หนังสืออ่านประกอบรายวิชา ความเป็นพลเมืองไทย

(Thai Citizenship)

คำอธิบายรายวิชา 

           ความรู้และความเข้าใจและการปฏิบัติตนที่แสดงออกถึงการเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ยอมรับความแตกต่างของบุคคล ความเสมอภาคและความเท่าเทียม เคารพสิทธิ เสรีภาพ และการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและประชาคมโลกอย่างสันติตามหลักขันติธรรม การสร้างและปฏิบัติตามกฎ กติกาของสังคม กฎหมายเบื้องต้นที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการปกครอง อุดมการณ์ วิถีชีวิตประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หน้าที่ของตนเองในฐานะของพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย มีความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง เคารพสิทธิผู้อื่นอย่างมีเหตุผล มีจิตสำนึก มีจิตอาสา จิตสาธารณะรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง ฝึกการวิเคราะห์ จัดทำโครงการออกแบบการปฏิบัติจิตอาสา และจิตสาธารณะ

หนังสือ

                ประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ หรือตามหลักแห่งพุทธศาสนาต้องขึ้นอยู่กับธรรมะเป็นใหญ่ เรียกว่า “ธัมมาธิปไตย” สังคมจึงจะดีงามและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข “ธัมมาธิปไตย” เป็นประชาธิปไตยที่เป็นไปตามกฎของธรรมชาติเป็นรากฐานของประชาธิปไตยทุกชนิด เป็นระบอบการปกครองสูงสุดซึ่งสร้างสำนึกมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างไม่เอารัดเอาเปรียบ เป็นระบบที่ทุกคนเสียสละให้แก่กัน แนวทางชุมชนาธิปไตย ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างคุณธรรมในการปกครองตนเองบนฐานของการจัดการเศรษฐกิจ การพึ่งพา ช่วยเหลือกันในชุมชน แนวคิดชุมชนชนาธิปไตยจึงเป็นแนวคิดสำหรับวางแผนสร้างอธิปไตยของชุมชนที่เป็นธรรมขึ้นในสังคมไทย เพราะเมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของชุมชนแล้ว จะเป็นรากฐานสำคัญในการสร้าง “ธัมมาธิปไตย” นั่นเอง กระบวนการปกครองโดยธรรมหรือการปกครองโดยไม่ถูกปกครองนั่นเอง

ข้อมูลหนังสือ

Title สร้างสังคมใหม่ : ชุมชนาธิปไตย-ธัมมาธิปไตย.
Author         พิทยา ว่องกุล.        
Published        กรุงเทพฯ : โครงการวิถีทรรศน์, 2542.
Detail 161 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.
Call Number        303.4 พ 34 ส 2542
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือเล่มนี้เป็นบันทึกการเสวนาของผู้ทรงวุฒิทางวัฒนธรรมของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ อันประกอบด้วย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) ศาตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี และศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง. มีรองศาสตราจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ร่วมด้วยหนึ่งครั้ง เป็นความพยายามที่จะทำความเข้าใจสังคมที่ซับซ้อนและสภาวะวิกฤต รวมทั้งแสวงหาทางออก การเสาวนาที่บันทึกไว้นี้ทั้งหมดเกิดขึ้นในพระอุโบสถวัดญาณเวศกวัน
                สังคมสมัยใหม่ต่างจากสังคมสมัยเก่าโดยสิ้นเชิงที่เป็นสังคมที่โยงใยกันไปหมดทั้งโลกด้วยข้อมูลข่าวสาร การโฆษณา การค้าและการเงิน ซึ่งเคลื่อนไหวด้วยความเร็วของแสง ทำให้เป็นสังคมที่สลับซับซ้อนหลายมิติ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว ความเป็นโลกาภิวัฒน์ยิ่งเร่งเครื่องความซับซ้อนและความเร็วจนไม่มีใครควบคุมได้ ความซับซ้อนและความเร็วจนไม่มีใครควบคุมได้ ความซับซ้อนและความเร็วของสังคมสมัยใหม่เกินความเข้าใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนทั่วไป นักการเมืองหรือนักวิชาการ เป็นภาพของความขัดแย้งระหว่างความเป็นจริงที่มีหลายมิติกับความรู้ความเข้าใจหลายมิติกับความรู้ความเข้าใจแบบมิติเดียว เมื่อสังคมไม่สามารถหรือรู้ตัวเอง ย่อมไม่สามารถกุมสภาพได้ เมื่อกุสภาพไม่ได้ก็ย่อมเสียสมดุลและวิกฤต ฉะนั้นจึงไม่มีทางเลือกอื่นเลย นอกจากสังคมจะสร้างปัญญาขึ้นมาให้รู้เท่าทันความเป็นจริง นอกจากสังคมจะสร้างปัญญาขึ้นมาให้รู้เท่าทันความเป็นจริง เพื่อจะได้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรักษาดุลยภาพของตนเองไว้ได้ การเรียนรู้และการวิจัยแบบแยกส่วน มิติเดียวโดยเอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ทันกับความเป็นจริงที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วคงจะต้องมีกระบวนการเรียนรู้ใหม่ที่เอาความเป็นจริงเป็นตัวตั้งและเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติ (Interactive Learning Through Action)

ข้อมูลหนังสือ

Title หนทางฝ่าวิกฤตชาติและทางรอดของสังคมไทย.  
Author         พระธรรมปิฎก.  
Published        กรุงเทพฯ : ภัคธรรศ, 2544.
Detail 128 หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 พ 17 ห 2544
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Added Author ประเวศ วะสี.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือโอกาสใหม่ ทางเลือกใหม่ เราจะไปทางไหน? เป็นหนังสือที่นำเสนอกระแสและทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลกในปัจจุบัน ที่มีผลกระทบต่อบุคคลและสังคมอย่างกว้างขวาง หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เนื้อหาภายในเล่มกล่าวถึงการทำความเข้าใจกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย ข้อปฏิบัติในยุคเศรษฐกิจถดถอย การหลีกเลี่ยงอุตสาหกรรมพระอาทิตย์ตกดิน นิยามความมั่งคั่งใหม่ วิถีใหม่ของการทำงาน แนวทางในการกำหนดอาชีพสำหรับอนาคต การลงทุนในอนาคต และแนวโน้มสาขาอาชีพต่าง ๆ

