แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยที่ 9

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ “นาฏศิลป์พื้นเมือง”

ก. การแสดงที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

ข. การแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ค. การแสดงที่สร้างความบันเทิง

ง. การแสดงเพื่อหารายได้

2. เพลงใดไม่ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์

ก. เพลงเรือ ข. เพลงไก่ป่า

ค. เพลงเทพทอง ง. เพลงแอ่วลาว

3. การร้องเพลงโต้ตอบกันทำให้เกิดสิ่งใดขึ้น

ก. เครื่องดนตรี ข. เนื้อเรื่อง

ค. ท่าเต้น ง. ท่ารำ

4. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง

ก. รายได้ ข. ศาสนา

ค. ค่านิยม ง. ความเชื่อ

5. นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือได้รับอิทธิพลมาจากอาชีพใด

ก. การทอผ้า ข. การทำร่ม

ค. การเกษตร ง. การทำประมงน้ำจืด

6. ข้อใดเป็นการแสดงนาฏศิลป์ของภาคใต้ทั้งหมด

ก. ลำตัด รองเง็ง ข. โนรา กาหลอ

ค. ตารากีปัส ระบำกลองยาว ง. ฟ้อนเทียน เซิ้งกระติบข้าว

7. รำวงมาตรฐานเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงอะไร ของภาคใด

ก. รำโทน-ภาคกลาง ข. หนังตะลุง-ภาคใต้

ค. เซิ้งสวิง-ภาคอีสาน ง. ฟ้อนเทียน-ภาคเหนือ

8. เนื้อเพลงใดต่อไปนี้ไม่ใช่เพลงรำวงมาตรฐาน

ก. ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ชื่นชีวาขวัญพี่

ข. ข้างขึ้นเดือนหงาย เราขี่ควายชมจันทร์

ค. ขวัญใจดอกไม้ของชาติ งามวิลาสนวยนาดร่ายรำ

ง. เดือนพราวดาวแวววาวระยับ แสงดาวประดับส่งให้เดือนงามเด่น

9. ข้อใดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงเซิ้งสวิง

ก. พัด ข. เทียน

ค. ตะข้อง ง. กระติบข้าว

10. การแสดงในข้อใดเป็นการแสดงเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรือบุคคลสำคัญของชาวไทย

ในภาคเหนือ

ก. ฟ้อนสาวไหม ข. ระบำใบชา

ค. ฟ้อนเงี้ยว ง. ฟ้อนเทียน