานที่ทำงานหลากหลายที่ จะเป็นไปตามสถานที่ๆใช้เปิดการแสดงดนตรีไทยลูกทุ่ง ไทยสากลต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