ข้อมูลหนังสือ

Title       โอกาสใหม่ ทางเลือกใหม่ เราจะไปทางไหน?.
Author         พงษ์ ผาวิจิตร. 
Published        กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2547.
Edition พิมพ์ครั้งที่ 5.
Detail [222] หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 พ 12 อ 2547
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือวิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 : สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา เพื่อจุดประกายให้กับคนไทยเฉพาะอย่างยิ่งชนชั้นกลางผู้มีการศึกษา ที่แล้วมาชนชั้นกลางในสังคมไทยเป็นกลุ่มที่ไม่ใหญ่นัก แต่ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ชนชั้นกลางเริ่มตระหนักว่าตนมีอำนาจอยู่ในมือที่จะมีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของประเทศชาติ ประกอบกับในปัจจุบันชนชั้นกลางเป็นที่มีความสำคัญยิ่งในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นชนชั้นกลางตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตน มีจิตใจที่บริสุทธิ์ ไม่เห็นแก่ตัว อนาคตของสังคมไทยก็จะรุ่งเรืองได้ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาวิธีคิดและความเป็นอยู่ของชนชั้นกลางยังไม่เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ตรงนี้ กล่าวคือวิธีคิดเดิมมุ่งจะรับใช้โครงสร้างอำนาจไม่ว่าอำนาจรัฐหรืออำนาจทุน ทั้งนี้เพื่อการเอาตัวรอดจึงเป็นวิธีคิดที่เล็ก ที่แคบและเห็นแก่ตัว เพราะไม่คำนึงถึงคนส่วนใหญ่ที่ทุกวันนี้ยังยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรในชนบทและกรรมกรในเมือง หากชนชั้นกลางยังเลือกที่จะรับใช้โครงสร้างอำนาจและมุ่งแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม เฉพาะตนแล้ว สังคมจะซ้ำรอยกับที่เป็นมา และจะยังอยู่ใต้อำนาจที่ไม่บริสุทธิ์ แต่หากชนชั้นกลางตระหนักรู้ มีจิตสำนึกใหม่ในบทบาทหน้าที่พร้อมที่จะเสียสละเพื่อคนส่วนใหญ่ เพื่อธรรมชาติและธรรมะ ชนชั้นกลางจะเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในการขับเคลื่อนสังคม จากอำนาจความเห็นแก่ตัวมาเป็นอำนาจแห่งความรัก และอำนาจความรู้ที่ถูกต้อง (ที่เรียกว่าสติปัญญา)

ข้อมูลหนังสือ

Title โอกาสใหม่ ทางเลือกใหม่ เราจะไปทางไหน?.
Author         พงษ์ ผาวิจิตร.
Published        กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2547.
Edition พิมพ์ครั้งที่ 5.
Detail [222] หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 พ 12 อ 2547
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

         ศูนย์ คือ สุญญตา หรือความสว่าง

หนึ่ง คือ ความเป็นหนึ่งเดียวกันของทั้งหมด

เก้า คือ ความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ

เมื่อมนุษย์เข้าสู่กระแสธรรมมากขึ้น บทเพลงแห่งชีวิตอันหลากหลายก็จะดังมากขึ้นและเชื่อมโยงกันมากขึ้น ให้โลกทั้งโลกกระหึ่มด้วยบทเพลงแห่งชีวิต ชีวิตที่ไปพ้นจากการยึดมั่นในความเห็นแก่ตัว ชีวิตที่เป็นอิสระ ที่เป็นสุขและมีเมตตาอันไพศาล สามารถอยู่ร่วมกันด้วยสันติเป็นบทเพลงที่บรรเลงเพื่อฉลองชัยชนะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถหลุดพ้นจากอวิชชา คือความหลงในตัวตนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั่วกันทั้งโลก เป็นโลกเดียวกันที่เจริญหรือโลกาภิวัฒน์ศรีอาริยะ
      หนังสือวิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 :  ศูนย์ หนึ่ง เก้า แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 อุดมการณ์แห่งศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 2 ขุมทรัพย์ในตน ตอนที่ 3 ระบบการอยู่ร่วมกันในอนาคต ตอนที่ 4 พหุบทแห่งพัฒนาการทางจิตวิญญาณ ตอนที่ 5 การปฏิวัติทางจิตวิญญาณและบทเพลงแห่งชีวิต

ข้อมูลหนังสือ

Title         วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 :  ศูนย์ หนึ่ง เก้า.
Author         ประเวศ วะสี.
Published        กรุงเทพฯ : ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ร่วมกับสวนเงินมีมา, 2550.
Edition พิมพ์ครั้งที่ 4.
Detail 182 หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 ป 17 ว 2550
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

         มนุษย์สามารถค้นพบปัญญาอันยิ่งใหญ่ที่นำไปสู่ความดีและอิสรภาพที่มนุษย์จะพึงมีได้อันประกอบด้วยการไม่เบียดเบียน การทำให้ผู้อื่นและพัฒนาจิตใจให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัวและการแย่งชิง ถ้าทำได้การดำรงตนในวิถีอย่างไทย ๆ จะทำให้ไทยเป็นไทและไปสู่ทางรอด หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชน ตั้งแต่การปลดปล่อยวิญญาณออกหม้อสู่จิตสำนึกใหม่ ไปจนถึงการอภิวัฒน์ทางปัญญาและการสร้างระบบต่าง ๆ เช่นระบบการสื่อสาร ความยากจนและการแย่งชิงทรัพยากรในชนบท เป็นปัญหาใหม่ของชาติที่ถ้าแก้ไม่ได้จะนำไปสู่ความรุนแรงในประเทศไทย ความยากจนเกิดจากโครงสร้างที่ซับซ้อน ยากแก่การเข้าใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็แก้ปัญหาไม่ได้ ถ้าแก้ความยากจนได้จะแก้ปัญหาอื่น ๆ เกือบทั้งหมดพร้อมกันไป การเอาชนะความยากจนจึงเป็นระเบียนวาระแห่งชาติที่คนไทยทั้งหมดควรร่วมกันทำยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะ ใช้การแก้ไขความยากจนเป็นเครื่องมือที่จะสกัดความเป็นทาสในทางความคิดไปสู่วิถีไท ทางรอดของประเทศไทย

ข้อมูลหนังสือ

Title         วิถีทางรอดของประเทศไทย.
Author         ประเวศ วะสี.
Published        กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน, 2545.
Detail [84] หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 ป 17 ว 2545
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

         เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้เน้นที่ทฤษฎีวิวัฒนาการนิยม (Evolutionism) โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นถกเถียงกันที่สำคัญยิ่งในสาขาวิชามานุษยวิทยา เพราะนอกจากคำนิยามของวัฒนธรรมในมุมมองต่าง ๆ แล้ว ยังทำให้เห็นพัฒนาการทางความคิดของนักคิดทางมานุษยวิทยาในแต่ละยุคสมัยว่ามีที่มาอย่างไร เหตุใดจึงมีความเห็นคล้างคลึงและแตกต่างกัน อะไรบ้างประเด็นสำคัญของการอภิปราย รวมถึงการประยุกต์แนวความคิดนี้ในหมู่นักคิดรุ่นหลังในการสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับประเภทของสังคม
        การอภิปรายเริ่มด้วยกำเนิดของทฤษฎีวิวัฒนาการนิยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งส่งผลให้เกิดแนวความคิดเรื่องวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม แม้ว่าทฤษฎีนี้จะถูกวิพากษ์ว่าแฝงไว้ด้วยอคติแห่งความเชื่อของผู้คนในยุโรปในสมัยวิกตอเรีย แต่ก็มีคุณูปการในการจุดประกายความคิดในกาค้นหาความรู้เรื่องวัฒนธรรมและผู้คนกลุ่มต่าง ๆ นอกทวีปยุโรปมาจนถึงนักคิดในสกุล วิวัฒนาการนิยมแนวใหม่ (Neo-Evolutionism) ซึ่งมีจุดเด่นที่ความพยายามในการใช้หลักการแบบวิทยาศาสตร์ อันเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้แตกต่างไปจากนักคิดวิวัฒนาการนิยมแบบเก่า นอกจากนี้นักคิดคนสำคัญ เช่น Mavin Harris ซึ่งแม้ว่าจะมิได้ถูกจัดเป็นนักคิดในสกุลวิวัฒนาการนิยมโดยตรง แต่ข้อเสนอของแฮร์ริสก็มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายอย่างกว้างขวาง เกิดพัฒนาการของแนวคิดและสมมติฐานต่าง ๆ ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์ การใช้วัตถุหรือทรัพยากรและความสำคัญด้านนิเวศวิทยา

ข้อมูลหนังสือ

Title         พัฒนาการทางวัฒนธรรม-สังคมในมุมมองวิวัฒนาการนิยม.
Author         นิติ ภวัครพันธุ์.
Published        กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
Detail 107 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.
Call Number        303.4 น 34 พ 2554
Subject วิวัฒนาการของสังคม.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

         หนังสือเล่มนี้จะช่วงเปิดมุมมองของคนไทยในการมองเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมไทยตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา เริ่มต้นด้วยบทความเรื่อง “ชีวิตที่จำยอม...ความเหลื่อมล้ำซ่อนเร้นในสังคมไทย” จะช่วยชี้ให้เห็นว่าความไม่เป็นธรรมในสังคมไทยปัจจุบันมีทั้งแบบเปิดเผยและซ่อนเร้น โดยวิเคราะห์ให้เห็นถึงรากเหง้าของปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมไทยอันเกิดจากการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจผิดทางที่มุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภายเกษตรกรรม ให้ความสำคัญกับเมืองมากกว่าชนบท ส่งผลให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่ความขัดแย้งในหลายพื้นที่
        บทความเรื่อง “ชะตากรรมชุมชนท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัฒน์” ได้สังเคราะห์ให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมในโครงสร้างฐานทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตร รวมไปถึงมุมมองของรัฐไทยต่อการจัดการทรัพยากร และปัญหาต่าง ๆ ที่เกษตรกรกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน อาทิ ปัญหาสุขภาพซึ่งเป็นภัยเงียบที่คุกคามวิถีชีวิตเกษตรกรไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะปัญหาสารเคมีในเกษตร ปัญหาสิทธิที่ดินทำกิน ปัญหาอัตลักษณ์ชาวนา เป็นต้น
        บทความเรื่อง “สู่สังคมที่มีเยื่อใยในการอยู่ร่วมกัน : การสังเคราะห์ความเป็นธรรมในมิติสังคม-วัฒนธรรม-ชุมชน” จะช่วนมองเห็นที่มาที่ไปของปัญหาความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เชื่อมโยงไปถึงรากเหง้าทางวัฒนธรรมของคนในหลายพื้นที่ อาทิ ศักยภาพที่เลือนหายของชุมชนอีสาน นิเวศวัฒนธรรมของชุมชนชายแดนใต้ ปัญหาสุขภาพของชุมชนคลิตี้ล่าง เป็นต้น นอกจากนี้วิเคราะห์ให้เห็นความไม่เป็นธรรมของวาทกรรมอันส่งผลต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านในหลายพื้นที่ เป็นต้น
        บทความเรื่อง “สู่ชีวิตที่ดีกว่าเดิม : ทางออกเพื่อสังคมที่เป็นธรรม” ชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยควรก้าวเดินไปทางไหน ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย โดยเชื่อมโยงกับปัจจัยเชิงโครงสร้างและเชิงบุคคลซึ่งหากทุกฝ่ายมองเห็นร่วมทิศทางร่วมกันสังคมไทยก็ก้าวไปสู่สังคมที่ดีกว่าเดิม
        บทความเรื่อง “โลกที่ใส่ใจเรื่องความเป็นธรรม : ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ” ชี้ให้เห็นถึงมุมมองสุขภาพ ในมุมที่กว้างกว่าสุขภาพและความเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งครอบคลุมไปถึงมุมมองทางสังคมต่าง ๆ ด้วย บทความชิ้นนี้จะช่วยทำให้เราวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพเชิงรุกมากกว่าเชิงรับเหมือนที่ผ่านมา
        บทความเรื่อง “ยิ่งเจริญ...ยิ่งจน...ยิ่งเจ็บ...เรื่องเล่าจากชาวบ้านอำเภอกัลยาณิวัฒนา” บทความชิ้นนี้เป็นประสบการณ์ตรงจากพื้นที่ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่า ปัจจัยสังคมมีผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างไร
        บทความทั้งหกชิ้นที่นำเสนอในหนังสือเล่มนี้ จะช่วยให้มองเห็นรากเหง้าปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมหลากหลายมิติทั้งเศรษฐกิจ ทรัพยากร สังคมและวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพเชิงลึกซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มลุกลามรุนแรงมากยิ่งขึ้น

ข้อมูลหนังสือ

Title         สู่ชีวิตที่ดีกว่าเดิม : รายงานสถานการณ์ความไม่เป็นธรรมทางสังคม พ.ศ.2554-2555.
Author        นพนันท์ วรรณเทพสกุล.
Published        กรุงเทพฯ : ศยาม, 2556.
Detail 203 หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 น 16 ส 2556
Subject ความเสมอภาพ--ไทย.
Added Author นฤมล อรุโณทัย.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

         หนังสือเล่มนี้เป็นการแนะนำเบื้องต้นของโลกยุคสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ โดยอาศัยการปูพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการวิเคราะห์แนวสังคมวิทยาแบบ Reflexive Sociology และแนวคิดแบบ Post Western เป็นหลัก ยังไม่ใช่เป็นการเขียนถึงตัวปรัชญา Post Modern หรือ Post Western โดยตรง แนวคิด Reflexive Sociology ในที่นี้หมายถึงการมองอารยธรรมมนุษย์ในโลกอย่างเป็นองค์รวมมากขึ้น มองมนุษย์ในฐานะนักสังคมวิทยาที่พ้นกรอบอคติของสังคมตัวเอง วัฒนธรรมตัวเอง แนวคิด Post Western คือความพยายามที่จะถอดรื้อองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ อารยธรรมโลกในแนวยึดเอาตะวันตกเป็นหลัก เพื่อให้เข้าใจโลกอย่างไม่บิดเบี้ยว มีความเคารพต่อวัฒนธรรม อารยธรรมที่เก่าแก่และหลากหลาย ๆ มากขึ้น ขณะเดียวกันแนวคิด Post Western หรือ Post Colonial ก็มองว่าองค์ความรู้ที่เรียน สอนกันอยู่ในปัจจุบันมีมากเหลือเกินที่ยังเป็นองค์ความรู้ที่มีอคติและเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงอำนาจหรือฐานะที่เหนือกว่าของคนตะวันตก

ข้อมูลหนังสือ

Title         โลก Modern & post modern.
Author        ธีรยุทธ บุญมี.
Published        กรุงเทพฯ : สายธาร, 2546.
Detail 191 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.
Call Number        303.4 ธ 37 ล 2550
Subject โลกสมัยใหม่.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

         ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ เทคโนโลยีจำเป็นต้องพึ่งความรู้ที่เป็นระบบซึ่งมีอยู่ในวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีระดับสูงซึ่งต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างระดับจุลภาคของสสารเป็นหลัก ขณะเดียวกันอาจกล่าวได้ว่าความเจริญด้านวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบคู่ด้วย นั่นคือวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีและเทคโนโลยีก็เป็นพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นของคู่กันไม่สามารถแยกจากกันได้โดยไม่ทำลายเสียทั้งสองอย่าง ด้วยเหตุนี้ประเทศที่มุ่งหวังจะก้าวสู่ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องคาดการณ์การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคตให้ดำเนินรุดหน้าควบคู่กันไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
        สำหรับประเทศไทยแม้จะได้ตื่นตัวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นเวลาพอสมควร นับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 แต่ความพยายามในอดีตที่ผ่านมาในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มิได้ประสบผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรมดังที่ได้คาดหวังไว้ เนื่องจากมิได้มีการคาดการณ์คัดเลือกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ไม่มีรากฐานของวิวัฒนาการที่ต่อเนื่องและเป็นระบบซึ่งเป็นพื้นฐานที่แท้จริงของการพัฒนา ส่งผลกระทบถึงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมอันจะมีผลระยะยาวกับการส่งออกของประเทศ

ข้อมูลหนังสือ

Title         อนาคตที่ไล่ล่าประเทศไทย : แนวโน้มของโลก สังคม เศรษฐกิจ การเมืองกับอนาคตของวิทยาศาสตร์และ   เทคโนโลยี.
Author        ถิรพัฒน์ วลัยทอง.
Published        กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายการศึกษา, 2546.
Detail 168 หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 ถ 37 อ 2546
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Added Author ชัยอนันต์ สมุทวนิช.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

              หัสนิยายชุดสามเกลอ พล นิกร กิมหงวน อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคในบริบทของวิวัฒนาการแห่งสังคมไทยตั้งแต่ พ.ศ.2482-2511 ดังนี้ ยุคเบื้องแรกประชาธิปไตย คือเรื่องราวและเหตุการณ์ในช่วงเวลาก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าสู่สงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งอยู่ในระหว่างปี 2482-2483 พล นิกร กิมหงวนในยุคนี้ได้สะท้อนเรื่องราวและบรรยากาศของสังคมไทยในยามปกติสุุขภายใต้การปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเข้ารูปเข้ารอย จากนั้นก็ถึงยุคสงครามและสันติภาพ ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เกิดกรณีพิพาทกับอินโดจีนของฝรั่งเศลเมื่อปลายปี 2483 ต่อเนื่องกับต้นปี 2484 แล้วจึงมาถึงสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาที่ญี่ปุ่นบุกไทยในวันที่ 8 ธันวาคม 2584 จึนถึงวันสันติภาพ 16 สิงหาคม 2488 ต่อด้วยสงครามเกาหลีที่ตามมาก่อนจะถึงยุค "สงครามเย็น" ซึ่งประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จึงถึงกึ่งพุทธกาล (พ.ศ.2500) รวมเวลาประมาณ 15 ปี พล นิกร กิมหงวนในยุคดังกล่าวได้สะท้อนเหตุการณ์ในระหว่างสงครามต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง สลับกับภาวะปกติภายหลังสงครามในหลายช่วงเวลา ยุคสุดท้ายของสหัสนิยาย พล นิกร กิมหงวน คือระยะเวลาตั้งแต่ปี 2500 ไปจนถึง พ.ศ. 2511 ปีที่ ป. อินทรปาลิตถึงแก่กรรม ซึ่งอาจเรียกว่า ยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นการบันทึกเหตุการณ์และบรรยากาศของสังคมไทยในช่วงเวลาที่ประเทฬกำลังเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่การต่อสู้แย่งชิงประชาชนด้วยการใช้กำลัง นอกจากนั้นยังเป็นยุคที่อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกได้แผ่เข้ามาในสังคมไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น จนกระทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้านตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น

ข้อมูลหนังสือ

Title         วิวัฒนาการสังคมไทยกับหัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปาลิต.
Author        วิชิตวงศ์ ณ ปัอมเพชร.
Published        กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2544.
Detail 2 เล่ม : ภาพประกอบ ; 22 ซม.
Call Number        303.4 ว 32 ว 2544
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Location               อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือ พลเมืองรุ่นใหม่ รับใช้สังคม จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมและนำเสนอผลงานการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ได้ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- ศึกษา เรียนรู้ กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจากชุมชนต้นแบบ กรณีศึกษาบ้านพี้กลาง
- ลำลูกกาในอดีต...วิถีชีวิตที่เลือนหาย
- บ้านคลองสิบสามโมเดล : เพาะเห็ดนางฟ้าสร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ สร้างชุมชนที่เข้มแข็ง
- บ้านคลองหกวา : ตำราเพาะเห็ดลดหนี้ เลี้ยงแมงสะดิ้งสร้างรายได้
- ก้าวแรกพลเมืองจิตอาสา จุดก้าวพัฒนายุวชน สู่สังคมการอ่าน

ข้อมูลหนังสือ

Title พลเมืองรุ่นใหม่ รับใช้สังคม.

Author มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

Published ปทุมธานี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 2559.

Detail [153] หน้า : ภาพประกอบสี ; 21 ซม.

Call Number 320.4 ม 192 พ 2559

Subject อาสาพัฒนา.

Subject จิตอาสา.

Subject การพัฒนาชุมชน.

Subject วิถีชุมชน.

Subject พลเมืองไทย.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                การปฏิวัติการสื่อสาร (Communication Revolution) ที่เกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปของอินเตอร์เน็ตได้ก่อให้เกิดกระแสปรากฎการณ์ชุดหนึ่งแพร่หลายไปในขอบข่ายทั่วโลก นั้นคือ
            1) ความตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนมีมากขึ้นในทุกเพศ ทุกวัย ทุกฐานะและทุกประเทศ
            2) ความต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะหรือกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและโลก เช่น สิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว
            3) ประชาชนให้ความสนใจกับสถาบันที่เป็นทางการโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักการเมือง พรรคการเมืองและการเลือกตั้งลดลง
            4) กิจกรรมทางการเมืองเคลื่อนตัวจากสถาบันที่เป็นทางการ เช่น รัฐสภา และทำเนียบรัฐบาล ไปอยู่ในท้องถนน โรงงาน ชุมชน ป่าเขา ท้องทะเล รวทั้งคลื่นอิเลคโทรนิคในอากาศมาขึ้นทุกขณะ
            5) ความหมายของประชาธิปไตย แบบที่ครั้งหนึ่งเคยเข้าใจตรงกันเริ่มเลือนรางลงทุกวัน ภาพของประชาธิปไตยเต็มไปด้วยความหลากหลาย ขัดแย้งและมีพลวัต อย่างไม่รู้หยุด
    เนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้ ได้เสนอหลักของระบอบเสรีประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่รัฐชาติเห็นว่าน่าจะให้พลังหรืออำนาจแก่รัฐชาติได้มากที่สุดในเวทีเศรษฐกิจการเมืองและการทหารของโลก ดังนั้นระบอบเสรีประชาธิปไตยจึงเป็นผลลัพธ์ของการเติบโตของรัฐชาติ อย่างไรก็ตามในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา กระแสโลกาภิวัฒน์ทำให้สังคมการเมืองในรูปแบบของรัฐชาติต้องเผชิญหน้ากับวิกฤตหลายประการ จนอาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบสำคัญ ๆ ขึ้นรากฐานของรัฐชาติตั้งแต่ดินแดนที่มีอาณาเขตชัดเจนแน่นอน ประชากรที่ภักดีต่อชาติของตน รัฐบาลแห่งชาติ และอำนาจอธิปไตย ล้วนต้องสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงแรงจากกระแสโลกาภิวัฒน์ด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อกระแสโลกาภิวัฒน์ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนในรัฐชาติ และในเมื่อรัฐชาติเองเคยเป็นรากฐานให้แก่การเกิดและเติบโตของระบอบเสรีประชาธิปไตยมาก่อน ความหวั่นไหวในระบอกเสรีประชาธิปไตยจึงต้องเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเปราะบางของระบอบเสรีประชาธิปไตยเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และมีทางเลือกอะไรเป็นทางออกให้กับความไม่แน่นอนดังกล่าวบ้าง ฯลฯ

ข้อมูลหนังสือ

Title กำเนิดและความเปราะบางของเสรีประชาธิปไตย.

Author สมเกียรติ วันทะนะ.

Published กรุงเทพฯ : ใคร ครีเอท, 2555.

Detail 255 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.
Call Number 320.5 ส 16 ก 2555

Subject การเมือง, ลัทธิ.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือเล่มนี้เป็นผลพวงจากการจัดสัมมนาทางวิชาการประจำปี 2547 ของศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในหัวข้อ "ประชาธิปไตย ประชาสิทธิ ประชาธรรม"  มีเนื้อหาภายในเล่ม มีดังนี้

 พงษ์ไพจิตร

Rights, People's Justice" / Pasuk Phongpaichit

ผลสำเร็จ ล้มเหลวและผลกระทบ โดย ประภาส ปิ่นตบแต่ง วิจารณ์โดย นลินี ตันธุวนิตย์

อติวานิชยพงศ์

ทอนอำนาจต่อรองของขบวนการแรงงาน โดย แล ดิลกวิทยารัตน์

"ขบวนการแรงงานรัฐวิสาหกิจ การแปรรูป และยุทธศาสตร์ในการทอนอำนาจต่อรองของขบวนการแรงาน" วิจารณ์โดย ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา และ บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ

โดย บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ

ข้อมูลหนังสือ

Title         ประชาธิปไตย ประชาสิทธิ์ ประชาธรรม.
Published        กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
Detail 215 หน้า ; 21 ซม.
Call Number        323 ป 17 2547
Subject สิทธิของพลเมือง.
Added Author นวลน้อย ตรีรัตน์, บรรณาธิการ.
Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือ แนวคิดว่าด้วยความเป็นพลเมือง เล่มนี้ เป็นงานค้นคว้าเพื่อทำความเข้าใจแนวความคิดและชีวิตของพลเมืองหลาย ๆ คนในอดีต โดยเฉพาะพลเมืองที่โดดเด่น มีบทบาทสำคัญในสังคม เผื่อจะหาคำตอบได้ว่ามีปัจจัยอะไรทำให้เขามีคุณสมบัติที่โดดเด่นเช่น พวกเขามีทัศนะและบทบาทต่อท้องถิ่นและแผ่นดินรอบ ๆ ที่อาศัยอยู่อย่างไร ดังนี้
- ความเป็นพลเมือง (Citizenship) ในกระแสความเปลี่ยนแปลง
- ความเป็นคนกับความเป็นผู้นำ
- พลเมืองผู้สละชีพเพื่ออุดมคติ
- การศึกษากับความเป็นพลเมือง
- พลเมืองกับการปกครองท้องถิ่น
- พลเมืองกับชุมชนอเมริกัน
- พลเมืองสตรีนักสู้ที่ยิ่งใหญ่
- พลเมืองผู้เสียสละในต่างแดน
- พลเมืองนักปรัชญชาวอังกฤษผู้แสวงหา
- พลเมืองเจ้าของแนวคิด "อารยะขัดขืน"
- ความรัก, พลเมือง, ครอบครัว และชุมชนในจีน
- พลเมืองเข้มแข็งกับชุมชนเข้มแข็ง

ข้อมูลหนังสือ

Title พลเมืองเข้มแข็ง.

Author ธเนศวร์ เจริญเมือง.

Published กรุงเทพฯ : วิภาษา, 2551.

Edition พิมพ์ครั้งที่ 2.

Detail 197 หน้า ; 21 ซม.
Call Number        323.6 ธ 15 พ 2551

Subject พลเมือง.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือ เมืองในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจกับพัฒนาการเมืองของไทย ตั้งแต่เมืองกำเนิด จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเมืองไม่หยุดนิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อพัฒนาการเมืองของไทยในทุกสมัย ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นปัจจัยขั้นต้นกำเนิดการเกิดเมืองในแห่งต่าง ๆ เพราะบริเวณที่มีสภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสม ย่อมส่งเสริมให้เกิดการตั้งเมือง อย่างไรก็ตามเมืองในสมัยที่รัฐยังไม่เข้ามากำหนดทิศทางการพัฒนา สัมพันธ์กับภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจ เติบโตทางธรรมชาติมากกว่าสมัยใหม่ที่รัฐเข้ามากำกับดูแล ทั้งนี้การขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งด้านการเกษตร การค้าและอุตสาหกรรม มีผลต่อเมืองเช่นกัน เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานหนาแน่น จนพัฒนาเข้าสู่ระดับเมือง เช่นการขยายตัวของอุตสาหกรรม เมืองแร่ทำให้ภูเก็ตกลายเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่น เช่นเดียวกับความเปลี่ยนแปลงของระบบคมนาคมและนโยบายของรัฐที่แม้ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยตรง แต่ปัจจัยเหล่านี้นำความเปลี่ยนแปลงมาสู่เศรษฐกิจซึ่่งส่งผลต่อเนื่อง

ข้อมูลหนังสือ

Title         เมืองในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย.
Author ชลธิชา ขุนทอง.
Published        กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2560.
Detail 69 หน้า : ภาพประกอบ ; 21 ซม.
Call Number        330.9593 ช 173 ม 2560.
Subject การพัฒนาเมือง.
Subject การพัฒนาเศรษฐกิจ -- ไทย.
Subject ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ.
Subject ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ.
Subject ไทย -- ภาวะเศรษฐกิจ.
Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

                หนังสือพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมไทย เป็นการศึกษาให้เห็นถึงการปรับตัวเองของกลุ่มชนที่อยู่ในดินแดนประเทศไทยกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์มาแต่แรกเริ่ม การสังสรรค์ทางเศรษฐกิจและสังคมกับภายนอกที่ก่อให้เกิดพัฒนาการทางการเมืองและวัฒนธรรม การเป็นคนไทยและชาติไทยและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม วิวัฒนาการของแต่ละขั้นตอนอาจกำหนดอยู่ในสองช่วงเวลาใหญ่ ๆ คือ ยุคศาสนาการเมืองและยุคเศรษฐกิจการเมือง ในยุคระบบความเชื่อและศาสนาเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดอำนาจทางการเมืองที่นำไปสู่พัฒนาการทางสังคม ในขณะที่ในยุคหลังเศรษฐกิจมีอิทธิพลที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลหนังสือ

Title         พัฒนาการทางสังคม - วัฒนธรรมไทย.
Author ศรีศักร วัลลิโภดม.
Published        กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2544.
Edition พิมพ์ครั้งที่ 2.
Detail 228 หน้า ; 21 ซม.
Call Number        303.4 ศ 17 พ 2544
Subject การเปลี่ยนแปลงทางสังคม.
Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

            ความเป็นอยู่ของสังคมไทยในอดีตและปัจจุบัน สิ่งที่เหมือนกันคือ ความรัก ความสามัคคี ความโอบอ้อมอารี ความเคารพและมารยาทอ่อนน้อมถ่อมตนหรือการไหว้ที่งดงามอ่อนช้อย ประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เช่น การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์ ซึ่งถือว่าวันนี้เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย เป็นวันรวมญาติพี่น้อง เป็นวันครอบครัวที่คนไทยทุกคนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้นคนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ จึงทำให้เกิดการรวมตัวกันเนื่องจากพิธีกรรมทางศาสนา โดยมีศูนย์รวมคือวัด คนไทยฟังเทศน์ ฟังธรรม รักษาศีล ซึ่งเหล่านี้คนไทยปฏิบัติต่อกันมาทุกยุคทุกสมัยจะเห็นได้ว่าการดำรงชีวิตของคนไทยในแต่ละสมัยจะต่างกันที่ความเจริญหรือความก้าวหน้าในช่วงเวลานั้นเท่านั้น
          หนังสือวิถีไทย มีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะทั่วไปของสังคมไทย ความเป็นอยู่ของสังคมไทยในอดีตและปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ และสังคมไทยสมัย พ.ศ.2475-ปัจจุบัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย วัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้าน ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาของสังคมไทยตามแนวพระราชดำริ และภูมิปัญญาไทย การประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยี วิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและการปกครอง

ข้อมูลหนังสือ

Title วิถีไทย.

Author วิมล จิโรจพันธุ์.

Published กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2548.

Detail 224 หน้า ; 21 ซม.

Call Number 303.4 ว 36 ว 2548

Subject ไทย--ภาวะสังคม. 

Added Author ประชิด สกุณะพัฒน์.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  หนังสือเรื่อง ถอดรหัส 3 การพัฒนา : ชุมชน สังคม ท้องถิ่น การเมือง ประชาธิปไตย รวบรวมบทความที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลายมิติ ซึ่งได้จำแนกเนื้อหาสาระออกเป็น 4 หมวดหมู่ ดังนี้

1. การพัฒนาชุมชน เป็นการเสนอเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับหลักการพัฒนาชุมชนกระบวนการและวิธีการดำเนินงานพัฒนาชุมชนและให้ทัศนะที่มีต่อการพัฒนาชุมชนว่าจะพัฒนาอะไร อย่างไรและพัฒนาเพื่อใคร รวมทั้งการให้มุมมองเรื่องการจัดการตนเองของชุมชนและการส่งเสริมให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้น

2. การพัฒนาสังคม เป็นการเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและทิศทางการพัฒนาสังคมไทยในอนาคตตลอดจนบทวิพากษ์การพัฒนาสังคมไทยที่ผ่านมาและนำเสนอทางออกของการพัฒนาสังคมไทย

3. การพัฒนาท้องถิ่น เป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองท้องถิ่นวิพากษ์ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของไทยและนำเสนอการปฏิรูปการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้เข้มแข็ง รวมทั้งเสนอการบริหารงานท้องถิ่นในแนวทางธรรมภิบาลและการจัดการที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมท้องถิ่น

4. การพัฒนาการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย ส่วนใหญ่เป็นการวิพากษ์การเมืองของนักการเมืองไทยและนำเสนอทางออกของการเมืองไทยที่ต้องส่งเสริมการเป็นพลเมือง (Politics of the people)

ข้อมูลหนังสือ

Title ถอดรหัส 3 การพัฒนา : ชุมชน สังคม ท้องถิ่น การเมือง ประชาธิปไตย.

Author โกวิทย์ พวงงาม.

Published กรุงเทพฯ : เสมาธรรม, 2556.

Detail 437 หน้า ; 26 ซม.

Call Number 303.44 ก 87 ถ 2556

Subject การพัฒนาสังคม -- ไทย.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  ช่วงปี 2563 ประเทศไทยและสังคมโลกต่างเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่สำคัญระดับโลก เมื่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือ Covid-19 ได้คุกคามสุขภาพของประชากรโลกจนเข้าขั้นวิกฤต ในความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาทางด้านสาธารณสุข ความเหลื่อมล้ำที่เป็นปัญหาต่อคุณภาพชีวิตและวิถีประชาธิปไตยในสังคมก็ยังเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามได้ ในห้วงเวลาแห่งความยากลำบากสังคมได้เห็นการกักตุนอุปกรณ์การแพทย์และเครื่องป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งภาวะการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบเป็นลูกโช่ทั้งเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งภาคธุรกิจโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยและการถูกเลิกจ้างของแรงงานจำนวนมาก ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในหลากหลายมิติ ท่ามกลางวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุข ด้านสังคมและเศรษฐกิจสังคมได้เห็นรูปแบบใหม่ในการำลิกฟื้นวิถีชีวิตจากโรคระบาดและความเหลื่อมล้ำที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “วิถีชีวิตใหม่ (new normal)” ความพยายามและความร่วมมือระหว่างภาคสังคมที่มุ่งเสริมพลังความเข้มแข็งของพลเมืองให้ลดความเหลื่อมล้ำ ภาคธุรกิจใหม่ที่เป็นหุ้นส่วนระหว่างประชาชนและภาครัฐ กับการเพิ่มความสนใจด้านนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันและการอยู่รอดเมื่อเกิดวิกฤต ตลอดจนภาครัฐและผู้นำที่มีบทบาทเชิงรุกในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยอาศัยความร่วมมือระดับภูมิภาคและพันธมิตร เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจินตภาพใหม่ของการกระจายอำนาจเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและเอาชนะวิกฤตการณ์ต่าง ๆ
        หนังสือจินตภาพใหม่ การกระจายอำนาจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ : บทเรียนจากโควิด-19 ได้จากการประชุมวิชาการประจำปี และจัดทำเป็นเอกสารสรุปการประชุมวิชาการ เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงทางวิชาการโดยได้รวบรวมคำปาฐกถา สรุปการบรรยายและอภิปรายของวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในและต่างประเทศ บทความวิชาการที่ได้รับการคัดเลือก ตลอดจนบทสรุปการประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 5 ประเด็น คือ กลุ่มย่อยที่ 1การเมืองเรื่องการกระจายอำนาจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กลุ่มย่อยที่ 2 ผู้นำกับการบริหารภาครัฐหลังวิกฤต กลุ่มย่อยที่ 3 การกระจายทรัพยากรเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กลุ่มย่อยที่ 4 สร้างพลังหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กลุ่มย่อยที่ 5 พลังพลเมืองเพื่อชุมชนเข้มแข็ง

ข้อมูลหนังสือ

Title จินตภาพใหม่การกระจายอำนาจเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ : บทเรียนจากโควิด-19 : สรุปการประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 22 ประจำปี 2563วันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องรอยัล จูบิลี่ บอลรูม         อาคารอิมแพ็คชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.

Author การประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า (ครั้งที่ 22 : 2563 : นนทบุรี).

Published กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, 2564.

Detail 494 หน้า : ภาพประกอบ ; 23 ซม.

Call Number 305 ก 275 จ 2564

Subject ความเสมอภาค.

Subject นิวนอร์มัล.

Subject การกระจายอำนาจในการจัดการ.

Added Author สมเกียรติ นากระโทก, บรรณาธิการ.

Added Author ณพจักร สนธิเณร, บรรณาธิการ.

Added Author ปรารถนา ทองรักษ์, บรรณาธิการ.

Added Author สถาบันพระปกเกล้า.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  หากมองย้อนกลับไปในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพ การศึกษา ตลอดจนเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน พัฒนาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย รัฐและผู้วางนโยบายหลายฝ่ายมักจะกล่าวกันว่า ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยเรานั้นดีขึ้นกว่าอดีตที่ผ่านมา แต่ก็มีนักพัฒนาบางส่วนเห็นว่ายิ่งลงทุนพัฒนามากขึ้นชีวิตคนไทยก็เลวร้ายลง มีความเหลื่อมล้ำมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่มีการศึกษาที่ให้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่าความเป็นอยู่ของคนไทยเรานั้นดีขึ้นหรือเลวลงอย่างไร
        เอกสารเล่มนี้มีความเป็นเอกลักษณะที่วิเคราะห์ความเป็นไปของชีวิตคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย โดยอาศัยหน่วยวิเคราะห์ที่เป็น “ครัวเรือน” มิใช่หน่วยวิเคราะห์ที่เป็นปัจเจกบุคคล เหมือนรายงานวิจัยหรือการวิเคราะห์สถิติส่วนใหญ่ที่นับจำนวนบุคคล เช่น มีคนไทยกี่คนยังยากจนอยู่ การเสนอข้อมูลในระดับครัวเรือนมีความสำคัญเพราะคนเรามิได้อยู่คนเดียวโดด ๆ แม้ว่าจะมีบางคนเลือกที่จะอยู่คนเดียว คนส่วนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นครอบครัว การตัดสินใจของคนเราไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในครัวเรือน ก็มิได้ตัดสินใจลงไปโดยพินิจพิเคราะห์ถึงผลประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว แต่มักจะต้องใคร่ครวญถึงผลกระทบต่อสมาชิกในครัวเรือนด้วย ดังนั้นความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของครัวเรือนไทย จึงมีความสำคัญสำหรับการวางนโยบายที่มีฐานคิดที่กว้างไปกว่าการกระตุ้นพฤติกรรมของปัจเจกชน หากเป้าหมายของการพัฒนาประเทศคือ การทำให้ชีวิตคนไทยดีขึ้น ข้อมูลที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนับเป็นเรื่องสำคัญเพราะความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะช่วยให้เราสามารถมองเห็นภาพอนาคต แนวโน้มของสังคมตลอดจนความเสี่ยงและปัญหาที่ประชาชนจะต้องเผชิญและกำหนดนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม

ข้อมูลหนังสือ

Title ชีวิตคนไทยในสองทศวรรษของการพัฒนา.

Author นิพนธ์ พัวพงศกร.

Published เชียงใหม่ : แผนงานสร้างเสริมนโยบายสาธารณะที่ดี สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557

Detail 128 หน้า : ภาพประกอบ ; 28 ซม.

Call Number 305.09593 น 365 ช 2557

Subject ครัวเรือน -- ไทย.

Subject ไทย -- ภาวะสังคม.

Added Author มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด, บรรณาธิการ.

Added Author ณัฎฐาภรณ์ เลียมจรัสกุล, บรรณาธิการ.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

         การระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่สาม จากการใช้บริการแหล่งท่องเที่ยวเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ทำให้เกิดคลัสเตอร์ทองหล่อ สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศรุนแรง ขยายออกไปในวงกว้าง รวมถึงการแพร่ระบาดเข้าไปในเรือนจำ จนถึงปัจจุบันนายกรัฐมนตรี ประกาศขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุก ๆ เดือนมาแล้วเป็นคราวที่ 12 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ทำให้สังคมไทยจะอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉินมาแล้วกว่าหนึ่งปีและยาวนานออกไปอีก รัฐบาลได้อ้างถึงเหตุการระบาดโควิดระลอกใหม่ และการฉีดวัคซีนไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ การใช้มาตรการห้ามเข้าและปิดพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค มาตรการปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร มาตรการห้ามกักตุนสินค้า มาตรการห้ามชุมนุมและการจัดกิจกรรม มาตรการเสนอข่าว มาตรการดูแลความสงบเรียบร้อย มาตรการป้องกันโรค การประกาศเคอร์ฟิวและมาตรการอื่น ๆ ถูกนำมาใช้และประกาศรวมในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พระราชกำหนดการบริหารราชการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ข้อกำหนด พ.รก.ฉุกเฉินฯ) รวมกว่า 24 ฉบับ ทั้งโดยอาศัยฐานทางกฎหมายจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กฎหมายอื่นและโดยไม่มีฐานในทางกฎหมายล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะผลกระสบต่อเสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในภาวะที่ประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างเข้มข้น จำนวนคดีจากการใช้เสรีภาพดังกล่าวจึงเพิ่มตามอย่างแปรผันตรงกับสถานการณ์และการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินกลายมาเป็นหนึ่งในอุปสรรคของการใช้เสรีภาพดังกล่าว รายงานฉบับนี้ขึ้นเพื่อชี้ให้เห็นผลกระทบของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อควบคุมโควิด-19 ซึ่งไม่ได้กระทบเพียงด้านเศรษฐกิจและด้านสุขภาพ แต่ยังมีผล กระทบที่มีต่อเสรีภาพในการเดินทาง เสรีภาพในการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในคดีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ความได้สัดส่วนของมาตรการที่ใช้ ปัญหาของการยกเว้นความรับผิด และข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมายสถานการณ์ฉุกเฉิน

ข้อมูลหนังสือ

Title Covid-19 กับการจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน. 

Author พูนสุข พูนสุขเจริญ.

Published กรุงเทพฯ : ศูนย์ทหายความเพื่อสิทธิมนุษยชน/มูลนิธิเพื่อความยุติธรรม, 2564.

Detail 84 หน้า : ภาพประกอบสี ; 21 ซม.

Call Number 323.44 พ 415 ค 2564

Subject สิทธิของพลเมือง -- ไทย.

Subject สิทธิมนุษยชน.

Subject เสรีภาพในการแสดงออก.

Subject โควิด-19 (โรค) -- แง่การเมือง.

Subject พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548.

Added Author เกื้อ เจริญราษฎร์.

Added Author ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  ปัจจุบันคงมีน้อยคนที่จะปฏิเสธว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยนั้น เป็นปัญหาใหญ่ที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไขถ้าหากเศรษฐกิจและประชาธิปไตยจะเปลี่ยนวิถีออกจากวิถีแห่งความอยุติธรรม ภาวะรวยกระจุก จนกระจาย ตลอดจนมหกรรมบริโภคนิยมอันฟุ้งเฟ้อและอันตรายเข้าสู่วิถีเศรษฐกิจและการเมืองที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ในหนังสือเล่มนี้จะเน้นแต่ข้อมูลของประเทศร่ำรวย และทฤษฏีและข้อสรุปส่วนใหญ่ก็น่าจะอธิบายสถานการณ์ของประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยได้เช่นกัน เพราะถึงแม้ว่าสังคมแต่ละสังคมย่อมมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจต่างกันและมีบริบททางวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน มนุษย์ทุกคนล้วนเป็น “สัตว์สังคม) อีกทั้งหลายปัญหาในเมืองไทยดูจะมี “ความลาดชันทางสังคม” (Social gradient) สูง (ยิ่งด้อยฐานะยิ่งประสบปัญหามาก” เช่นเดียวกับในประเทศร่ำรวย ในอดีตนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเคยคิดว่า ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ไม่ใช่ปัญหาที่ควรมุ่งหาทางแก้ไข เพราะมันเป็นผลพวงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ดีและจำเป็นเพราะมันสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานหนัก ดิ้นรนถีบตัวเองบนบันไดสังคม แต่ข้อมูลหลักฐานที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ ของนักวิจัยอย่างวิลกินสันและพิคเก็ตต์ ได้หักล้างความเชื่อทำนองนี้ลงอย่างราบคาบ ข้อเท็จจริงกลับกลายเป็นว่า สังคมที่มีความเท่าเทียมกันมากกว่ามักจะสร้างสรรค์กว่า (สะท้อนจากตัววัด อย่างเช่น อัตราส่วนการจดสิทธิบัตรต่อหัวประชากร) และประวัติศาสตร์โลกก็มีตัวอย่างมากมายของสังคมที่สามารถลดความเหลื่อมล้ำ ขณะเดียวกันผู้คนก็มีคุณภาพชีวิตดีกว่าเดิม

ข้อมูลหนังสือ

Title ความ(ไม่)เท่าเทียม = The spirit level : why equality is better for everyone. 

Author วิลกินสัน, ริชาร์ด.

Published กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์, 2555.

Detail [446] หน้า ; 21 ซม.

Call Number 323.42 ว 37 ค 2555

Subject ความเสมอภาค.

Added Author พิคเก็ตต์, เคท.

Added Author สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  หนังสือ สิทธิมนุษยชน ได้กล่าวถึงแนวคิดและวิวัฒนาการของสิทธิมนุษยชน สิทธิมนุษยชนในกฏบัตรสหประชาชาติ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในกฎหมายระหว่างประเทศ พัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยหน่วยงานของรัฐ และบทบาทขององค์การพัฒนาเอกชนต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

ข้อมูลหนังสือ

Title สิทธิมนุษยชน.

Author อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์.

Published กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2552.

Edition พิมพ์ครั้งที่ 3.

Detail 275 หน้า ; 21 ซม.

Subject สิทธิมนุษยชน.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  แม้ว่า สิทธิชุมชน จะมีและดำรงอยู่ในสังคมไทยในระดับชุมชนท้องถิ่นมาเป็นเวลายาวนาน แต่เป็นที่รับรู้ร่วมกันว่ามีการรับรองสิทธิชุมชนไว้ในรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้งนั้นเริ่มจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และมีสืบต่อมาถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จึงอาจกล่าวได้ว่าสิทธิชุมชนไทยได้รับการรับรู้และรองรับในกรอบกฎหมายสูงสุดนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
      รายงานการศึกษา เรื่อง การเข้า(ให้)ถึงสิทธิชุมชน : การมีสิทธิ มีเสียง และมีส่วนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนและประชาชน เป็นรายงานการศึกษาและสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการปฏิบัติการด้านสิทธิชุมชน โดยได้นำเสนอถึงบทเรียนความพยายามในการเข้า (ให้) ถึงสิทธิชุมชน ซึ่งมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีประชาชนและชุมชนที่ได้รับการรับรองสถานะโดยกฎหมายสูงสุดให้เป็นผู้ทรงสิทธิในด้านต่าง ๆ

ข้อมูลหนังสือ

Title การเข้า(ให้)ถึงสิทธิชุมชน : การมีสิทธิ มีเสียง และมีส่วนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนและ ประชาชน.
Author ปัทมา สูบกำปัง.

Published กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า, 2559.

Detail 338 หน้า ; 21 ซม.

Subject สิทธิชุมชน.

Subject การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ.

Added Author สถาบันพระปกเกล้า.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  หนังสือพลเมืองกับสังคมประชาธิปไตย เล่มนี้เกิดจากการนำเอาบทความสำคัญ ๆ ในหนังสือแนวคิดว่าด้วยความเป็นพลเมือง (2548), พลเมืองกับท้องถิ่นเข้มแข็ง (2549) และ พลเมืองเข้มเข็ง (2551) มารวมเข้ากับบทความใหม่ ๆ ที่เขียนขึ้นล่าสุดอีกห้าบท (คือ จากสัตว์การเมืองสู่พลเมืองและสังคมประชาธิปไตย, พิมราว  อัมเบดการ์, พลเมืองผู้นำการสถาปนารัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่แห่งแรกของโลก, ลอรา อิงกัลล์ส ไวด์เดอร์ และบทส่งท้าย: พลเมืองกับประชาธิปไตยในโลกอันหลากหลาย) เข้าด้วยกัน เป็นงานค้นคว้าเพื่อสรุปความเข้าใจ ความคิดและชีวิตของพลเมืองหลาย ๆ คนในอดีต โดยเฉพาะพลเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างและส่งเสริมสังคมประชาธิปไตย หนังสือเล่มนี้มุ่งหวังให้เกิดการทำความเข้าใจเรื่องคน สิ่งมีชีวิต สัตว์สังคม สัตว์การเมืองและพลเมือง และแนวคิดหลักเกี่ยวกับการสร้างระบอบประชาธิปไตย บทเรียนสำคัญจากการศึกษาครั้งนี้มีสี่ข้อ คือ หนึ่ง เสรีภาพและความเป็นพลเมืองมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้และสร้างขึ้นมาด้วยระบบการศึกษาและการต่อสู้ สอง ระบอบประชาธิปไตยก็มิใช่สิ่งที่ตกลงมาฟากฟ้า แต่เป็นสิ่งที่พลเมืองจะต้องรวมพลังกันต่อสู้และไขว่คว้ามา สาม ปัจจุบันระบบการศึกษาและการสื่อสารในบางสังคมทำให้ผู้คนตกเป็นทาสของอำนาจนิยมและวัตถุนิยมอย่างโจ่งแจ้งและสุดท้าย มีแต่ระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นที่จะพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ให้ได้มากที่สุดและสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพในระยะยาว

ข้อมูลหนังสือ

Title พลเมืองกับสังคมประชาธิปไตย = Citizens and democratic society.

Author ธเนศวร์ เจริญเมือง.

Published กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2560.

Detail 318 หน้า ; 21 ซม.

Call Number 323 ธ 558 พ 2560

Subject พลเมือง.

Subject ประชาธิปไตย.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

  หนังสือ สิทธิของเรา สิทธิมนุษยชน แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ภาค คือ
ภาคที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชน หลักการสากลของสิทธิมนุษยชน การใช้กฎหมายของประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน และระเบียบวิธีทางสิทธิมนุษยชน
ภาคที่ 2 ขอบเขตและเนื้อหาของสิทธิและพันธกรณี กล่าวถึงพันธกรณีแห่งรัฐเพื่อเสริมสร้างและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน สิทธิในการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมเสมอภาคและไม่ถูกกีดกันแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ สิทธิในการที่จะไม่ถูกวิสามัญฆาตกรรม การคุมขังโดยมิชอบหรือโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม เสรีภาพในการปลอดจากการข่มขู่จะทำร้ายร่างกาย สิทธิในเสรีภาพแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก สิทธิในเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิในเสรีภาพในการรวมกลุ่ม เสรีภาพจากการไม่ถูกบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น

ข้อมูลหนังสือ

Title สิทธิของเรา สิทธิมนุษยชน.

Author กัลป์ปลัดดา ดุตตา.

Published กรุงเทพฯ : สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย, 2555.

Detail [109] หน้า ; 21 ซม.

Call Number 342.085 ก 117 ส 2555

Subject สิทธิของพลเมือง -- ไทย.

Location                อาคารบรรณราชนครินทร์ ชั้น 2

รายชื่อหนังสือที่เกี่ยวข้องรายวิชา ความเป็นพลเมืองไทย (Thai Citizenship)